Skip to main content

               พึ่งผ่านเหตุการณ์สั่นสะเทือนมาไม่กี่วัน หลังการสลายตัวไปของม๊อบองค์การพิทักษ์สยามของพลเอก บุญเลิศแก้วประสิทธิ์ สังคมไทยก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติภายหลังตื่นตระหนกตกใจว่า ประเทศนี้อาจจะกำลังเข้าสู่สภาวะสุญญากาศเหมือนช่วงรัฐบาลก่อนหน้านี้ก็เป็นได้ โชคดีเพียงว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

 
                และเหมือนตลกร้ายที่คืนนั้นเองช่องฟรีทีวีอย่างช่อง 7 และได้ TPBS ได้ฉายหนังสองเรื่องควบคู่กันไปราวกับนัดกันมาไว้หมดแล้ว ได้แก่ ปิดเมืองเดือดระอุ และ อินทรีแดง
 
               โดยเฉพาะอินทรีแดงนั้นหากจะพูดก็คือ การมาในช่วงจังหวะเหมาะอีกครั้งในจังหวะที่สังคมประเทศนี้กำลังพูดถึง
 
                สิ่งที่เรียกว่า วีรบุรุษ (Hero)
 
 
เมื่อวายร้ายครองเมือง อินทรีแดงผงาดฟ้า
 
                    เรื่องราวของจอมโจรสุภาพบุรุษ หรือ ฮีโร่ที่สวมหน้ากากอินทรีนามว่า อินทรีแดง เป็นเรื่องราวคลาสสิคผ่านปากกาของเศก ดุสิต ที่รังสรรค์เรื่องราวของฮีโร่คนนี้จนโดนใจคนอ่านอย่างยิ่ง และมีการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์มาแล้ว หลากยุคหลากสมัยและคงไม่มีใครที่หลายจดจำในชุดหนังสีดำนี้ได้เท่ากับ พระเอกหนุ่มขวัญใจคนไทยตลอดกาลผู้ล่วงลับอย่าง มิตร ชัยบัญชา ที่บทอินทรีแดง คือบทบาทที่เขารักที่สุดในชีวิตการแสดงของเขา และหลังจากนั้นก็ไม่มีใครสวมบทอินทรีแดงแล้วได้รับความนิยมเท่ากับเขาอีกเลย กระทั่งอินทรีแดงถูกนำมาสร้างใหม่อีกครั้งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านและนำนักแสดงยอดนิยมอย่าง อนันดา เอเวอริ่งแฮมมาแสดงก็ยังไม่ได้ผลตอบรับเท่าไหร่นัก เพราะหนังไม่ทำเงินเท่าไหร่จนหมดสิทธิทำภาคสองไปโดยปริยาย
 
               กระนั้นสิ่งที่น่าตกใจก็คือ กระแสความนิยมเฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะคนชอบฮีโร่ทั้งหลาย (หรือโอตาคุฮีโร่) หรือกระทั่งคนที่ได้รับชมผ่านทางทีวีบ้าง ดีวีดีบ้างต่างพูดกันไปเป็นเสียงเดียวกันว่า
 
               เสียดายที่ไม่ได้ชมในโรง
 
               นอกจากนั้นยังมีกระแสทั้งนิยายแฟนฟิคชั่นที่แฟน ๆ แต่งขึ้นบ้าง ภาพวานแฟนฟิคชั่นบ้าง รวมทั้งการพูดถึงผ่านสื่อต่าง ๆ ก็ทำให้เรียกได้ว่า อินทรีแดงภาคนี้มีสถานะกลายเป็นหนังคัลท์กลาย ๆ ไปแล้ว
 
                   หนังคัลท์ คือ หนังที่ได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่ม ซึ่งอาจจะเป็นหนังที่ไม่ดังบ้าง หนังที่เจ๊งบ้างตอนออกฉาย หนังที่โหดจนคนดูรับไม่ได้ แต่มีคนชอบและมากพอเสียด้วยที่ทำให้หนังยังคงถูกพูดถึงอยู่ไม่ใช่ตายไปกับกาลเวลา อาทิ หนังอย่าง Evil Dead หรือ Night of Living Dead ที่ล้วนแล้วแต่เป็นหนังที่ได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่มแทบจะทั้งสิ้น ฉะนั้นความนิยมของอินทรีแดงที่ยังเหลืออยู่ก็เรียกได้ว่า หนังคัลท์น่าจะไม่ผิดแปลกไปนัก
 
                    นอกจากนี้อินทรีแดงยังคงสถานะในการวิพากษ์สังคมในด้านต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจราวกับไม่เคยล้าสมัยไปเลยด้วยซ้ำ ซึ่งหากลองศึกษาดี ๆ แล้วเราสามารถพบแง่มุมที่น่าสนใจในหนังเรื่องนี้ได้มากมายจนไม่น่าเชื่อว่า หนังนี้จะขับเคลื่อนเรื่องราวไปพร้อมกันได้มากขนาดนี้
 
                    โดยเฉพาะเรื่องการเมือง
 
 
                    การเมืองในหนังอินทรีแดงในยุคแรกเริ่มนั้นเป็นยุคที่สังคมไทยกำลังตื่นกลัวในภัยของคอมมิวนิสต์อันจะเห็นได้ว่า อินทรีแดงในยุคแรกต้องต่อสู้กับพวกคอมมิวนิสต์ที่กำลังหาทางบุกยึดประเทศไทย ไม่ต่างกับพวกองค์กรช็อคเกอร์ของไอ้มดแดงที่หวังยึดครองโลกโดยผ่านแผนการต่าง ๆ มากมาย และน่าสนใจก็คือ อินทรีแดงในยุคนั้นทำงานให้กับรัฐบาล
 
                   ทว่าเรื่องราวกลับเปลี่ยนไปในปัจจุบัน เมื่ออินทรีแดงในหนังภาคนี้เปลี่ยนสถานะจากสายลับที่ทำงานให้กับรัฐบาลกลายเป็นศัตรูตัวฉกาจที่รัฐบาลและตำรวจต้องไล่จับให้จงได้
 
                     แม้ว่าจะยังคงเป็นฮีโร่ที่ยังไล่จัดการคนชั้วแบบตาต่อตาฟันต่อฟันเหมือนเดิมแล้วศัตรูของอินทรีแดงก็ไม่พ้นที่จะเป็นนักการเมืองชั่วและข้าราชการฉ้อฉลที่แฝงตัวอยู่เบื้องหลังความมืดมิดในสังคมไทย 
 
                    เหตุใดศัตรูของอินทรีแดงจึงเปลี่ยนสภาพไปเช่นนี้ คงต้องลองมองย้อนไปดูบริบทของหนังรอบนอกที่เราพบว่า อินทรีแดงภาคนี้ถูกฉายขึ้นภายหลังเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองสองครั้งได้แก่ การรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 และเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสังคมที่กำลังอยู่ในภาวะแตกแยกอย่างหนัก และ การใช้อำนาจนอกระบบก็ไม่ได้ทำอะไรให้มันดีไปกว่าเดิมนอกจากทำให้ทุกอย่างมันวุ่นวายไปกว่าเดิมเสียอีก
 
 
                     แน่นอนว่า ความเลวร้ายนี้ถูกโยนใส่เหล่านักการเมืองชั้ว ๆ ที่อินทรีแดงไปไล่ฆ่า ข้าราชการเลว ๆ ที่คิดแต่จะหาผลประโยชน์ใส่ตัวเอง มือถือสากปากถือศีลอ้างประชาชนเป็นหลัก 
 
                      อันที่จริงแล้วหนังได้ใส่สิ่งที่เลวร้ายกว่านักการเมืองพวกนั้นก็คือ เบื้องหลังความชั่วร้ายของประเทศนี้ถูกควบคุมโดยสมาชิกสวมสูทใส่หน้ากากที่มีชื่อว่า มาตุลี
 
 
                     มาตุลีนั้นแปลงมาจากตำนานในรามเกียรติ์โดย มาตุลีนั้นเป็นชื่อของสารถีหรือคนขับรถของพระราม ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นเทพที่พระอินทร์ส่งมาช่วยขับรถศึกให้ และที่น่าสนใจยิ่งคือ หน้ากากของเหล่ามาตุลีนั้นถูกออกมาแบบมาคล้ายกับหัวโขนที่มีระดับขั้นแตกต่างกันไป คือ หัวสีเงินมีรูปร่างคล้ายลิงเป็นพวกสมาชิก
 
                     และหัวสีทองเป็นยักษ์ที่คล้ายกับหัวหน้าขององค์กร
 
                     และคือยักษ์ที่มีชื่อว่า พิเภก
\
 
                      ตามเรื่องราวของรามเกียรติ์นั้น พิเภกเป็นน้องของทศกัณฐ์ที่เป็นยักษ์ใจดีและไม่มีฤทธิ์ แต่มีความสามารถในการทำนายทายทักและรู้เรื่องศาสตราวุธ จุดอ่อนของพลพรรคยักษ์เป็นอย่างดี ทว่าหลังจากไปเสนอให้คืนนางสีดำให้กับพระรามแล้ว พิเภกก็ถูกขับไล่ออกมาจนต้องไปอยู่กับพระรามและเป็นคนที่คอยบอกใบ้จุดอ่อนของอาวุธต่าง ๆ จนทำให้พระรามเอาชนะทศกัณฐ์ได้ในที่สุด
 
                      แน่นอนว่าหากเป็นตามวรรณคดีนั้น พิเภกย่อมเป็นฝ่ายดี แต่จงอย่าลืมว่า วรรณคดีรามเกียรติ์นี้จริง ๆ แล้วเป็นนิยายการเมืองที่บันทึกเรื่องราวการแย่งชิงแผ่นดินอารยันของชนเผ่าสองชนเผ่าในอดีตได้แก่ ชาวอารยันและชาวทมิฬที่เป็นผู้ครอบครองดินแดนแห่งนี้อยู่แล้ว
 
                     ดังนั้นสถานะจริง ๆ ของพิเภกก็คือ หนอนบ่อนไส้ดี ๆ หรือพวกทรยศ
 
                     ซึ่งก็ตรงกับสถานะของบุรุษที่คาดว่าน่าจะสวมหน้ากากพิเภกนี้นั้นคือ นายกรัฐมนตรีในเรื่องซึ่งได้แก่ ดิเรก ดำรงประภา ผู้ที่เคยสัญญาเรื่องต่าง ๆ ไว้กับประชาชนทว่าสุดท้ายเขากลับหักหลังประชาชนไปในที่สุด ซึ่งไม่ได้ต่างกับการที่พิเภกไปอยู่กับพระรามเลยแม้แต่น้อยเพียงแต่สถานะในหนังสือนั้นเขียนขึ้นเพื่ออวยพิเภกว่า ถูกทำร้ายมาทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วตัวเขานั้นหักหลังวงศ์วานและพรรคพวกของตัวเองจนต้องตายกันไปหมด
 
                     แถมตัวเองยังได้ครองเมืองลงกาในช่วงท้ายอีกต่างหาก ในฐานะประเทศราชของอโยธยา
 
                      ที่จริงแล้วสถานะของทศกัณฐ์นั้นในวรรณคดีเรื่องนี้นั้นถูกสร้างให้เป็นตัวร้ายทั้งแต่ต้นทั้งที่ ทศกัณฐ์นั้นมีสถานะเป็นนักปราชญ์ผู้ทรงธรรมตามความเชื่อของชาวทมิฬ ซึ่งเมื่อพ่ายแพ้ให้กับชาวอารยันแล้วไซร้ก็จึงมีการเปลี่ยนแปลงให้ทศกัณฐ์กลายเป็นตัวร้ายที่เลวทรามต่ำช้าจนแทบไม่มีดี อันเนื่องผลทางการเมืองที่เมื่อวัฒนธรรมหนึ่งเข้าครอบครองอีกวัฒนธรรมหนึ่งแล้วก็ตามกลืนวัฒนธรรมนั้นเพื่อไม่ให้ฝ่ายที่ถูกกลืนลุกขึ้นหือขึ้นมาได้อีก ดั่งเช่นทศกัณฐ์เอง 
 
                      หากต้องเล่า ทุกคนคงรู้จักนนทุก ชาติก่อนของทศกัณฐ์ดีกว่าตัวของเขานั้นต้องทนทุกข์กับการกลั่นแกล้งของพวกเทวดานางฟ้าทั้งหลายมาโดยตลอด (นัยยะคือการกดขี่ทางสังคมของชาวอารยันที่มีต่อชาวทมิฬ) นั้นทำเขาให้ไปขอพรกับพระศิวะให้มีนิ้วเพชรชี้ใครตาย ซึ่งนนทุกเอาไปแก้แค้นชี้เทวดานางฟ้าตายกันเป็นเบือร้อนถึงพระศิวะต้องให้พระนารายณ์ไปปราบนนทุก โดยพระนารายณ์แปลงเป็นนางฟ้าไปสอนนนทุกรำและใช้อุบายจนสังหารนนทุกได้ โดยนนทุกบอกว่า มันไม่แฟร์เขามีสองมือไม่อาจจะสู้สี่มือของพระนารายณ์ได้ พระนารายณ์เลยให้นนทุกไปเกิดเป็นยักษ์ที่มี 20 มือ 20 หน้า ส่วนพระนารายณ์จะตามไปปราบในฐานะ พระรามที่เป็นมนุษย์และมีแค่สองกร
 
                       ซึ่งตรงนี้หลายคนคงบอกว่า ทศกัณฐ์เป็นตัวร้ายนี่หว่า มันก็ต้องตายอยู่แล้ว ครับคิดงั้นมันก็ไม่ผิดหรอกครับ แต่นนทุกแกดันถูกฆ่าตายก่อนเลยไม่รู้ว่า พวกเทวดาทั้งหลายต่างสรรพเตรียมพร้อมกันมาถล่มกันแล้ว ทั้งเทวดาคนไหนคนไหน แต่ที่หนักคือ
 
                        เมื่อตายโดนลมฟื้น
 
                        ใครมันจะชนะฟ่ะ ช่วยบอกผมหน่อย ถ้าเจอศัตรูที่ฆ่ายังไงก็ไม่ตายคุณจะสู้ยังไงล่ะ
 
                         แถมน้องยังหักหลังไปอยู่ข้างนู้นอีก แถมยังบอกที่ซ่อนหัวใจ ทำให้ตัวเองต้องตายอีกต่างหาก
 
                         นี่ล่ะครับ นัยยะของรามเกียรติ์ที่ได้ทิ้งเอาไว้คือภาพของความไม่เท่าเทียมของสงครามที่ผู้ชนะมีสิทธิจะทำอะไรใส่ใคร้ใครก็ให้เลวทรามต่ำช้าจนหมดสิ้น
 
                        เมื่อมองย้อนกลับมาที่อินทรีแดง เราจะเห็นสถานะภาพของหัวโขนพิเภกว่า ยังไม่น่าจะใช้หัวหน้าใหญ่ขององค์กรมาตุลีแน่นอน และคิดว่า ใครน่าจะอยู่เหนือพิเภกไปกันล่ะ
 
                         หน้ากากจึงเป็นสัญญะสำคัญของหนังเรื่องนี้
 
                         ดุจดังคำพูดที่ว่ามนุษย์ทุกคนย่อมสวมหน้ากาก
 
 
                         นอกจากองค์กรมาตุลีที่สวมหน้ากากปิดบังตัวตนไม่รู้ว่า พวกเขาคือใครแล้ว มนุษย์ทุกคนในเรื่องต่างสวมหน้ากากที่แตกต่างกันไป อย่างอินทรีแดงใส่หน้ากากเพื่อให้ตัวเองสามารถปฏิบัติงานได้อย่างไม่ถูกใครจับพร้อมทั้งปกปิดเรื่องราวในอดีตของตนเอง ขณะที่โรม ฤทธิไกลเป็นแค่หน้ากากชิ้นหนึ่งที่สวมปกปิดตัวเองไว้เท่านั้น (เราจึงมองว่า มนุษย์คนหนึ่งสามารถสวมหน้ากากได้หลายใบในคราวเดียว) ปีศาจดำตัวร้ายหลักของเรื่องนี้ก็สวมหน้ากากเพื่อปิดบังใบหน้าที่มีแต่บาดแผลไว้บวกกับการสร้างตัวตนที่สองเพื่อปกปิดตัวเองอีกชั้นในนาม จ่าซิงค์ ส่วนตัวละครอื่น ๆ ถึงแม้จะไม่ได้สวมสิ่งที่เรียกว่า หน้ากากเหมือนพวกตัวละครเหล่านี้
 
                         แต่พวกเขาก็มีหน้ากากหรือหน้าฉากที่แสดงออกมาให้เราเห็นได้อย่างน่าสนใจ
 
                         อย่างสารวัตรมนตรี ที่เป็นสารวัตรใหญ่หัวหน้าของหมวดชาติที่แสดงออกว่าจะต้องจับอินทรีแดงให้ได้ แต่เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่เอาใจช่วยอินทรีแดงให้กวาดล้างคนชั้วพวกนี้แทนเพราะ กฎหมายไม่เอาจะเอาผิดพวกนี้ได้
 
                         หรือนักการเมืองในเรื่องที่บางคนมีหน้าฉากดีแสนดี บางคนเป็นหัวหน้ามูลนิธิช่วยเหลือเด็กยากไร้ แต่กลับชอบล่วงประเวณีกับเด็กและอีกหลายกรณีที่บอกให้เราพอจะเข้าใจสำนวนที่ว่า หน้าเนื้อใจเสื้อขึ้นมาโดยบัดดล
 
                         หลายคนบอกว่า ประเด็นอินทรีแดงนั้นไปซ้ำกับหนังฮีโร่ของอเมริกาหลายเรื่อง ซึ่งผมไม่เถียงและเสริมต่อว่า ทุกสังคมย่อมมีสิ่งนี้เกิดขึ้นทั้งนั้น ใครล่ะจะไม่สวมหน้ากากปกปิดตัวเอง ใครล่ะจะแสดงออกกันตรง ๆ ออกมาอย่างตรงไปตรงมา ถ้าไม่อยากจะวุ่นวายกับชีวิต การสวมหน้ากากจึงเป็นการสงวนท่าทีความคิดเห็นตัวเองเอาไว้ด้านในกันจนไม่รู้ว่าใครเป็นใครเหมือนดั่งเช่นหนังฮีโร่เรื่อง Watchmen ที่เปิดประเด็นเรื่องหน้ากากและฮีโร่เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า
ซุปเปอร์ฮีโร่ = คนบ้า , คนที่อาการปวดจิตทางจิตใจ
 
                         หรือแม้กระทั่ง Batman ที่หลายคนชื่นชอบก็เป็นคนบ้าอย่างหนึ่งเหมือนกัน เพราะหากจะมองหาเหตุผลดี ๆ ของการเป็นฮีโร่ได้ล่ะก็ ไอ้หมอนั้นคนนั้นถ้าไม่บ้าก็คงเสียสติ
 
                        อินทรีแดงเองก็เป็นหนึ่งในนั้นแม้ว่า เขาจะออกปราบผู้ร้ายไปทั่วด้วยวิธีการสุดโหดจนแม้แต่หมวดชาติยังบอกว่า ไอ้หมอนี่มันโรคจิตชัด ๆ แล้วเราจะเห็นได้ว่า เขาใช้การปราบผู้ร้ายเพื่อระบายความแค้นของตัวเองแทบจะตลอดเวลา นี่ยังไม่พูดถึงการตั้งคำถามว่า อินทรีแดงไปหายาแก้ปวดพวกมอร์ฟีนมาจากไหนกัน (ถ้าเราเกิดความระแวงขึ้นมาว่า ไอ้ที่ไปถล่มโรงงานยาพวกนี้อินทรีแดงเอาไปใช้เองหรือเปล่า) คำพูดของวาสนา แฟนของเขาที่เห็นโรมกำลังจะเอายานี้มาฉีดและพูดว่า
 
 
                      “ถ้าอินทรีแดงยังเป็นแบบนี้ เรายังไปหวังอะไรได้อีก”
 
                      เหนือสิ่งอื่นใดหนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการให้บอกว่า เราต้องมานั่งรอคอยวีรบุรุษที่ยังเอาตัวเองแทบจะไม่รอด อินทรีแดงเองก็เป็นมนุษย์ที่มีวันเจ็บและตายเหมือนเช่นคนอื่น เราได้เห็นเขาถูกยิงจนพรุนและหมดสภาพทั้ง ๆ ที่ผ่านไปกี่นาทีเป็นการหวังพึ่งวีรบุรุษหรือใครคนใดคนหนึ่ง มิใช่ทางที่สังคมควรจะเป็น ยิ่งมองย้อนไปยังเหล่าฮีโร่ใน Watchmen ที่ล้วนแล้วแต่มีแต่คนป่วยไข้ที่น่าจะส่งโรงพยาบาลทางจิตเกือบทั้งยวงแล้ว สิ่งที่หนังได้บอกใบ้ไว้ตลอดเวลาก็คือ คำพูดในตอนต้นของเหล่านักวิชาการที่มาถกเถียงกันจนเหมือนไร้สาระในสายตาคนดู
 
                     แต่นั้นคือหนทางที่ดีที่สุดของเวลานี้
 
                    เราทุกคนมีความเป็นวีรบุรุษในตัว ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะดึงมันออกมาแค่ไหน
 
                    แต่มันก็ไม่ได้บอกให้เราใส่หน้ากากออกไปตื้บคนร้ายแบบอินทรีแดง แต่พูดถึงการพัฒนาองค์กรภาคประชาชนให้เข้มแข็งขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจในสิทธิและเสรีภาพของตัวเอง เพราะเราไม่จำเป็นจะต้องให้อำนาจพิเศษใด ๆ หรือศาลเตี้ยใด ๆ ออกมาตัดสินว่า อะไรถูกหรือผิด
 
                     เพราะสังคมที่มีซุปเปอร์ฮีโร่หรืออำนาจพิเศษมากเพียงใดก็บอกได้ว่า ประเทศนั้นมีประชาชนที่แสนอ่อนแอและระบบกฎหมายที่ง่อยเปลี้ยจนทำอะไรไม่เป็นนอกจากนั่งอ้อนวอนให้วีรบุรุษมาช่วยก็แค่นั้น
 
                      ถ้าประชาชนไม่เข้มแข็ง อินทรีแดงเป็นสิบคนก็ไม่อาจจะช่วยสังคมนั้นไปให้พ้นหายนะได้
  

 

ปรับปรุงจากบทความ อินทรีแดงใน วารสารรายปี Crop Magazine ฉบับที่ 2 ปี 2010 ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ 

บล็อกของ Mister American

Mister American
ปี 2515 ณ หมู่บ้านห่างไกลผู้คนในจังหวัดกาญจนบุรี แย้ม เด็กสาวผู้เคยป่วยหนักจนเกือบตายได้มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น เธอเริ่มพูดจาด้วยคำหยาบคายกับคนในครอบครัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เริ่มโกหกและยุแยงให้คนในบ้านแตกคอกัน รวมทั้งลุกขึ้นมาตอนกลางคืนเพื่อนกินของสดทำให้คนในครอบครัวโดยเฉพาะ หยาด เกิดความสงสัยขึ
Mister American
สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน           “ความตาย...มันฆ่าเฮาได้แค่ครั้งเดียว แต่ความฮัก มันฆ่าเฉาไปเรื่อยๆๆ จนกว่าเฮาสิตายพุ่นเด้”บักมืด 
Mister American
                ระหว่างที่เขียนต้นฉบับบทความนี้อยู่นั้น การโหวตประธานรัฐสภาและรองประธานสองคนการประชุมสภาวันแรกได้จบลงแล้ว และ ผลคือ คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนใหม่ ร่วมกับ รองประธานสภาสองท่านจากพรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อ
Mister American
            คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดในซีซั่นนี้ที่เรียกว่า สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับบรรดาคนดูอนิเมชั่น และ คนดูหนังหลายคนได้เท่ากับ อนิเมชั่นซีรีย์เรื่อง Oshi no Ko หรือ ชื่อไทยว่า เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ผลงานดัดแปลงจากมังงะขายดีของ อากะ อาคาซากะ ที่ได้ฤกษ์ออกฉายไปเมื่อ
Mister American
                "พรมนิ้วลงไป หวังให้อัสนีกึกก้องด้วยละอองแสง                   กระหน่ำตีเข้าไปให้ถึงปลายทางของความเจ็บปวด
Mister American
                พอ Hellraiser ภาคใหม่จะลงฉายใน Hulu กันในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ (ซึ่งไทยจะได้ดูกันใน Disney Plus) นับว่าเป็นการกลับมาอีกครั้งของพินเฮดและเหล่าซีโนไบร์ต หนึ่งในไอค่อนของโลกสยองขวัญที่โด่งดังไม่แพ้ เฟรดดี้ ครูเกอร์ แห่ง Nightmare of elm street , เ
Mister American
พึ่งจบกันไปหมาด ๆ สำหรับอนิเมชั่นเรื่องดังประจำซีซั่นนี้อย่าง Lycoris  Recoli จากค่าย A-1 Picture ที่นอกจากจะเป็นม้ามืดประจำซีซั่นนี้ที่ได้รับความนิยมแบบถล่มทลายจนแซงหน้าบรรดาอนิเมชั่นฟอร์มยักษ์เรื่องอื่น ๆ ไปแบบไม่มีกังขา โดผลโหวตจากสำนักอนิเมชั่นต่าง ๆ โหวตให้เรื่องนี้อยู่
Mister American
“ทำไมถึงไม่มีหนังสัตว์ประหลาดไทยดี ๆ ออกมาสักทีวะ ?”
Mister American
คงไม่ต้องบอกว่า ณ ช่วงเวลานี้ หลาย ๆ คนคงให้ความสนใจกับการชุมนุมของบรรดาหนุ่มสาววัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษาคนรุ่นใหม่ที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ขับไล่เผด็จการ และ เปลี่ยนแปลงประเทศใหม่ กันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะปรากฏการณ์ของการชุมนุมที่เกิ
Mister American
               “จูออน คือ คำสาปของผู้ที่ตายด้วยความเคียดแค้น ณ สถานที่ที่ตาย ผู้ที่เผชิญหน้ากับมันจะต้องตาย และ คำสาปแช่งใหม่จะถือกำเนิด”
Mister American
“เสียงปืนที่ดังขึ้นภายในงานเลี้ยงของกำนันผู้มีอิทธิพลในจังหวัดเชียงรายดังขึ้น ร่างของกำนันคนดังล้มลงกองกับพื้น หลังจากพึ่งรับตำแหน่งได้ไม่นาน เสียงหวีดร้องของผู้คนในงาน เสียงร่ำไห้ และ ความตื่นตะลึงเกิดขึ้น มือปืนยืนนิ่งอยู่ตรงหน้าของศพที่แน่นิ่งจมกองเลือดอย่างไร้ซึ่งอารมณ์ ข