Skip to main content

สมัยที่ผู้เขียนเรียนมหาลัย มีอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะเคยเสนอให้ผมลงไปออกแบบการเล่าเรื่องวิธีคิดในการสร้างสันติภาพแก่เด็กนักเรียนผ่านการ์ตูนเรื่องนารูโตะ ตอนนั้นผมยังเข้าใจว่า การ์ตูนเรื่องนารูโตะมันเน้นหนักไปทางปรัมปรา (Mythology) แบบญี่ปุ่น จนเมื่อไม่นานมานี้ ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ท่านนั้นถึงสนใจการ์ตูนเรื่องนี้ในฐานะคำอธิบายเรื่องการมีชีวิตเพื่อสันติภาพได้ในอีกมุมมอง

ภาพของสังคมในการ์ตูนเรื่องนารูโตะ คือโครงสร้างทางสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยความมั่นคงแห่งแคว้นแต่ละแคว้นที่ชัดเจน ระบอบนินจา คือตัวแทนความคิดการขับเคลื่อนรัฐด้วยสงครามของการช่วงชิงข้อมูล ความลับ และทรัพยากรทางธรรมชาติ

สิ่งที่น่าสนใจคือความสัมพันธ์ของนารูโตะกับซาสึเกะ ความขัดแย้งเชิงปัจเจกระหว่างนารูโตะกับซาสึเกะคือภาพแทนที่ชัดเจนของการขัดแย้งเชิงความคิดระดับขบวน นารูโตะกับซาสึเกะมีสิ่งที่เหมือนกันคือพวกเขาถูกความขัดแย้งของความมั่นคงและสงครามแห่งรัฐพรากครอบครัวไปจากพวกเขา แต่หนทางของนารูโตะกับซาสึเกะกลับแตกต่างกัน นารูโตะมีชีวิตและเติบโตขึ้นในฐานะเด็กหลังห้องที่หวังจะขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลง ส่วนซาสึเกะมีชีวิตและเติบโตในฐานะสายเลือดอัจฉริยะที่มีความแค้นโดยหวังจะทำลายทุกสิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลง

เราอาจเรียกความคิดแบบนารูโตะได้ว่าสายปฏิรูป (Reformism) และอาจเรียกความคิดแบบซาสึเกะได้ว่าสายปฏิวัติ (Revolutionism) ซึ่งในตอนท้ายของเรื่องนี้เอง ทั้งสองได้จบความขัดแย้งระหว่างกันด้วยศึกตัดสินที่กำหนดขอบเขตไว้แค่ปัญหาส่วนตัว ไม่ใช่ปัญหาส่วนรวม

ในสงครามหรือการต่อสู้ที่ปะปนด้วยความคิดเชิงอุดมการณ์ในฐานะสิ่งที่คอยถูกสมาทานเพื่อระบุแนวทางสำคัญของขบวนเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันอุดมการณ์ต่างๆเหล่านั้นก็ยังถูกนำไปยึดโยงกับใครต่อใครในเส้นทางของอุดมการณ์ จนเราเผลอคิดโดยมิได้ตระหนักว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเดินต่อไปข้างหน้าร่วมกัน

การจบความขัดแย้งระหว่างนารูโตะกับซาสึเกะด้วยการกำหนดปัญหาเชิงอุดมการณ์ให้ยุติแค่ "ปัญหาส่วนตัว" เป็นตัวอย่างที่สำคัญในการยุติเพื่อเข้าใจคำว่าทำไมต้องมี สายเหยี่ยว หรือสายพิราบ ว่าควรจะวางตัวอย่างไร ภายใต้เป้าหมายเดียวกันนั่นคือการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

บล็อกของ Yeed Piriya

Yeed Piriya
จริงๆ คำว่า Buffer idea เป็นคำที่นึกต่อมาจากคำว่า Buffer state ที่เราแปลเป็นไทยกันว่ารัฐกันชน ดังนั้น Buffer idea แปลแบบง่ายๆ ก็คือ ไอเดียกันชน คือเป็นชุดความคิดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ ทั้งในแง่ความคิดและพฤติการณ์ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาเผชิญหน้ากันในนั้นด้วยคุณค่าบางอย่างที่อาจเหมือนหรือต่างกันในร
Yeed Piriya
สมัยที่ผู้เขียนเรียนมหาลัย มีอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะเคยเสนอให้ผมลงไปออกแบบการเล่าเรื่องวิธีคิดในการสร้างสันติภาพแก่เด็กนักเรียนผ่านการ์ตูนเรื่องนารูโตะ ตอนนั้นผมยังเข้าใจว่า การ์ตูนเรื่องนารูโตะมันเน้นหนักไปทางปรัมปรา (Mythology) แบบญี่ปุ่น จนเมื่อไม่นานมานี้ ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ท่านนั้นถึง
Yeed Piriya
ประมาณ10 นาฬิกา ของวันนี้ (2 สิงหาคม 2562) ขณะที่นั่งเลื่อนจอเฟซบุ๊คไปมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ข่าวการพบวัสดุต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นระเบิดตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วบนฟีดข่าว การจับจ้องของอัลกอริทึมเพื่อนำเสนอความตื่นตระหนกดัง
Yeed Piriya
เป็นเรื่องดีไม่น้อยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปีการศึกษานี้ ได้ต้อนรับขับสู้น้องใหม่สงขลานครินทร์ถิ่นตานี ด้วยกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นพหุวัฒนธรรมผ่านสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองปัตตานี โดยจุดสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนมีความสำคัญในฐานะความทรงจำทางวัฒนธรรมของชุมชนและประวัติศาสตร์ใ
Yeed Piriya
พอสืบสาวลงไปถึงพลวัตระหว่า
Yeed Piriya
กระแสสังคมปัจจุบัน มักให้ความสำคัญต่อการหยิบยกความเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทในพื้นที่ต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่ เริ่มเข้ามามีบทบาทในพื้นที่สาธารณะและสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมมากขึ้น อันที่จริงอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากในหลายช่วงของประวัติศาสตร์คนรุ่นใหม่มักเข้ามามีบทบาทเสมอ เพียงแต่แต