Skip to main content

สมาคมผู้ปกครองและครู ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า PTA (พี.ที.เอ.) ซึ่งเป็นคำย่อของทัพศัพท์ Parents and Teachers Association สมาคมนี้มีอยู่ในทุกโรงเรียน โดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าบรรดาผู้ปกครองก็ให้ความรวมมือต่อฝ่ายโรงเรียนโดยสมัครเป็นสมาชิกของ PTA วิสัยทัศน์การจัดตั้งสมาคมดังกล่าวคือเพื่อให้เป็นเวทีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างผู้ปกครองกับครู และนำผลการเรียนรู้ดังกล่าวใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน นอกจากนี้ สมาคมดังกล่าวก็ถูกวางแผนเพื่อให้เป็นเวทีฝึกปฏิบัติหลักประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม PTA ในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะในสมัยผมยังเป็นนักเรียนนักศึกษา มีลักษณะเป็น “คณะกรรมการตรวจสอบความเหมาะสม” อย่างแรง เรื่องนี่ไม่น่าแปลกใจ เพราะสมาชิกขององค์กรดังกล่าวเป็นผู้ปกครองและครู แต่ความเหมาะสมตามทัศนคติขององค์กรดังกล่าวก็อยู่ในขอบเขตอันแคบ อย่างเช่น นักเรียนขวัญใจของ PTA คือ นอกจากเรียนเก่ง ต้องเป็นเด็กที่ขยันในทุกอย่าง พูดจาไพเราะ ไม่ใช้คำที่หยาบ แต่งตัวเรียบร้อย ไม่เล่นกับสิ่งสกปรก ไม่ถามสิ่งที่ครูไม่ชอบหรือไม่ตอบโต้ ชอบช่วยครูและพ่อแม่ ไม่สิ้นเปลือง ฯลฯ ซึ่งเป็นเด็กที่ในโลกความเป็นจริงแทบจะหาไม่เจอ

ดังนั้น PTA ก็แนะนำให้เด็กนักเรียนบริโภคสิ่งต่างๆ ที่ PTA มองว่า “เหมาะสม” ต่อเด็กๆ ผมเองก็ถูกบังคับให้อ่านหนังสือบางเล่มที่ PTA แนะนำ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในบรรดาหนังสือที่ PTA แนะนำ มีเรื่องดีๆ (ดังเช่น ชีวประวัติของบุคคลในประวัติศาสตร์) แต่ในใจก็อดรู้สึกไม่ได้ว่า สิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็น่าเบื่อ เพราะเป็นงานเขียนที่ตามแนวคิดสาย “โลกสวย” ทั้งนั้น แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังนั้นคือ “คนที่ขยันต้องประสบความสำเร็จ” “ความดีงานได้รับการตอบแทนที่ดี” “การกระทำชั่วต้องได้รับบทลงโทษ” โดยหลักการ ผมเห็นด้วยกับแนวคิดเหล่านี้ แต่ถ้าเราบริโภคสิ่งที่ PTA แนะนำอย่างเดียว ปัญหาคือ เมื่อเราโตเป็นสมาชิกของสังคมผู้ใหญ่ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ไม่ใช่ความเป็นจริงตลอด เราก็ไม่ทราบว่าจะทำตัวอย่างไร เพราะในโลกความเป็นจริง คนขยันอาจจะถูกเอาเปรียบ ความดีงามของเราอาจจะไม่มีใครมองเห็น และคนที่ทำชั่วประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่ทำดีตอลดชีวิตโดยไม่เคยได้รับบทลงโทษใดๆ  

องค์กร PTA ไม่ใช่ “แนะนำ” สิ่งที่เห็นว่า “เหมาะสม” อย่างเดียว แต่ออกมาวิจารณ์ทุกอย่างที่องค์กรดังกล่าวถือว่า “ไม่เหมาะสม” ไม่ว่าจะเป็นดารานักร้องนักแสดง ตัวตลก (comedian) มวยปล้ำ มังงะ ฯลฯ

มังงะกลายเป็นวัฒนธรรมส่งออกที่สำคัญของญี่ปุ่น เมื่อผมมาที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก ผมตกใจที่สังเกตว่า มังงะญี่ปุ่นหลายๆ เรื่องเป็นที่รู้จักในประเทศไทยแล้ว ประเภทของมังงะที่ PTA ชอบที่สุดก็คือมังงะที่มีลักษณะเหมือน “อิคคิวซัง” ซึ่งเป็นเด็กวัดที่น่ารัก ฉลาด และเรียบร้อย เรื่องนั้นเต็มไปด้วยความสนุก แต่ที่สำคัญคือ สิ่งที่คาดไม่ได้ไม่อาจเกิดขึ้นในเรื่องนั้น ทุกคนดำเนินชีวิตอย่างสงบเรียบร้อย ภายใต้โครงสร้างอำนาจแบบดังเดิม (โดยมีโชกุนเป็นหัวหน้า) แม้ว่าอิคคิวซังมีนิสัยที่สนนิดหน่อย แต่เขาก็ไม่เล่นกันสิ่งที่สกปรก หรือไม่อาจจะโชว “นก” ต่อหน้าสาธารณะ  

จากสายตาของ PTA โดเรม่อนถือว่าไม่ใช่มังงะที่ดี เพราะคุณโนบิตะเป็นเด็กที่ขี้เกียจ ขอร้องความช่วยเหลือจากเพื่อนแสนดีของเขาทุกครั้งเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหา โดยตัวเองแทบจะไม่เคยพยายามเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น  

PTA ยังรับโดเรม่อนได้ แต่มีมังงะหลายๆ เรื่องที่เป็นเป้าหมายการโจมตีจาก PTA อย่างเช่น ดร. สลัมป์ ในสมัยเด็ก ผมชอบเรื่องนี้มาก เพราะมันเต็มไปด้วยจินตนาการ ซึ่งเป็นนิทานที่แสนน่ารัก แต่สิ่งที่ PTA เห็นว่าไม่เหมาะสมคือ คุณอาราเล่ ชอบเล่นขี้ เพราะกลัวว่า เด็กๆ ที่เสพมังงะเรื่องนี้จะเล่นขี้ตามคุณอาราเล่ นอกจากนี้ คุณครูมิโดริ ก็เซ็กซี่เกินไป ดังนั้น โดยสังเกต “ข้อเสีย” เหล่านี้เป็นหลัก PTA ก็ต่อต้าน ดร. สลัมป์

จากสายตาของเด็กที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของมังงะเรื่องนี้ ผมยืนยันได้ว่า ผมไม่เคยคิดว่าจะเล่นขี้เหมือนคุณอาราเล่ และไม่เคยรู้สึกว่า คุณครูมิโดริ นั้นเซ็กซี่เกินไป โชคดีที่ว่า พ่อแม่ของผมไม่เคยห้ามอ่านการ์ตูน ดร. สลัมป์ หรือดูอนิเมะ (ภาพเคลื่อนไหว) ในโทรทัศน์

มังงะที่เป็นเป้าหมายการโจมตีของ PTA อย่างแรงที่สุดน่าจะเป็น ชินจัง เพราะชินจังมีคุณสมบัติของเด็กที่ PTA ไม่ชอบเกือบทุกประการ เริ่มจากการพูดจาที่ไม่เคารพผู้ใหญ่ ชอบแสดงอวัยวะต่างๆ ที่ไม่ควรแสดงที่สาธารณะ ชอบสร้างปัญหาและทำให้ผู้ใหญ่โกรธตลอด ดังนั้น PTA ก็โจมตี ชินจัง ว่าเป็นมังงะที่ไม่เหมาะสมอย่างมากสำหรับเด็กๆ สิ่งที่น่าสังเกตคือ PTA ชอบยกย่องเด็กดีเด่นที่อาจจะได้รับรางวัลอะไรสักอย่าง แต่ไม่ชอบเด็กๆ ที่เกเร ทั้งๆ ที่ ชินจังเป็นตัวละครที่อธิบายถึงนิสัยอันแท้จริงของเด็กๆ หลายๆ คน แม้ว่าห้ามแค่ไหนก็ตาม เด็กๆ ก็ยังชอบดูพฤติกรรมของชินจังจากตู้โทรทัศน์

PTA ไม่ยอมจินตนาการเต็มรูปแบบ แต่นิยมจำกัดขอบเขตของจินตนาการให้อยู่ในกรอบที่กำหนดเอง (ซึ่งเป็นโลกทัศน์แบบโลกสวยนั่นเอง) ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรื่องบางเรื่องที่ PTA แนะนำนั้นมีความสำคัญในการสร้างบุคลิกภาพของคนญี่ปุ่น ดังเช่นเรื่องวินัย ความสะอาด ความตรงต่อเวลา ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าหากว่า โรงเรียนทุกโรงเรียน ครูและผู้ปกครองทุกคน ปฏิบัติตามนโยบายของ PTA อย่างเดียว ประเทศญี่ปุ่นก็คงจะสูญเสียความสามารถในการสร้างผลงานต่างๆ ที่ต้องใช้จินตนาการ เพราะโดยสัญชาติญาณ PTA ไม่ชอบมังงะ แต่ผมเห็นว่ามังงะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นอันมีค่ามากที่สุด

