Skip to main content

 



ภาพชุดบรรยากาศนะคอนหลวงเวียงจัน สปป.ลาว ที่ข้าพเจ้าบันทึกเมื่อ 26 ปีที่แล้ว ลงใน "เหลียนเหอเจ่าเป้า" (联合早报) ของสิงคโปร์ ฉบับวันที่ 6 มีนาคม 1988

ซ้ายบน คือ "ตลาดเช้า" ขวาบน คือ ตึก 7 ชั้น "กระทรวงวัฒนธรรม" ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนน้ำพุเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในประเทศลาวยุคนั้น



ภาพชุดบรรยากาศราชธานีพนมเปญ เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ตีพิมพ์ลงใน "เหลียนเหอเจ่าเป้า" (联合早报) ของสิงคโปร์ ฉบับวันที่ 22 ตุลาคม 1989



ภาพและเรื่องเกี่ยวกับชีวิตชาวนครโฮจิมินห์ (ไซ่ง่อน) เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ลงใน "เหลียนเหอเจ้าเป่า" (联合早报) ของสิงคโปร์ฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1989



บทความและภาพข่าว ซึ่งข้าพเจ้าภาคภูมิใจที่สุดและได้รับรางวัลชมเชยประจำปี ค.ศ.1989 ลงใน น.ส.พ. 'เหลียนเหอเจ้าเป้า' (Lianhe Zaobao 联合早报) ของสิงคโปร์ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 1989 หลังเวียตนาม 'ถอนทหาร' ที่ยึดครองกัมพูชานานถึง 11 ปี ข้าพเจ้าโยนระเบิดคำถามว่า "ทหารเวียตนามอยากกลับบ้านจริงหรือ ??” ข้าพเจ้าได้ติดตามไปเห็นทหารเวียตนามถอดเครื่องแบบ แล้ววกกลับมาตั้งรกรากในกัมพูชา โดยพาดหัวว่า "เล่นตุกติก" (假动作 เจี่ยต้งจั้ว)



ภาพและเรื่องของข้าพเจ้า เล่าถึงบรรยากาศล่าสุดในพนมเปญเมืองหลวงกัมพูชา ภายหลังเวียดนามถอนทหารแล้ว ส่วนใหญ่ยังคงวิตก 'ความหวาดกลัวทางการเมือง' อาจหวนคืนมาอีก ลงใน Shin Nichi Ho (星日报) หนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่นรายวันที่ออกในสิงคโปร์ ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม 1989



"ถลกโสร่งหม่อง" เล่าเรื่องในพม่าที่ข้าพเจ้าได้สัมผัส ลงในไทยรัฐฉบับวันที่ 19 สิงหาคม 1988



ภาพและข่าวชิ้นนี้ที่ลงในไทยรัฐ ฉบับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2531 เป็นเรื่องราวของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นนักข่าวไทยคนเดียวที่เข้าไปรายงานข่าวเหตุการณ์นองเลือดในกรุงย่างกุ้ง



ขึ้นหน้าปก Ngày Nay (หง่าย นาย) แปลว่า "วันนี้" ฉบับเดือนมิถุนายน 1997 พาดหัว "เข้าสู่อาเซียน 10 ประเทศ" (Tiến Tới ASEAN 10 Nước) ซึ่งขณะนั้นสัมภาษณ์ "เหงวียน แหม่ง กึ่ม” (Nguyễn Mạnh Cầm) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศเวียตนาม



น.ส.พ.จีนสิงคโปร์เขียนชีวิตสื่อของข้าพเจ้า 'นักดาบพเนจร' ท่ามกลางดงปืนห่ากระสุน



บทความข้าพเจ้าเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ ทั้งภาพและข่าวลงใน น.ส.พ. "ซังเคชิมบุน" (產経新聞) ของญี่ปุ่น ฉบับวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1997



ประมาณ 30 ปีที่แล้ว ไปไซ่ง่อน เขียนรายงานพิเศษเกี่ยวกับหน่วยจรยุทธ์ หรือ "กองโจร" เวียดกง ปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลหุ่นไซ่ง่อนซึ่งหนุนหลังโดยสหรัฐอเมริกา ที่สุดก็เจอผู้ที่ยังมีชีวิตจำนวนหนึ่ง และไม่น่าเชื่อว่าผู้ร่วมขบวนการมี "เวียดฮวา" (VIỆT HOA 越華) หรือคนเวียดนามเชื้อสายจีนอยู่ไม่น้อย

คนซ้ายในภาพก็เป็นแต้จิ๋วเช่นเดียวกับข้าพเจ้า เขาภูมิใจที่มีส่วนร่วมสร้างวีรกรรมครั้งนั้นด้วยการขว้างระเบิดใส่ศัตรูทุกคืน ที่สุดมีชัยและ "ปลดปล่อย" ภาคใต้เวียตนามในปี 1975 ป้ายข้างหลังเขียนว่า "พรรคประชาชนปฏิวัติภาคใต้เวียตนามจงเจริญ"  (Đảng Nhân Dân Cách Mạng Miền Nam Việt Nam Muôn Năm 黨人民革命南方越南萬歲)



ราชธานีพนมเปญ ปี ค.ศ.1989 เวียตนามเริ่มถอน "ทหารอาสาสมัคร" (เกวิน-ติ่ง-เหงวี่ยน Quân Tình Nguyện 軍情願) สองแสนนายที่ช่วย "โค่น" ระบบเขมรแดงออกจากกัมพูชา (ภาพ:สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)

 

 

 

บล็อกของ สงวน คุ้มรุ่งโรจน์

สงวน คุ้มรุ่งโรจน์
สุขสันต์วันไหว้พระจันทร์ 中秋節快樂 Happy Mid-autumn/Moon Festival 가족과 함께 즐거운 추석을 보내세요   ข้อสังเกตจากไซ่ง่อน เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินไซ่ง่อน แทบทุกคนพูดภาษาไทยได้หมด!!!  
สงวน คุ้มรุ่งโรจน์
สื่อจีนรายงานผู้ช่วยรมต. ต่างประเทศของจีนรียกร้องไทยมุ่งมันผลักดันความร่วมมือจีน-อาเซียน เหมือนที่จีนเร่งผลักดันความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
สงวน คุ้มรุ่งโรจน์
เหตุประท้วงญี่ปุ่นยังลุกลาม ยังคงมีการทำลายทรัพย์สินและทำร้ายร่างกายชาวญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง มีการปิดล้อมสถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นในนครกว่างโจว ขณะที่ทางการจีนเร่งลบภาพความรุนแรงของผู้ชุมนุมออกจากเว็บไซต์
สงวน คุ้มรุ่งโรจน์
ความขัดแย้งจีน-ญี่ปุ่น กรณีหมู่เกาะเตียวหวียังลุกลาม ชาวจีนในเมืองใหญ่กว่า 30 เมืองทั่วประเทศเดินขบวนประท้วงญี่ปุ่น มีการทำร้ายนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น แย่งชิงกล้องถ่ายรูป ทำลายสินค้า ปล้นสะดมร้านอาหารญี่ปุ่น รวมถึงทุกระจกรถญี่ปุ่นด้วย
สงวน คุ้มรุ่งโรจน์
ผู้ที่จะมาเป็นเอกอัครราชทูตสาธาณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทยคนใหม่ที่ชื่อ Jeon Jae-Man(ชอน เจมัน전재만 全在萬) พูดภาษาจีนกลางคล่องแคล่วมาก และเคยโอนไปรับหน้าที่ในสำนักข่าวกรองแห่งชาติมาก่อน และรับหน้าที่เอกอัครทูตเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย