Skip to main content
 
 
คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้

การเกิดขึ้นของ “สภาการศึกษาทางเลือก” ก็ทำนองคล้าย ๆ กัน คือถูกสถานการณ์บังคับว่า สภาฯนี้จะต้องทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ หนุนช่วย รวมทั้งผลักดันนโยบายในระดับรัฐ ตลอดจนทำความเข้าใจกับสังคมว่า ผู้ที่ไม่พอใจกับระบบการศึกษาที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่ หรือผู้ที่ลูกของตนไม่ยอมไปโรงเรียนนั้น พวกเหล่านี้มีทางออก และสามารถจัดการศึกษาตามความต้องการของตนเองได้

คำว่า
“การศึกษาทางเลือก” เป็นคำที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่ขณะนี้สภาผู้แทนราษฎรยังไม่ได้ออกกฎหมายมารองรับแต่อย่างใด

สภาการศึกษาทางเลือกจึงเกิดขี้นชนิดที่เป็น
“ไฟต์บังคับ”  ดังที่กล่าวแล้ว
เมื่อ 31 สิงหาคม 53   ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม “สภาการศึกษาทางเลือก ครั้งที่ 1”  ซึ่งจัดโดยเครือข่ายคนทำงานด้านการศึกษาทางเลือกทั่วประเทศ  มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่าหนึ่งร้อยคน ผมเองไม่ได้มีตำแหน่งใดสภาการศึกษาทางเลือก แต่เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรเล็ก ๆ ในเครือข่ายที่ชื่อว่า “ศูนย์พลเมืองเด็กสงขลา” จึงขอถือโอกาสนี้นำเรื่องราวมาเล่าให้ท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ดังนี้

ท่านผู้อ่านอาจจะเริ่มสงสัยว่า
“การศึกษาทางเลือก” คืออะไร  ผมขอเรียนว่า นอกจากจะเป็นคำถามที่ตอบยากในเนื้อที่อันจำกัดแล้ว ในที่ประชุมเองก็กำลังครุ่นคิด ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันในเรื่องนิยามนี่แหละครับ

ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนหนึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่สังคมไทยรู้จักกันดี เช่น คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา (วัยกว่า
80 ปี) แห่งโรงเรียนดรุณสิขาลัย  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา แห่งโรงเรียนสัตยาไสย  รศ. ประภาภัทร นิยม  ผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ  คุณครูรัชนี ธงไชย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็กเมื่อ 30 ปีมาแล้ว เป็นต้น

ดร.อาจอง กล่าวว่า
“ระบบการศึกษาไทยล้มเหลวมาตลอด เพราะเน้นการสร้างคนเก่ง เน้นการแข่งขันเพื่อเอาชนะ มีการกวดวิชากันมาก แต่คนเก่งก็สร้างปัญหาเพื่อเอาชนะคนอื่นให้ได้ ปัญหาของประเทศนี้มาจากคนเก่ง ความจริงเด็กทุกคนมีศักยภาพ ถ้าเราพัฒนาเขาถูกต้อง  แต่ถ้าเราให้เขาศึกษาตามที่เราชอบ เขาก็จะไม่รู้จักตนเอง”

รศ.ประภาภัทร กล่าวว่า
“เพราะกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างนี้ จึงได้ผลักให้พวกเราต้องมาอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ เราต้องมาจัดการศึกษาทางเลือกของพวกเราเอง”          

หากพิจารณาในภาพรวม จากรายงานสภาวะการศึกษาไทยปี
2551/2552     ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง บทบาทการศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม  โดย รศ.วิทยากร เชียงกูล  ได้สรุปไว้อย่างชัดเจนว่า  
 
“การจัดการศึกษาของไทยเท่าที่ผ่านมายังไม่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากพอที่จะไปแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศใเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนได้”

ข้อมูลเหล่านี้คงมีเหตุผลพอที่จะทำให้คนจำนวนหนึ่งต้องลุกขึ้นมาจัดการศึกษากันเอง และบางส่วนได้ทำมาอย่างยาวนานแล้วด้วย

ข้อมูลล่าสุดที่ผมได้รับ พบว่า คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของเด็ก ม
.6 ทั่วประเทศ เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมาเฉลี่ยอยู่ที่ 18%  ทำนองเดียวกัน ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่ได้จัดทดสอบความรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้นให้กับนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง(ที่สอบเข้ามาได้แล้ว) ก็สอบเป็นการวัดความรู้เบื้องต้นจริง ๆ แค่บวก ลบเศษส่วน การกระจายวงเล็บและแทนค่าฟังก์ชัน ผลการทดสอบพบว่า มีนักศึกษาผ่านระดับ 50% เพียงแค่ร้อยละ 19 จากทั้งหมดประมาณ 600 คน

เท่าที่ผมทราบจำนวนครอบครัวที่ไม่ยอมส่งลูกไปโรงเรียนและเปิดสอนด้วยตนเอง ที่บ้าน (
homeschooling)  นั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ   ในสหรัฐอเมริกาเองก็มีจำนวนถึงกว่า 2  ล้านคนหรือกว่า 2.7% ของเด็กทั้งหมด

สิ่งที่ผมประทับใจมากและนำมาเล่าในที่นี้ก็คือ เหตุการณ์ระหว่างพักการประชุม
  ผู้จัดได้นำวิดีโอซึ่งเป็นหนังสารคดีสั้น ๆ ออกมาฉาย คือเรื่อง  Children Full of Life  ซึ่งผมขอแปลว่า  “โรงเรียนชีวิตของเด็กญี่ปุ่น”  ท่านผู้อ่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนตได้ที่ (http://www.arsomsilp.ac.th/?p=3298) ซึ่งเป็นความกรุณาของสถาบันอาศรมศิลป์  โดยมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ  พร้อมด้วยคำบรรยายสั้น ๆ พอเข้าใจด้วยอักษรไทย

ผมตัดสินใจนำเรื่องนี้มาเขียนก็เพราะต้องการขยายผลครับ
  สิ่งดี ๆ เราต้องช่วยกันขยายครับ

เหตุเกิดกับชั้นเรียนชั้น ป
4/1 โรงเรียนแห่งหนึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว  ถ่ายทำเมื่อปี 2546  ผู้ถ่ายได้นำกล้องไปติดไว้ในชั้นเรียนตลอดทั้งปี  ดังนั้นท่าทางการแสดงออกของเด็ก 10 ขวบจึงออกมาอย่างเป็นธรรมชาติมาก  ไม่ใช่การแสดง แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง  สารคดีชิ้นนี้ผลิตโดย NHK และได้รับรางวัล Global Television Grand Prize

ครูประจำชั้นได้ตั้งเป้าหมายพื้นฐานไว้ว่า ในชั้นเรียนผู้เรียนต้องมีความสุขและเราจะร่วมกันดูแลคนอื่นได้อย่างไร
วิธีการของครูประจำชั้น (ครูโตชิโร คานาโมริ) ก็คือ ให้เด็กทุกคนเขียนบันทึกทุกวัน แล้วนำมาอ่านดัง ๆ หน้าชั้นเรียนให้เพื่อนฟัง กติกาก็คือต้องเขียนเรื่องจริงที่เป็นความรู้สึกจริง ๆ มาจากภายในของตนเอง

ด้วยกระบวนการเช่นนี้เด็ก ๆ ได้เริ่มต้นเพื่อทำให้เห็นจริงถึงความสำคัญของการเอาใจใส่ผู้อื่น
  ครูคานาโมริบอกว่า “ความรู้สึกที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก”

ผมจดคำพูดนี้มาได้ตั้งแต่การชมครั้งแรก
  ผมพูดในเวทีการศึกษาทางเลือกว่า ประโยคที่ว่านี้ไม่สามารถสอนกันได้ด้วยตำราเล่มใดในโลก นอกจากการเผชิญกับประสบการณ์จริง

เด็กคนหนึ่งพูดถึงความตายของย่าของตน
  ส่งผลให้เด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งต้องสูญเสียพ่อของเธอ แต่เธอไม่กล้าเล่าให้ใครฟัง เธอเก็บความทุกข์มาครึ่งชีวิตเพราะเกรงว่าเพื่อนจะรู้ว่าตนไม่มีพ่อเหมือนเพื่อน ๆ คนอื่น  แต่หลังจากนั้นเธอก็กล้าพูดถึงพ่อของเธออย่างภูมิใจและมีความสุข  กระบวนการเปลี่ยนแปลงตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมากๆ

มีอยู่ตอนหนึ่ง
  เด็ก ๆ ตื่นเต้นมากที่จะได้ล่องแพที่พวกเขาร่วมกันทำมันขึ้นมาเอง  หลายคนสมัครใจมาโรงเรียนเช้ากว่าปกติเพื่อมาทำกิจกรรมทำแพ

แต่มีเรื่องที่คิดไม่ถึงเกิดขึ้น เมื่อเด็กคนหนึ่งถูกครูทำโทษไม่ให้ล่องแพเพราะชอบคุยในชั้นเรียน ครูเตือนแล้วก็ไม่ฟัง ปรากฎว่าเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของครู

“มันเป็นเรื่องอันตรายมากที่ จะลุกขึ้นมาท้าทายกับอำนาจ” 
แต่เพื่อน ๆ ก็มีความกล้าที่จะแสดงเหตุผลกับครู
“รุนแรงเกินไป ก็แค่คุยในห้องเรียนเท่านั้น”  “มันไม่ใช่แพของครู”  “การคุยในชั้นเรียนกับการทำแพมันเป็นคนละเรื่องคนละเหตุการณ์” และอื่น ๆ อีกเยอะที่เป็นเหตุผลของเด็ก ๆ  พวกเขาจะไม่ยอมล่องแพ หากว่าเพื่อนคนนี้ต้องยืนรอริมฝั่ง ในที่สุดครูประจำชั้นก็เห็นด้วยกับเหตุผลของเด็ก และอนุญาตให้เพื่อนคนนั้นล่องแพได้

สารคดีชุดนี้มี
5 ตอน แต่ละตอนยาวไม่ถึง 10 นาที แม้บางตอนผมได้ชมมา 3 ครั้งแล้ว แต่ก็ยังอยากดูอีก เพราะยังเก็บรายละเอียดที่สำคัญได้ไม่หมด แต่สิ่งหนึ่งที่ผมจับมาได้ก็คือ ในชั้นเรียนเด็ก ๆ นั่งกันตามสบาย บางคนวางเท้าบนเก้าอี้ ครูก็ไม่ว่าอะไร

อย่าลืมนะครับ ติดตามชมสารคดีรางวัลระดับโลกกันแล้วจะเกิดแง่คิดทางปัญญาที่ลึกซึ้งของชีวิตสำหรับคนทุกคนทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะกับเด็กเท่านั้น
 
 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…