Skip to main content

มีนา


ถึง พันธกุมภา


มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง...


ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ


เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง


เมื่อเริ่มต้นการเดินทางจากรุงเทพฯ พี่รู้จักกับพี่ๆ หลายคนที่ร่วมเดินทางครั้งนี้ ในฐานะเพื่อนร่วมงาน อย่างไม่ลึกซึ้ง อีกคนหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักและเห็นหน้ามาก่อนเลย เมื่อเพียงเห็นหน้า เขาก็ไม่ชอบพี่เสียแล้ว และยังดำรงความไม่ชื่นชอบจนกระทั่งวันที่เราจากกัน หลายครั้งก็คิดว่า เออ...คนแบบนี้ก็มีด้วยหนอ


ด้วยความไม่รู้ต้นสาย ปลายเหตุของความไม่พึงใจของเพื่อนร่วมทางคนนี้ พี่ทำอะไรไม่ได้มาก นอกจากพยายามเมตตาเขา...ที่ต้องใช้ความพยายาม เพราะความไม่ชอบของเขานั้น ได้ทำให้สิ่งที่เขาทำกับเรา ปฏิบัติต่อเรา เป็นความพยายามทำให้เราโกรธ ไม่ชอบเขา เช่นเดียวกับที่เขาไม่ชอบเรา


บางครั้งอดนึกไม่ได้ว่า เออ...หนอ มนุษย์เรานี่ช่างหาสิ่งที่ไม่ดีเอาไว้ในจิต เอาไว้ในใจแท้ๆ...


พี่เดินทางผ่านเรื่องราวของความไม่พึงใจ ไม่ชอบใจ ของคนอื่นที่มีต่อเรา และที่เรามีต่อคนอื่นมานาน พี่รู้สึกว่ามันเนิ่นนาน ทุกครั้งจะพยายามหาเหตุผลมาอธิบายว่า เอ...มันเรื่องอะไรกันหนอ ทำไมเขาถึงคิดกับเราแบบนี้ ทำไมเราเป็นเช่นนี้ ทำไมเราไม่ทำอย่างนี้...พี่มาสังเกตจากเรื่องนี้ หลังจากรับรู้ว่า แม้การกระทำใดๆ ของเราก็อาจจะก่อความไม่ชอบใจกับคนๆ นี้ได้


อย่างการทำงานร่วมกัน พี่เคยผ่านวิกฤตในการตัดสินใจเรื่องการทำงานและการเรียนมาแล้ว และเราได้มีการแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม ประสบการณ์ที่เขาเล่าให้เราฟังเต็มไปด้วยความภาคภูมิใจในการเป็นนักเรียนที่ดีและอยากกลับไปเป็นครูที่ดี แต่เมื่อมาถึงจุดนี้กับการทำงานด้านสังคม เขาลังเลที่จะกลับไปเริ่มต้นกับการศึกษาใหม่ๆ และสังคมการทำงานแบบใหม่ที่ไม่มีอะไรแน่นอน


ส่วนพี่ผ่านจุดที่กำลังเปลี่ยนแปลงนั้นมาแล้ว พี่จึงแลกเปลี่ยนความคิดผ่านประสบการณ์ของตนเองไป กาลกลับเป็นว่า เขาเข้าใจว่าเราอยากอวดในสิ่งที่เหนือกว่า สูงกว่า ดีกว่า ไปกระทบกับตัวตน (Ego) ของเขาอย่างเต็มๆ ยิ่งทำให้เขายอมรับเราไม่ได้ และแข่งขันมากขึ้น


ประสบการณ์ครั้งนี้สอนพี่ และทำให้พี่ระลึกถึงข้อเขียนของ พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ที่เคยอ่านมาก่อนนี้ว่า ...มนุษย์แม้ถูกสอนให้มีเหตุผลมากแค่ไหนก็ตาม ทั้งๆ ที่ทุกวันนี้ก็มีความสุข...สบาย กว่ามนุษย์ในยุคก่อนๆ ที่ผ่านมา แต่ยังคงใช้สัญชาตญาณที่จดจำความกลัว มากกว่าความคิดที่เป็นเหตุ เป็นผล…”


เรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเกลียดและความกลัวของมนุษย์อย่างไร...เมื่อก่อนพี่ก็นึกไม่ออกว่า มันเกี่ยวอย่างไร


แต่เมื่อมาเจอด้วยตัวเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บางครั้งเราเองเป็นผู้กระทำ คือทำความไม่พึงใจ ไม่ชอบใจให้กับใครบางคนโดยที่เรารู้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม หรือบางคนกระทำต่อเรา เมื่อก่อนพี่จะฟูมฟายว่า เราไปทำอะไรให้เขามากมาย ทำไมเขาถึงไม่ชอบเราขนาดนี้ รังเกียจและกลั่นแกล้งเราขนาดนี้ เมื่อเติบโตมากขึ้น พี่ก็เริ่มไม่เชื่อว่า แม้เราจะอยู่เฉยหรือวางตัวอย่างสงบ ก็อาจจะเป็นเหตุให้เกิดความไม่พึงใจดังกล่าวนั้นได้


บางครั้งความเป็นตัวตนของใครหลายคนก็ทำให้ใครอีกหลายคนไม่พอใจ เช่น การเกิดมาในชาติตระกูลที่ดีกว่า การมีการศึกษาดีกว่า การมีโอกาสทางสังคมที่ดีกว่า เป็นต้น แต่หากพิจารณาแค่เรื่องคนเพียงอย่างเดียว เดี่ยวๆ เลยนั้น ก็จะขาดองค์ประกอบไป คือ “สิ่งแวดล้อม”


เรื่องนี้พระอาจารย์ ไพศาล ได้อธิบายไว้ค่อนข้างดีว่า ...สิ่งแวดล้อมสมัยก่อนนั้นเต็มไปด้วยอันตราย มนุษย์จึงพัฒนาการใช้สัญชาตญาณมานานนับล้านๆ ปี...และมีการเปลี่ยนแปลงมาสู้สังคมที่ใช้เหตุผลมาเมื่อไม่นานมานี้เอง...” มนุษย์ยังคงจดจำกับการที่ใช้สัญชาติญาณบอกถึงความปลอดภัย การเลี่ยงภัย หลบภัย และเรียนรู้ที่จะเท่าทันตนเอง ผ่านการศึกษาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม


ยิ่งคนที่สนใจพระพุทธศาสนา และมีการปฏิบัติจะรู้ว่า หัวใจของการปฏิบัติสำหรับคนทั่วไป คือ การรู้จักตัวตนของตนเอง แต่ไม่ใช่การโทษตนเอง หลายคนตีความความผิดบาป ความไม่ชอบใจ ความอิจฉา ริษยา ความโกรธ ความเกลียด ที่ตนเองมี ว่าเป็นสิ่งผิด สิ่งบาป และต้องไม่มีอยู่ในตัวตน เพราะจะเป็นคนไม่ดี ประเด็นนี้ที่พี่พยายามรู้จักตนเองคือ ทำอย่างไร ที่จะไม่กดความรู้สึกเหล่านี้แล้วบอกว่า “ไม่นะ...ฉันไม่โกรธ ฉันไม่เกลียด ฉันไม่อิจฉา...” แต่พยายามรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง โชคดีที่พี่มีครูและกัลยาณมิตรคอยเตือนสติอย่างเท่าทัน


พี่เห็นคนปฏิบัติจำนวนมาก ปากก็พูดมา เราต้องพยายามไม่เป็นคนไม่ดี ไม่โกรธ ไม่เกลียด... แต่ไม่เรียนรู้ที่จะเท่าทันอารมณ์ตัวเอง พี่ค้นพบกับการเดินทางและการปฏิบัติที่แสนจะธรรมดาว่า “การยอมรับ” ในสิ่งที่เราเป็นตอนนั้น...มันง่ายมากเลย...และช่วยให้เราเดินทางผ่านความโกรธ เกลียด อิจฉา ชอบ หรือไม่ชอบได้ในระดับหนึ่ง หลายครั้งถึงกับวางมันได้


น่าเสียดายที่ครู อาจารย์ หลายๆ คนที่เป็นครูทางพระพุทธศาสนาสอนเรื่องตัวตน แต่ไม่บอกเคล็ดลับในการเท่าทันตัวตน และหลายคนขาดการเชื่อมโยงความเป็นตัวตนกับสังคมในด้านอื่นๆ พี่ไม่ค่อยรู้จักครูหรือพระอาจารย์มากนัก แต่พระอาจารย์ที่พี่ได้เรียนรู้ผ่านหนังสืออย่างพระพุทธเจ้าและท่านอื่นๆ ทำให้รู้ว่า การที่คนต้องไปปฏิบัติที่วัด การมีวัดนั้นเป็นอุบายชั้นดีที่ทำให้คนที่ต้องการปฏิบัติธรรมมีสถานที่ที่ไม่สบายเกินไป ไม่ลำบากเกินไป และปลอดภัยสำหรับคน เมื่อสังคมปลอดภัยมากขึ้นแล้ว แต่คนก็ยังไม่ได้ทิ้งสัญชาตญาณแห่งความระมัดระวังนั้นไป


เมื่อมาทบทวนดูแล้ว ชีวิตของคนสมัยนี้เต็มไปด้วยความสบาย ความสนุกสนาน แต่กลับมีความกลัวในใจมากยิ่งไปกว่ามนุษย์สมัยก่อน หรือคนในสังคมที่ค่อนข้างลำบาก อย่างคนชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ตามป่า ดง ดอย หรือพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีเงินมากนัก กลับมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกิน มีใช้ ยิ้มได้มากกว่าคนที่อยู่ในเมือง จะมีก็แต่ทุกข์จากดิน ฟ้า อากาศ เพียงเท่านั้น ทั้งนี้คนกลุ่มนี้ต้องอยู่บนเงื่อนไขของการผลิตที่ไม่ใช่การตอบสนองตลาดมากๆ เพราะยังมีคนชาติพันธุ์อีกมากที่ไม่สามารถอยู่บนพื้นที่ของตนเองได้ เพราะการถูกขับไล่จากป่า และการผลิตตามตลาด (contact farming) แล้วมีหนี้สิน เหล่านี้เองที่เป็นปัจจัยแวดล้อมให้มนุษย์ไม่สามารถพัฒนาตัวตนด้านในได้ (spiritual life) ได้อย่างที่ควรจะเป็น


ถ้าดูจากการผลิตภาพยนต์ที่ชาวฮอลลีวูดที่ผลิตจากความเชื่อเกี่ยวกับคนบาป คนไม่ดี ทั้งหลายก็จะพบว่า มีคนดีและคนไม่ดีอยู่ปะปนกัน หรือบางครั้งตัดสินใจไม่ได้ด้วยซ้ำไปว่า การมีที่มาที่ไปอย่างไรจึงจะตัดสินว่า ใครดี ใครไม่ดี แล้วใครควรจะเป็นผู้มีชีวิตรอด และอยู่บนเรือของพระเจ้าและไปสร้างโลกใหม่ด้วยกัน เพราะในที่สุด โลกอาจจะไม่แตก ไม่มีใครที่ดีที่สุด ไม่มีใครชั่วสุดๆ จนรับไม่ได้


หากเชื่อเรื่อง “การพัฒนา” ไม่เพียงแค่สังคมที่เราพัฒนาได้ คนเรา จิตใจ และสิ่งแวดล้อมก็พัฒนาได้เช่นเดียวกัน การปฏิบัติทางพุทธศาสนาเป็นการเปิดโอกาสให้กับคน ไม่ว่า วันนี้คุณเป็นอย่างไร คุณรู้และเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี คุณก็พัฒนาได้ ศาสนาใดๆ ไม่ได้มีความต่าง เพราะต่างเปิดโอกาสให้คุณทำดี รู้จัก และเท่าทันตนเอง อย่าเชื่อโดยไม่มีเหตุผลนะจ๊ะ


บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อได้ยิน...... “ทำไมคุณโง่แบบนี้” “งานชุ่ยๆ แบบนี้เหรอที่ทำเต็มที่แล้ว” “มีหัวไว้ใส่หมวกเปล่าๆ” สารพัดมากมาย คำด่าทอที่เรามักไม่ชอบ – ในที่นี้ก็มีผมอยู่ด้วยแหละครับ เวลาที่มีใครมาต่อว่า มานินทาในทางร้ายๆ แล้วมักจะต้องเดือดร้อนเป็นฝืนเป็นไฟอยู่เสมอ อืม...คิดในใจ นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราไม่ใช่คนอย่างที่เขาว่านะ..... ขณะที่คำชม อาทิ “คุณทำงานเก่งจัง” “ทำได้แค่นี้ สุดยอดเลยทีเดียว ยอดเยี่ยมมากๆ๐ “คิดได้แค่นี้ ก็เจ๋งเลย” คำพูดชื่นชม เยินยอในทางบวกเหล่านี้ หลายคนไม่ปฏิเสธ หรือไม่ได้มีท่าทีต่อต้านเหมือนคำพูดร้ายๆ หรือลบๆ แต่กลับมองว่าใช่ๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง... ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา จดหมายฉบับก่อน พี่เล่าเรื่องความรักของแม่ที่มีต่อลูกคนหนึ่ง และยังติดใจในสาส์นของท่านดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ชาวธิเบตอยู่ ... เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ่ง พี่อยากจะให้น้องและเพื่อน คนรู้จักหลายๆ คนได้อ่านมันอย่างพิจารณาหลายๆ ครั้ง หลายข้อของสาส์นฉบับนี้ เป็นความรักที่มีต่อตนเอง รักตนเอง แบบที่ไม่ได้ตามใจตนเอง ไม่ตามใจในสิ่งที่บำรุงบำเรอให้ตนเองให้ได้ทุกสิ่งที่ตนต้องการ โดยเฉพาะข้อแรกเป็นสิ่งที่ท่านลามะผู้ยิ่งใหญ่ได้ตักเตือนคนสมัยใหม่ได้อย่างเฉียบคม (ระลึกเสมอว่า การจะได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงอันมหาศาลดุจกัน)…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ได้รับจดหมายที่ส่งต่อๆ กันมา (Forward mail) ฉบับด้านล่างนี้ เป็นครั้งที่เท่าไรไม่รู้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (เพราะนี่เข้าเดือนที่ 6ของปีแล้ว...)“สาส์นจากท่าน Dalai Lama ที่ได้กล่าวไว้สำหรับปี 2008 นี้ แล้ว…คุณจะได้พบกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ที่คุณจะยินดีมากข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ชอบจดหมายรักฉบับนี้มาก เมื่ออ่านแล้วรู้สึกได้ถึงความรักที่สดใส และความเป็นคน “ธรรมดา” ของน้องที่ผ่านมา พี่ออกจะห่วงใยอยู่ลึกๆ ว่าน้องจะรีบโตมากไปหรือเปล่า รีบที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต รีบมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากไปไหม...จนอาจจะทำให้พลาดความสดใส ความรัก หรือสิ่งต่างๆ ที่เราน่าจะได้เรียนรู้ และเดินผ่านมันมาด้วยความสง่างาม หรือเจ็บปวดไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องเรียนรู้พี่ก็ผ่านช่วงเวลา “หวาน” “ขมๆ” ของชีวิตมาบ้าง เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป ที่มักจะมีความรักที่สมหวัง ผิดหวัง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป พี่มักเลือกที่จะจดจำสิ่งที่ดี …
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่าเพิ่งตกใจนะครับพี่ที่ผมจะขอระบายเรื่องรัก ให้พี่รับรู้.....
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาอายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่าคุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรุ่นพี่คนหนึ่งมาหาผมที่บ้าน เราสองคนไม่ได้เจอกันมานานหลายปี พอมาเจอกันอีกหนจึงเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นไม่น้อยที่ได้พบเจอกัน รุ่นพี่คนนี้ชื่อ “นนท์” พี่นนท์ เป็นรุ่นพี่ที่เคยสอนผมเต้นเชียลีดเดอร์ เมื่อตอนเรียนมัธยมต้น อายุของพี่นนท์ห่างจากผม 2 ปี พี่นนท์เป็นคนต่างหมู่บ้าน แต่เราอยู่ในตำบลเดียวกัน ผมค่อนข้างแปลกใจที่พี่นนท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการพูด ท่าที การแสดงออก จากเมื่อก่อนที่ค่อนข้างกรี๊ดกร๊าด พูดไม่หยุด และชอบนินทาคนอื่นอยู่บ่อยๆ มาคราวนี้พี่นนท์ไม่เหมือนเดิม คือ นิ่งขึ้น ท่าทีสุขุมเยือกเย็น ไม่ทำท่ารุกรี้รุกรนตอนคุยกันเหมือนเมื่อก่อน…
พันธกุมภา
มีนาถึง...ลูกปัดไข่มุกและพันธกุมภาความระลึกถึงวัยเยาว์เมื่อครั้งยังเป็นเด็กสาวสดใสอย่างลูกปัดไข่มุก อดรู้สึกไม่ได้ว่าน้องช่างมี “ทาง” ที่ดีเสียจริง น้องได้เติบโตจากครอบครัวที่หล่อหลอมสิ่งที่ดีงามให้ ทั้งการทำบุญ ทาน และเสริมให้สร้างบารมี ต้องขอบคุณแม่และพ่อที่ปูทางที่ดีให้กับลูก หากมีธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กสาวและคนรุ่นใหม่จะไม่เติบโตอย่างมีรากเหง้า รู้คิด เพราะกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ใช่แค่ได้ “ความรู้” หากยังได้ “สติ” และ “ปัญญา” ซึ่งความรู้สมัยใหม่ไม่มีความลึกซึ้งพอเมื่อเราปฏิบัติหรือยังไม่ปฏิบัติก็ตาม เรามักยึดติดกับตัวตน (Ego) และเราไม่ได้พยายามลดมัน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาผมได้อ่านเรื่องราวของ “ลูกปัดไข่มุก” แล้ว ขออนุโมทนากับน้องอย่างยิ่ง และยังรู้สึกยินดีกับสิ่งที่น้องได้กระทำลงไป และได้พบการหนทางที่จะนำพาความสุข สงบมาให้กับตนเอง เป็นการเรียนรู้จากตัวเอง มากกว่าการเรียนรู้จากคนอื่นๆ ที่เล่าให้ฟังสู่กันมาการได้ทำสมาธินั้นได้ช่วยให้น้องได้พบกับจิตที่สงบ และเป็นจิตที่นิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้จิตใจเริ่มปรับความละเอียดเพิ่มขึ้น สู่การเจริญสติในระดับต่างๆ ต่อไป....จะว่าไปแล้ว เดี๋ยวนี้ วัยรุ่นรุ่นเดียวกับเราๆ ก็หันมาสนใจเรื่องทางธรรมเยอะเหมือนกันนะ, ช่วงหนึ่งก็มีคนมาถามผมว่า วัยรุ่นสนใจธรรมะเพิ่มขึ้น เป็นกระแสที่ดีแบบนี้ คิดยังไง?…
พันธกุมภา
ลูกปัดไข่มุก ถึง พี่พันธกุมภา และ พี่มีนา....   “เส้นทางที่เรากำลังพยายามจะมุ่งไปอยู่นี้ มันคือหนทางแห่งความสุขและความสำเร็จที่แท้จริงของเราจริงๆหรอ” ....นั่นคือความคิดที่ฉันคิดมาตลอด ฉันโชคดีที่ได้เกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในวันว่างๆ เรามักจะได้ไปวัดแทนการไปเที่ยวเสมอๆ ซึ่งด้วยความเป็นเด็ก ฉันจึงไม่คิดว่ามันดีนัก.....จะว่าไปฉันทำบุญมาตั้งแต่จำความได้ เพราะถูกสั่งสอนมาให้ทำแบบนั้น ว่าถ้าทำบุญเยอะๆ จะได้ไปสวรรค์ ถ้าทำบาปก็จะตกนรก รวมถึงนิทานต่างๆที่แม่ได้เล่าให้ฟังมาตลอด ฉันจึงพูดได้เต็มปากว่า ฉันเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาจุดหมายปลายทาง การเดินทางธรรมของเธอครั้งนี้อยู่ที่วัดป่าสุคะโต ที่...ซึ่งฉันไม่เคยไป หากหลายคนอยากไป ก็คงไม่ได้คิดถึงเรื่องการเดินทาง หากมักนึกถึงปลายทาง และในที่สุด...แม้รู้ว่าเธออาจจะเดินทางถึงวัดป่าสุคะโตแน่นอน เธอก็น่าจะเรียนรู้ระหว่างทางดังที่เธอเล่าให้เราฟังฉันเคยพูดถึงเรื่องความกลัวระหว่างการเดินทาง “ในความกลัว” มาก่อนแล้ว ด้านหนึ่งฉันนึกเสมอว่า คนธรรมดาทั่วไปอย่างฉัน ร่ำเรียนมาด้วยวิธีคิดแบบมีเป้าหมาย โดยไม่สนใจระหว่างทาง หรือกระบวนการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว “ระหว่างทาง” เป็นสิ่งสำคัญมาก…