Skip to main content

จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา

                วิธียับยั้งการเติบโตตื่นตัวของชุมชนสามารถกระทำได้โดยการคุกคามด้วยความรุนแรงสารพัดรูปแบบ ไล่ไปตั้งแต่ การส่งคนไปด้อมๆมองๆ การบันทึกภาพบันทึกเสียง คลิปวิดีโอ โดยไม่ได้รับอนุญาต ไปจนถึงการก่อกวนด้วยวาจา ขัดขวางการจัดกิจกรรม และข่มขู่ทำลายร่างกายและทำความเสียหายให้กับทรัพย์สินและชีวิตในท้ายที่สุด

                เนื่องจากเราไม่สามารถพูดถึงเรื่อง มาเฟีย และการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธวิธีและมีความเชี่ยวชาญด้านจรยุทธ์ได้โดยตรง แม้จะมีสิ่งบ่งชี้ชัดเจนว่า หน่วยงานรัฐและบรรษัทขนาดใหญ่มีเส้นสายสัมพันธ์กับผู้มีอิทธิพล มากบารมี จะมีสีหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ ขอให้ท่านผู้อ่านไปไล่ชื่อผู้ถือหุ้น กรรมการบริหารและที่ปรึกษาของบรรษัทอุตสาหกรรมที่มีปัญหากับชุมชนกันเอาเองก็พอทราบได้ แต่จะไม่พูดถึงในบทความนี้

                มาตรการทางกฎหมาย คือ ความรุนแรงสูงสุด ที่จะกล่าวถึงมาในรูปแบบของการฟ้องคดีหมิ่นฯ ตั้งแต่ฟ้องคดีอาญาให้ผู้นำหรือชุมชนหวาดกลัวต่อโทษทัณฑ์ และต้องเผชิญกับกระบวนการขึ้นโรงขึ้นศาลให้เสียเวลาเสียกำลังใจแล้ว ยังมีการฟ้องหมิ่นประมาททางแพ่งเรียกค่าเสียหายหลายร้อยหลายพันล้านให้นอนไม่หลับด้วย  แต่จะไม่พูดถึงการฟ้องคดีหมิ่นฯอีกประเภทที่มีการนำมาใช้จัดการกับผู้นำขบวนการเคลื่อนไหวในระยะหลัง

                เป็นที่ทราบดีว่าการเล่าเรื่องอะไรแล้วมีชื่อพ่วงนามสกุลของคนจริงๆ จะกลายเป็นข้อหาและอาจต้องรับผิดได้ในชั้นศาล ประชาชนชาวไทยจึงเสียโอกาสไปมากในการได้รู้ “ความจริง” หลายเรื่องในประเทศ เพราะนักข่าวอาชีพหรือนักข่าวพลเมืองจำต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะพูดความจริงให้โลกรู้หรือไม่ ถ้าต้องแรกกับการติดคุก เพราะ “ยิ่งพูดเรื่องจริงก็ยิ่งผิด” หากผู้เสียหายฟ้องร้อง

                การเลือกใช้ มาตรการทางกฎหมายเป็นเครื่องมือปาก จึงเป็นที่แพร่หลายมากในช่วงหลัง เพราะบริษัทและหน่วยงานรัฐมีทีมทนาย และนิติกรที่พร้อมทำหน้าที่ฟ้องแหลกเพื่อปกป้องภาพลักษณ์ให้องค์กรอยู่แล้ว

                ความสามารถในการใช้กระบวนการทางกฎหมายของทีมทนายอาชีพ และนิติกรชำนาญการจึงถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องภาพลักษณ์องค์กร หรือตัวผู้นำองค์กรที่ริเริ่มโครงการจนเกิดความขัดแย้งกับประชาชน ชุมชน

                ต้นทุนของประชาชนในการใช้กฎหมายนั้นก็ต่ำ เพราะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับการค้าความ ส่วนทนายที่รับสู้คดีกับหน่วยงานรัฐ หรือบรรษัทใหญ่ก็มีไม่มาก เพราะนอกจากทำไปแล้วอาจไม่ได้สตางค์ ยังต้องเอาเส้นทางอาชีพมาเสี่ยงกับการถูกหมายหัว หรือโดนโดดเดี่ยวจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ ไม่ต้องพูดถึงการขึ้นแบล็คลิสต์โดยหน่วยงานความมั่นคง หรือเครือข่ายบรรษัท/นายทุน

