Skip to main content

เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเนสไปออกกำลังกายแทน ไหนจะมีกิจกรรมอื่นๆเพิ่มเติมมากมาย บางคนก็ได้แฟนจากที่ออกกำลังกายก็มี   มันเลยเป็นสถานที่ยอดฮิตของคนวัยเราไปเลยใช่ไหมครับ   แต่ก็นะมันเป็นธุรกิจเรื่องกำไรก็เป็นเรื่องใหญ่จนบางทีก็ใหญ่เกิดคุณภาพและความพอใจของผู้ใช้บริการไปเลย เหมือนเรื่องที่จะลองวิเคราะห์ให้ดูว่าถ้าเกิดปัญหากับแต่ละท่าน จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไรได้บ้างนะครับ

ฟิตเนสแห่งหนึ่ง ได้ส่งข้อความไปยังลูกค้าว่า ท่านได้รับสิทธิพิเศษเล่นฟิตเนสฟรีตลอด 7 วันโดยไม่เสียจ่ายใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น   เมื่อพี่คนที่มาปรึกษาเห็นว่า เออ ไม่เสียหายอะไร แถมฟิตเนสก็อยู่ใกล้ที่ทำงานเลิกงานแล้วแวะไปลองดู เผื่อว่าดีจะได้มีที่ออกกกำลังกายหลังเลิกงาน ได้สุขภาพแถมยังไม่ต้องฝ่ารถติดในชั่วเร่งด่วนหลังเลิกงานอีกด้วย   แต่ก็ยังงอยู่เหมือนกันว่าทางฟิตเนสเอาเบอร์มือถือและอีเมลล์มาจากไหนถึงได้ติดต่อมาพี่เค้าได้ทั้งที่ไม่เคยไปฟิตเนสแห่งนั้นหรือยี่ห้อไหนๆมาก่อนเลย   ก็ว่าจะไปถามดูเหมือนกันว่าได้เบอร์และอีเมลล์มาอย่างไร

เมื่อไปถึงฟิตเนสดังกล่าว พนักงานของร้านก็ออกมาต้อนรับอย่างดีและพาเดินดูสถานที่รอบๆว่า โปร่งโล่งสบาย และมีเครื่องเล่นออกกำลังกายเยอะมาก คุณภาพดี แถมมีชั้นเรียนพิเศษมากมายทั้ง โยคะ บอดี้คอมแบต แดนซ์ ไปจนถึงปั่นจักรยาน ฯลฯ ซึ่งพี่เค้าก็สนใจเพราะดูดีและไม่น่ากลัวแบบฟิตเนสเดิมๆที่พี่เค้าเคยเห็นมีแต่นักกล้ามตัวใหญ่ๆ อัดออกันอยู่ในห้องกระจก ส่งเสียงดังน่ากลัว   แต่นี่เต็มไปด้วยคนทำงานที่อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน และสถานที่ก็กว้างขวางไม่น่ากลัว  พี่เค้าก็เลยลองถามดูว่าได้เบอร์ กับอีเมลล์มาอย่างไร เพราะยังกังวลใจอยู่หน่อยว่าจะมาหลอกลวงอะไรรึเปล่า   ทางพนักงานจึงบอกว่าได้มาจากสมาชิกคนอื่นที่เคยแนะนำไว้เพื่อจะได้โปรโมชั่นพิเศษ ทางฟิตเนสจึงมีรายชื่อของพี่เขา แต่ก็ยังรู้สึกงงๆ ว่าได้ชื่อกับเบอร์มาจากเพื่อนแต่อีเมลล์ไม่น่าจะได้   แต่ก็เอาเถอะไม่น่าจะมีอะไร และฟิตเนสก็น่าสนใจก็เลยลองถามดูว่าจะมาลองเล่น 7 วันฟรีได้ยังไง   เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าถ้าพร้อมวันไหนก็มาเล่นได้เลย ถ้าวันนี้อยากลองทำอะไรก็เริ่มได้เลยนะ

หลังจากนั้นพนักงานก็ได้พูดคุยชักชวนให้พี่เค้าสมัครเป็นสมาชิก โดยอ้างว่าถ้าสมัครสมัครสมาชิกแบบตลอดชีพจะคุ้มมาก หากเจ้าตัวไม่อยู่หรือไม่ค่อยได้เล่น ก็ยังสามารถโอนไปยังบุคคลอื่นได้อีกด้วย พี่เขาดังกล่าวจึงยอมตกลง แม้ว่าราคาค่าสมัครจะมีราคาสูงมาก  โดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้เอาสัญญาอะไรมาให้ดู เพราะทุกอย่างอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ และพี่เค้าลองถามเพื่อนคนอื่นหลังมีปัญหาก็พบว่าคนที่เคยขอดูสัญญา หรืออยู่ในรุ่นที่เซ็นสัญญากระดาษเล่าให้ฟังว่าสัญญาหนาปึ้กเป็นสิบหน้า พวกพี่เค้าเลยไม่ได้อ่านอะไร คิดว่าเจ้าหน้าที่พูดบอกยังไงก็คงเป็นไปตามนั้น และดูฟิตเนสนั้นมีชื่อเสียง กิจการใหญ่ระดับโลก หากไม่ดีจริงคงขยายมาถึงเมืองไทยและในประเทศต่างๆไม่ได้หรอก   ก็เลยเชื่อใจและตกลงเซ็นสัญญาด้วย   ส่วนของพี่เค้าใช้วิธีเซ็นใส่แป้นดิจิตอลและไม่เห็นสัญญาเลย เพราะเจ้าหน้าที่บอกว่าอยู่ในคอมพิวเตอร์ หากอยากดูลองเข้าเว็บไซต์ไปดูทีหลังก็ได้  

จากนั้นพี่เขาก็ได้ตกลงทำสัญญาเล่นฟิตเนสตลอดชีพไป เมื่อสมัครแล้วปเล่นได้สักพักพี่เริ่มมีงานมากขึ้น และต้องไปทำงานต่างที่และเดินทางบ่อยจนไม่มีเวลาไปเล่นบ่อยๆ พี่เขาก็จะโอนสิทธิเล่นฟิตเนสให้แก่น้องสาว เพราะตนจะต้องไปทำงานต่างจังหวัดแล้ว เมื่อไปขอทำการโอนสิทธิกลับพบว่าข้อตกลงที่เคยให้ไว้ไม่เป็นไปตามนั้น กล่าวคือ การจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่นมีข้อจำกัดมากมาย รวมถึงจังหวัดที่พี่เขาย้ายไปทำงานมีฟิตเนสของบริษัทนี้จึงไม่อนุญาตให้โอนสิทธิแก่บุคคลอื่น จึงทำให้กรณีนี้ที่จะย้ายไปทำงานที่อื่นไม่สามารถโอนสิทธิให้แก้น้องสาวได้ ซึ่งตอนทำสัญญาในตอนแรก พนังงานมิได้กล่าวไว้เช่นนั้นเลย

อีกไม่นานพี่เขาก็ต้องย้ายไปทำงานต่างจังหวัดและอยากยกเลิกสัญญาแทนเพราะจำได้ลางๆว่าถ้าเล่นมาเกินหกเดือนแรกแล้วพนักงานบอกว่า สามารถเปลี่ยนเงื่อนไขหรือต่อสัญญา เลิกสัญญาได้   แต่พอไปติดต่อจริงๆ ทางฟิตเนสก็จะให้ลองไปเล่นที่ฟิตเนสในจังหวัดที่ย้ายไปอยู่ใหม่ก่อน   พอขอเลิกสัญญาและคืนเงินก็ไม่ยอมและบอกให้ไปยกเลิกกับที่ใหม่ พอไปคุยกับที่ฟิตเนสในจังหวัดใหม่ก็ปฏิเสธความรับผิดชอบบอกว่าทำสัญญาที่ไหนก็ให้ไปยกเลิกที่นั้น   จนเวลาผ่านไประยะหนึ่งซึ่งพี่เขาก็ต้องทำงานหนักและไม่ได้กลับมาที่กรุงเทพฯ เพื่อติดต่อใหม่อีกครั้ง

จนเพื่อนคนหนึ่งบอกว่าฟิตเนสยี่ห้อนี้ทยอยปิดกิจการไปหลายสาขาแล้ว และมีคนมาโพสต์เรื่องราวของบริษัทนี้ที่เกิดในประเทศอื่น และวิเคราะห์กันว่าอาจจะส่งผลกระทบมาถึงเมืองไทย  พอมาดูข่าวในวันถัดมาก็พบว่าทางฟิตเนสได้ประกาศเลิกกิจการไปแล้ว ทำให้พนักงานของบริษัทโดนลอยแพไปด้วย   โทรไปถามเทรนเนอร์ส่วนตัวก็บอกว่าขนาดพวกเขาก็ยังไม่มีใครแจ้งล่วงหน้าต้องตกงานไปตามๆกัน

พวกพี่เขาจึงไปลงชื่อกันเพราะมีสมาชิกท่านอื่นเข้าชื่อกันเพื่อจะร้องเรียนฟิตเนสและเรียกค่าเสียหาย แต่คดียังไม่ไปถึงไหนเพราะมีคนเสียหายจำนวนมาก และบริษัทแม่ก็ถอนกิจการออกไปจากเมืองไทยหมดแล้ว เหลือเพียงแต่ซากกิจการซึ่งก็ขายต่อไปให้ยี่ห้ออื่นแล้วเช่นกัน

วิเคราะห์ปัญหา

1. การนำข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ เบอร์ โทรศัพท์ อีเมลล์ของเรามาจากคนอื่นโดยที่เราไม่รู้แต่ต้น ทำได้หรือไม่ มีความผิดตามกฎหมายอย่างไร

2. การออกโปรโมชั่นโดยที่ไม่เล่ารายละเอียดทั้งหมด พอมาขอรับสิทธิพิเศษตามคำโฆษณาแล้วไม่ตรงตามที่เข้าใจจะทำอย่างไร บริษัทต้องรับผิดชอบไหม

3. หากการอธิบายสัญญาทางวาจากับรายละเอียดสัญญาทางวาจาไม่ตรงกันจะใช้เงื่อนไขใดในการผูกพันกัน

4. การทำสัญญาโดยไม่มีสัญญาให้อ่านให้เก็บมีผลทางกฎหมายรึไม่ หากเราไม่ได้อ่านสัญญาแล้วมีข้อสัญญาที่เราไม่รู้จะทำอย่างไร

5. การบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้เลิกสัญญา หรือการปิดกิจการหนีไป เราจะทำให้บริษัทต้องรับผิดชอบทางกฎหมายได้อย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1. การนำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นการละเมิดตามกฎหมายแพ่งฯ ไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่กำหนดโทษทางอาญา   จึงเป็นเพียงการละเมิดจะเรียกร้องค่าเสียหายได้เมื่อเกิดความเสียหายแล้ว   ถ้าเดือดร้อนรำคาญก็ร้องต่อศาลให้บังคับห้ามเอาข้อมูลเราไปใช้ได้

2. การออกคำโฆษณาที่มีรายละเอียดปลีกย่อยในการจำกัดสิทธิ ถือเป็นการหลอกลวงผู้บริโภคประการหนึ่ง นำไปสู่การบังคับให้ยกเลิกคำโฆษณาเกินจริง โฆษณาหลอกลวงได้

3. หลักกฎหมายนิติกรรมสัญญาจะต้องพิจารณาว่าขณะทำสัญญาคู่สัญญามีความสามารถในการเข้าทำสัญญาหรือไม่ กล่าวคือ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ล่วงรู้ได้ถึงข้อสัญญาหรือไม่   เพื่อให้เกิดความสามารถในการเข้าใจเนื้อหาสัญญาและแสดงเจตนาเข้าร่วมสัญญาด้วยความสมัครใจ สัญญาจึงจะมีผลบังคับกันได้   ถ้าเป็นประเด็นสำคัญจะกลายเป็น โมฆะทันที  แต่หาไม่แล้วจะมีลักษณะเป็นโมฆียะถ้าข้อที่เข้าใจไม่ตกกันเป็นประเด็นปลีกย่อย คือ สัญญามีผลบังคับไปจนกว่าคู่สัญญาจะรู้ข้อสัญญาที่ไม่ตรงกับที่ล่วงรู้บอกล้างสัญญา  หากยังอยู่ในอายุความหนึ่งปีนับจากรู้หรือสิบปีนับจากทำสัญญา คู่กรณีหรือทายาทมีสิทธิบอกล้างได้

4. ลักษณะการทำสัญญาบริการต่างๆ เช่น ฟิตเนส อาจมีลักษณะการร่างสัญญาต้นแบบมาล่วงหน้า แต่ต้องให้สิทธิคู่กรณีในการอ่านและแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทิ้ง แล้วจึงจะตกลงกัน   แต่สัญญาส่วนใหญ่จะมีรูปแบบมาตรฐานของบริษัทก็ต้องพิจารณาว่าไม่มีข้อสัญญาที่ขัดกับกฎหมาย

5.  สัญญาจะบังคับกันเท่าที่ปรากฏอยู่ในเอกสารสัญญา   การเพิ่มเงื่อนไข และการปิดบังซ่อนเร้น ไม่อาจนำมาบังคับคู่สัญญาฝั่งที่ไม่รู้รายละเอียด   หากมีการเพิ่มเติมหรือปิดบังซ่อนเร้นเนื้อหาทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายไม่รู้ เนื้อหาส่วนนั้นก็จะไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย  การเลิกสัญญาฝ่ายเดียวหรือผิดสัญญาทำให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิเรียกร้องสิทธิประโยชน์ตามสัญญาได้โดยการบังคับตามสิทธิที่กฎหมายแพ่งและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งรับรองไว้ และอาจใช้สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มเติมได้อีกด้วย

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1. การบังคับตามสิทธิในสัญญา เริ่มด้วยการทวงถามเพื่อให้ลูกหนี้ คือ บริษัทฟิตเนสชดใช้หนี้การให้บริการฟิตเนสตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา

2. หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

3. มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดี รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

4. หากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแพร่หลาย มีประชาชนที่ประสบปัญหาเรื่องเดียวกันมากมาย ก็อาจรวมกลุ่มกันเพื่อร้องเรียนต่อสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นกลุ่มก็ได้

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมายนิติกรรมสัญญา การชำระหนี้ต้องกระทำโดยสุจริต และการดำเนินคดีผู้บริโภค ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการปฏิบัติตามข้อสัญญาที่มีการตกลงกันไว้ หากบริษัทฟิตเนสไม่ดำเนินการก็สามารถร้องเรียนต่อ สคบ. และฟ้องในศาลแพ่งแผนกคดีผู้บริโภคได้ ทั้งนี้จะต้องมีการศึกษาข้อสัญญาอย่างละเอียด หากมีลักษณะไม่เป็นธรรมอาจมีการฟ้องให้แก้ไขข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมด้วย


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี