Skip to main content

นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*

ข้อเขียนนี้จึงไม่ได้จะต่อต้านซีเอ็ดเท่านั้น แต่ต่อต้านทัศนคติแบบซีเอ็ด ต้องการบอกกล่าวว่า หากสังคมปล่อยให้ทัศนคติแบบนี้ของซีเอ็ดดำรงอยู่ต่อไป ก็เท่ากับว่าสังคมไทยกำลังถอยหลังในเรื่องภาษา วรรณคดี และความเข้าใจต่อเพศวิถี 
 
1) ซีเอ็ดจะกีดกันการเรียนรู้เรื่องเพศ ในโลกปัจจุบัน เรื่องความเป็นครอบครัว ความหลากหลายทางเพศ เพศวิถี และความรัก เป็นเรื่องที่ยิ่งต้องส่งเสริมให้เกิดความรับรู้เข้าใจที่กว้างขวาง ไม่ใช่จะต้องมาเก็บซุกไว้ราวกับเป็นเรื่องเสียหายน่าอับอาย ขนาดสถาบันทางวิชาการอย่างศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน) ก็ยังส่งเสริมให้ศึกษาเร่่ืองนี้ หรือซีเอ็ดจะไม่วางหนังสือของศูนย์มานุษย์ฯ อีกด้วย
 
ในระดับของข้อมูลข่าวสาร เช่น รู้กันทั่วไปว่ากษัตริย์ในโลกนี้บางพระองค์มีรสนิยมทางเพศแบบที่ซีเอ็ดกีดกัน หากจะปิดกั้นกัน สังคมไทยก็จะไม่ได้เรียนรู้ว่า รสนิยมทางเพศแบบนั้นเป็นเรื่องปกติ สังคมไหนๆ ก็มีได้เหมือนกัน ไม่ได้แปลกอะไร
 
2) ซีเอ็ดกำลังจะกีดกันความรู้เกี่ยวกับความรักในเชิงความรู้สึก ความรู้และความเข้าใจเรื่องเพศไม่ได้มาจากความรู้ทางการแพทย์ที่ตายด้าน หรือความรู้ทางวิชาการสังคมศาสตร์ที่อ่านยากเย็นเท่านั้น แต่ความรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นมิติของการแสวงหาความรู้ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน วรรณกรรมที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเพศ ให้ความเข้าใจเรื่องเพศได้ดีและสำคัญไม่น้อยไปกว่าข้อเขียนทางการแพทย์และข้อเขียนทางวิชาการ หรือใครจะปฏิเสธว่าตนไม่ได้ปฏิสนธิมาจากความใคร่ของบุพการี ที่มีจินตนาการทางเพศปะปนอยู่ในความรักและแรงปรารถนาจะสืบวงค์วาน 
 
หากสังคมไหนกำหนดว่า ห้ามคนร่วมเพศในวรรณกรรม ห้ามตัวละครแสดงอาการร่วมเพศ ก็นับได้ว่าสังคมนั้นกำลังปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก
 
3) ซีเอ็ดกำลังสร้างความรังเกียจต่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้เพศวิถีบางลักษณะถูกรังเกียจ บ่มเพาะเชื้อความเกลียดชังระหว่างมนุษย์ สร้างอคติทางเพศ อาจจะเข้าข่ายดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยซ้ำ ไม่ต่างอะไรกับการกีดกันไม่ให้ "คนดำ" เข้าร้านอาหารในอเมริกาสมัยก่อน แน่นอนว่าแผงหนังสือในร้านซีเอ็ดเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลของซีเอ็ด แต่หากร้านหนังสือทำอย่างนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือกลูกค้า กีดกันลูกค้า ด้วยอคติทางเพศ
 
4) ซีเอ็ดกำลังจะทำลายภาษา การคัดเลือกเซ็นเซอร์จากเกณฑ์ของภาษาเป็นเกณฑ์ที่กำกวม ใครจะเป็นคนตัดสินว่าเล่มไหนหยาบหรือไม่ และถึงที่สุดแล้ว การปิดกั้นนี้จะเป็นการทำลายภาษา "คำหยาบโลน ลามก ฯลฯ" มีพัฒนาการทางสังคมของมันเอง มีท้องถิ่นมีชาติพันธ์ุของมัน เช่นคำว่า "เหี้ย" นอกจากเป็นคำแล้ว ปัจจุบันยังกลายเป็นคำที่มีความหมายเชิงบวก หมายถึง "มากๆ" "อย่างยิ่ง" หรือคำว่า "หำ" ในหนังสือที่ใช้สำนวนภาษาอีสาน หรือคำที่คนลาวใช้เรียก "ควาย" คนคัดเลือกของซีเอ็ดจะเข้าใจสถานะความหยาบหรือไม่หยาบในภาษาถิ่นแค่ไหน เป็นต้น
 
การทำลาย กีดกันการใช้ถ้อยคำ เป็นการทำลายสังคมของการสื่อสาร คำหยาบ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หากเราจะกีดกันกันอย่างนั้นจริงๆ สังคมภาษานี้ก็จะแบนราบ ไร้อารมณ์ หมดรสนิยมของความหลาบโลน กีดกันการใช้ภาษาของคนในบางชนชั้น บางสังคม บางท้องถิ่น
 
5) ซีเอ็ดกำลังดูถูกคนอ่าน ว่าไม่สามารถตัดสิน คัดเลือก กลั่นกรองสิ่งต่างๆ ได้เอง จึงเซ็นเซอร์สิ่งที่ตนเองเห็นว่าชั่วร้าย ทั้งที่คนอ่านเองก็มีวิจารณญาณตัดสินอะไรดีอะไรชั่วเองได้ หากจะเพิ่มความระมัดระวัง ก็อาจเลือกใช้วิธีติดเรทหนังสือตามวัยก็เพียงพอแล้ว เพียงแต่ขอให้คนขายของซีเอ็ดปฏิบัติตามจริงอย่างเคร่งครัดก็แล้วกัน นี่เป็นสิ่งที่ประเทศที่เจริญทางปัญญาแล้วเขาทำกัน หรือซีเอ็ดยังเห็นว่ามีแต่ตนเองเท่านั้นที่เจริญ ส่วนคนอ่านยังโง่อยู่
 
ร้านหนังสือก็เหมือนห้องสมุด มันบอกสถานะทางปัญญาของสังคม เป็นมันสมอง บ่งบอกรสนิยมของสังคม หากร้านหนังสือกำหนดจัดวางคัดกรองเนื้อหาอย่างหนึ่ง นั่นก็กำลังสะท้อนให้เห็นส่วนหนึ่งว่า สังคมนั้นจะได้เห็นและไม่ได้เห็นอะไร สังคมนั้นมีฐานความรู้ความคิดกว้างหรือแคบแค่ไหน มีทัศนคติเช่นไร ยิ่งร้านหนังสือที่มีฐานลูกค้ากว้างอย่างซีเอ็ดด้วยแล้ว ยิ่งสามารถใช้บ่งบอกภูมิปัญญาของสังคมได้เป็นอย่างดี
 
หากซีเอ็ดยังไม่มีท่าทีเปลี่ยนแปลง ผมเห็นว่าสังคมไทยควรงดสนับสนุนสินค้าซีเอ็ด ควรต่อต้านร้านหนังสือซีเอ็ด เพื่อไม่ให้ทัศนคติคับแคบแบบนี้สืบทอดในสังคมไทยต่อไป
 
* หมายเหตุ ร่วมลงชื่อคัดค้านซีเอ็ดได้ที่ https://docs.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dHJuMWUxWEF0NTF0ZVNGNnNTZUFfV0E6MQ&ifq

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม