Skip to main content

เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับประโยชน์กลับไม่ได้ตามสัญญา

“เรื่องมันเริ่มที่ย่าของข้าพเจ้าอาศัยอยู่ในอำเภอรอบนอกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่โดยท่านอยู่ในบ้านลำพังคนเดียวเวลากลางวันเนื่องจากทุกคนต้องออกไปทำงานนอกบ้าน แต่ในละแวกใกล้เคียงก็มีญาติอยู่   ซึ่งในช่วงกลางวันนี้จะมีคนแวะเวียนเอาสินค้ามานำเสนอขายอยู่เนืองๆ แต่ก็ไม่ได้มีเรื่องให้เดือดร้อนอะไรมากมายเพราะไม่ได้เสียเงินซื้อของไปเยอะนัก   จนมาวันหนึ่งมีตัวแทนจากบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งเป็นคนคุ้นเคยกับย่าไปมาหาสู่กันอยู่บ่อยๆ ได้เข้ามาค่อยๆ ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบอยู่เรื่อยๆ จนย่าตกลงใจจะซื้อประกันกับตัวแทนคนนี้

ในตอนแรกข้าพเจ้าก็แปลกใจเนื่องจากบริษัทนี้และพี่คนนี้ไม่ได้ขายประกันกับบริษัทยี่ห้อดังๆโดยตรง แต่เป็นบริษัทซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตรใน เชียงใหม่ ย่าข้าพเจ้าจึงเข้าไปเป็นสมาชิกของเครือข่ายบริษัทด้วย โดยพอข้าพเจ้าได้คุยกับย่าแล้วในครอบครัวลองเอาสัญญามาอ่านกันดูจึงเข้าใจว่ามันคล้ายๆ กับดาวน์ไลน์ขายตรงทั้งหลายที่เพื่อนๆ ข้าพเจ้าเคยชักชวนเข้าไปร่วมทำด้วยหลายครั้ง   ส่วนพวกผู้ใหญ่ก็บอกว่ามันเหมือนกับพวกรวมกลุ่มสหกรณ์เผาศพที่ตามต่างจังหวัดจะมีอยู่ในหลายๆพื้นที่ แต่กลุ่มเหล่านั้นมักจะตั้งขึ้นจากกลุ่มคนในชุมชนเดียวกันที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันเพราะเห็นหน้าค่าตาและรู้ว่าใครเป็นยังไง มีญาติพี่น้องที่ไหน และเกรงใจกันอยู่แล้ว   พวกเราจึงงงกันเล็กน้อยเนื่องจาก บริษัทการเกษตรแห่งนี้ก็ไม่ได้ทำกิจการแบบนี้มาก่อน แต่ทำไมมาเริ่มกิจกรรมแบบนี้ด้วย อาจจะเป็นเพราะคลุกคลีกับเกษตรกรในพื้นที่ชนบทจนเห็นว่ามีกิจกรรมนี้และมีเงินหมุนเวียนกับกลุ่มต่างๆเป็นล้าน ถึงได้เข้ามาหาช่องทางทำกินแบบใหม่ที่ได้เงินชาวบ้านมากอดไว้แต่ต้องรู้จักจัดการความเสี่ยงถ้าผู้จ่ายประกันตายขึ้นมา

ลุงของข้าพเจ้าลองเอาสัญญามาดูรายละเอียดพบว่า ในสัญญานั้นบริษัทให้สิทธิตามเงื่อนไขและผลประโยชน์ที่จะได้รับดังนี้ ทุนประกันการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุแบบกลุ่มกับบริษัทประกันภัยที่ทางบริษัทเกษตรแห่งนี้ไว้ติดต่อ หากเสียชีวิตจะได้รับเงินสูงถึง 200,000 บาท   หากเป็นการเสียชีวิตปกติจะได้เงินร่วมบำเพ็ญกุศลงานศพให้ 50,000 บาท แต่มิได้มีการเขียนวงเงินคุ้มครองหากมีการเสียชีวิตปกติและโรคภัยแต่อย่างใด ทำให้เราเข้าใจแล้วว่าจริงๆ บริษัทเกษตรเป็นนายหน้ามาหาลูกค้าเอาจากเครือข่ายความสัมพันธ์กับเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่นั่นเอง

หลังจากนั้นย่าได้เสียชีวิตลงโดยสงบมิได้ประสบอุบัติเหตุแต่อย่างใด ทางครอบครัวจึงแจ้งไปทางบริษัทเพื่อรับเงินตามเงื่อนไขซึ่งเงินที่ระบุไว้คือ 50,000 บาทเพื่อใช้จ่ายในพิธีศพ   แต่กลับไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากบริษัทไม่นำเงินมาให้ แต่บอกให้ทางครอบครัวลงชื่อเพื่อรอคิวรับเงินทีหลัง

เห็นว่าข้าพเจ้าไม่ได้รับความเป็นธรรมดังนี้

1.              บริษัทปัดความรับผิดชอบที่ตอนแรกบอกว่าหากเสียชีวิตจะนำเงินมาร่วมงานบำเพ็ญกุศล

2.              บริษัทไม่ได้แจ้งให้หรือระบุว่าจะจ่ายเงินให้แค่วันละ 2 ศพ

3.              ในเรื่องเงื่อนไขผลประโยชน์ที่จะได้รับไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างชัดเจน

วิธีแก้ในตอนแรก ทางญาติพี่น้องของข้าพเจ้าได้เข้าไปพูดคุยกับทางบริษัท รวมถึงไปสอบถามความกับคนอื่นๆที่เป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน กลับพบว่าสมาชิกหลายคนไม่ได้รับความเป็นธรรมเช่นเดียวกัน  จึงเริ่มวิตกกันแล้วว่า หากเข้าชื่อรอคิวต่อไปก็ไม่อาจทราบได้ว่าเมื่อไหร่ โควตาวันละสองคนจะมาถึงเรา หรือซ้ำร้ายบริษัทอาจปล่อยให้เนิ่นนานไปเพื่อไม่ให้เราได้รับเงิน เพราะคงคิดว่าเราจะยุ่งอยู่กับงานศพ และการแบ่งมรดกหลังจากนั้น จนลืมๆเรื่องนี้ไป

หากบริษัทไม่ยอมมอบเงินให้จริงๆ ญาติพี่น้องของข้าพเจ้าก็คงไม่เอาเรื่องไปจ้างทนายฟ้องด้วยอีกเช่นกัน เพราะไม่รู้ว่าค่าจ้างทนาย การเสียเวลาไปขึ้นโรงขึ้นศาล แล้วเงินที่ได้มาก็ต้องแบ่งกันในหมู่ญาติหลายคน จนเหลือได้มาช่วยงานศพที่ลงเงินกันไปจริงๆกันแค่คนละไม่เท่าไหร่ ก็ไม่รู้ว่าญาติคนไหนจะเป็นคนไปเดินเรื่องทั้งหมด   เพราะลุงที่เป็นพี่คนโตก็ทำงานอยู่อีกจังหวัดหนึ่งจะเทียวมาเทียวไปก็ลำบาก ทุกคนอยากจัดการเรื่องให้เสร็จไวไว จะได้กลับไปทำงานตามเดิม”

เค้าเลยมาคุยดูเผื่อว่าจะมีช่องทางไหนแก้ไขได้บ้าง เพราะลำพังจะให้จ้างทนายฟ้องเอามันก็ไม่ง่ายสำหรับครอบครัวเค้าเลยครับ

วิเคราะห์ปัญหา

1.              การทำสัญญาประกันชีวิตโดยคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอาจมีความบกพร่องในความสามารถด้านการศึกษาข้อมูลสัญญาจะสามารถบังคับตามสัญญากันได้หรือไม่

2.              ลักษณะสัญญาประกันชีวิตที่มีการระบุมาเสร็จสรรพล่วงหน้า คู่สัญญาไม่อาจแก้ไขสัญญาก่อนที่จะลงนาม ถือเป็นสัญญาสำเร็จรูป มีลักษณะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่

3.              การปิดบัง อำพราง ซ่อนเร้น เงื่อนไขข้อสัญญา หรือเพิ่มเงื่อนไขในการใช้สิทธิโดยคู่สัญญาอีกฝ่ายไม่รับรู้นั้น ทำให้ผลในการบังคับสัญญาเปลี่ยนไป จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

4.              หากผู้รับสิทธิประโยชน์ไปขอรับสิทธิตามสัญญาประกันจากบริษัทประกันคู่สัญญาแล้วโดนปฏิเสธ บ่ายเบี่ยง  ผู้ที่สัญญาระบุว่าเป็นผู้รับประโยชน์จะสามารถกระทำการเช่นไรได้บ้าง

5.              มีวิธีการเรียกร้องสิทธิอย่างไรบ้างที่ไม่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และเสียเวลาไม่มากนัก

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.              หลักกฎหมายนิติกรรมสัญญาจะต้องพิจารณาว่าขณะทำสัญญาคู่สัญญามีความสามารถในการเข้าทำสัญญาหรือไม่ กล่าวคือ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่มีลักษณะบกพร่อง   เพื่อให้เกิดความสามารถในการเข้าใจเนื้อหาสัญญาและแสดงเจตนาเข้าร่วมสัญญาด้วยความสมัครใจ สัญญาจึงจะมีผลบังคับกันได้   หาไม่แล้วจะมีลักษณะเป็นโมฆียะ คือ สัญญามีผลบังคับไปจนกว่าคู่สัญญาฝ่ายที่บกพร่องมาบอกล้างสัญญา  หากยังอยู่ในอายุความหนึ่งปีนับจากรู้หรือสิบปีนับจากทำสัญญา คู่กรณีหรือทายาทมีสิทธิบอกล้างได้

2.              ลักษณะการทำสัญญาประกันชีวิตอาจมีลักษณะการร่างสัญญาต้นแบบมาล่วงหน้า แต่ต้องให้สิทธิคู่กรณีในการอ่านและแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทิ้ง แล้วจึงจะตกลงกัน   แต่สัญญาส่วนใหญ่จะมีรูปแบบมาตรฐานของบริษัทก็ต้องพิจารณาว่าไม่มีข้อสัญญาที่ขัดกับกฎหมาย

3.              สัญญาจะบังคับกันเท่าที่ปรากฏอยู่ในเอกสารสัญญา   การเพิ่มเงื่อนไข และการปิดบังซ่อนเร้น ไม่อาจนำมาบังคับคู่สัญญาฝั่งที่ไม่รู้รายละเอียด   หากมีการเพิ่มเติมหรือปิดบังซ่อนเร้นเนื้อหาทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายไม่รู้ เนื้อหาส่วนนั้นก็จะไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย

4.              ผู้รับประโยชน์มีสิทธิเรียกร้องสิทธิประโยชน์ตามสัญญาได้โดยการบังคับตามสิทธิที่กฎหมายแพ่งและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งรับรองไว้ และอาจใช้สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มเติมได้อีกด้วย

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.              การบังคับตามสิทธิในสัญญา เริ่มด้วยการทวงถามเพื่อให้ลูกหนี้ คือ บริษัทประกันชดใช้หนี้ประกันชีวิตตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา

2.              หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

3.              เนื่องจากเรื่องนี้มีหน่วยงานรัฐเฉพาะที่ดูแลเรื่องอยู่จึงสามารถร้องเรียนไปที่หน่วยงานรัฐนั้นได้เพิ่มเติม  กรณีนี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

4.              มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดี รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

5.              หากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแพร่หลาย มีประชาชนที่ประสบปัญหาเรื่องเดียวกันมากมาย ก็อาจรวมกลุ่มกันเพื่อร้องเรียนต่อสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นกลุ่มก็ได้

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมายนิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับประกันภัย และการดำเนินคดีผู้บริโภค   ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการปฏิบัติตามข้อสัญญาที่มีการตกลงกันไว้ หากบริษัทประกันไม่ดำเนินการก็สามารถร้องเรียนต่อ คปภ. และ สคบ. รวมถึงฟ้องในศาลแพ่งแผนกคดีผู้บริโภคได้   ทั้งนี้จะต้องมีการศึกษาข้อสัญญาอย่างละเอียด หากมีลักษณะไม่เป็นธรรมอาจมีการฟ้องให้แก้ไขข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมด้วย


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี