Skip to main content

สมยศ พฤกษาเกษมสุข

 

ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ.2205 กวีลือนามชื่อศรีปราชญ์ บุตรของพระมหาราชครูทายหนู มีผลงานกวีชินสำคัญคือหนังสือกำสรวลศรีปราชญ์ และอนิรุทธ์ดำฉันท์ ศรีปราชญ์ได้รับราชการเป็นมหาดเล็ก มีความเฉลียวฉลาดสามารถแต่งกาพย์ กลอน โคลง ได้เป็นอย่างดี เมื่อสนมเอกท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ตำหนิศรีปราชญ์ที่แสดงความเจ้าชู้เป็นโคลงสี่สุภาพที่ว่า
 
หะหายกระต่ายเต้น     ชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมัน          ต่ำต้อย
นกยูงหากกระสัน        ถึงเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อย         ต่ำต้อย เดรัจฉาน
 
ศรีปราชญ์รู้ตัวว่าถูกสบประมาทว่า ไม่เจียมตัวจึงตอบโต้ออกไปว่า
 
            หะหายกระต่ายเต้น     ชมแข
            สูงส่งสุดตาแล             สู่ฟ้า
            ระดูฤดีแด                    สัตว์สู่ กันนา
            อย่าว่าเราเจ้าข้า         อยู่พื้นเดียวกัน
 
การจาบจ้วงสนมเอกถือเป็นความคิด  พระนารายณ์จึงสั่งลงโทษให้ศรีปราชญ์ถูกจองจำที่คุกหับเผยไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวัง ศรีปราชญ์กล่าวด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจว่า เคยนอนที่นอนอ่อนนุ่ม ต้องมานอน กองฟางทั้งอับเหม็น ไอ้กองฟางก็ใช้ทั้งหนุนหัว  หนุนตัว  แล้วเช็ดก้นระหว่างถูกคุมขัง ผู้คุมกับนายประตูได้ว่ากลอนสนทนากันว่า
 
เพราะพวกเขาทำผิดจึงติดคุก (ผู้คุม)   หมดสนุกทุกข์สนัดดัดนิสัย   (นายประตู)
สงสารคนไม่ผิดติดทำไม      (ผู้คุม)     เพราะเวรกรรมทำไว้ก็ไดนะ  (นายประตู)
(ตำนานรักศรีปราชญ์, ศึกเดช  กันตามระ,  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์)
 
ขณะที่ถูกจองจำศรีปราชญ์ได้ประพันธ์อนิรุทธ์คำฉันท์ถวายพระนารายณ์  ในขณะที่ยังถูกเกณฑ์ไปทำงานขุดคูคลองร่วมกับนักโทษคนอื่น ๆ หากทำงานไม่ทันก็มักจะถูกเฆี่ยนตีด้วยหวาย สนมเอกท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มาเยาะเย้ยศรีปราชญ์ ขณะที่กำลังหาบปุ้งกี๋บรรจุโคลน  ศรีปราชญ์เดินซวนเซ เศษโคลนกระเด็นเปื้อนพระภูษาเนื้อทองแถมยังกระเด็นต้องใบหน้า จึงถูกคณะลูกขุนพิพากษาให้ประหารชีวิต แต่พระนารายณ์ให้เนรเทศไปอยู่กับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช แต่พอไปอยู่ที่นั่นโด่งดัง มีผู้มาขอให้ศรีปราชญ์สอนการแต่งกาพย์กลอนให้จนมีความสนิทสนมกับภรรยาเจ้าเมือง และถูกใส่ร้ายว่าคบชู้ จึงถูกสั่งประหารชีวิต ก่อนศรีปราชญ์แต่งโคลงทิ้งไว้ว่า
 
ธรณีนี่นี้                       เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์       หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร      เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง        ดาบนี้  คืนสนอง
 
ศรีปราชญ์ตายจากไปแล้ว เหลือไว้แต่ผลงานกวีอันยิ่งใหญ่ที่ถ่ายทอดกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า จนถึงทุกวันนี้ เช่นเดียวกับ ความอยุติธรรมยังคงอยู่ในระบบศาลไทย รูปแบบของศาลอาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่เนื้อหาพื้นฐานยังดำรงอยู่มาถึงทุกวันนี้
 
 
วันที่  7  กันยายน  2555
           
 

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข แปลบทความในThe  Economist  เรื่องของ ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ที่ได้ มรณกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  "บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น"
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บทกวีที่หลุดรอดจากลูกกรงแดนตารางถึงเหยื่อมาตรา112ผู้จากไป
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บี.เจ.ลี (B.J.LEE) ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012   
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข    
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เมื่อแกนนำคนเสื้อแดง บรรณาธิการนิตยสาร Red Powerและนักโทษการเมือง ม.112 มองทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทยผ่านลูกกรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ  แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง