Skip to main content

               พึ่งผ่านเหตุการณ์สั่นสะเทือนมาไม่กี่วัน หลังการสลายตัวไปของม๊อบองค์การพิทักษ์สยามของพลเอก บุญเลิศแก้วประสิทธิ์ สังคมไทยก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติภายหลังตื่นตระหนกตกใจว่า ประเทศนี้อาจจะกำลังเข้าสู่สภาวะสุญญากาศเหมือนช่วงรัฐบาลก่อนหน้านี้ก็เป็นได้ โชคดีเพียงว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

 
                และเหมือนตลกร้ายที่คืนนั้นเองช่องฟรีทีวีอย่างช่อง 7 และได้ TPBS ได้ฉายหนังสองเรื่องควบคู่กันไปราวกับนัดกันมาไว้หมดแล้ว ได้แก่ ปิดเมืองเดือดระอุ และ อินทรีแดง
 
               โดยเฉพาะอินทรีแดงนั้นหากจะพูดก็คือ การมาในช่วงจังหวะเหมาะอีกครั้งในจังหวะที่สังคมประเทศนี้กำลังพูดถึง
 
                สิ่งที่เรียกว่า วีรบุรุษ (Hero)
 
 
เมื่อวายร้ายครองเมือง อินทรีแดงผงาดฟ้า
 
                    เรื่องราวของจอมโจรสุภาพบุรุษ หรือ ฮีโร่ที่สวมหน้ากากอินทรีนามว่า อินทรีแดง เป็นเรื่องราวคลาสสิคผ่านปากกาของเศก ดุสิต ที่รังสรรค์เรื่องราวของฮีโร่คนนี้จนโดนใจคนอ่านอย่างยิ่ง และมีการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์มาแล้ว หลากยุคหลากสมัยและคงไม่มีใครที่หลายจดจำในชุดหนังสีดำนี้ได้เท่ากับ พระเอกหนุ่มขวัญใจคนไทยตลอดกาลผู้ล่วงลับอย่าง มิตร ชัยบัญชา ที่บทอินทรีแดง คือบทบาทที่เขารักที่สุดในชีวิตการแสดงของเขา และหลังจากนั้นก็ไม่มีใครสวมบทอินทรีแดงแล้วได้รับความนิยมเท่ากับเขาอีกเลย กระทั่งอินทรีแดงถูกนำมาสร้างใหม่อีกครั้งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านและนำนักแสดงยอดนิยมอย่าง อนันดา เอเวอริ่งแฮมมาแสดงก็ยังไม่ได้ผลตอบรับเท่าไหร่นัก เพราะหนังไม่ทำเงินเท่าไหร่จนหมดสิทธิทำภาคสองไปโดยปริยาย
 
               กระนั้นสิ่งที่น่าตกใจก็คือ กระแสความนิยมเฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะคนชอบฮีโร่ทั้งหลาย (หรือโอตาคุฮีโร่) หรือกระทั่งคนที่ได้รับชมผ่านทางทีวีบ้าง ดีวีดีบ้างต่างพูดกันไปเป็นเสียงเดียวกันว่า
 
               เสียดายที่ไม่ได้ชมในโรง
 
               นอกจากนั้นยังมีกระแสทั้งนิยายแฟนฟิคชั่นที่แฟน ๆ แต่งขึ้นบ้าง ภาพวานแฟนฟิคชั่นบ้าง รวมทั้งการพูดถึงผ่านสื่อต่าง ๆ ก็ทำให้เรียกได้ว่า อินทรีแดงภาคนี้มีสถานะกลายเป็นหนังคัลท์กลาย ๆ ไปแล้ว
 
                   หนังคัลท์ คือ หนังที่ได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่ม ซึ่งอาจจะเป็นหนังที่ไม่ดังบ้าง หนังที่เจ๊งบ้างตอนออกฉาย หนังที่โหดจนคนดูรับไม่ได้ แต่มีคนชอบและมากพอเสียด้วยที่ทำให้หนังยังคงถูกพูดถึงอยู่ไม่ใช่ตายไปกับกาลเวลา อาทิ หนังอย่าง Evil Dead หรือ Night of Living Dead ที่ล้วนแล้วแต่เป็นหนังที่ได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่มแทบจะทั้งสิ้น ฉะนั้นความนิยมของอินทรีแดงที่ยังเหลืออยู่ก็เรียกได้ว่า หนังคัลท์น่าจะไม่ผิดแปลกไปนัก
 
                    นอกจากนี้อินทรีแดงยังคงสถานะในการวิพากษ์สังคมในด้านต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจราวกับไม่เคยล้าสมัยไปเลยด้วยซ้ำ ซึ่งหากลองศึกษาดี ๆ แล้วเราสามารถพบแง่มุมที่น่าสนใจในหนังเรื่องนี้ได้มากมายจนไม่น่าเชื่อว่า หนังนี้จะขับเคลื่อนเรื่องราวไปพร้อมกันได้มากขนาดนี้
 
                    โดยเฉพาะเรื่องการเมือง
 
 
                    การเมืองในหนังอินทรีแดงในยุคแรกเริ่มนั้นเป็นยุคที่สังคมไทยกำลังตื่นกลัวในภัยของคอมมิวนิสต์อันจะเห็นได้ว่า อินทรีแดงในยุคแรกต้องต่อสู้กับพวกคอมมิวนิสต์ที่กำลังหาทางบุกยึดประเทศไทย ไม่ต่างกับพวกองค์กรช็อคเกอร์ของไอ้มดแดงที่หวังยึดครองโลกโดยผ่านแผนการต่าง ๆ มากมาย และน่าสนใจก็คือ อินทรีแดงในยุคนั้นทำงานให้กับรัฐบาล
 
                   ทว่าเรื่องราวกลับเปลี่ยนไปในปัจจุบัน เมื่ออินทรีแดงในหนังภาคนี้เปลี่ยนสถานะจากสายลับที่ทำงานให้กับรัฐบาลกลายเป็นศัตรูตัวฉกาจที่รัฐบาลและตำรวจต้องไล่จับให้จงได้
 
                     แม้ว่าจะยังคงเป็นฮีโร่ที่ยังไล่จัดการคนชั้วแบบตาต่อตาฟันต่อฟันเหมือนเดิมแล้วศัตรูของอินทรีแดงก็ไม่พ้นที่จะเป็นนักการเมืองชั่วและข้าราชการฉ้อฉลที่แฝงตัวอยู่เบื้องหลังความมืดมิดในสังคมไทย 
 
                    เหตุใดศัตรูของอินทรีแดงจึงเปลี่ยนสภาพไปเช่นนี้ คงต้องลองมองย้อนไปดูบริบทของหนังรอบนอกที่เราพบว่า อินทรีแดงภาคนี้ถูกฉายขึ้นภายหลังเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองสองครั้งได้แก่ การรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 และเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสังคมที่กำลังอยู่ในภาวะแตกแยกอย่างหนัก และ การใช้อำนาจนอกระบบก็ไม่ได้ทำอะไรให้มันดีไปกว่าเดิมนอกจากทำให้ทุกอย่างมันวุ่นวายไปกว่าเดิมเสียอีก
 
 
                     แน่นอนว่า ความเลวร้ายนี้ถูกโยนใส่เหล่านักการเมืองชั้ว ๆ ที่อินทรีแดงไปไล่ฆ่า ข้าราชการเลว ๆ ที่คิดแต่จะหาผลประโยชน์ใส่ตัวเอง มือถือสากปากถือศีลอ้างประชาชนเป็นหลัก 
 
                      อันที่จริงแล้วหนังได้ใส่สิ่งที่เลวร้ายกว่านักการเมืองพวกนั้นก็คือ เบื้องหลังความชั่วร้ายของประเทศนี้ถูกควบคุมโดยสมาชิกสวมสูทใส่หน้ากากที่มีชื่อว่า มาตุลี
 
 
                     มาตุลีนั้นแปลงมาจากตำนานในรามเกียรติ์โดย มาตุลีนั้นเป็นชื่อของสารถีหรือคนขับรถของพระราม ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นเทพที่พระอินทร์ส่งมาช่วยขับรถศึกให้ และที่น่าสนใจยิ่งคือ หน้ากากของเหล่ามาตุลีนั้นถูกออกมาแบบมาคล้ายกับหัวโขนที่มีระดับขั้นแตกต่างกันไป คือ หัวสีเงินมีรูปร่างคล้ายลิงเป็นพวกสมาชิก
 
                     และหัวสีทองเป็นยักษ์ที่คล้ายกับหัวหน้าขององค์กร
 
                     และคือยักษ์ที่มีชื่อว่า พิเภก
\
 
                      ตามเรื่องราวของรามเกียรติ์นั้น พิเภกเป็นน้องของทศกัณฐ์ที่เป็นยักษ์ใจดีและไม่มีฤทธิ์ แต่มีความสามารถในการทำนายทายทักและรู้เรื่องศาสตราวุธ จุดอ่อนของพลพรรคยักษ์เป็นอย่างดี ทว่าหลังจากไปเสนอให้คืนนางสีดำให้กับพระรามแล้ว พิเภกก็ถูกขับไล่ออกมาจนต้องไปอยู่กับพระรามและเป็นคนที่คอยบอกใบ้จุดอ่อนของอาวุธต่าง ๆ จนทำให้พระรามเอาชนะทศกัณฐ์ได้ในที่สุด
 
                      แน่นอนว่าหากเป็นตามวรรณคดีนั้น พิเภกย่อมเป็นฝ่ายดี แต่จงอย่าลืมว่า วรรณคดีรามเกียรติ์นี้จริง ๆ แล้วเป็นนิยายการเมืองที่บันทึกเรื่องราวการแย่งชิงแผ่นดินอารยันของชนเผ่าสองชนเผ่าในอดีตได้แก่ ชาวอารยันและชาวทมิฬที่เป็นผู้ครอบครองดินแดนแห่งนี้อยู่แล้ว
 
                     ดังนั้นสถานะจริง ๆ ของพิเภกก็คือ หนอนบ่อนไส้ดี ๆ หรือพวกทรยศ
 
                     ซึ่งก็ตรงกับสถานะของบุรุษที่คาดว่าน่าจะสวมหน้ากากพิเภกนี้นั้นคือ นายกรัฐมนตรีในเรื่องซึ่งได้แก่ ดิเรก ดำรงประภา ผู้ที่เคยสัญญาเรื่องต่าง ๆ ไว้กับประชาชนทว่าสุดท้ายเขากลับหักหลังประชาชนไปในที่สุด ซึ่งไม่ได้ต่างกับการที่พิเภกไปอยู่กับพระรามเลยแม้แต่น้อยเพียงแต่สถานะในหนังสือนั้นเขียนขึ้นเพื่ออวยพิเภกว่า ถูกทำร้ายมาทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วตัวเขานั้นหักหลังวงศ์วานและพรรคพวกของตัวเองจนต้องตายกันไปหมด
 
                     แถมตัวเองยังได้ครองเมืองลงกาในช่วงท้ายอีกต่างหาก ในฐานะประเทศราชของอโยธยา
 
                      ที่จริงแล้วสถานะของทศกัณฐ์นั้นในวรรณคดีเรื่องนี้นั้นถูกสร้างให้เป็นตัวร้ายทั้งแต่ต้นทั้งที่ ทศกัณฐ์นั้นมีสถานะเป็นนักปราชญ์ผู้ทรงธรรมตามความเชื่อของชาวทมิฬ ซึ่งเมื่อพ่ายแพ้ให้กับชาวอารยันแล้วไซร้ก็จึงมีการเปลี่ยนแปลงให้ทศกัณฐ์กลายเป็นตัวร้ายที่เลวทรามต่ำช้าจนแทบไม่มีดี อันเนื่องผลทางการเมืองที่เมื่อวัฒนธรรมหนึ่งเข้าครอบครองอีกวัฒนธรรมหนึ่งแล้วก็ตามกลืนวัฒนธรรมนั้นเพื่อไม่ให้ฝ่ายที่ถูกกลืนลุกขึ้นหือขึ้นมาได้อีก ดั่งเช่นทศกัณฐ์เอง 
 
                      หากต้องเล่า ทุกคนคงรู้จักนนทุก ชาติก่อนของทศกัณฐ์ดีกว่าตัวของเขานั้นต้องทนทุกข์กับการกลั่นแกล้งของพวกเทวดานางฟ้าทั้งหลายมาโดยตลอด (นัยยะคือการกดขี่ทางสังคมของชาวอารยันที่มีต่อชาวทมิฬ) นั้นทำเขาให้ไปขอพรกับพระศิวะให้มีนิ้วเพชรชี้ใครตาย ซึ่งนนทุกเอาไปแก้แค้นชี้เทวดานางฟ้าตายกันเป็นเบือร้อนถึงพระศิวะต้องให้พระนารายณ์ไปปราบนนทุก โดยพระนารายณ์แปลงเป็นนางฟ้าไปสอนนนทุกรำและใช้อุบายจนสังหารนนทุกได้ โดยนนทุกบอกว่า มันไม่แฟร์เขามีสองมือไม่อาจจะสู้สี่มือของพระนารายณ์ได้ พระนารายณ์เลยให้นนทุกไปเกิดเป็นยักษ์ที่มี 20 มือ 20 หน้า ส่วนพระนารายณ์จะตามไปปราบในฐานะ พระรามที่เป็นมนุษย์และมีแค่สองกร
 
                       ซึ่งตรงนี้หลายคนคงบอกว่า ทศกัณฐ์เป็นตัวร้ายนี่หว่า มันก็ต้องตายอยู่แล้ว ครับคิดงั้นมันก็ไม่ผิดหรอกครับ แต่นนทุกแกดันถูกฆ่าตายก่อนเลยไม่รู้ว่า พวกเทวดาทั้งหลายต่างสรรพเตรียมพร้อมกันมาถล่มกันแล้ว ทั้งเทวดาคนไหนคนไหน แต่ที่หนักคือ
 
                        เมื่อตายโดนลมฟื้น
 
                        ใครมันจะชนะฟ่ะ ช่วยบอกผมหน่อย ถ้าเจอศัตรูที่ฆ่ายังไงก็ไม่ตายคุณจะสู้ยังไงล่ะ
 
                         แถมน้องยังหักหลังไปอยู่ข้างนู้นอีก แถมยังบอกที่ซ่อนหัวใจ ทำให้ตัวเองต้องตายอีกต่างหาก
 
                         นี่ล่ะครับ นัยยะของรามเกียรติ์ที่ได้ทิ้งเอาไว้คือภาพของความไม่เท่าเทียมของสงครามที่ผู้ชนะมีสิทธิจะทำอะไรใส่ใคร้ใครก็ให้เลวทรามต่ำช้าจนหมดสิ้น
 
                        เมื่อมองย้อนกลับมาที่อินทรีแดง เราจะเห็นสถานะภาพของหัวโขนพิเภกว่า ยังไม่น่าจะใช้หัวหน้าใหญ่ขององค์กรมาตุลีแน่นอน และคิดว่า ใครน่าจะอยู่เหนือพิเภกไปกันล่ะ
 
                         หน้ากากจึงเป็นสัญญะสำคัญของหนังเรื่องนี้
 
                         ดุจดังคำพูดที่ว่ามนุษย์ทุกคนย่อมสวมหน้ากาก
 
 
                         นอกจากองค์กรมาตุลีที่สวมหน้ากากปิดบังตัวตนไม่รู้ว่า พวกเขาคือใครแล้ว มนุษย์ทุกคนในเรื่องต่างสวมหน้ากากที่แตกต่างกันไป อย่างอินทรีแดงใส่หน้ากากเพื่อให้ตัวเองสามารถปฏิบัติงานได้อย่างไม่ถูกใครจับพร้อมทั้งปกปิดเรื่องราวในอดีตของตนเอง ขณะที่โรม ฤทธิไกลเป็นแค่หน้ากากชิ้นหนึ่งที่สวมปกปิดตัวเองไว้เท่านั้น (เราจึงมองว่า มนุษย์คนหนึ่งสามารถสวมหน้ากากได้หลายใบในคราวเดียว) ปีศาจดำตัวร้ายหลักของเรื่องนี้ก็สวมหน้ากากเพื่อปิดบังใบหน้าที่มีแต่บาดแผลไว้บวกกับการสร้างตัวตนที่สองเพื่อปกปิดตัวเองอีกชั้นในนาม จ่าซิงค์ ส่วนตัวละครอื่น ๆ ถึงแม้จะไม่ได้สวมสิ่งที่เรียกว่า หน้ากากเหมือนพวกตัวละครเหล่านี้
 
                         แต่พวกเขาก็มีหน้ากากหรือหน้าฉากที่แสดงออกมาให้เราเห็นได้อย่างน่าสนใจ
 
                         อย่างสารวัตรมนตรี ที่เป็นสารวัตรใหญ่หัวหน้าของหมวดชาติที่แสดงออกว่าจะต้องจับอินทรีแดงให้ได้ แต่เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่เอาใจช่วยอินทรีแดงให้กวาดล้างคนชั้วพวกนี้แทนเพราะ กฎหมายไม่เอาจะเอาผิดพวกนี้ได้
 
                         หรือนักการเมืองในเรื่องที่บางคนมีหน้าฉากดีแสนดี บางคนเป็นหัวหน้ามูลนิธิช่วยเหลือเด็กยากไร้ แต่กลับชอบล่วงประเวณีกับเด็กและอีกหลายกรณีที่บอกให้เราพอจะเข้าใจสำนวนที่ว่า หน้าเนื้อใจเสื้อขึ้นมาโดยบัดดล
 
                         หลายคนบอกว่า ประเด็นอินทรีแดงนั้นไปซ้ำกับหนังฮีโร่ของอเมริกาหลายเรื่อง ซึ่งผมไม่เถียงและเสริมต่อว่า ทุกสังคมย่อมมีสิ่งนี้เกิดขึ้นทั้งนั้น ใครล่ะจะไม่สวมหน้ากากปกปิดตัวเอง ใครล่ะจะแสดงออกกันตรง ๆ ออกมาอย่างตรงไปตรงมา ถ้าไม่อยากจะวุ่นวายกับชีวิต การสวมหน้ากากจึงเป็นการสงวนท่าทีความคิดเห็นตัวเองเอาไว้ด้านในกันจนไม่รู้ว่าใครเป็นใครเหมือนดั่งเช่นหนังฮีโร่เรื่อง Watchmen ที่เปิดประเด็นเรื่องหน้ากากและฮีโร่เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า
ซุปเปอร์ฮีโร่ = คนบ้า , คนที่อาการปวดจิตทางจิตใจ
 
                         หรือแม้กระทั่ง Batman ที่หลายคนชื่นชอบก็เป็นคนบ้าอย่างหนึ่งเหมือนกัน เพราะหากจะมองหาเหตุผลดี ๆ ของการเป็นฮีโร่ได้ล่ะก็ ไอ้หมอนั้นคนนั้นถ้าไม่บ้าก็คงเสียสติ
 
                        อินทรีแดงเองก็เป็นหนึ่งในนั้นแม้ว่า เขาจะออกปราบผู้ร้ายไปทั่วด้วยวิธีการสุดโหดจนแม้แต่หมวดชาติยังบอกว่า ไอ้หมอนี่มันโรคจิตชัด ๆ แล้วเราจะเห็นได้ว่า เขาใช้การปราบผู้ร้ายเพื่อระบายความแค้นของตัวเองแทบจะตลอดเวลา นี่ยังไม่พูดถึงการตั้งคำถามว่า อินทรีแดงไปหายาแก้ปวดพวกมอร์ฟีนมาจากไหนกัน (ถ้าเราเกิดความระแวงขึ้นมาว่า ไอ้ที่ไปถล่มโรงงานยาพวกนี้อินทรีแดงเอาไปใช้เองหรือเปล่า) คำพูดของวาสนา แฟนของเขาที่เห็นโรมกำลังจะเอายานี้มาฉีดและพูดว่า
 
 
                      “ถ้าอินทรีแดงยังเป็นแบบนี้ เรายังไปหวังอะไรได้อีก”
 
                      เหนือสิ่งอื่นใดหนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการให้บอกว่า เราต้องมานั่งรอคอยวีรบุรุษที่ยังเอาตัวเองแทบจะไม่รอด อินทรีแดงเองก็เป็นมนุษย์ที่มีวันเจ็บและตายเหมือนเช่นคนอื่น เราได้เห็นเขาถูกยิงจนพรุนและหมดสภาพทั้ง ๆ ที่ผ่านไปกี่นาทีเป็นการหวังพึ่งวีรบุรุษหรือใครคนใดคนหนึ่ง มิใช่ทางที่สังคมควรจะเป็น ยิ่งมองย้อนไปยังเหล่าฮีโร่ใน Watchmen ที่ล้วนแล้วแต่มีแต่คนป่วยไข้ที่น่าจะส่งโรงพยาบาลทางจิตเกือบทั้งยวงแล้ว สิ่งที่หนังได้บอกใบ้ไว้ตลอดเวลาก็คือ คำพูดในตอนต้นของเหล่านักวิชาการที่มาถกเถียงกันจนเหมือนไร้สาระในสายตาคนดู
 
                     แต่นั้นคือหนทางที่ดีที่สุดของเวลานี้
 
                    เราทุกคนมีความเป็นวีรบุรุษในตัว ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะดึงมันออกมาแค่ไหน
 
                    แต่มันก็ไม่ได้บอกให้เราใส่หน้ากากออกไปตื้บคนร้ายแบบอินทรีแดง แต่พูดถึงการพัฒนาองค์กรภาคประชาชนให้เข้มแข็งขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจในสิทธิและเสรีภาพของตัวเอง เพราะเราไม่จำเป็นจะต้องให้อำนาจพิเศษใด ๆ หรือศาลเตี้ยใด ๆ ออกมาตัดสินว่า อะไรถูกหรือผิด
 
                     เพราะสังคมที่มีซุปเปอร์ฮีโร่หรืออำนาจพิเศษมากเพียงใดก็บอกได้ว่า ประเทศนั้นมีประชาชนที่แสนอ่อนแอและระบบกฎหมายที่ง่อยเปลี้ยจนทำอะไรไม่เป็นนอกจากนั่งอ้อนวอนให้วีรบุรุษมาช่วยก็แค่นั้น
 
                      ถ้าประชาชนไม่เข้มแข็ง อินทรีแดงเป็นสิบคนก็ไม่อาจจะช่วยสังคมนั้นไปให้พ้นหายนะได้
  

 

ปรับปรุงจากบทความ อินทรีแดงใน วารสารรายปี Crop Magazine ฉบับที่ 2 ปี 2010 ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ 

บล็อกของ Mister American

Mister American
               สำหรับหลายคน หนังเรื่องแรกเป็นเสมือนความฝันอันงดงามที่อยากจะทำให้สำเร็จ แต่สำหรับผู้กำกับหลายคนนั้นหนังเรื่องแรกของพวกเขานั้นไม่ได้สวยงามหรืออกมาราบรื่นอย่างที่คิด บางคนถูกไล่ออกจากโปรเจ็ท บางคนเกือบสติแตก หรือ บางคนก็เจอการกดดันจากอิทธิพลที่
Mister American
            "วิญญาณคือ ความทรงจำที่ตกค้าง ไม่ว่าจะเป็นความทรงจำที่ดีหรือเลวร้าย มันจะยังคงอยู่และปรากฏขึ้นเสมอ"
Mister American
              ระหว่างที่ผมกำลังนั่งเขียนต้นฉบับอยู่ตอนนี้ภาพยนตร์ซอมบี้ทุนต่ำเรื่องใหม่จากเกาะญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า One Cut of the dead กำลังสร้างกระแสครั้งใหญ่ให้กับวงการหนัง เมื่อ หนังซอมบี้ทุนต่ำเรื่องนี้ทำรายได้ถล่มทลายไปแล้วทั่วโลกกว่า 10 ล้า
Mister American
คิชิดะ จุน เป็นเด็กหนุ่มมัธยมปลายที่มองเห็นคนตายได้ และ ข้าง ๆ เขานั้นมี ฮายาคาวะ เคียวโกะ เพื่อนสมัยเด็กที่ถูกฆ่าตายและมาปรากฏตัวอยู่เคียงข้างเขา ท่ามกลางเรื่องราวสยองขวัญ ลึกลับที่เกิดขึ้นรอบตัวเขา
Mister American
                คงไม่ต้องแปลกใจหาก KOE NO KATACHI หรือ รักไร้เสียง อนิเมชั่นเรื่องดังจากญี่ปุ่นโดยฝีมือผลงานของสตูดิโอ Kyoto Animation หรือที่เรียกติดปากนักดูอนิเมะว่า เกียวอนิเมะ ผู้ผลิตอนิเมชั่นชื่อดังอย่าง Clannad , Kanon , K-on  เป็นต้น จะกลายเป็นห
Mister American
              คงไม่ใช่ความน่าแปลกหรือประหลาดใจอีกแล้วกับปรากฏการณ์หนังอีสานถล่มเมืองที่นับจากผู้บ่าวไทบ้านภาคแรกเข้าฉายในปี 2014 และทำเงินไปได้อย่างมากมายในแผ่นดินอีสานนั้นจะทำให้เกิดหนังลูกอีสานหน้าใหม่ขึ้นอย่างมากมาย และแน่นอนว่า ความสำเร็จนี้ได้ต่อยอดให้หนังอ
Mister American
               ณ ช่วงเวลานี้คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดถูกกล่าวถึงและพูดมากกว่า อนิเมชั่นเรื่องล่าสุดของชินไค มาโคโตะ ผู้กำกับอนิเมชั่นดราม่าชื่อดังอย่าง 5 centimeters per second หรือ The Garden of word อย่าง Your Name หรือ Kimi No Nawa (หลับตาฝันถึงชื
Mister American
คงไม่ต้องแปลกใจว่า หากจะมองหาหนังไทยสักเรื่องที่น่าหยิบมาพูดถึงหนังเรื่อง ผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง นั้นเป็นหนึ่งในหนังที่ควรหยิบมาพูดมากเรื่องหนึ่งในขณะนี้นอกจากจะเป็นหนังภาคต่อที่สานความสำเร็จมาจากภาคแรกที่สร้างปรากฏหนังท้องถิ่นนิยมให้เกิดขึ้นในวงการภาพยนตร์ไทย เมื่อหนังเล็ก ๆ นี้
Mister American
                นี่คือ การกลับมาที่ทุกคนรอคอย ภายหลังจาก ก็อตซิลล่าฮอลลีวู้ดของ กาเรธ เอ็ดเวริ์ดออกอาละวาดไปในปี 2014 และแน่นอนว่า มันทำให้ชื่อของก็อตซิลล่าลืมตาตื่นขึ้นอีกครั้ง ทว่า สำหรับแฟน ๆ เดนตายของก็อตซิลล่านั้นคงค่อนข้างที่จะผิดหวังที่ได้เห็นก็อตซิล
Mister American
คงไม่มีอะไรต้องพูดมากนอกจากนี่คือ ภาพยนตร์ซอมบี้ที่ดีที่สุดในรอบหลายปี และที่สำคัญนี่ไม่ใช่หนังที่สร้างโดยฮอลลีวู้ดแต่เป็นเกาหลีใต้ ประเทศที่มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเอเชียที่เรียกว่าเป็นเบอร์หนึ่งไปแล้วในด้านคุณภาพของหนังที่นอกจากฮอลลีวู้ดแล้วมีเพียงประเทศนี้ที่ทำหนังออกมาได้สากลและสนุกในแบบที่ทุก
Mister American
ยังคงเป็นช่วงเวลาเศรษฐกิจยังไม่มีวี่แววว่าจะ ฟื้นตัวเสียที ในช่วงปลายปี 2015 นี้ทุกอย่างยังคงมองไม่เห็นว่า อนาคตจะเป็นเช่นไร กระนั้นเองสำหรับงานหนังสือแห่งชาติ เดือนตุลาคมนี้ยังคงเป็นช่วงเวลาร้อนแรงของบรรดาค่ายไลท์โนเวลต่าง ๆ มากมายที่ต่างเตรียมกระสุนดินดำ หรือ ออกหนังสือมาเพื่อจูงใจนักอ่านทั้งหล