Skip to main content

แรงงานพลัดถิ่น คือใคร

​ปัจจุบัน คนจำนวนมากต้องเดินทางจากบ้านเข้ามาในเมืองใหญ่เพื่อมาทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเมืองใหญ่ในระดับโลกอย่าง กรุงเทพมหานคร หรือหัวเมืองตามภูมิภาคต่างๆ เช่น ขอนแก่น โคราช อุบลฯ เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต หาดใหญ่(มิใช่สงขลา) ฯลฯ   มีตั้งแต่ คนงานในโรงงาน ไปจนถึง คนขับรถ คนทำกับข้าว เด็กเสิร์ฟ พนักงานตามห้าง รปภ. พนักงานต้อนรับ ช่างนวด พนักงานขายต่างๆ ในภาคบริการและพาณิชย์


เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกและไทยมีลักษณะการผลิตและให้บริการในเมืองใหญ่ๆ ซึ่งดึงดูดแรงงานเข้ามาในเมืองด้วยค่าจ้าง และการทำให้ภาคเกษตรทะยอยล่มสลายไป ด้วยนโยบายการพัฒนาหลากหลายรูปแบบ   บนฐานความคิดที่ว่า "รัฐควรผลิตอะไรที่มีผลตอบแทนสูง และเสียโอกาสน้อย"  เป็นที่มาว่า ให้เลิกทำเกษตรที่มีรายได้น้อยและดึงแรงงงานมาอยู่ในภาคอุตสาหกรรม พาณิชย์ และบริการ แทน

ความเหงาของแรงงานพลัดถิ่น เป็นปัญหาที่ต้องแก้จริงหรือ

แรงงานจึงต้องบอกลาครอบครัว เพื่อนฝูง และคนรัก พลัดถิ่นเข้ามาอยู่เมืองใหญ่เพื่อหางาน และมีแรงงานจำนวนมากที่ต้องการติดต่อกับญาติพี่น้อง คนรัก เพื่อนฝูง เพื่อถามไถ่ทุกข์สุข รับรู้ปัญหาของกันและกัน และปลอบประโลมใจในวันที่เจ็บปวด

การใช้โทรศัพท์มือถือแทนโทรศัพท์บ้าน และการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์สื่อสารต่างๆตั้งแต่ แล็ปท้อป ไปจนถึงสมาร์ทโฟน จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ของแรงงานพลัดถิ่น   เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า สภาพการทำงานของแรงงานพลัดถิ่นจำนวนมากมีความเครียดสะสม รวมถึงมีลักษณะรองรับอารมณ์ของนายจ้าง และลูกค้า อย่างหนัก

การสื่อสารจึงเป็นมากกว่า "ความงี่เง่า ปัญญาอ่อน เด็กไม่โต ไร้สาระ"   แต่กลายเป็น "สิทธิขั้นพื้นฐาน" ในการผักผ่อนและเข้าถึงกิจกรรมสันทนาการของแรงงาน   เป็นความยุติธรรมทางสังคมที่แรงงานพลัดถิ่นพึงได้รับ ทั้งในแง่พักผ่อนหย่อนใจ และการเข้าถึง "ความรู้/ข้อมูล" อีกจำนวนมากที่แรงงานจำเป็นต้องมี   แตกต่างจากการใช้อินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน เพื่ออวดความเท่ห์ เก๋ไก๋ ให้คนอื่นอิจฉา อย่างที่เข้าใจผิดกัน

สถานการณ์ในประเทศไทยเป็นอย่างไร

แต่เมื่อมองมาในประเทศไทย การสื่อสารถือเป็นบริการราคาแพงที่แรงงานจำต้องจ่าย   เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ให้สิทธิกับประชาชนในการใช้อินเตอร์เน็ตฟรีอย่างทั่วถึง (ต่างจากอีกหลายประเทศในโลกที่เริ่มเห็นปัญหานี้ และเริ่มให้หลักประกันว่า ประชาชนจะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตหรือการสื่อสารฟรี/ราคาถูก)

หากลองดูสัดส่วนรายจ่าย จะพบว่า ค่าโทรศัพท์/อินเตอร์เน็ต มีสัดส่วนไม่น้อยเลยทีเดียว   ผู้ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์เห็นจะไม่พ้น บรรษัทสื่อสาร บรรษัทผู้ขายอุปกรณ์สื่อสาร เรื่อยไปจนถึงรัฐ และหน่วยงานอิสระผู้จัดเก็บค่าธรรมเนียม   

ค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร เป็นเพียงหนึ่งในหลายรายจ่ายที่แรงงานพลัดถิ่นต้องจ่าย จึงเป็นคำตอบว่า เหตุใดตั้งใจทำงานหนักเก็บเงินเท่าไหร่ก็เหลือไม่พอจะปลดแอกเสียที   เพราะมีรายจ่ายที่แพงเกินจริงอีกหลายอย่างที่รออยู่ในการเข้ามาใช้ชีวิต "ในเมือง" ต่างถิ่นฐานการผลิตเดิม   เนื่องจาก แรงงานพลัดถิ่นมีเพียงค่าจ้าง ค่าตอบแทน แต่ต้องซื้อหาทุกอย่างแทน ตั้งแต่ อาหาร หยูกยา หาหมอ ค่าเช่าบ้าน เรื่อยไปถึงสิ่งบันเทิงใจ อย่างเพลง หนัง การคุยโทรศัพท์ แล่นอินเตอร์เน็ต ฯลฯ

ควรจะแก้ปัญหาไปในทิศทางไหน

คงถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดอย่างจริงจังว่า การสื่อสาร การใช้โทรศัพท์มือถือ เล่นอินเตอร์เน็ต เป็นความฟุ่มเฟือย/กิเลส หรือเป็น "สิทธิขั้นพื้นฐาน" ที่ทุกคนต้องมีโอกาสในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ เพราะต้องไม่ลืมว่า การกำหนดอนาคตสังคม การสร้างนโยบายสาธารณะ เกี่ยวข้องกับ "การสื่อสาร" ทั้งสิ้น   หากแรงงานพลัดถิ่นยังเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ตและการสื่อสาร  ก็ย่อมขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจการเมืองเป็นอย่างยิ่ง

เข้าทำนอง "คนเยอะแต่เสียงเบา"   ต่างจากคนอีกหลายกลุ่มที่ "คนน้อยแต่เสียงดัง"   ก็เพราะประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการ "กระจายโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสาร" นั่นเอง

พี่น้องแรงงานทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่คิดว่าต้องจ่ายเงินจำนวนมากไปกับการสื่อสาร เรามาร่วมผลักดันให้ "สิทธิในการสื่อสาร" เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการที่เราต้องได้ใช้ประโยชน์กันเถอะ หรืออย่างน้อยๆ ก็ผลักดันให้ราคาถูกลง และทั่วถึง มีคุณภาพมากขึ้นกัน

 

บล็อกของ ยาจกเร่ร่อน

ยาจกเร่ร่อน
ในสังคมไทยปัจจุบันการทำงานของคนเน้นไปที่การแข่งขันกันทำงานเพื่อสะสมเงินไว้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตัวเอง ตั้งแต่การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงปากท้องไปวันๆ การอดออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน รวมไปถึงเก็บหอมรอมริบไว้ทำทุนในอนาคต  หรือพูดง่ายๆก็คือ ทุกคนต้องสะสมทุกอย่างเพื่อตัวเอง   เพราะสังคมไทยไ
ยาจกเร่ร่อน
คนในโลกปัจจุบันเริ่มไม่รู้หน้า รู้หลัง ไม่รู้ว่าปัจจุบันกำลังทำอะไร เพื่ออะไร หรือควรจะทำอย่างไรต่อไปกับชีวิตเพราะคุณค่า ความหมาย ในหัวที่ถูกกดดัน บีบคั้น เพราะสิ่งที่ถูกสั่งสอนมา มันขัดแย้ง ยอกย้อนกันเอง มาตลอด
ยาจกเร่ร่อน
หลังๆ คงได้ยินคนบ่นว่า "เบื่อคนต่างด้าวที่เข้ามาแย่งงานคนไทย" หรือ "รำคาญนักท่องเที่ยวที่ทำอะไรตามใจตัวเอง" หรือที่เคยกระหึ่มเป็นพักๆ ก็คือ  "ต่อต้านบรรษัทข้ามชาติ"   เรื่องเหล่านี้ใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ
ยาจกเร่ร่อน
หากจะลองค้นหาดูว่าในสังคมไทยเรารักเทิดทูนบูชาอะไร เป็นสิ่งสูงสุดในชีวิต อาจทำได้ด้วยการหาหลักฐานมาบอกว่าเราแสดงความรักกับอะไรมากที่สุด   มูลค่าและราคาของสิ่งที่เรารักจนยอมเสียเงินซื้อหามา น่าจะเป็น "ตัวชี้วัดที่ดี" ได้อย่างหนึ่ง  
ยาจกเร่ร่อน
สิ่งที่ยังยืนยันว่า คนจีนยังมีรากเหง้าอยู่ คือ พิธีไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษในช่วงตรุษจีน และเช็งเม้ง  แต่สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ ความทรงจำของคนจีน ที่ผ่านคำบอกเล่าของบรรพบุรุษที่อพยพมากจากเมืองจีน
ยาจกเร่ร่อน
การชุมนุม เป็นเครื่องมือของใคร?หากยึดตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ ประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิในการชุมนุมเพื่อแสดงออกได้อย่างเสมอภาคกัน
ยาจกเร่ร่อน
แด่ พ่อแม่พี่น้องและเพื่อนที่เสนอให้ Respect your Tax ขอพูดง่ายๆ นะครับ สาเหตุที่ต้องเอาการเมืองเรื่องสิทธิการเลือกตั้ง 1 คน 1 เสียง มาใช้ ก็เพื่อมาแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เพราะ  ต้นทุนในชีวิตของแต่ละคนในการเริ่มต้นมันไม่เท่า
ยาจกเร่ร่อน
แรงงานพลัดถิ่น คือใคร
ยาจกเร่ร่อน
ใคร คือ แรงงานอารมณ์?
ยาจกเร่ร่อน
แม่ครัว เด็กเสิร์ฟ หาบเร่แผงลอย ช่างนวด คนขับรถรับจ้าง แม่บ้าน คนทำความสะอาด ยาม เป็น "ตัวแทนสาขาอาชีพ" ได้ไหม?