                แม้นักกฎหมายทั้งปวงจะได้ปฏิญาณต่อหน้าพระบิดากฎหมาย และบรรพชนนักกฎหมายว่าจะใช้กฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อผดุงความยุติธรรม แต่เมื่อถึงทางแยกอันตราย ก็หาคนที่จะเลือกอุดมการณ์เพื่อแสดงตัวตน ให้หลุดพ้นไปจากความสัมพันธ์ในชนชั้น เครือข่ายอุปถัมภ์ได้ง่ายๆไม่

                วาทกรรมการพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ชาติ จึงกลายเป็นสิ่งที่บดบังอุดมการณ์ของบุคลากรทางกฎหมายมิให้ยืนเคียงข้างประชาชนอยู่ไม่น้อย  เพราะต่างก็ต้องพยายามรักษาเนื้อรักษาตัวไม่ให้เสียประวัติตกเป็น “แกะดำ” เป็น “ทนายเอ็นจีโอ” หรือ “พวกถ่วงความเจริญ” ให้คนเขาตราหน้า

                เมื่อมิกล้ายืนเคียงข้างประชาชน จึงเห็นแต่ความเป็น “อื่น” ของประชาชนผู้เดือดร้อน  หนำซ้ำยังมอง “นักกฎหมายภาคประชาชน” เป็นคนอื่นไปเสียโดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็มิอาจทราบได้

                ความรุนแรง และร้ายแรงของการใช้กฎหมายฟ้องปิดปาก (SLAPP - Strategic Lawsuit against Public Participation) แม้จะฟ้องปิดปากเพื่อประโยชน์ของบางกลุ่มบางองค์กร แต่ได้ขยายไปครอบคลุมสติปัญญาของคนทั้งสังคม ให้ตกอยู่ในภาวะ “มืดบอด”  

                เมื่อประชาชนไม่กล้าพูด สื่อไม่กล้านำเสนอ แล้วสังคมจะตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างไร ในหลายประเทศจึงมีการริเริ่มระบบ Anti-SLAPP คัดกรองมิให้มีการฟ้องปิดปากหากเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือเป็นสิทธิในปกป้องฐานทรัพยากร หรือสิทธิตามกฎหมายของประชาชน 

                บางประเทศมีองค์กรคัดกรองคดีก่อนมีการประทับรับฟ้องโดยศาล หรือสั่งฟ้องโดยอัยการ ด้วยซ้ำ  ทำให้ประชาชนไม่ต้องตกเป็นจำเลยโดยไม่จำเป็น และสร้างความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นในความเดือดร้อน และสามารถใช้เหตุผลสนับสนุนหรือคัดค้านโครงการ/นโยบายทั้งหลายได้อย่างเสรี

                แต่ในไทยกลับตรงกันข้าม นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนจำนวนมากถูกฟ้องดำเนินคดี คนหนึ่งอาจต้องโดนหลายคดี หรือโดนคดีหมิ่นครบทุกประเภททุกศาล

                สิ่งเหล่านี้สะท้อนความเสื่อมอำนาจนำของกระบวนการยุติธรรมไปจนถึงการเมืองการปกครองในการระงับข้อพิพาทแทบทุกระดับในประเทศไทย   เวลามีปัญหาคนไทยเริ่มไม่นึกทางแก้ที่ถูกครรลองคลอง(นิติ)ธรรม กันเสียแล้ว

                เมื่อชาวบ้านประชาชนตัวเล็กตัวน้อยไม่ได้รับการอำนายความยุติธรรม การเพาะบ่มความขัดแย้งที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงสร้างสำนึก “สองมาตรฐาน” ในใจคนจำนวนมาก

                กลายเป็นว่า สถาบันทางกฎหมาย คือ เป้าหมายหลักในการปฏิวัติประชาชนเสียแล้ว #กระบวนการยุติธรรมมีไว้ทำไม?

                จะปฏิรูปจากภายใน หรือ ปฏิวัติจากภายนอก อะไรจะมาถึงก่อนกัน

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,