Skip to main content

คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว
 

หนังสือ “คลินิกกฎหมาย” ที่เขียนขึ้นนี้ ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนที่เคยเจอปัญหาทางกฎหมายแล้วแก้ไม่ได้ตอบไม่ถูก สามารถนำหลักการทางกฎหมายมาปรับใช้แก้ไขวิกฤตชีวิตทั้งหลายที่ท่านอาจพบได้ในชีวิตประจำวัน     

กรณีศึกษาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่บอกเล่าในเล่มได้รวบรวมขึ้นจากเรื่องราวในชีวิตจริงที่หลายคนประสบมากับตัวเอง   และผู้เขียนนำมาบอกเล่าโดยคงการเนื้อเรื่องหลักเอาไว้   และได้พยายามจับประเด็นปัญหาไว้เป็นข้อๆ ก่อนที่จะนำหลักกฎหมายมาตอบทุกข้อสงสัย ทั้งยังชี้ช่องทางในการเรียกร้องสิทธิ หรือแก้ปัญหาไว้ด้วย  

หนังสือจึงมิได้จำกัดวงอยู่แต่ในผู้อ่านนักกฎหมาย  !

แต่ด้วยความสมบูรณ์ของเชิงอรรถในหนังสือเล่มนี้ ทำให้มีลักษณะเป็น “คู่มือสำหรับนักกฎหมาย” ในการนำไปใช้งานที่ต้องรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนทั่วไป หรือรับปรึกษาคดีความทั้งหลาย  

เนื่องจากได้ทำการสรุปเรื่องให้เห็นประเด็นทางกฎหมายอย่างชัดเจนว่าข้อขัดแย้งอยู่ในขอบเขตของกฎหมายเรื่องใดบ้าง  เพราะในหลายครั้งนักกฎหมายอาจหลงลืมไปแล้วว่าปัญหามากมายอาจใช้หลักกฎหมายง่ายๆ เข้าไปแก้ไขได้ แต่เรานึกไม่ออกเหมือน “เส้นผมบังภูเขา”   หลักกฎหมายที่นำมาใช้จะมีการอ้างอิงมาตรา บทบัญญัติกฎหมาย ไว้ในเชิงอรรถด้านล่างเพื่อประโยชน์ในการสืบค้นต่อ

แต่ไม่ทำให้คนทั่วไปเกิดความเหนื่อยล้าจากการอ่าน!

กรณีศึกษาที่เลือกมานั้นจะเป็นตัวแทนประเด็นกฎหมายต่างๆให้มีความหลากหลายครอบคลุมปัญหาทางกฎหมายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้จริง   เพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่านซึ่งกำลังแสวงหาทางออกให้กับปัญหาของตน ก็จะพบเรื่องราวที่คล้ายคลึงกับตนหรือมีปัญหาข้อกฎหมายเช่นเดียวกับตน และสามารถเรียนรู้ได้จากกรณีศึกษานั้นๆเป็นบทเรียน โดยอาจใช้ข้อเสนอแนะทางกฎหมายไปปรับใช้แก้ปัญหาจริงของตนได้ทันที

ยิ่งไปกว่านั้นมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาจำนวนมากได้เปิดสอนวิชากฎหมายในชีวิตประจำวันเพื่อใช้สอนนักศึกษาจำนวนมาก   ดังนั้นหนังสือฉบับนี้จึงอาจตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้

เช่นเดียวกับการเป็นคู่มือให้กับศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมายในหน่วยงานต่างๆ และประกอบการเรียนการสอนวิชาคลินิกกฎหมายในหลายๆ มหาวิทยาลัย

ถามหา "คลินิกกฎหมาย" จากสำนักพิมพ์นิติธรรม ที่แผงหนังสือ หรือติดต่อสั่งสำนักพิมพ์ได้แล้วครับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2