Skip to main content

 

การย้ายเมือง
มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ
“โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม


เวียงกุมกาม
พญามังรายสร้างเมืองกุมกามราว พ.ศ. 1837  แต่เวียงกุมกามน้ำท่วมอยู่ทุกปี  และล่มสลายเพราะน้ำท่วมครั้งใหญ่ระหว่างปี พ.ศ. 2101-2317  ซึ่งตรงกับพม่าปกครองล้านนา  พม่าปกครองล้านนานาน 210 ปี  แต่น่าแปลกมาก  ไม่มีการบันทึกน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่  ทั้งที่เป็นเหตุการณ์ร้ายแรงมาก  ผลน้ำท่วมครั้งใหญ่  ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมใต้ตะกอนดินจนยากฟื้นฟูได้  วัดต่างๆ  โบราณสถานสำคัญ  เจดีย์จมในดินลึกประมาณ 1.50 เมตรถึง 2 เมตร...ปัจจุบันเวียงกุมกามเป็นเมืองโบราณ  ตั้งอยู่ที่  ตำบลท่าวังตาล  อำเภอสารภี  จังหวัดเชียงใหม่

สุโขทัย
ถูกแทรกแซงจากอยุธยาที่เข้มแข็งกว่า  จนกลายเป็นหัวเมืองหนึ่งของอยุธยา  เป็นการสิ้นสุดการเป็นเมืองหลวงของสุโขทัย  มาถึงยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงบ้าง  ถูกพม่าโจมตีเผาทำลายจน
ย่อยยับในปี พ.ศ.2310  พระเจ้ากรุงธนบุรีกู้อิสรภาพได้ในปีเดียวกัน  แต่กรุงศรีอยุธยาเสียหายจนยากฟื้นฟูบูรณะใหม่ดังเดิม  จึงต้องย้ายมาสร้างกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง  กรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงได้เพียง 15 ปี  ก็สิ้นสุดลง  พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ย้ายเมืองหลวงจากรุงธนบุรี  เป็นกรุงเทพมหานครดังปัจจุบัน  สาเหตุเพราะกรุงธนบุรีมีแม่น้ำไหลผ่านกลาง  เปิดทางให้ข้าศึกเดินทัพเรือเข้าถึงกลางเมืองได้  ทั้งยังทำให้สองฝั่งเมืองติดต่อกันลำบาก  และกรุงธนบุรียังตั้งอยู่ริมตลิ่ง  น้ำจะเซาะตลิ่งพังไปเรื่อยๆ  อีกประการหนึ่งกรุงธนบุรีถูกขนาบด้วยวัดทั้งสองข้างขยายไม่ได้
 
กรุงเทพมหานคร
ในวันนี้  ปี พ.ศ. 2554(ต้นสิงหาคม-ราวต้นธันวาคม)   กรุงเทพฯน้ำท่วมหนักกว่าทุกปี  และมีท่าทีปริมาณน้ำหรือมวลน้ำจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต  กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของไทยตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325  ในปีนี้มีอายุได้ 229 ปี  ปัญหากรุงเทพฯที่เยียวยายากคือ  ปัญหาน้ำท่วมขัง  ยิ่งในปีนี้  เกิดน้ำท่วมหนักเป็นประวิติการณ์  น้ำท่วมภาคกลางและขังเป็นเดือนๆ  กระทบความเป็นอยู่ของประชาชน  วงการธุรกิจ  การสัญจร  การสาธารณูปโภค (ถนน  ประปา  ระบายน้ำ  ไฟฟ้า 
การขนส่ง  โทรศัพท์  แก๊ส  เชื้อเพลิง  กำจัดขยะ  การสื่อสาร)   สุขภาพพลานามัยของประชาชน   ที่อยู่อาศัยเสียหาย  การเกษตร  โรคที่มากับน้ำท่วม  และอื่นๆ

มองดูประเทศเพื่อนบ้าน
ด้านตะวันตกอย่างพม่า  เมืองหลวงเดิมคือร่างกุ้ง  พม่าย้ายเมืองหลวงขึ้นไปทางเหนือ  ห่างออกไปราว 400 กิโลเมตร  ตั้งเมืองนอร์ปิดอร์เป็นเมืองหลวงใหม่  การย้ายเมืองหลวงครั้งนี้มีเหตุผลเนื่องจาก  เมืองร่างกุ้งคับแคบ  ประชากรเพิ่มมากขึ้น  และหนีที่ตั้งริมแม่น้ำ  เนื่องจากภาวะโลกร้อน  อีกประการหนึ่ง  ย้ายหนีการรุกรานของชาติตะวันตก  ป้องกันปิดอ่าว  เพราะเมืองร่างกุ้งตั้งอยู่บริเวณปากน้ำอิระวดี  ซึ่งอาจเกิดสงครามในอนาคต.
 
 
 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
                                                            
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง