Skip to main content

จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา

                วิธียับยั้งการเติบโตตื่นตัวของชุมชนสามารถกระทำได้โดยการคุกคามด้วยความรุนแรงสารพัดรูปแบบ ไล่ไปตั้งแต่ การส่งคนไปด้อมๆมองๆ การบันทึกภาพบันทึกเสียง คลิปวิดีโอ โดยไม่ได้รับอนุญาต ไปจนถึงการก่อกวนด้วยวาจา ขัดขวางการจัดกิจกรรม และข่มขู่ทำลายร่างกายและทำความเสียหายให้กับทรัพย์สินและชีวิตในท้ายที่สุด

                เนื่องจากเราไม่สามารถพูดถึงเรื่อง มาเฟีย และการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธวิธีและมีความเชี่ยวชาญด้านจรยุทธ์ได้โดยตรง แม้จะมีสิ่งบ่งชี้ชัดเจนว่า หน่วยงานรัฐและบรรษัทขนาดใหญ่มีเส้นสายสัมพันธ์กับผู้มีอิทธิพล มากบารมี จะมีสีหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ ขอให้ท่านผู้อ่านไปไล่ชื่อผู้ถือหุ้น กรรมการบริหารและที่ปรึกษาของบรรษัทอุตสาหกรรมที่มีปัญหากับชุมชนกันเอาเองก็พอทราบได้ แต่จะไม่พูดถึงในบทความนี้

                มาตรการทางกฎหมาย คือ ความรุนแรงสูงสุด ที่จะกล่าวถึงมาในรูปแบบของการฟ้องคดีหมิ่นฯ ตั้งแต่ฟ้องคดีอาญาให้ผู้นำหรือชุมชนหวาดกลัวต่อโทษทัณฑ์ และต้องเผชิญกับกระบวนการขึ้นโรงขึ้นศาลให้เสียเวลาเสียกำลังใจแล้ว ยังมีการฟ้องหมิ่นประมาททางแพ่งเรียกค่าเสียหายหลายร้อยหลายพันล้านให้นอนไม่หลับด้วย  แต่จะไม่พูดถึงการฟ้องคดีหมิ่นฯอีกประเภทที่มีการนำมาใช้จัดการกับผู้นำขบวนการเคลื่อนไหวในระยะหลัง

                เป็นที่ทราบดีว่าการเล่าเรื่องอะไรแล้วมีชื่อพ่วงนามสกุลของคนจริงๆ จะกลายเป็นข้อหาและอาจต้องรับผิดได้ในชั้นศาล ประชาชนชาวไทยจึงเสียโอกาสไปมากในการได้รู้ “ความจริง” หลายเรื่องในประเทศ เพราะนักข่าวอาชีพหรือนักข่าวพลเมืองจำต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะพูดความจริงให้โลกรู้หรือไม่ ถ้าต้องแรกกับการติดคุก เพราะ “ยิ่งพูดเรื่องจริงก็ยิ่งผิด” หากผู้เสียหายฟ้องร้อง

                การเลือกใช้ มาตรการทางกฎหมายเป็นเครื่องมือปาก จึงเป็นที่แพร่หลายมากในช่วงหลัง เพราะบริษัทและหน่วยงานรัฐมีทีมทนาย และนิติกรที่พร้อมทำหน้าที่ฟ้องแหลกเพื่อปกป้องภาพลักษณ์ให้องค์กรอยู่แล้ว

                ความสามารถในการใช้กระบวนการทางกฎหมายของทีมทนายอาชีพ และนิติกรชำนาญการจึงถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องภาพลักษณ์องค์กร หรือตัวผู้นำองค์กรที่ริเริ่มโครงการจนเกิดความขัดแย้งกับประชาชน ชุมชน

                ต้นทุนของประชาชนในการใช้กฎหมายนั้นก็ต่ำ เพราะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับการค้าความ ส่วนทนายที่รับสู้คดีกับหน่วยงานรัฐ หรือบรรษัทใหญ่ก็มีไม่มาก เพราะนอกจากทำไปแล้วอาจไม่ได้สตางค์ ยังต้องเอาเส้นทางอาชีพมาเสี่ยงกับการถูกหมายหัว หรือโดนโดดเดี่ยวจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ ไม่ต้องพูดถึงการขึ้นแบล็คลิสต์โดยหน่วยงานความมั่นคง หรือเครือข่ายบรรษัท/นายทุน

                แม้นักกฎหมายทั้งปวงจะได้ปฏิญาณต่อหน้าพระบิดากฎหมาย และบรรพชนนักกฎหมายว่าจะใช้กฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อผดุงความยุติธรรม แต่เมื่อถึงทางแยกอันตราย ก็หาคนที่จะเลือกอุดมการณ์เพื่อแสดงตัวตน ให้หลุดพ้นไปจากความสัมพันธ์ในชนชั้น เครือข่ายอุปถัมภ์ได้ง่ายๆไม่

                วาทกรรมการพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ชาติ จึงกลายเป็นสิ่งที่บดบังอุดมการณ์ของบุคลากรทางกฎหมายมิให้ยืนเคียงข้างประชาชนอยู่ไม่น้อย  เพราะต่างก็ต้องพยายามรักษาเนื้อรักษาตัวไม่ให้เสียประวัติตกเป็น “แกะดำ” เป็น “ทนายเอ็นจีโอ” หรือ “พวกถ่วงความเจริญ” ให้คนเขาตราหน้า

                เมื่อมิกล้ายืนเคียงข้างประชาชน จึงเห็นแต่ความเป็น “อื่น” ของประชาชนผู้เดือดร้อน  หนำซ้ำยังมอง “นักกฎหมายภาคประชาชน” เป็นคนอื่นไปเสียโดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็มิอาจทราบได้

                ความรุนแรง และร้ายแรงของการใช้กฎหมายฟ้องปิดปาก (SLAPP - Strategic Lawsuit against Public Participation) แม้จะฟ้องปิดปากเพื่อประโยชน์ของบางกลุ่มบางองค์กร แต่ได้ขยายไปครอบคลุมสติปัญญาของคนทั้งสังคม ให้ตกอยู่ในภาวะ “มืดบอด”  

                เมื่อประชาชนไม่กล้าพูด สื่อไม่กล้านำเสนอ แล้วสังคมจะตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างไร ในหลายประเทศจึงมีการริเริ่มระบบ Anti-SLAPP คัดกรองมิให้มีการฟ้องปิดปากหากเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือเป็นสิทธิในปกป้องฐานทรัพยากร หรือสิทธิตามกฎหมายของประชาชน 

                บางประเทศมีองค์กรคัดกรองคดีก่อนมีการประทับรับฟ้องโดยศาล หรือสั่งฟ้องโดยอัยการ ด้วยซ้ำ  ทำให้ประชาชนไม่ต้องตกเป็นจำเลยโดยไม่จำเป็น และสร้างความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นในความเดือดร้อน และสามารถใช้เหตุผลสนับสนุนหรือคัดค้านโครงการ/นโยบายทั้งหลายได้อย่างเสรี

                แต่ในไทยกลับตรงกันข้าม นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนจำนวนมากถูกฟ้องดำเนินคดี คนหนึ่งอาจต้องโดนหลายคดี หรือโดนคดีหมิ่นครบทุกประเภททุกศาล

                สิ่งเหล่านี้สะท้อนความเสื่อมอำนาจนำของกระบวนการยุติธรรมไปจนถึงการเมืองการปกครองในการระงับข้อพิพาทแทบทุกระดับในประเทศไทย   เวลามีปัญหาคนไทยเริ่มไม่นึกทางแก้ที่ถูกครรลองคลอง(นิติ)ธรรม กันเสียแล้ว

                เมื่อชาวบ้านประชาชนตัวเล็กตัวน้อยไม่ได้รับการอำนายความยุติธรรม การเพาะบ่มความขัดแย้งที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงสร้างสำนึก “สองมาตรฐาน” ในใจคนจำนวนมาก

                กลายเป็นว่า สถาบันทางกฎหมาย คือ เป้าหมายหลักในการปฏิวัติประชาชนเสียแล้ว #กระบวนการยุติธรรมมีไว้ทำไม?

                จะปฏิรูปจากภายใน หรือ ปฏิวัติจากภายนอก อะไรจะมาถึงก่อนกัน

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว