Skip to main content

เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที่ต้องการเปลี่ยนโปรโมชั่นจึงต้องการซิมการ์ดใหม่ เบอร์ใหม่ ที่มีโปรโมชั่นใหม่ เลยต้องเปลี่ยนเบอร์  ไม่รวมพวกที่มีรถไฟหลายขบวนให้สับเปลี่ยน หรือคนที่แยกเบอร์ทำงานกับเบอร์ส่วนตัวอีก ยิ่งเดี๋ยวนี้มีสมาร์ทโฟนไว้เล่นอินเตอร์เน็ต ก็ต้องมีเบอร์เพิ่มขึ้นมาอีก   เอาเป็นว่าไปลองดูปัญหาที่เกิดขึ้นเลยครับ

เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การรับแจกซิมการ์ดฟรีของบริษัทผู้ให้บริการรายหนึ่ง  เรื่องมันเริ่ม โดยน้องผู้หญิงคนหนึ่งอยากเปลี่ยนโปรโมชั่นการใช้บริการมือถือเพื่อให้ประหยัดเงินลง  พอดีเดินผ่านไปแถวป้ายรถเมล์ตรงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิก็พบเห็นแผงวางขายซิมการ์ดหลายร้าน ต่างประกาศแจกซิมฟรี ถ้าใครมีบัตรประชาชนเลขขึ้นต้นด้วย 0 กับ 3 ให้รีบมาเอาซิม ไม่เสียเวลาง่ายๆนิดเดียวก็ได้ซิมพร้อมเปลี่ยนโปรโมชั่นใหม่ ไม่ต้องไปทำเรื่องจนเสียเวลาแบบไปที่ศูนย์บริการ   น้องเลยเดินเข้าไปจะขอรับซิมฟรี แต่เมื่อพูดคุยกันแล้ว คนแจกบอกว่าถ้าจะมาขอรับซิมการ์ดจะต้องมีอายุ 20 ปี ขึ้นไป เด็กผู้หญิงคนนั้นต้องการซิมการ์ดดังกล่าวแต่อายุไม่ถึงเกณฑ์ จึงได้ใช้สำเนาบัตรประชาชนของมารดา ไปรับซิมการ์ดมาใช้บริการ โดยซิมการ์ดดังกล่าวเป็นโปรโมชั่นรายเดือน

เมื่อใช้งานไปได้สองเดือน ก็ได้เลิกใช้บริการดังกล่าว เพราะได้เปลี่ยนกลับไปใช้บริการกับเบอร์เดิมเพราะรู้สึกว่าไม่ได้ประหยัดไปกว่าเดิมสักเท่าไหร่ แถมเพื่อนเก่าๆ และญาติลูกพี่ลูกน้องอีกหลายคนก็ยังใช้บริการในเครือข่ายเดิมนั่นเอง   น้องคนนี้จึงหยุดใช้ซิมใหม่กลับมาใช้ซิมเดิมแต่ไม่ได้แจ้งยกเลิกการใช้งาน เมื่อเวลาผ่านไปสองเดือน ได้มีการติดตามทวงหนี้จาก บริษัทผู้ให้บริการว่าค้างชำระค่าบริการ 2 เดือน และยังได้บอกกล่าวอีกว่า หากไม่ต้องการใช้งานอีกต้องไปยกเลิกที่ศูนย์บริการใหญ่ ซึ่งผู้ใช้บริการก็ยอมไปดำเนินการตามนั้น จากนั้นก็ได้มีการติดตามทวงหนี้มาอีกครั้ง ซึ่งผู้ใช้บริการได้ตอบกลับไปว่าได้ยกเลิกการใช้บริการแล้ว สุดท้ายของเรื่องคือ การไปยกเลิกที่ศูนย์บริการไม่ได้ส่งเรื่องไปยังศูนย์บริการใหญ่ จึงทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น พนักงานก็ตกลงว่าจะรับเรื่องไปแก้ไข

หลังจากนั้นไปอีกสองสามเดือนหญิงคนที่เป็นมารดาของน้องคนแรกได้รับใบแจ้งหนี้จากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยที่หญิงคนดังกล่าวไม่เคยใช้บริการโทรศัพท์แบบรายเดือน ใช้แต่ระบบเติมเงินเท่านั้น จึงไม่ได้สนใจกับใจแจ้งหนี้ดังกล่าว เวลาผ่านไปเกือบ 2 ปี ก็มีใบแจ้งหนี้ลักษณะดังกล่าวมาเรียกเก็บอีก ในคราวนี้มียอดหนี้ หมื่นกว่าบาท ซึ่งสร้างความสงสัยกับหญิงคนดังกล่าว จึงได้ไปตรวจสอบกับศูนย์บริการที่เรียกเก็บ พบว่ามีการใช้โทรศัพท์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย แต่ผู้ที่ถูกเรียกเก็บอยู่ในจังหวัดกรุงเทพ และไม่เคยอาศัยในจังหวัดเชียงรายเลย เมื่อตรวจสอบบริษัทตรวจสอบข้อมูลการใช้พบว่า ผู้ใช้บริการน่าจะเป็นชายวัยกลางคน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นใครมาจากไหนเพราะไม่เคยรู้จักกัน ทางบริษัทที่ให้บริการจึงตกลงจะติดตามเรื่องนี้เอง และจะติดต่อชายคนดังกล่าวอีกครั้ง 

โดยที่หญิงคนดังกล่าวก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าบริษัทใช้วิธีไหนถึงได้ล่วงรู้ว่าคนใช้บริการเป็นชายวัยกลางคนและจังหวัดเชียงรายเมื่อทำการตรวจสอบ จนช่วงนั้นมีรายการข่าวนำเสนอว่ามีการเอาสำเนาบัตรประชาชนของคนที่รับซิมฟรีไปเปิดเบอร์โทรศัพท์ให้กับคนอื่นเพื่อสวมสิทธิ จนทำให้เจ้าของสำเนาบัตรประชาชนได้รับความเสียหาย พี่ผู้หญิงคนนี้จึงนึกขึ้นได้ว่าคงเป็นครั้งนั้นที่ลูกเอาสำเนาบัตรประชาชนไปจึงตกใจมาก  ตอนบริษัทบอกจะตามเองก็โล่งใจแต่พอมาดูข่าวแล้วก็รู้สึกไม่เป็นธรรมกับตัวเองมากๆ เพราะถ้าบริษัทสามารถสืบข้อมูลได้ขนาดนี้ก็ไม่น่าปล่อยให้เกิดความผิดพลาดมาถึงตัวของหญิงคนดังกล่าวเลยตั้งแต่แรก   ทำไมบริษัทไม่วางแผนแก้ไขและป้องกันปัญหาโดยไม่มารบกวนคนอื่นอย่างนี้

วิเคราะห์ปัญหา

1.              การโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทมือถือหรือบุคคลที่มาเสนอแจกซิมฟรีที่มีลักษณะกำกวมชวนให้เข้าใจผิด ปิดบังหมกเม็ด หรือสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า เป็นความผิดหรือไม่

2.              หากบริษัทไม่สามารถยกเลิกบริการตามที่เราแจ้งไป ทั้งยังมาเรียกร้องให้เราชำระหนี้ตามมาให้ได้จะบังคับให้บริษัทดำเนินการยกเลิกบริการให้ได้รึเปล่า และเราจะปฏิเสธการชำระหนี้ได้ไหม

3.              หากผู้บริโภคเลิกใช้บริการไปแล้วพบว่ายังมีใบแจ้งหนี้ตามมาทั้งที่ไม่ได้ใช้บริการ และมีปัญหายุ่งยากตามมา หรือทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ จะต้องไปยกเลิกสัญญาซ้ำอีกหรือไม่ ใครมีหน้าที่ดำเนินการ

4.              การนำสำเนาบัตรประชาชนของคนอื่นไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำให้เกิดความเสียหายเป็นความผิดทางกฎหมายหรือไม่

5.              หากประชาชนร้องเรียนไปยังทาง กสทช. แล้วไม่มีการดำเนินการควบคุมบริษัทต่างๆให้เกิดการคุ้มครองสิทธิประชาชน จะมีความรับผิดชอบตามกฎหมายอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.              การโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทมือถือหรือบุคคลที่มาเสนอแจกซิมฟรีที่มีลักษณะกำกวมชวนให้เข้าใจผิด ปิดบังหมกเม็ด หรือสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า เป็นความผิดตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาได้หากประชาชนทำสัญญาโดยเข้าใจผิด

2.              หากบริษัทไม่สามารถยกเลิกบริการตามที่เราแจ้งไป ทั้งยังมาเรียกร้องให้เราชำระหนี้ตามมาให้ได้จะบังคับให้บริษัทดำเนินการยกเลิกบริการได้ และเราจะปฏิเสธการชำระหนี้ได้ทันที บริษัทเป็นผู้มีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริง

3.              หากผู้บริโภคเลิกใช้บริการไปแล้วพบว่ายังมีใบแจ้งหนี้ตามมาทั้งที่ไม่ได้ใช้บริการ และมีปัญหายุ่งยากตามมา หรือทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ ไม่ต้องไปยกเลิกสัญญาซ้ำอีก และบริษัทมีหน้าที่ดำเนินการทั้งหมด รวมถึงการติดตามผู้ที่ใช้บริการจริง หรือผู้ที่สวมสิทธิการใช้สำเนาของเราด้วย

4.              การนำสำเนาบัตรประชาชนของคนอื่นไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำให้เกิดความเสียหายเป็นความผิดทางอาญาในกรณีนี้ เพราะทำให้ได้ประโยชน์ทางทรัพย์สิน และผู้ถูกสวมสิทธิก็เสียประโยชน์ด้วยสามารถแจ้งความเอาผิดได้

5.              หากประชาชนร้องเรียนไปยังทาง กสทช. หรือ สคบ. แล้วไม่มีการดำเนินการควบคุมบริษัทต่างๆให้เกิดการคุ้มครองสิทธิประชาชน จะมีความรับผิดชอบทางปกครองตามกฎหมาย ประชาชนฟ้องบังคับได้

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.              เรื่องนี้มีหน่วยงานเฉพาะในการรับเรื่องร้องทุกข์ จึงสามารถร้องเรียนไปที่ กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

2.              หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

3.              มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดี รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

4.              การฟ้องเรื่องฉ้อโกงนั้นเริ่มด้วยการเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการสั่งฟ้องไปยังศาลอาญาก็ได้เช่นกัน โดยสามารถขอให้เรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ในคราวเดียวกันไปเลย

5.              ประชาชนสามารถฟ้องบังคับให้ กสทช. และ สคบ. ปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน เช่น ออกเกณฑ์ คำสั่ง และบังคับควบคุมบริษัทได้ที่ศาลปกครอง

สรุปแนวทางแก้ไข

เรื่องซิมฟรีที่ไม่ยกเลิกสัญญาให้ตามที่ไปแจ้ง ใช้หลักนิติกรรมสัญญา และการคุ้มครองผู้บริโภค   ซึ่งกรณีนี้เมื่อได้มีการแสดงเจตนายกเลิกการใช้ไปแล้วโดยการแจ้งต่อสำนักงาน บริษัทผู้ให้บริการย่อมไม่มีสิทธิใดๆเหนือผู้รับบริการอีก หนี้จึงไม่เกิด   ปัจจุบัน กสทช.ได้ห้ามการจัดเก็บค่าบริการอื่นใดนอกเหนือจากค่าใช้บริการจริงเพื่อแก้ปัญหานี้เพิ่มเติม   ส่วนเรื่องการสวมสิทธินั้นผู้ประกอบกิจการต้องให้การประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก้ลูกค้า ซึ่งกรณีนี้บริษัทเป็นเจ้าของเครือข่าย ข้อมูล และเทคโนโลยี สามารถติดตามตรวจสอบข้อมูลที่อยู่ในการควบคุมของตนได้จึงมีหน้าที่ดำเนินการแก้ไขความเสียหายไม่ให้ตกเป็นภาระของผู้รับบริการ โดยทั้งสองกรณีผู้บริโภคสามารถร้องเรียน กสทช. และ สคบ. รวมถึงฟ้องศาลแพ่งฯแผนกคดีผู้บริโภคได้   ถ้าเห็นว่าหน่วยงานทั้งสองไม่เร่งดำเนินการก็ฟ้องบังคับที่ศาลปกครองได้อีกด้วย

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี