Skip to main content
นายหัว ส.
 
 
 
การรณรงค์เรียกร้องต่อศาลให้พิจารณาคดีด้วยความยุติธรรมอย่างเสมอภาค จึงจะเป็นหนทางนำไปสู่การปรองดองของคนในชาติ
 
สภาผู้แทนคนเสื้อแดงในคุกรู้สึกสงสารและเห็นใจคนเสื้อแดงที่ยังถูกคุมขังอยู่ในคุกทุกคน และมีความคิดเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะศาลมีความยุติธรรมลำเอียงระหว่างคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง เป็นการสร้างเงื่อนไข ร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความแตกยกของคนในชาติ เพราะคนเสื้อแดงยากจะทำใจได้ต่อความอยุติธรรมที่ได้รับจนเป็นกล่าวสรุปที่ว่า “คนเสื้อเหลืองทำอะไรก็ไม่ผิด คุกก็ไม่ต้องติด แต่คนเสื้อแดงทำอะไรก็ผิดหมดต้องติดคุกอยู่ฝ่ายเดียว ช่างน่าแค้นใจนัก”
 
มีการลำดับเปรียบเทียบการกระทำความผิดระหว่างคนเสื้อเหลืองกับคนเสื้อแดงดังนี้ คนเสื้อเหลืองชุมนุมสนับสนุนการให้ก่อรัฐประหารในปี 2549 ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทำร้ายนายณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงที่เป็นฝ่ายเสื้อแดงจนเสียชีวิต และพกพาอาวุธปืนขับรถไปยิงคนจนได้รับบาดเจ็บหลายคน ที่ถนนวิภาวดีซอย 3 ใน 2550 บุกยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ยึดสนามบินดอนเมืองและสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ บุกล้อมรัฐสภา ขัดขวางการต่อสู้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ขับรถชน พยายามฆ่าเจ้าพนักงานในขณะปฏิบัติหน้าที่ แล้วถอยรถยนต์ชนซ้ำ พยายามฆ่าเจ้าพนักงานในขณะปฏิบัติหน้าที่โดยไตร่ตรองไว้ก่อนอีกกระทงหนึ่ง ทั้งหมดนี้เหตุเกิดในปี 2551
 
คดีต่างๆ เหล่านี้ผ่านมาห้าปีแล้วยังไม่มีคนเสื้อเหลืองคนใดถูกขังอยู่ในคุกเลย ที่ถูกดำเนินคดีได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวหมด ไม่ว่าจะเป็นคดีร้ายแรงแค่ไหน ยึดสนามบินสุวรรณภูมิเสียหายกว่าสองแสนล้านบาท มากกว่าศาลากลางที่ถูกเผาเป็นไหนๆ แล้วยังเข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้ายสากล ก็ยังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
 
ส่วนคดีพยายามฆ่าเจ้าพนักงานในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ถึงสองกระทง นอกจากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตั้งแต่ต้นแล้ว สุดท้ายศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้มีการรอลงอาญาไม่ต้องติดคุก แล้วทราบว่าอัยการก็ไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดอย่างน่าอัศจรรย์
 
ต่างจากคดีฝ่ายเสื้อแดง คือ นายประสิทธิ์ พลอยทับทิม ที่ขัดขวางการเข้ารื้อเวทีและเต็นท์ของกลุ่ม “พิราบขาว 2006” ที่ชุมนุมขับเผด็จการ คมช. ที่ท้องสนามหลวงในเช้าตรู่ของวันที่ 14 มีนาคม 2550 ขัดขวางการเข้ารื้อเวทีและเต็นท์ของกลุ่ม “คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ” โดยเจ้าหน้าที่เทศกิจในวันที่ 15 มีนาคม ถูกศาลจำคุกคดีละ 6 เดือน รวม 1 ปี
 
คนเสื้อแดงอื่นๆ ที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดในปี 2553 หลังคดีคนเสื้อเหลืองถึง 3 ปี และความร้ายแรงของคดีก็น้อยกว่า เวลานี้ถูกขังอยู่ในคุกหลายสิบคน นี่คือสิ่งที่คนเสื้อแดงมองว่าไม่ยุติธรรมอย่างมาก เป็นสองมาตรฐานที่น่าแค้นเคือง จึงควรที่คนเสื้อแดงทั้งประเทศ นปช. และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องออกมาเรียกร้องต่อศาลให้พิจารณาให้เกิดความยุติธรรมอย่างเสมอภาค ถ้าไม่ปล่อยคนเสื้อแดง ก็ต้องเอาคนเสื้อเหลืองที่คดีร้ายแรงกว่ามาขังคุกด้วยกัน
 
ขอให้คนเสื้อแดงจัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งเพื่อรณรงค์เรียกร้องต่อศาลสถิตยุติธรรมให้พิจารณาให้ความเป็นธรรมแก่คนไทยทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความปรองดองของคนในชาติ
 
6 ตุลาคม 2555
 

 

บล็อกของ นายหัว ส. และมิตรสหาย

นายหัว ส. และมิตรสหาย
นายหัว ส. และมิตรสหาย
นายหัว ส. และมิตรสหาย
 ติดตามการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยที่มีนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าร่วมเปิดประชุมแล้ว มีความเห็นว่า ผู้ที่เสนอความคิดเห็นตรงกับปัญหาที่สุดคือ คุณครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ นอกนั้นล้วนแต่ “ขี่ม้าเลียบค่าย”
นายหัว ส. และมิตรสหาย
การประกาศยุติบทบาทของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นเรื่องเข้าใจว่า เพราะตกอยู่ในสภาพจำยอมจากความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ที่ต้องการให้สังคมไทยหยุดนิ่ง หรือก้าวถอยหลัง ตามอุดมการณ์ของกลุ่มอนุรักษ์นิยม ดังคำประกาศของกลุ่ม “พิทักษ์สยาม” ที่จะแช่แข็งประเทศไทย
นายหัว ส. และมิตรสหาย
 การที่แกนนำ นปช. อย่าง ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และพรรคเพื่อไทย อภิปรายเกี่ยวกับ พรบ. นิรโทษกรรมว่าไม่คลุมถึงผู้ที่ถูกคดี ม.112 นั้นระวังจะหลงกลเดินไปตามแผนของพรรคประชาธิปัตย์
นายหัว ส. และมิตรสหาย
หมายเหตุ: เรื่องสั้นจากแดนตารางชิ้นนี้ based on true story เป็นคดีประหลาดของชายคนหนึ่งที่ถูกพี่ชายแท้ๆ แจ้งความในคดีร้ายแรงแห่งรัฐ เรื่องสั้นพูดถึงขั้นตอนหนึ่งก่อนที่คดีของเขาจะถูกสั่งฟ้อง เป็นเรื่องเล่าจากห้องสี่เหลี่ยมที่ไม่เคยมีใครล่วงรู้ 
นายหัว ส. และมิตรสหาย
หมายเหตุ: เรื่องสั้นจากแดนตารางชิ้นนี้ based on true story เป็นคดีประหลาดของชายคนหนึ่งที่ถูกพี่ชายแท้ๆ แจ้งความในคดีร้ายแรงแห่งรัฐ เรื่องสั้นพูดถึงขั้นตอนหนึ่งก่อนที่คดีของเขาจะถูกสั่งฟ้อง เป็นเรื่องเล่าจากห้องสี่เหลี่ยมที่ไม่เคยมีใครล่วงรู้ 
นายหัว ส. และมิตรสหาย
  
นายหัว ส. และมิตรสหาย
คำอวยพรที่ล่าช้าจากความขลาดกลัวของผู้หวังดีที่อยู่ในโลกกว้างว่า แม้แต่ความคิด ความรู้สึกและสภาพภายในจากคำบอกเล่าของพวกเขาก็อาจนำผลกระทบที่เลวร้ายยิ่งกว่ามาสู่พวกเขาได้