Skip to main content

เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟอร์ม แต่มาในระยะช่วงวิกฤตโรคระบาดแพลตฟอร์มเริ่มปรับตัวให้เกิดการขูดรีดส่วนเกินจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มมากขึ้นเนื่องจากมีคนเข้าร่วมงานมาก และยิ่งมากขึ้นเมื่อถึงช่วงหลังวิกฤตโรคระบาด ความขัดแย้งในกลุ่มคนทำงานกับแพลตฟอร์มจึงอยู่ในช่วงตั้งต้น และยังมีความขัดแย้งรุนแรงบ้าง แต่ยังไม่ได้ข้อตกลงหรือการเจรจาที่เกิดเป็นกระบวนการชัดเจน อีกทั้งภาครัฐก็ยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทจัดการความขัดแย้ง   มีเพียงการรวมตัวของกลุ่มคนทำงานในแพลตฟอร์มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำกิจกรรมและเริ่มมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสภาพปัญหา และยกระดับขึ้นสู่การสร้างข้อเรียกร้องเพื่อไปเสนอให้กับแพลตฟอร์ม

ความขัดแย้งที่เกิดจากความด้อยสิทธิของคนทำงานในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยมีลักษณะร่วมที่ยึดโยงกันของคนทำงานในลักษณะกึ่งแรงงาน กล่าวคือ การทำงานของคนเหล่านี้อยู่ในลักษณะคนเข้าร่วมทำงานกับระบบ แต่ผู้บริหารระบบแพลตฟอร์มไม่ยอมรับว่ามีการจ้างแรงงาน ไม่มีสถานะความสัมพันธ์แบบ ลูกจ้าง กับ นายจ้าง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงาน   เมื่อมีปัญหาในความสัมพันธ์จึงอาจเกิดความด้อยสิทธิในหมู่คนทำงานเพราะไม่มีกฎหมายแรงงานทั้งระบบเป็นหลักประกัน นำไปสู่ความขัดแย้งและการปะทะด้วยความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต

ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมได้สร้างผลกระทบและความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ที่ขยายความเหลื่อมล้ำต่อผู้คนจำนวนมากที่มิได้มีอำนาจในการจัดสรรหรือร่วมตัดสินใจในการสร้างระบบแบ่งปันผลประโยชน์ อันนำมาสู่ความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ กับคนกลุ่มใหม่ ๆ ในสังคม ด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป โดยสาเหตุแห่งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของกลุ่มคนทำงานในแพลตฟอร์มเศรษฐกิจแบ่งปันยุคดิจิทัล

 

1) เทคโนโลยีสร้างความพลิกผันทางเศรษฐกิจและสังคม (Disruptive Technology)

ตามที่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ผลักดันยุทธศาสตร์ให้ประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ แต่เหรียญย่อมมีสองด้าน ผลด้านลบจากเทคโนโลยีที่อาจเกิดขึ้นในสังคมดังปรากฏในสังคมอื่นแล้วและต้องหาแนวทางบรรเทาเยียวยา ได้แก่
การใช้หุ่นยนต์ Robot แทนแรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled Labor) เช่น แรงงานในภาคอุตสาหกรรม     การผลิต แรงงานภาคการเกษตร และหรือ การนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - A.I.) มาคิดประมวลผลและทำงานแทนแรงงานมีฝีมือ (Skilled Labor) เช่น พนักงานสถาบันการเงิน นักบัญชี มัคคุเทศก์ นักกฎหมาย

สังคมดิจิทัล (Digital Society) ที่มีการกีดกันคนจำนวนมากมิให้เข้าถึงโอกาสใช้ประโยชน์ (Digital Dividend) จนกลายเป็นการเลือกประติบัติ (Unlawful Discrimination) ด้วยเหตุแห่งเทคโนโลยี เช่น ผู้ยากไร้ที่เข้าไม่ถึงโครงสร้างการสื่อสารขั้นพื้นฐาน ผู้สูงอายุที่ไม่มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี
โดยกลุ่มทุนชั้นนำดึงดูดเทคโนโลยีเข้าสู่ประเทศไทยแต่ยังยึดถือคุณค่าเดิมและปรับให้เป็นโยชน์กับตนโดยใช้กลยุทธ์พลิกแพลงให้เข้ากับรสนิยมท้องถิ่น (Glocalization) ทำให้ผู้บริโภคยังคงตกอยู่ภายใต้วัฒนธรรมการอรับแบ่งปันกึ่งการกุศลเมตตากรุณา หาใช่วิถีแห่งเสรีนิยมที่คำนึงถึงศักยภาพของปัจเจกชนในการพัฒนาตนเองและสังคม ทำให้ผู้บริโภคไม่พร้อมจ่ายแพงขึ้นเพื่อให้ได้บริการดีขึ้น ไม่เกิดแรงจูงใจสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ยิ่งไปกว่านั้นอุตสาหกรรมหรือบริการที่อาศัยช่องทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งพยายามเข้ามาเสนอขายสินค้าและบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่อาจทำให้ผู้มีอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดเก่าล้มหายตายจากไป (Disruptively Innovation)  เพราะโครงสร้างรัฐและวัฒนธรรมไทยจำนวนไม่น้อยยังคงเอื้อให้เกิดการรักษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เหนือกว่าให้กับกลุ่มผลประโยชน์เก่า (Establishment) ผ่านระบอบกฎหมายเก่า

 

2) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมเข้าสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและภาคบริการ

สืบเนื่องจากความล้มเหลวในการยกระดับเศรษฐกิจไทยเข้าสู่เสืออุตสาหกรรมใหม่ จนตกอยู่ในกับดักรายได้ปานกลางไม่สามารถก้าวไปสู่การผลิตโดยเทคโนโลยีชั้นสูง แต่ก็ไม่สามารถกดค่าแรงและต้นทุนเพื่อผลิตสินค้าราคาถูกได้อีกต่อไป ทำให้ประเทศไทยมุ่งเน้นการแสวงหารายได้จากภาคบริการโดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และภาคพาณิชยการ แต่ด้วยลักษณะทางธุรกิจที่ผูกกับฤดูกาลท่องเที่ยวตามธรรมชาติ หรือตลาดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ  ทำให้เกิดการจ้างงานแบบไม่มั่นคง เหมาช่วง รับจ้างอิสระ ให้เช่าทรัพย์สินชั่วคราว การรับจ้างขับพาหนะรับส่ง ระบบการจ้างงานชั่วคราวขึ้นอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเหล่านี้       ทำให้คนทำงานขาดมาตรการประกันสิทธิแรงงานภาคบริการ/ท่องเที่ยว ทั้งด้านความปลอดภัยในการทำงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม สวัสดิการที่ครอบคลุม รวมถึง หลักประกันที่มั่นคงในชีวิตและครอบครัว


ทั้งนี้ ยังมีปัญหาสืบเนื่องจากการขยายสิ่งปลูกสร้างและอพยพผู้คนจำนวนมหาศาลอันก่อผลกระทบต่อธุรกิจท้องถิ่น ความเป็นอยู่ดั้งเดิมของชุมชนและคนที่อยู่มาก่อน โดยโครงการเหล่านี้มิได้อยู่ในเงื่อนไขของกฎหมายประเมินความเสี่ยงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ แต่สร้างปัญหาความตึงเครียดในชุมชนอย่างร้ายแรง อาทิ แคมป์คนงานอพยพ ร้านอาหาร สถานบันเทิง ขนาดใหญ่  หรือแม้แต่การปล่อยที่อยู่อาศัยส่วนตัวให้กลายเป็นที่เช่าพักแก่คนภายนอกชุมชน ที่ไม่มีกระบวนการประชาพิจารณ์แสวงหาแนวทางบรรเทาผลกระทบ หรือเยียวยาความเสียหายแต่อย่างใด
นอกจากนี้ผู้ประกอบการเจ้าของเทคโนโลยีสื่อกลางอันเป็นตลาดให้ผู้บริโภคเชื่อมต่อกับผู้ประกอบการร่ายย่อย/ผู้ให้บริการ ยังเป็นบรรษัทข้ามชาติที่มิได้จดทะเบียนในประเทศไทย จึงเป็นการยากในการกำกับดูแลด้วยระบอบกฎหมายเก่าที่มีฐานของเขตแดนราชอาณาจักรไทยเป็นขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย

 

3) อาชีพอิสระแต่ไม่มั่นคง

ด้วยเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมทำให้ที่ทำงาน หรือการติดต่อประสานงาน ทำข้อตกลงสัญญาต่าง
ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านพื้นที่ไซเบอร์ ทำให้คนทำงานจำนวนมหาศาลสามารถทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตจากที่ไหนก็ได้ จนเกิดคนทำงานกลุ่มใหม่ที่สามารถเลือกว่าจะใช้ชีวิตดำรงชีพอยู่สถานที่และเวลาหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานที่ทำงานและเวลาทำงานเดิม (Digital Nomad) ในแบบแรงงานอิสระ (Freelance) แรงงานไร้ฝีมือในดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Blue-Collar Worker in Digital Platform Economy) แต่คนทำงานเหล่านี้กลับมีปัญหาเรื่องการด้อยสิทธิตามกฎหมายแรงงาน ทั้งยังเข้าไม่ถึงหลักประกันสิทธิและสวัสดิการของรัฐ  โดยเฉพาะหลักประกันสุขภาพที่ไม่ครอบคลุมความเจ็บป่วยที่มาจากการทำงาน เช่น โรคจาการทำงานท่าเดิมซ้ำ ๆ ความเสี่ยงจากการขับขี่ยานพาหนะแข่งกับเวลาบนท้องถนนที่มีความเสี่ยงระดับต้นของโลก การทำงานและพักผ่อนไม่เป็นเวลาจนเกิดภาวะเครียดเรื้อรัง การทำงานลำพังตัวคนเดียวท่ามกลางความกดดัน อันเป็นปัจจัยส่งเสริมโรคทางจิตเวช และภาวะซึมเศร้า


รูปแบบการจ้างที่ไม่มั่นคงเหล่านี้ถูกผู้ทรงอิทธิพลผลักดันให้กลายเป็นรูปแบบหลักของการจ้างงานเพื่อผลักภาระต้นทุนในการดูแลแรงงาน นอกจากนี้ความไม่มั่นคงในการจ้างยังเป็นการสร้างอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าให้กับนายจ้างเพราะสามารถเลิกจ้าง หรือไม่จ้างต่อได้อย่างง่ายดายโดยไม่มีต้นทุนหรือข้อจำกัดทางกฎหมาย โดยผู้ที่ใช้รูปแบบการจ้างงานประเภทนี้มิได้จำกัดอยู่ในกลุ่มบรรษัทเอกชนเท่านั้นแต่ยังขยายไปสู่หน่วยงานภาครัฐ เช่น ลูกจ้างชั่วคราว, เหมาช่วง, การจัดซื้อพัสดุ นั่นคือการเปลี่ยนแรงงานให้เป็นวัตถุ เปลี่ยน “คน” ให้กลายเป็น “สิ่งของ”   ที่สามารถทิ้งได้เมื่อหมดประโยชน์ใช้สอย มิพักต้องคำนึงถึงการดูแลหลังหมดความสามารถ

 

4) หน่วยทางสังคมเปลี่ยน


เมื่อชีวิตการทำงานและรายได้สวัสดิการไม่แน่นอน คนรุ่นใหม่ที่ทำงานในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มจึงใช้ชีวิตบนพื้นฐานของความไม่มั่นคงเต็มไปด้วยความรู้สึกไม่พร้อม การสร้างครอบครัวจึงเป็นความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะการมีบุตรธิดาโดยที่ยังไม่แน่ใจว่าจะมีความสามารถในการเลี้ยงดูให้ดีมีอนาคตหรือไม่ อันนำไปสู่ปัญหาประชากรใหม่น้อยลงซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดภาวะสังคมสูงอายุที่ไร้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่มาทำงานหรือดูแลคนชรา


ความไม่มั่นคงอีกประการที่คุกคามความมั่นคงในการทำงานและประกอบสัมมาอาชีพ ก็คือ แนวโน้มการล่มสลายของสหภาพแรงงาน และสมาคมวิชาชีพ ทำให้คนทำงานด้อยอำนาจต่อรอง หรือไม่มีความสามารถในการบังคับตามสัญญาจ้างที่ได้ทำไว้กับผู้จ้าง โดยเฉพาะในกรณีของแรงงานอิสระที่ไม่มีสถานประกอบการ หรือทำงานแยกไปอยู่ในที่ตั้งของตน ขาดโอกาสในการติดต่อสร้างเครือข่ายเรียกร้องสิทธิร่วมกัน

*สกัดจากงานวิจัย “การจัดการความขัดแย้งของกลุ่มคนทำงานในแพลตฟอร์มดิจิทัล” ภายใต้โครงสร้างการถอดบทเรียนจากกรณีศึกษายุติธรรมชุมชน สนับสนุนโดย สปสช. 2564

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,