Skip to main content

ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
\\/--break--\>

หลังจากวิพากษ์ประเด็นร้อนเรื่องโทรศัพท์ยุค 3G ไปในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าขอกลับมาต่อประเด็นเรื่องความร่ำรวยข้อมูล ซึ่งข้าพเจ้าค้างไว้ก่อนหน้านี้ โดยจากครั้งก่อนข้าพเจ้าชี้ให้เห็นว่าความร่ำรวยข้อมูล มีความสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศ และความร่ำรวยทางด้านข้อมูลประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ (อ่านบทความเดิม http://blogazine.prachatai.com/user/sensemaker/post/2666)

ในบทความเดิมข้าพเจ้าส่งสัญญาให้กับท่านผู้อ่านว่าความร่ำรวยข้อมูลไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการดำเนินการของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว หากแต่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้น นั่นคือภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ต้องร่วมมือกันเพื่อทำให้ประเทศของเรามีความร่ำรวยทางข้อมูล

ประเด็นที่ข้าพเจ้าขอมาวิเคราะห์ต่อในวันนี้ นั่นคือ แล้วประเทศไทยจะสร้างความร่ำรวยด้านข้อมูลให้เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยจะขอวิเคราะห์แยกตามส่วนประกอบสำคัญทั้งสามส่วน

ในส่วนของความอุดมทางด้านข้อมูล ทุกภาคส่วนควรเร่งสนับสนุนให้กิจกรรมต่างๆของภาคส่วนตนสามารถดำเนินการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ตลอดเวลาโดยผู้เกี่ยวข้องทุกคนกับภาคส่วนนั้นๆ อีกทั้งอนุญาตให้ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยสู่สาธารณะได้เข้าถึงได้โดยประชาชนทุกคน เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการติดต่อหรือต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับภาคส่วนนั้น และเปิดโอกาสให้สังคมได้รับประโยชน์จากการมีข้อมูลในด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น

ภาครัฐควรใช้กลไกต่างๆที่มีผลักดันให้การเปิดเผยข้อมูลซึ่งมีความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและรวดเร็วในทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วนเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งส่งผลให้ทุกคนในสังคมแน่ใจได้ว่า ข้อมูลต่างๆที่เข้าถึงเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสบายใจ

นอกเหนือจากการดำเนินการข้างต้น สิ่งสำคัญอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ คือการผลักดันส่งเสริมให้คนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการแบ่งปันข้อมูลรูปแบบต่างๆในระดับโลกเช่น Wikipedia เพื่อให้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับประเทศไทยได้รับการจัดทำโดยคนไทยและถูกตีแผ่ออกไปในวงกว้างเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงได้ หรือเพื่อให้ข้อมูลเรื่องต่างๆได้รับการจัดทำเป็นภาคภาษาไทย เพื่อให้คนไทยในวงกว้างสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ความสามารถต่างๆของโครงการนั้นๆ

ในส่วนของความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล ภาครัฐเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ทั่วประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการเข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง และในราคาที่คนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถจ่ายได้ เพื่อทำให้ช่องว่างหรือความแตกต่างทางสังคมอันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล (digital divide)

นอกจากนี้ภาครัฐยังต้องสนับสนุนให้ตลาดผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลไม่ว่าจะเป็น ตลาดผู้ให้บริการอินเตอร์เนต ตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ตลาดผู้ให้บริการสื่อวิทุยโทรทัศน์ มีการแข่งขันในที่เป็นธรรมและครอบคลุมทุกท้องถิ่น พร้อมกับการให้ความช่วยเหลือกับภาคส่วนในสังคมที่มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลไม่ทัดเทียมกับมาตรฐานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในถิ่นธุรกันดาร ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่ารายได้มาตรฐานประเทศ ผู้ด้อยโอกาสอันเนื่องมาจากความพิการ และอันเนื่องมาจากขาดความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอันทันสมัยต่างๆ

นอกเหนือจากหน้าที่สำคัญของภาครัฐข้างต้น ภาคส่วนอื่นๆมีหน้าที่สำคัญที่ต้องดำเนินการพัฒนาภายในภาคส่วนของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ภาคส่วนของตนมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเท่าทันมาตรฐานของประเทศทั้งในส่วนของการมีและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอันทันสมัยต่างๆ และการพัฒนาบุคลากรของตนให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีอันทันสมัยดังกล่าว

ในส่วนของมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าทุกภาคส่วนต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ และปรับปรุงให้โครงสร้างข้อมูลและการออกแบบเว็บสะท้อนเป้าหมายการดำรงอยู่ของภาคส่วนตน และจำเป็นต้องสะท้อนความต้องการที่เปลี่ยนแปลอยู่เสมอของทุกผู้เกี่ยวข้องกับภาคส่วนของตนในฐานะของผู้ใช้งานข้อมูล

ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องเข้าใจเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการดำรงอยู่ของภาคส่วนของตนว่าคืออะไร เพราะนั่นคือเหตุผลสูงสุดของการจัดทำเว็บและการสนับสนุนข้อมูลผ่านเว็บ อีกทั้งต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวกข้องกับภาคส่วนทุกคน เพื่อให้เว็บสามารถสนับสนุนข้อมูลและมีความสามารถต่างๆซึ่งสอดคล้องและทันกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทุกคน

บทความวันนี้เป็นเพียงการชี้ให้เห็นแนวทางกว้างๆซึ่งประเทศของเราสามารถนำไปดำเนินการ เพื่อพัฒนาให้ไทยเป็นประเทศที่มีความร่ำรวยข้อมูลเพิ่มขึ้น ผู้ต้องการนำแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติจำต้องมีการประยุกต์ให้เข้ากับบริบท เงื่อนไข ข้อจำกัด และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินการต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนผู้มีส่วนผลักดันให้ความร่ำรวยข้อมูลเกิดขึ้นจริงในประเทศไทยของเรา 


ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่ www.thesensemaker.org หรือติดต่อข้าพเจ้าได้ที่ sensemaking.writer at gmail dot com

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…