อกจาก PTA ในสังคมญี่ปุ่นทั่วไปก็ยังมีแนวโน้มที่จะมองว่า มังงะ เป็นวัฒนธรรมไร้คุณค่าหรือด้อยคุณภาพ บางคนมักจะมองว่า คนที่อ่านมังงะเป็นคนที่ไม่มีการศึกษา คนที่มีการศึกษาต้องอ่านหนังสือซึ่งมีตัวอักษรเป็นหลัก คนเหล่านี้ดูถูกมังงะเพราะในมังงะสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นในโลกความเป็นจริงเกิดขึ้นได้อย่างสบาย ดังนั้น มังงะก็ไม่มากกว่าสื่อบังเทิน ซึ่งขาดความเหมาะสม การดูถูกมังงะก็เริ่มลดลงหลังจากมีนิตยสารรวมมังงะสำหรับผู้ใหญ่ แต่คำวิเศษบางคำในภาษาญี่ปุ่นยังแสดงถึงร่อยรอยของการดูถูกดังกล่าว เช่นคำว่า “man-ga mitai” หรือ “man-ga teki” ซึ่งทั้งสองคำนี้หมายถึงว่า เหมือนมังงะ หรือคล้ายมังงะ แปลว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้น สิ่งที่มีลักษณะเช่นนี้ก็ถูกดูถูก

อย่างไรก็ตาม ความยอดเยี่ยมของมังงะอยู่ที่การนำเสนอสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นเอง ดังนั้น ผู้เขียนมังงะที่ดี นอกจากวาดภาพเก่ง ยังต้องมีจินตนาการที่สามารถกระตุ้นจินตนาการของผู้อื่นได้ด้วย ถึงแม้ว่าสังคมญี่ปุ่นก็มีองค์กรอย่าง PTA และ “คณะกรรมการตรวจสอบความเหมาะสม” อีกมากมาย แต่สังคมยังยอมรับมังงะเป็นวัฒนธรรมได้ ดังนั้น เรายังมีโอกาสเพื่อพัฒนาจินตนาการของเราตามวัย

ถ้าเราศึกษาผลงานมังงะที่ประสบความสำเร็จต่างๆ มักจะพบว่า มีลักษณะเป็นผลงานของจินตนาการยอดเยี่ยม ขอยกตัวอย่างของมังงะฟุตบอลชื่อดัง “กัปตันซึบาสะ” ถึงแม้ว่า ฟุตบอลญี่ปุ่นยังไม่ถึงระดับโลกในความหมายอันแท้จริง แต่การ์ตูนนี้ได้รับการสนับสนุนจากดาราฟุตบอลระดับโลกหลายๆ คน เช่น ซีดาน (ฝรั่งเศส) เมซซี่ (อาร์เจนติน่า) อีเนียสตา (สเปน) ฯลฯ คนที่อ่านมังงะเรื่องนี้จะทราบทันทีว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้ ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการแข่งขันฟุตบอลแห่งโลกความเป็นจริง เพราะไม่ตรงกับหลักวิทยาศาสตร์ แต่สำหรับแฟนมังงะซึบาสะ เรื่องแบบนั้นไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญคือ ทำอย่างไรซึบาสะจะชนะคู่ต่อสู้อันน่ากลัวที่ใช้เทคนิคต่างๆ ที่เหลือเชื่อ ความสอดคล้องกับความเป็นจริงไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับมังงะ

มังงะชิ้นยอดเยี่ยมที่สามารถดึงดูดใจของผู้อ่านหรือผู้ชมหลายล้านคน ไม่อาจจะเกิดขึ้นในสังคมที่แยกแยะสิ่งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมโดยส่งเสริมสิ่งที่สังคมคิดว่าเหมาะสมอย่างเดียวให้แก่เด็ก แต่ห้ามเด็กใช้จินตนาการในทางที่ “ไม่เหมาะสม” (ตามมาตรฐานของ “คณะกรรมการตรวจความเหมาะสม” ต่างๆ) เพราะผลงานของจินตนาการถูกกล่าวหาว่า ไม่เหมาะสม หรือ “เหมือนมังงะ” ซึ่งก็คือ “เป็นไปไม่ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง” ดังนั้น ถูกมองว่าเป็นเรื่องไรสาระ เมื่อผู้ใหญ่กล่าวหาผลงานของเด็กโดยใช้สำนวนเช่นนี้ ก็เท่ากับการฆ่าจินตนาการของเด็ก สังคมที่เอาแต่คิดว่าจะยัดจินตนาการของเด็กในกรอบที่บรรดาผู้ใหญ่ (จาก “คณะกรรมการตรวจสอบความเหมาะสม”) จัดให้อย่างเดียว ไม่อาจจะสามารถผลิตผลงานทางวัฒนธรรมได้ เพราะจินตนาการเป็นที่มาของวัฒนธรรม

 

 

 

 

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/