Skip to main content

เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ"

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ให้ตรา "รัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง" หลายท่านอาจเห็นว่า "ยุ่งยากซับซ้อน เพื่ออะไร?" ในข้อเขียนนี้จะชี้ประเด็นหนึ่งก่อนว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์ไม่เสนอให้ตราเป็น "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม" เล่า? อธิบายข้อสงสัยชั้นต้นดังกล่าว ได้ดังนี้

ตามกระบวนการทั่วไป เวลาคุณตรา "พระราชบัญญัติ" ต้องโหวตผ่านทีละสภา คือ ผ่านกึ่งหนึ่งของ สภาผู้แทนราษฎร (เกินกึ่งหนึ่งของ ๕๐๐คน คือ ๒๕๑ คน) เมื่อผ่านแล้วไปถึง วุฒิสภา ต้องโหวตผ่านอีกด่านหนึ่ง (ต้องเกินกึ่งหนึ่งของ ๑๕๐ คน คือ ๗๖ คน) เบ็ดเสร็จ ออกแรงเสียเวลา ๒ ครั้ง ( "ลุ้น ๒ รอบ" ตอนโหวตในแต่ละสภา ) นับรวมทั้งสองสภาใช้เสียงทั้งสิ้น ๓๒๗ เสียง (กว่าจะเสร็จในแต่ละสภาใช้เวลานาน) จึงจะได้พระราชบัญญัติออกมาฉบับหนึ่ง

แต่เวลาคุณตรา "รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม" คุณโหวตเพียงสภาเดียว คือ ยุบทั้งสองสภามาพิจารณาพร้อมกันเรียกเป็น "รัฐสภา" ใช้มติเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา (เกินกึ่งหนึ่งของ ๖๕๐ คน คือ ๓๒๖ คน) ใช้คะแนนเสียงออกแรงลุ้นสภาเดียว ใช้จำนวนคนน้อยกว่า ๑ เสียงด้วยซ้ำ ใช้สภาเดียว (รัฐสภา) เคาะผลรวดเดียวเสร็จ ออกมาเป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

นอกจากนี้ กรณีตรารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ก็ไม่ต้องถูกตรวจสอบว่าเกี่ยวกับการเงินหรือไม่ (การดึงเช็งในสภา), ไม่ต้องถูกตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ และกระบวนการของกรรมาธิการจุกจิกอีกมากมายที่ต้องผ่านในรูปแบบการตราพระราชบัญญัติธรรมดา

พูดง่ายๆก็คือ รัฐธรรมนูญไทย แก้ง่ายกว่า พระราชบัญญัติธรรมดา (ในแง่ของความรวดเร็ว กระบวนการ และคะแนนเสียงที่ใช้) เพียงแค่มีกระบวนการพิเศษ (ใช้รัฐสภารวดเดียวจบ,และจำนวนผู้มีสิทธิเสนอที่ต้องใช้มากกว่ากรณีเสนอตราพระราชบัญญัติธรรมดา) สำหรับแก้ไขเพิ่มเติมที่กำหนดเอาไว้แตกต่างไปจากการแก้ไขพระราชบัญญัติธรรมดาเท่านั้นเอง

เมื่อนำ "วิธีการ" (กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม) มาทาบกับ "วัตถุประสงค์" (ปล่อยตัวนักโทษการเมืองให้ไวที่สุด) การนิรโทษกรรมผ่านกฎหมายในรูปของรัฐธรรมนูญ จึงเป็นข้อเสนอที่สมเหตุสมผลที่สุด (บนฐานของวัตถุประสงค์ดังกล่าว).

____________________________

ดู เว็บไซต์นิติราษฎร์, "ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง" ใน http://www.enlightened-jurists.com/blog/75

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