Skip to main content

บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร

มาเลเซียแบ่งการปกครองออกเป็น ๙ รัฐ แต่ละรัฐมีเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการปกครอง เช่น รัฐยะโฮร์ (เมืองหลวง คือ ยะโฮร์บาห์รู) รัฐกลันตัน (เมืองหลวง คือ โกตาบารู) นอกจากนี้ มาเลเซียยังมีดินแดนสหพันธ์อีก  แห่ง คือ กัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง คือกัวลาลัมเปอร์) และลาบวน (เมืองหลวง คือ วิกตอเรีย) รัฐหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับไทยและเคยเป็นดินแดนในปกครองของไทยมาก่อนก็คือ รัฐไทรบุรี หรือเคดาห์ (เมืองหลวง คือ อลอร์สตาร์) ไทรบุรีเคยอยู่ภายใต้การปกครองของไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค และแบ่งการปกครองเป็น ๑๘ มณฑล สมัยนั้นไทรบุรีมีฐานะเป็นมณฑลไทรบุรี แต่ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ไทยต้องเสียอำนาจการปกครองหัวเมืองมลายู ได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน และตรังกานู ให้กับอังกฤษ เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ


ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมืองไทรบุรีปกครองโดยเจ้าเมืองตำแหน่ง เจ้าพระยาไทรบุรี
 ตนกูอะหมัด เมื่อตนกูอะหมัดถึงแก่อสัญกรรม จึงโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งบุตรคนโตคือ ตนกูไซนาระชิด ขึ้นเป็นพระยาไทรบุรี ตนกูไซนาระชิด มีน้องชายคนหนึ่งชื่อ ตนกูฮามิด ท่านผู้นี้ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น พระเสนีณรงค์ฤทธิ์รายามุดา หลังจากพระยาไทรบุรีไซนาระชิดดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองได้  ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้าฯตั้งพระเสนีณรงค์ฤทธิ์เป็นพระยาไทรบุรีต่อมา โดยมียศเป็น เจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี แต่ชาวมลายูนิยมเรียกว่า สุลต่านอับดุล ฮามิด


สุลต่านอับดุล ฮามิด เป็นสุลต่านองค์ที่ ๒๔ ของเมืองไทรบุรี (รัฐเคดาห์) ท่านมีชายาเป็นคนไทยเชื้อสายมอญเมืองนนทบุรี ชื่อ หม่อมเนื่อง หรือมะเจ๊ะเนื่อง (แปลว่า คุณแม่เนื่อง) หรือ ชิค เมนยาราลา ในสำเนียงของชาวมลายู แต่บางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า หม่อม ด้วยเช่นกัน หม่อมเนื่องนับเป็นชายาองค์ที่ ๖ ของสุลต่าน ฮามิด แม้สุลต่านจะมีชายาหลายคนตามธรรมเนียมศาสนาอิสลาม แต่ได้ยกให้หม่อมเนื่องเป็นภรรยาเอก เพราะเป็นภรรยาพระราชทานจากราชสำนักสยามในขณะนั้น

ตนกูอับดุล เราะฮ์มาน (Tunku Abdul Rahman)


ตนกูอับดุล รอฮ์มาน
(Tunku Abdul Rahman) เกิดวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่เมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน ตนกูอับดุล รอฮ์มาน เป็นบุตรชายคนที่ ๔ ในบรรดาบุตรธิดาบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน ของสุลต่านอับดุล ฮามิด กับหม่อมเนื่อง ในวัยเด็กท่านเดินทางมาอยู่ในไทยเช่นเดียวกับเจ้านายไทรบุรีคนอื่นๆ โดยเดินทางเข้ามาตั้งแต่อายุได้ ๑๐ ขวบ เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ตามคำชักชวนของพี่ชาย ตนกู ยูซุฟ ซึ่งทำงานอยู่ในกรมตำรวจของไทย ยศร้อยเอก จนเมื่อไทรบุรีตกเป็นของอังกฤษ กอรปกับพี่ชายที่อุปถัมภ์ดูแลเสียชีวิตลง ขณะนั้น ตนกูอับดุล รอฮ์มาน อายุได้ ๑๒ ขวบ (พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๕๘) ท่านได้เดินทางกลับบ้านเกิดไปเรียนต่อที่ปีนัง และที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ กระทั่งจบปริญญาตรี


เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่
  ญี่ปุ่นยึดมลายูได้ รัฐไทรบุรีหลุดจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มาอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นแทน เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามอังกฤษก็กลับมาเป็นเจ้าอาณานิคมปกครองมลายูเช่นเดิม ช่วงนี้มีพรรคแนวร่วมชาตินิยมมลายูหรือพรรคอัมโนเกิดขึ้น หัวหน้าพรรคคือ ดะโต๊ะออนน์ บิน จาฟาร์ โดยมี ตนกูอับดุล รอฮ์มาน สมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วย เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไป ตนกูอับดุล รอฮ์มาน มีความโดดเด่นมาก จึงได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าพรรคแทนดะโต๊ะออนน์ และก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ สหพันธ์มลายา” ที่ขณะนั้นมีเพียง  รัฐ


ต่อมาตนกูอับดุล
 รอฮ์มาน นำเอาสิงคโปร์ บอร์เนียวเหนือ และซาราวัก ซึ่งยังไม่ได้เอกราชมาเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์มลายู และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์มาเลเซีย เมื่อ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้  ปี ก็ลาออกเพราะขัดแย้งกับนักการเมืองรุ่นใหม่ที่ชื่อ ดร.มหฎีร์ มุฮัมหมัด และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓


คุณหญิงเนื่อง หรือ คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี หลานสาวหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ดคนแรก และมารดาของอดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียคนแรก ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดหลักแหลมและทำธุรกิจร่ำรวยที่สุดในบรรดาชายาของสุลต่านทั้งหมด ยังคงรักษาสายเลือดมอญที่มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา แม้จะอยู่ในแวดล้อมของเครือญาติข้างสามีและประชาชนชาวมุสลิม แต่ก็ยังมีจิตศรัทธาสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้นึกถึงแผ่นดินเกิดและวัฒนธรรมของบรรพชน วัดที่คุณหญิงเนื่องสร้างขึ้นนี้คือ วัดบาร์กาบาตา (วัดสโมสรราชานุประดิษฐ์ หรือ วัดราชานุประดิษฐ์) ที่ยังคงปรากฏอยู่ ณ เมืองไทรบุรีจวบจนปัจจุบัน


ลูกหลานในสกุล นนทนาคร ยังคงจดจำได้ว่า ตนกูอับดุล รอฮ์มาน เคยเดินทางมาเยี่ยมคารวะหลวงรามัญนนทเขตคดีที่บ้านพักริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับวัดเตย อำเภอปากเกร็ด


การดำเนินนโยบายของ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ที่เจรจาจนให้ให้ชนชาติต่างๆ รวมกันเป็นชาติ ร่วมสร้างประเทศสหพันธ์มลายูด้วยกัน รวมทั้งยังเจรจาให้สุลต่านทั้ง ๙ รัฐ สลับกันขึ้นเป็นประมุขของชาติ อันแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยที่นิยมความรอมชอมและมีบุคลิคการประนีประนอมสูง


สอดคล้องกับข้อเขียนของท่าน ในฐานะศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ (รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างวัดและโรงเรียนแห่งนี้ขึ้นเพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระมเหสีในรัชกาลที่ ๔ พระราชชนนีผู้มีเชื้อสายมอญของพระองค์) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ที่ส่งบทความมาร่วมตีพิมพ์ตามคำขอเพื่อลงในหนังสือ
ชื่นชุมนุม ที่คณะกรรมการจัดงานได้จัดทำขึ้นเป็นอนุสรณ์ในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสโมสรสถานของสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ที่ถนนราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ได้ส่งข้อเขียนมาเป็นภาษาอังกฤษ และมีผู้แปลเป็นภาษาไทย ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงความประทับใจในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้รับการศึกษาในเมืองไทย และมีนัยยะของเนื้อความที่สื่อถึงทิศทางความสัมพันธ์ของสองประเทศนับจากนี้ไป


...ข้าพเจ้าระลึกถึงชีวิตเด็กที่เทพศิรินทร์ด้วยความปีติเป็นอันมาก การศึกษาที่ข้าพเจ้าได้รับจากที่นั่นและชีวิตที่เคยอยู่ในประเทศไทย นับเป็นทุนทรัพย์อันมีค่าอย่างแท้จริง ในการปฏิบัติงานปัจจุบันของข้าพเจ้าในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพราะความรักในชีวิตไทยของข้าพเจ้า ช่วยอำนวยให้เกิดความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างประเทศทั้งสองของเรา…”


หาก ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ยังมีชีวิตอยู่จนถึงวันนี้ ความหลากหลายในสายเลือดและการใช้ชีวิตในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน น่าจะเป็นจุดหลอมรวมสำคัญที่ทำให้ผู้คนในภูมิภาคนี้อยู่ร่วมกันอย่างคนที่เข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกันมากกว่านี้

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
ภาสกร  อินทุมาร เหตุการณ์ที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ลงบทความเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติที่มหาชัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มาจากประเทศพม่า กล่าวว่าแรงงานเหล่านี้จะเข้ามายึดครองพื้นที่ รวมทั้งคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ที่ห้ามมิให้แรงงานเหล่านี้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เพราะเกรงว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติสิ่งที่สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ซึ่งอ้างว่า “รักชาติ” แต่เป็นการรักชาติแบบ “มองไม่เห็นความเป็นมนุษย์” และได้ส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวางต่อความรู้สึกนึกคิดของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคนไทยเชื้อสายมอญในมหาชัย…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด (นัด)ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีวันสำคัญวันหนึ่งของคนมอญไม่ว่าจะอยู่ไหนทั้งในประเทศไทย พม่า และต่างประเทศก็จะรวมตัวร่วมใจในการจัดงานสำคัญนี้ นั่นก็คือ “วันชาติมอญ” และในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้  วันชาติมอญก็จะเวียนมาบรรจบครบรอบเป็นครั้งที่ ๖๑ ถึงแม้ว่าวันชาติมอญถือกำเนิดเกิดขึ้นในกลุ่มคนมอญเมืองมอญ (ประเทศพม่า) ก็ตาม จะด้วยเป้าหมายทางการเมือง หรือ อุดมการณ์ชาตินิยมมอญ มันก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า “วันชาติมอญ” ได้สะท้อนความรู้สึกและสำนึกถึงรากเหง้าและจุดกำเนิด  ซึ่งก็ไม่ต่างจากผู้คนเชื้อชาติอื่น ภาษาอื่นที่พึงจะพูดถึงที่ไปที่มาของตนเอง  ยิ่งไปกว่านั้น “วันชาติมอญ”…