Skip to main content

 


รูปนี้ก็ต้องจับกล้องนิ่ง ๆ เพราะถ่ายท้องฟ้าตอนเย็น

มีกล้องแล้ว ฝึกให้มือนิ่ง ๆ ได้แล้ว สำหรับมือใหม่หัดถ่ายก็อาจใช้โหมด Auto ไปก่อนได้ แต่พอใช้โหมดนี้ไปสักพัก เริ่มเรียนรู้ความสำคัญของความไวชัตเตอร์ และรูรับแสงที่สัมพันธ์กันแล้ว ก็อาจเปลี่ยนมาใช้โหมด Av หรือ Tv ก็ได้ ช่างภาพมักเรียกค่ารูรับแสงว่า f เอฟ

 

โหมด Av ก็คือ เราตั้งค่ารูปรับแสงไว้คงที่ แล้วกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สมดุลโดยอัตโนมัติตามสภาพของแสง

 

โหมด Tv ก็คือ เราตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไว้คงที่ แล้วกล้องจะปรับเอฟ หรือรูรับแสงเพิ่มลดให้อัตโนมัติตามสภาพของแสง

 

 

สำหรับเราชอบใช้ Av ชอบตั้งค่ารูรับแสงต่ำ ๆ ค่ารูรับแสงต่ำ แปลว่าเปิดกว้าง แต่ถ้าค่ารูรับแสงสูงแปลว่าเปิดแคบ ใช้ตอนแดดจัดแสงเยอะเปิดรูรับแสงแคบ ๆ แสงน้อยเปิดรูรับแสงกว้าง ๆ แสงจะได้เข้ามาได้มากพอ และเป็นเทคนิคง่าย ๆ สำหรับการถ่ายภาพแบบให้หน้าชัดหลังเบลอ นั่นก็คือ เปิดเอฟกว้างที่สุด (เอฟกว้างตัวเลขน้อย) ส่วนความเร็วก็แล้วแต่กล้อง

 


รูปนี้มีเหมือนไม่มีคอมโพส

 

หลักการถ่ายภาพว่าไปแล้วก็เหมือนการใช้ชีวิตแหละ ต้องสมดุล ถ้าแสงน้อยภาพก็มืด แสงมากภาพก็โอเวอร์ อยากได้ภาพดีก็ต้องอยู่นิ่ง ๆ มีสติ จับกล้องนิ่ง ๆ มองให้เห็นแสงเงา และตั้งค่าสมดุลของแสงในตัวกล้องให้พอดี กล้องเป็นเครื่องมือในการนำสิ่งที่เราเห็นออกมา และการจะนำออกมาให้สวยได้อย่างไรนั้น มีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะฝึกไว้ นั่นคือการจัดองค์ประกอบให้กับภาพ องค์ประกอบหรือคอมโพสสิชั่น หรือบางคนเรียกคอมโพส

 

คอมโพสก็ใช้หลักการสมดุลเหมือนกัน อย่างง่ายที่สุดก็คือเอาไว้ตรงกลาง สองข้างเท่ากัน อย่างภาพบุคคล นอกจากสองข้างเท่ากันแล้ว ก็น่าจะต้องให้ที่ว่างกับด้านบนด้วย ในกรณีที่วัตถุอยู่ด้านล่าง ถ่ายไปมาก ๆ เข้า ความสมดุลอาจไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงกลางเสมอไป น้ำหนักวัตถุอาจโยกมาไว้ซ้าย แล้วหาอะไรมาถ่วงดุลทางขวาให้ภาพ แล้วแต่กรณีไป

 


ภาพแบบนี้มีคนบอกว่าไม่มีคอมโพส แต่เราไม่สน

 

สำหรับเราบางครั้งก็แหกกฎคอมโพสเหมือนกัน เช่นเวลาถ่ายท้องฟ้า บางภาพเราให้พื้นที่วัตถุบนดินนิดเดียว แต่ให้พื้นที่ท้องฟ้ากว้างมาก น้องที่เรียนถ่ายภาพในห้องเรียนมาบอกว่า รูปนี้คอมโพสไม่ได้ แต่เรายืนยันที่จะใช้คอมโพสแบบของเรา ก็ชอบอ่ะ ใครจะทำไม

 

เคยเห็นภาพคนหัวขาดไหม นั่นแหละคือขาดคอมโพส เวลาเรามองในกล้อง เราต้องจัดภาพไปในตัว ต้องทำให้เป็นอัตโนมัติ

 


รูปนี้โฟกัสที่รอยยิ้มของแมวหลับ

 

พูดไปพูดมาก็เหมือนชีวิตอีกนั่นแหละ ทั้งการปรับสมดุลเรื่องแสงเงา และองค์ประกอบ ถ้าปล่อยปะละเลย ภาพชีวิตก็อาจออกมามืดบ้าง สว่างบ้าง แย่หน่อยก็เป็นชีวิตหัวขาด...

ถ่ายเยอะ ๆ ค่ะ ฝึกไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็ดีเอง

 


ส่วนภาพนี้มีช่องว่างระหว่างแมวตัวขวา ซึ่งเป็นระยะบังเอิญที่นายโด้เดินเข้ามาพอดี ถ้ากดชัตเตอร์ช้ากว่านี้ก็จะไม่ได้รูปนี้ ถ่ายรูปสัตว์ต้องตั้งความเร็วสูง ๆ เพราะมันเคลื่อนไหวตลอดเวลา ยกเว้นแมวหลับ

 

 

 

