Skip to main content

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก

สิ่งที่น่าเศร้าก็เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์นี้ มีสำนักข่าวบางสำนัก นักข่าวบางคน และผู้ใช้โซเซียลมีเดียจำนวนมาก เผยแพร่ภาพศพนองเลือดของผู้ที่เป็นเหยื่อ จริงๆ แล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีผู้คนจำนวนมากแชร์ภาพลักษณะเดียวกัน (ภาพศพนองเลือด) หลังจากมีเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต รวมไปถึงอุบัติเหตุบนถนนที่มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน   

อย่างไรก็ตาม เราต้องคิดก่อนว่า เราควรกระทำเช่นนี้หรือไม่ เพราะผมเชื่อว่า การกระทำเช่นนี้มีแต่ผลกระทบโดยไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อฝ่ายใด

ภาพศพนองเลือดที่ปรากฏในข่าวและโซเซียลมีเดียเป็นภาพของคนที่ผมไม่รู้จักอย่างเป็นส่วนตัวทั้งนั้น แต่ผมก็ยังรู้สึกสงสารต่อเหยื่อ และนึกไม่ออกว่า ครอบครัวของเหยื่อจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นผู้คนหลายๆ คนแช่ภาพศพของสมาชิกครอบครัว เพราะถ้าหากว่าผมเป็นเหยื่อในเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุแบบนี้ ผมก็ไม่อยากจะให้สื่อเผยแพร่ภาพศพของผม ถ้าสมมุติว่า ครอบครัวหรือเพื่อสนิทเป็นเหยื่อ สิ่งที่ผมไม่ต้องการที่สุดก็คือสื่อจะนำภาพศพมาเผยแพร่

หลังจากสูญเสียลูกชายทั้งสามคนในเหตุการณ์ยิงยกครัว ครอบครัวของนายเจะมุ มะมัน ที่เกิดขึ้นใน อ. บาเจาะ จ. นราธิวาสเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปีที่แล้วก็มีการเผยแพร่ภาพศพของเด็กเหล่านี้ แต่เมื่อมีคนถามถึงการกระทำนี้กับผู้ที่เป็นแม่ของเด็กที่เสียชีวิต พาดีละห์ แมยู มารดาผู้สูญเสียบุตรถึงสามคนได้อธิบายว่า ถ้าจะใช้ภาพของลูกก็ขอใช้ภาพของพวกเขาเมื่อพวกเขายังมีชีวิตอยู่ เพราะภาพศพนั้นกระทบความรู้สึกของตน

ด้วยเหตุนี้ เราก็ไม่ควรจะเผยแพร่ภาพศพ เพราะการเผยแพร่ภาพศพเป็นการกระทำที่ขาดความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกของครอบครัว ถ้าเราต้องการจะถ่ายทอดความรุนแรงและความโหดเหี้ยมก็ควรใช้วิธีการอื่น โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า เราสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้โดยใช้ภาษา และไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่เราต้องใช้ภาพศพ

งานศพเป็นหนึ่งในพิธีที่สำคัญในทุกศาสนา เพราะศาสนาทุกศาสนาก็สอนให้เรามีความเคารพต่อผู้เสียชีวิต เช่นในศาสนาอิสลาม เราควรฝั่งศพภายในเวลาอันไม่ช้า เพื่อไม่ให้ศพนั้นจะส่งกลิ่นเหม็น และในงานศพเราก็ไม่ควรกล่าวถึงข้อเสีย จุดอ่อนหรือปัญหาของผู้เสียชีวิตด้วย แม้แต่ในสงคราม ศาสนาอิสลามก็สอนให้ศาสนิกชนต้องเคารพศพ ไม่ว่าจะเป็นศพของคนที่อยู่ในฝ่ายเดียวกันหรือของศตรู การถ่ายภาพศพเพื่อนำมาเผยแพร่นั้นคงจะขัดกับหลักศาสนาทุกศาสนาที่ให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์

เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น หน้าที่ของนักข่าวคือถ่ายถอดเหตุการณ์หรืออุบัตุหตุนั้นให้สังคมทราบ นักข่าวก็มักจะอาศัยภาพต่างๆ เพื่อถ่ายทอดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุดังกล่าว แต่คำถามก็คือ ทำไมนักข่าว โดยเฉพาะนักข่าวไทย ไม่ว่ามาจากสื่อกระแสหลักหรือสื่อทางเลือก นิยมอาศัยวิธีการที่ง่ายที่สุดโดยเก็บภาพของศพและเผยแพร่ภาพดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ

ประเทศอื่นๆ หลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ มีกฎหมายที่ห้ามนำภาพศพเพื่อเผยแพร่ตามข่าว แต่ในประเทศไทย สื่อก็ยังอาศัยภาพศพที่ถูกนำมาเผยแพร่ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ แม้ว่ามีเซ็นเซอร์แค่นิดเดียว แต่เรายังเห็นได้ชัดว่า นี่คือภาพศพคำถามก็คือ นักข่าวไทยขาดความเป็นมืออาชีพขนาดนี้ จนถึงไม่สามารถถ่ายทอดเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต ถ้าไม่ภาพของผู้ที่เป็นเหยื่อหรือเปล่า โดยนำเผมแพร่ภาพเหล่านี้ นักข่าวก็ทำให้ผู้อ่านข่าวอยู่ในสภาพ “เสพภาพศพ” จนถึงผู้อ่านก็ไม่อยากอ่านข่าวเหตุรุนแรงถ้าไม่มีภาพศพ การนำภาพศพนองเลือดเพื่อเผยแพร่นั้นไม่ใช่งานของ “นักข่าว” ในความหมายอันแท้จริง แต่ฝีมือของไอ้พวกคนขายข่าวที่ไม่มีความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกของครอบครัว

สุดท้ายนี้ ผมขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายงดเผยแพร่ภาพศพในสื่อ ไม่ว่าจะเป็นภาพศพของเหยื่อเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุก็ตาม ตราบใดที่เรากระทำเช่นนี้ต่อ เราก็ไม่อาจจะสามารถสร้างสังคมที่มีความเคารพต่อมนุษย์ และคนในสังคมก็ไม่เห็นคุณค่าในชีวิตของผู้อื่นและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 

 

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
มหาวิทยาลัยเคอีโอ วิทยาเขตฟูจีซาวะ (慶応大学湘南藤沢キャンパス) ซึ่งเป็นที่เรียนของผมสำหรับระดับปริญญาตรี ตั้งอยู่ในจังหวัดคานางาวะ (神奈川県) ส่วนบ้านผมอยู่ในโตเกียว ดังนั้น ผมต้องใช้เวลาการเดินทางประมาณสองชั่วมองครึ่งสำหรับขาไปอย่างเดียว เพราะฉะนั้น วันใดที่มีคาบเรียน ผมก็ต้องใช้เวลาเกือบห้าชั่วโมงสำหรับการเดิน
Shintaro Hara
ณ ปัจจุบันนี้ สังคมไทยกับสังคมญี่ปุ่นก็ตกอยู
Shintaro Hara
ตั้งแต่มีหนังสือพิมพ์ ชาวอังกฤษแสดงความเห็นกันว่า ภาษาอังกฤษอยู่ในภาวะ “วิกฤต” โดยอ้างว่า ผู้ใช้ภาษาอังกฤษมีการออกเสียงไม่ถูกต้อง หรือมีการสะกดผิดมากมาย แนวคิดแบบนี้มีอยู่ในเกือบทุกภาษา ผู้ใช้ของภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยเฉพาะบรรดาเจ้าของภาษาที่หวังดีกับภาษาของตน เป็นห่วงกับ “คุณภาพการใช้ภาษา” ในสังคม ซ
Shintaro Hara
Shintaro Hara
คนในแอเชีย โดยเฉพาะแอเชียตะวันออก เช่น คนญี่ปุ่น คนเกาหลีหรือคนจีน มักจะประเมิณว่า โค้ชที่ใช้ความรุนแรงกับลูก
Shintaro Hara
ตามพจนานุกรม Cambridge Advanced Learner's Dictionary & Thesaurus (http://dictionary.cambridge.org/dictionary/british/potential_2) ให้คำจำกัดความต่อคำว่า potential (คำนาม) ดังต่อไปนี้: someone's or something's ability to develop , achieve , or succeed ความสามารถของคนใดคนหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่
Shintaro Hara
สมาคมผู้ปกครองและครู ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า PTA (พี.ที.เอ.) ซึ่งเป็นคำย่อของทัพศัพท์ Parents and Teachers Association สมาคมนี้มีอยู่ในทุกโรงเรียน โดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าบรรดาผู้ปกครองก็ให้ความรวมมือต่อฝ่ายโรงเรียนโดยสมัครเป็นสมาชิกของ PTA วิสัยทัศน์การจัดตั้งสมาคมดังกล่าวคือเพื่อให้เป็นเวทีการเรียน
Shintaro Hara
หลังจาก นาย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) ได้ครองตำแหน่งประธรานาธิบดีเป็นเวลาสองสมัย ในสุดท้าย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ จะมีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่สำหรับประเทศอินโดนีเซีย
Shintaro Hara
ผมเองก็ไม่ทราบครับ ว่า ทำไมคนญี่ปุ่นเข้าคิวทุกครั้ง และแทบจะไม่มีใครกล้าแซงคิว มันเป็นหัวข้อที่น่าสนใจสำหรังงานวิ
Shintaro Hara
ในคำปราศรัยโดยหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ท่าน ผบ.ทบ.