Skip to main content

ศยามล ไกยูรวงศ์
โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา

 

 

ประเด็น “โลกร้อน” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใกล้ตัว ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส กล่าวกันว่ามนุษย์ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ที่แน่ๆคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และไม่มีทางเลือกใดๆต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ และประเด็นนี้เองที่ “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม” มีข้อเสนอต่อการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการประชุมที่กรุงเทพฯ และที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า

\\/--break--\>

 

การแก้ไขปัญหาโลกร้อนต้องปฏิบัติอย่างเป็นธรรม” คำตอบของการแก้ไขปัญหาโลกร้อนจึงมิได้อยู่ที่ “ประหยัดพลังงาน ลดการใช้ไฟฟ้า และมาใช้พลังงานหมุนเวียนเท่านั้น” แต่ทางออกของสังคมโลกต้องแก้ไขปัญหาที่สาเหตุของต้นตออย่างแท้จริง นั่นคือโครงสร้างทางอำนาจและผลประโยชน์ที่เชื่อมโยงกับระบบการเมือง เศรษฐกิจ ในการกำหนดการพัฒนาประเทศ และพัฒนาสังคมโลก

 

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สะสมมาจนถึงวันนี้มาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ตามแนวคิดทฤษฎีของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และเชื่อว่าการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปตามกลไกของตลาด จะทำให้เศรษฐกิจมั่นคง แต่ผลกระทบของการพัฒนาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า มีการใช้พลังงานอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มาจากซากดึกดำบรรพ์ คือถ่านหินและน้ำมัน และการเผาไหม้เชื้อเพลงฟอสซิล เป็นต้นเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์

 

จากข้อมูลของสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute) ในปี พ..2548 พบว่า ในประเทศไทย ภาคเศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือภาคพลังงานและอุตสาหกรรม ซึ่งปล่อยประมาณ ร้อยละ 72.47 โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เป็นหลัก และเมื่อเปรียบเทียบกับภาคเกษตร ปล่อยก๊าซมีเทน และไนตรัสออกไซด์ คิดเป็นร้อยละ 25.28 และสุดท้ายคือการกำจัดของเสียและสิ่งปฏิกูลซึ่งปล่อยก๊าซมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 2.3 ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

 

เพราะฉะนั้นประเทศอุตสาหกรรมที่เรียกกันว่าประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมมาแต่อดีตต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทำลายสิ่งแวดล้อมและมวลมนุษยชาติ ในทำนองเดียวกันในประเทศไทยกลุ่มทุนอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนอุตสาหกรรมจึงต้องรับผิดชอบเช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า “หนี้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” และ “หนี้ด้านการปรับตัว” ที่ต้องเผชิญและปรับตัวต่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาจึงยังมีสิทธิในการพัฒนาประเทศของตน เพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาความยากจนที่เรื้อรังมาจากระบบการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยม และปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศและภายในประเทศ ขณะเดียวกันคนจนและผู้ด้อยโอกาสในสังคม ที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก ยังต้องมีสิทธิในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของตนเอง และได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกของตนเองต่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอดในสังคมที่น่าอยู่และยั่งยืน

 

งานศึกษของธนาคารเอเชียเพื่อการพัฒนา (เอดีบี) ซึ่งรวบรวมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ยังพบว่า ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นทุกปี ประเทศไทย อินโดนิเซีย และเวียดนามจะเผชิญกับภาวะอากาศที่แห้งแล้งในอีก 2-3 ทศวรรษข้างหน้า ผู้คนในภูมิภาคนี้ต้องประสบปัญหาความยากจน แม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก้าวรุดหน้า และมีคนรวยมากขึ้น แต่คนจนรวมแล้ว 93 ล้านคน ของประชากรสี่ประเทศ ซึ่งมีรายได้แค่วันละ 40 บาท ต่ำกว่าเส้นความยากจน จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากขึ้น

 

ความเป็นธรรมที่คนจนต้องได้รับคือการไม่ถูกผลักภาระมาให้คนจน หรือเกษตรกรต้องแบกรับภาระของการแก้ไขปัญหาโลกร้อน ในขณะที่โครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจของการพัฒนาทำให้พวกเขาต้องรับผลกระทบจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน หรือโรงไฟฟ้า ที่ทำให้เกษตรกรจำนวนมากต้องละทิ้งถิ่นฐานไปเป็นแรงงานรับจ้าง เนื่องจากถูกแย่งชิงที่ดินทำกินในหลายรูปแบบที่มาจากนโยบาย และกฎหมายบีบบังคับ จนกลายเป็นคนจนและแรงงานรับจ้างในภาคอุตสาหกรรมและภาคเมือง ตัวอย่างเห็นได้ชัดเจนจากโครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่เกิดปัญหาขึ้นแล้ว และรัฐบาลกำลังเดินหน้าแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ เพื่อสร้างรูปแบบเดียวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก และโรงไฟฟ้า ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจากมากที่สุด ซึ่งจะทำให้คนภาคใต้ได้รับผลกระทบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นต้น

 

สหประชาชาติเพื่อการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว(Global Green New Deal) โดยวิเคราะห์ว่าวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในหลายยุคสมัย ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแก้ไขปัญหาถึง 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ทั้งโลกยังคงประสบปัญหาความยากจนและการว่างงานอยู่เช่นเดิม หากรัฐบาลมีนโยบายการลงทุนร้อยละ 1 ของการเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติ (ประมาณ 750 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในสองปีข้างหน้าจะสามารถสร้างระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเท่ากับหนึ่งส่วนสี่ของการกระตุ้นระบบการเงิน

 

การฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจสีเขียวสามารถสร้างงาน การออมเงิน และปกป้องผู้ด้อยโอกาส ซึ่งต้องลดปัญหาความยากจนภายในปี พ..2558 รวมทั้งลดคาร์บอนและลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้น แนวทางคือ สร้างระบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลงทุนการคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน และการใช้พลังงานหมุนเวียน การทำระบบการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน และการจัดการน้ำอย่างผสมผสาน สร้างระบบภาษีที่ส่งเสริมให้สร้างระบบเศรษฐกิจสีเขียว รวมทั้งกำหนดนโยบายการใช้ที่ดินและการวางผังเมืองที่ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สีเขียว ตลอดจนสร้างระบบเศรษฐกิจสีเขียว นโยบายของการปฏิรูปเศรษฐกิจสีเขียวจะดำเนินการได้นั้น ต้องมีการประสานงานในระดับระหว่างประเทศ โดยองค์กรสหประชาชาติควรสนับสนุนและสร้างกลไกหน้าที่เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย

 

เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาโลกร้อนจึงไม่สามารถแยกขาดจากแผนพัฒนาประเทศ ที่ต้องนำไปสู่สังคมที่มีความยั่งยืนในมิติการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ เป้าหมายของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำเป็นต้องกำหนดแผนการพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่บนฐานศักยภาพของพื้นที่ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของท้องถิ่น ที่ไม่ทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้น และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ต้องอยู่บนฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรม

 

สังคมไทยจะมีวิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวหรือไม่ ท่ามกลางสถานการณ์ที่โลกกำลังร้อนมากขึ้น ในขณะที่รัฐบาลผลักดันโครงการขนาดใหญ่เพื่อหวังผลประโยชน์เฉพาะหน้าท่ามกลางความทุกข์ยากของคนไทย คำตอบนี้จึงอยู่ที่ประชาชน...

 

 

 

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา    การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดประเด็นการปฏิรูปที่ดิน แจกสปก. นับว่าโดนใจประชาชนที่เฝ้ารอคอย สปก. 4-01 และหวังว่าวันหนึ่งจะมีการออกเป็นโฉนดที่ดินตามแรงโฆษณาของเจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมือง ปัญหาการไม่มี สปก. 4-01 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินมีจำนวนมาก มีโครงการปฏิรูปที่ดิน แต่ยังไม่มีการปฏิรูปที่ดิน และยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนของความซ้ำซ้อนระหว่างแนวเขตของเขตปฏิรูปที่ดินกับที่ดินของรัฐประเภทอื่น เช่น พื้นที่ป่าตามกฎหมาย ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณประโยชน์…
คนไร้ที่ดิน
โดย... สมจิต คงทน กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  ก่อนจะมาเป็นนารวม ชาวบ้านเขวาโคก-เขวาทุ่ง ต.สระบัว อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลและฟื้นฟูสภาพป่าสาธารณะของชุมชนที่อยู่คู่มากับหมู่บ้าน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ไว้สำหรับหาอยู่หากิน เก็บของป่า เก็บเห็ด เก็บฟืน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตแต่เมื่อปี 2538 มีกลุ่มทุนเอกชนจากนอกพื้นที่ทั้งหมด 8 ราย มาบุกรุก แผ้วถางป่าธรรมชาติดอนหนองโมง-หนองกลางของหมู่บ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่นี่รวมกลุ่มกันต่อสู้เพื่อรักษาที่ดินผืนนี้ไว้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน
คนไร้ที่ดิน
กองเลขาฯเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ความขัดแย้งและการต่อสู้ของชนชั้นปกครองเป็นไปอย่างดุเดือดและยืดเยื้อ มากกว่า 3 ปี จนยกระดับขึ้นเป็นความขัดแย้งหลักของสังคมไทยในขณะนี้ ขั้วความขัดแย้งคือ กลุ่มทุนอนุรักษ์นิยมภายใต้อิทธิพลศักดินา ส่วนอีกฝ่ายคือ กลุ่มทุนเสรีนิยมใหม่ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้โดยง่าย เพราะเป็นการทำศึกวัดดุลกำลัง เพื่อนำไปสู่การจัดปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจครั้งใหม่ ทั้งอำนาจในทางการเมือง อำนาจในการควบคุมระบบเศรษฐกิจและฐานทรัพยากรของสังคม ศึกช่วงชิงการยึดกุมความได้เปรียบในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจละการผลิตครั้งนี้ “ชนชั้นผู้ชม”…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ ศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามัน และเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชายฝั่นอันดามัน ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง “ทางออกกรณียึดที่ดินชุมชนสัมปทานป่า-เลให้นายทุน” ที่ศูนย์การเรียนรู้ควนปริง ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง มีผู้เข้าร่วมเวทีกว่า 150 คน ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อาจารย์จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาที่ดินของหน่วยงานรัฐไว้อย่างน่าสนใจ…
คนไร้ที่ดิน
ศลิษา ทองสังข์ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ปัญหาเรื่องที่ดินเป็นปัญหาทางการเมืองและโครงสร้าง ปัญหาที่ดินไม่ได้จำกัดเฉพาะชาวนา หรือคนสลัม แม้แต่คนเมือง คนชั้นกลางก็ประสบปัญหาที่ดินอยู่อาศัย การใช้ประเด็นเรื่องการผูกขาดที่ดิน นักการเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพล ทุนข้ามชาติ และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้น จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกับสังคมโดยรวมเพื่อสร้างแรงผลักดันการกระจายการถือครองที่ดินได้ ที่ผ่านมามีการผลักดันให้เกิดการแก้ไขมาตรการทางภาษีที่ดิน ตัวอย่างเช่น ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ตั้งแต่ปี 2541 เป็นเวลา 10 ปี เต็ม…
คนไร้ที่ดิน
นนท์ นรัญกร   ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 147 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งได้แก่ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ พื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 A และ ป่าสงวนแห่งชาติโซน C ประมาณ 80 ล้านไร่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบริหารจัดการพื้นที่ป่าของของกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า มีบทเรียนหลายประการ ที่ไม่ได้ถูกนำมาถกเถียงในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานให้ดีขึ้น ในขณะที่กำลังจะสร้างปัญหาใหม่ตามมา ดังที่เป็นข่าวเรื่องความพยายามใน การเซ้งพื้นที่อุทยานฯ ให้กับภาคเอกชนเช่าทำธุรกิจ บทเรียนประการแรก…
คนไร้ที่ดิน
พงษ์ทิพย์  สำราญจิตต์สังคมไทย  เป็นสังคมที่เกษตรกรและคนจนไร้ที่ดิน แทบจะไม่มีที่ยืนหรือสามารถบอกเล่าสถานะของตนเองต่อสังคมได้ โครงสร้างสังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ การผลิตและการตลาด  ได้ถูกผูกขาดและกำกับควบคุมโดยคนกลุ่มเล็ก บริษัทธุรกิจเอกชนที่มีเงินลงทุนมหาศาล ในสนามเศรษฐกิจที่ถูกผูกขาดไว้แล้วเช่นนี้  แน่นอนว่าเกษตรกรรายย่อยย่อมมิอาจแข่งขันได้ นี่เป็นที่มาของสภาพการณ์ในชนบทสังคมไทยที่เกษตรกรรายย่อยกำลังกลายเป็นแรงงานรับจ้างและคนจนไร้ที่ดินมากขึ้นทุกขณะ
คนไร้ที่ดิน
                                                                                                   …
คนไร้ที่ดิน
  สมจิต  คงทนกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (โลโคลแอค)เมื่อชาวบ้านถูกฟ้องคดี"ก่อนถูกฟ้องคดีเขาเป็นคนขยัน พอถูกจับและยึดที่ดินไป  ซึ่งเป็นที่ดินที่เขาสองคนผัวเมียได้อยู่อาศัยทำกินกันมายาวนาน เขากลายเป็นคนคิดมาก ควบคุมสติตัวเองไม่ได้  ทุบตีเมียตัวเอง และเคยคิดฆ่าตัวตาย จนกลายเป็นปัญหาครอบครัว สุดท้ายก็ต้องแยกทางกัน  ส่วนลูก 2 คนก็แบ่งกันไปคนละคน"  นางเหิม เพชรน้อย ชาวบ้านตำบลบ้านนา จังหวัดพัทลุง เล่าถึงชะตากรรมชีวิตของเพื่อนบ้านครอบครัวหนึ่งที่ถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า หรือ…