บล็อกของ โอ ไม้จัตวา

โอ ไม้จัตวา
  วันนี้ตั้งใจขับรถขึ้นไปที่ขุนช่างเคี่ยน เพื่อไปดูพญาเสือโคร่งประจำปีนี้ ตื่นหกโมงเช้า ฟ้ายังมืด อากาศหนาว ออกจากบ้านหกโมงครึ่ง แต่กว่าจะไปถึงแดดก็เริ่มแรงแล้ว รูปนี้ถ่ายพระอาทิตย์ขึ้นที่จุดชมวิว ก่อนถึงโค้งขุนกันต์ ดอยสุเทพ เห็นเส้นขอบฟ้าไกล ๆ ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง จึงเก็บฟ้าและเมืองได้ทั้งเมือง เชียงใหม่ยังมีมุมสวยอยู่
โอ ไม้จัตวา
  ได้เวลาออกเดินทางอีกแล้ว ช่วงนี้ดอกพญาเสือโคร่งกำลังจะบาน ต้องตามข่าวกันทุกวันว่าบานถึงไหนแล้ว เพราะจะบานเพียง 7 วันเท่านั้น ภาพชุดนี้ถ่ายเมื่อปีที่แล้ว ตื่นสายไปนิด ไปถึงแปดโมงกว่า ๆ รู้สึกว่าแดดแรงไป ปีนี้คงต้องออกจากบ้านหกโมงเช้า     แดดแรงไปนิดนึงจริง ๆ แต่เก้าอี้ที่ไร้คนนั่ง คงไม่หนาวเหน็บเหมือนอากาศตอนนี้     ข้อดีของแดดจ้า ๆ ก็ทำให้ฟ้าเป็นสีฟ้า ดอกไม้สีชมพูเต็มต้น ตัดกับฟ้าสีฟ้าโดยไม่ต้องทำอะไรเลย ความทุกข์ทรมานอย่างหนึ่งของช่างภาพ คือต้องวิ่งตามแสง โดยเฉพาะแสงเช้า     ดอกบ๊วย ขึ้นอยู่ในบริเวณเดียวกัน ภาพนี้ใช้เลนส์ซูม ดึงเข้ามาใกล้…
โอ ไม้จัตวา
สัปดาห์นี้มีโอกาสได้ไปถ่ายรูปห้องพักและอาหารให้กับเรือนคำอิน บ้านไม้สักทองทั้งหลัง มีห้องพักขนาดหรูหราเพียง 3 ห้อง และเป็นร้านอาหาร (อาหารพื้นเมืองรสชาติแบบคนเมืองแพร่) ปีนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี พี่นิดเจ้าของบ้านจึงลดราคาห้องพักลงมาแบบครึ่ง ๆ ภาพที่ยกมานี้เป็นห้อง living room ของหนึ่งในห้องนอนของบ้าน ราคาคืนละ 2500 บาท พร้อมอาหารเช้าไม่ได้โฆษณานะ แต่เผื่อใครหาที่พักในเชียงใหม่ ราคานี้ก็พอ ๆ กับโรงแรมในไนท์บาซ่า แต่สบายกว่ากันเยอะเลย ห้องสูธแพงกว่านี้พันนึง มีจากุชชี่ และห้องซาวน่าในตัวด้วยค่ะขอบอก เข้าไปหาข้อมูลในกูเกิ้ลได้ค่ะ
โอ ไม้จัตวา
  คราวที่แล้วเล่าเรื่องรีทัชสายไฟออกจากภาพ คราวนี้ลองมาเล่นที่ใบหน้า ลบรอยตีนกากันบ้างดีกว่า ไม่ต้องใช้เครื่องสำอางก็สวยได้  
โอ ไม้จัตวา
สัปดาห์นี้ขอแนะนำวิธีรีทัชรูปแบบง่าย ๆ เริ่มจากโรคจิตของอิฉันเองที่ทนเห็นสายไฟรกรุงรังไม่ได้ ไม่ว่าจะในชีวิตจริงหรือในภาพ มีใครเป็นแบบนี้มั่งไหมเนี่ย เห็นไม้แขวนเสื้อกองรวมกันยุ่ง ๆ หรือสายโทรศัพท์ สายไฟ สายอะไรก็ตาม พันกันยุ่ง ๆ แล้วจะรู้สึกใจคุกรุ่นขึ้นมาเหมือนมีคนยั่วโมโห ทนไม่ได้ต้องนั่งคลาย ๆ ๆ ๆ
โอ ไม้จัตวา
โดยส่วนตัวแล้วเราโตมากับห้องมืด ตอนเด็ก ๆ ข้างบ้านเป็นร้านถ่ายรูป ฝึกล้างอัดรูปในห้องมืดที่โรงเรียน เข้ามหาลัยก็เข้าชมรมโฟโต้ ก็ได้เล่นห้องมืดต่ออีกนิดหน่อย เมื่อไม่นานมานี้ไปเช่าบ้านอยู่กับเพื่อน บ้านที่อยู่ในรั้วเดียวกันก็ยังเป็นห้องมืดให้นักศึกษาเช่าทำงานล้างอัดรูป ชีวิตจึงวนเวียนอยู่กับห้องมืด และภาพขาวดำ (ว่าไปก็น่าทำห้องมืดไว้เล่นเองเหมือนกันนะ)  
โอ ไม้จัตวา
ภาพนี้ถ่ายด้วยความโลภ ฟ้าก็อยากได้ ก้อนเมฆก็อยากได้ ใช้เลนส์ไวด์หรือเลนส์สำหรับถ่ายภาพให้ได้มุมกว้างถ่าย เวลาขณะนั้นประมาณเที่ยง ฟ้าสีฟ้า เมฆเต็มฟ้า แดดจัดมาก ถ้าวัดแสงที่ก้อนเมฆ ข้างล่างจะมืด ถ้าวัดแสงที่ข้างล่างก้อนเมฆจะจ้ารายละเอียดหายไปเลย  
โอ ไม้จัตวา
คราวนี้ไม่ค่อยกล้าทุบกล้องเท่าไรนัก เพราะใช้ Nikon D70 ถ่ายอาหาร โดยใช้เลนส์ Macro (อ่านว่า มาโคร) คือเลนส์ที่ใช้ถ่ายวัตถุในระยะประชิดระดับ 1 เซ็นได้ พวกงาน close up ทั้งหลายมักใช้เลนส์ หรือโหมดมาโครนี้ในกล้องดิจิตอล ที่มีวิธีดูง่าย ๆ คือ ปุ่มที่เป็นเครื่องหมายรูปดอกไม้ในตัวกล้อง นั่นคือปุ่มมาโคร สำหรับถ่ายดอกไม้ใกล้ ๆ ถ่ายมด ถ่ายขี้จิ้งจก หรือถ่ายอาหารอย่างวันนี้เป็นต้น
โอ ไม้จัตวา
  คราวนี้ยกแมวที่มีสีสันตัดกันอยู่ในตัวมาให้ดู แมวที่มีสีขาว และดำ อยู่ใกล้กันแบบนี้ เวลาถ่ายภาพจะต้องระวังการวัดแสง เพราะถ้าวัดแสงที่สีดำ ส่วนที่เป็นขาวก็จะจ้าจนความละเอียดหายไป ควรวัดแสงตรงสีที่เป็นกลาง ๆ เช่นสีน้ำตาลเป็นต้น ก็จะได้ภาพที่มีสีและแสงพอดี
โอ ไม้จัตวา
ติดพันจากแมวคราวที่แล้ว ตอนทำรูปก็พบว่ามีขั้นตอนที่ไม่ยากนักในการปรับภาพในโปรแกรมโฟโต้ช็อปเอามาแนะนำกัน ภาพที่เราถ่ายนั้นบางครั้งองค์ประกอบของภาพก็ยังไม่สมบูรณ์นัก เราสามารถใช้คำสั่ง crop ในโฟโต้ช็อปได้ หรือคลิ้กที่เครื่องหมายที่เราทำลูกศรสีแดงชี้ไว้ แล้วลากที่ภาพ สร้างกรอบภาพขึ้นมาใหม่ จากตัวอย่างที่ยกมาให้ดูภาพเต็มคือทั้งหมด เมื่อเราลาก crop ส่วนที่เป็นแถบสีดำรอบ ๆ ภาพ กรอบเล็กจะหายไปเมื่อเราดับเบิ้ลคลิ้ก
โอ ไม้จัตวา
“ถ่ายภาพเด็กกับสัตว์ให้โฟกัสที่ตา” ออกจากห้องโสตทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพที่โรงเรียนเมื่อสมัยอยู่ม.3 แล้วก็ไม่เคยเข้าห้องเรียนถ่ายรูปที่ไหนอีกเลย เคยเข้าไปเล่นเองบ้างก๊อกแก๊กในห้องอัดของชมรมถ่ายภาพในมหาวิทยาลัย จนกระทั่งได้มีโอกาสหมกตัวอยู่ที่สวนทูนอิน บ้านพักของคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นบางช่วง และมีโอกาสเดินถ่ายรูปดอกไม้ยามเช้าในสวนทูนอิน ประโยคที่ยกมาข้างบนนั้นคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ พูดขึ้นมา (จะเรียกว่าสอนก็น่าจะได้) เมื่อชี้ให้ดูภาพแมวที่เขาถ่ายและใส่กรอบติดไว้ที่ผนังบ้าน    
โอ ไม้จัตวา
  แสงแดดมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพอย่างยิ่ง เพราะเป็นแสงจากธรรมชาติ ทำให้ภาพมีมิติ มีเงา แต่ก็ต้องเลือกเวลาเช่นกัน อย่างที่บอกในชื่อเรื่องว่า แสงแรกและแสงสุดท้าย แสงแรกนั้นคือ แสงแดดยามเช้าจนถึงสาย ๆ น่าจะประมาณ 8.30 น. และแสงสุดท้ายของวัน คือประมาณ 4-5 โมงเย็น เป็นช่วงเวลาที่พอดีที่สุดในการถ่ายภาพ