Skip to main content
 
 
วัดประทานพรนั้น
จะอยู่แถวย่านโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ซู่จิ้งบอกตำแหน่งวัดที่คาดว่าผมจะตามไปหาของสำคัญมักติดตามกันยากจริงๆ เหมือนตามหาขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าในภาพยนตร์ฝรั่ง ผมเดินหน้าเยิ้มเหงื่อ หลังชุ่มเปียกกลับมาหาภรรยา ที่กำลังคีบก๋วยเตี๋ยวสูตรไทยใหญ่เข้าปากสบายอารมณ์ ดูเธอไม่สนใจคำตอบผมเท่าไร ผมชักไม่มั่นใจการตามหาอิฐสำคัญจะสมหวัง...ใครก็ได้ช่วยตามหาให้หน่อยเถอะ อยากเห็นนักรูปร่างลักษณะจะเป็นอย่างไร
 
มีข้อความบันทึก
ด้านล่างซ้ายของเอกสารสำคัญ 2 แผ่นอีกดังนี้
 
-เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2524 เวลา 16.40 น. ได้ใช้เลื่อยตัดครึ่งแบ่งปันให้แก่ครอบครัวคุณอัศว์ พรหมศรีมาศ 
เพื่อเป็นที่ระลึก 9/62 สังสิทธิ์นิเวศน์ ซอย 1 โชคชัย 4 โทร. 5140150
-สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มีชัยชนะในการชนช้างยุทธหัตถีกับพระเจ้าแผ่นดินพะม่าที่ดอนเจดีย์ กาญจนบุรี เมื่อ 25 มกราคม 2135 เวลา 12.00 น. เศษ
-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจิมแผ่นอิฐที่นำมาจากพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน เมื่อ 24 พฤษภาคม 2511 แล้วพระราชทานมอบให้ พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผวก.ชม. นำไปบันจุไว้ในพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมหาราชานุสรณ์ ที่ตำบลเมืองงาย อ.เชียงดาว . เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2513 เวล.. 10:45 น. ขณะใช้เลื่อยตัดนั้น คุณอัศว์บอกว่าได้ยินเสียงบอกหมายเลข 225
 
 
 
ผมได้พิมพ์คัดลอก
ตามต้นฉบับทุกประการ แม้คำว่า “บันจุ” ที่ถูกต้องตามพจนานุกรมต้องเขียนว่า “บรรจุ”   ตอนท้ายเขียน “เวล” ตกหล่นสระอาก็ตาม
 
เรื่องราวประวัติศาสตร์นั้น
ยังหาข้อยุติ สรุปเด็ดขาดไม่ได้ มีการถกเถียงถึงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ต่างๆ ประเด็นที่กังขา ยุคหนึ่งสมัยหนึ่งบอกว่า เรื่องราวถิ่นฐานดั้งเดิมของไทยอยู่แถวภูเขาอันไตในจีน พอเวลาผ่านไปได้ค้นพบหลักฐานใหม่เพิ่มเติม ผู้รู้ที่นับว่าเป็นกูรูทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและอื่นๆ  บอกว่าถิ่นเดิมของไทยอยู่ที่สุวรรณภูมินี้เอง ประวัติศาสตร์บันทึกโดยใคร ? ได้บันทึกตามข้อเท็จจริงไหมหนอ ? จะมีการบิดเบือนไหม ? เราก็เกิดไม่ทันยุคนั้นเสียด้วย...ขอยกตัวอย่างประเด็นถกเถียงหรือกังขา..ประเด็นที่ 1....สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวรรคตที่ “เมืองหาง”ในพม่า หรือที่ “เมืองแหง”(อำเภอเวียงแหง)...ประเด็นที่ 2...วันที่พระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีตรงกับวันที่ 25 มกราคม หรือ 18 มกราคม...ประเด็นที่ 3 ยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ใด มีผู้เสนอหลักฐานอ้างอิงถึง 3 จังหวัดคือ อยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี.
 
 
 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง ราวปี พ.ศ.2506พอย่างเข้าเดือนสิงหาคมกลางฤดูฝน ฝนเริ่มตกหนัก 3-4 วันติดต่อกัน ย่าบอกว่าวิทยุข้างบ้านประกาศ มีไต้ฝุ่นเข้าเมืองไทย ฝนจึงตกมากกว่าปรกติ ฝนยามนั้นจะตกปรอยๆซึมไปเกือบตลอดวัน ฟ้ามืดมัวด้วยเมฆฝน ไม่มีการเห็นแสงเดือนแสงตะวันกันเลย แล้วจะมีฝนตกหนักนานเกินครึ่งชั่วโมงเข้ามาสลับเป็นพักๆ เท่าที่จำได้นานเป็นวันก็เคยมี ใครซักผ้าก็ชื้นอับอยู่อย่างนั้น พื้นดินบริเวณบ้านผมเปียกแฉะไปหมด ต้นไม้ใบหญ้าเปียกโชกชุ่มอิ่มน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาส่งผลให้ระดับน้ำในน้ำแม่ปิงสูงขึ้นรวดเร็ว ชาวเชียงใหม่สัญจรไปมาต่างกวาดตาดูน้ำแม่ปิง สายน้ำสายหลักที่ผูกพันชาวนครพิงค์เนิ่นนาน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กรณีมีกลุ่มบุคคลที่ตรงข้ามรัฐบาลคัดค้านขัดขวางธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้ให้ ธกส.(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) เพื่อจะได้นำไปจ่ายให้ชาวนา ตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(19 ก.พ.57)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง