Skip to main content

นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*

ข้อเขียนนี้จึงไม่ได้จะต่อต้านซีเอ็ดเท่านั้น แต่ต่อต้านทัศนคติแบบซีเอ็ด ต้องการบอกกล่าวว่า หากสังคมปล่อยให้ทัศนคติแบบนี้ของซีเอ็ดดำรงอยู่ต่อไป ก็เท่ากับว่าสังคมไทยกำลังถอยหลังในเรื่องภาษา วรรณคดี และความเข้าใจต่อเพศวิถี 
 
1) ซีเอ็ดจะกีดกันการเรียนรู้เรื่องเพศ ในโลกปัจจุบัน เรื่องความเป็นครอบครัว ความหลากหลายทางเพศ เพศวิถี และความรัก เป็นเรื่องที่ยิ่งต้องส่งเสริมให้เกิดความรับรู้เข้าใจที่กว้างขวาง ไม่ใช่จะต้องมาเก็บซุกไว้ราวกับเป็นเรื่องเสียหายน่าอับอาย ขนาดสถาบันทางวิชาการอย่างศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน) ก็ยังส่งเสริมให้ศึกษาเร่่ืองนี้ หรือซีเอ็ดจะไม่วางหนังสือของศูนย์มานุษย์ฯ อีกด้วย
 
ในระดับของข้อมูลข่าวสาร เช่น รู้กันทั่วไปว่ากษัตริย์ในโลกนี้บางพระองค์มีรสนิยมทางเพศแบบที่ซีเอ็ดกีดกัน หากจะปิดกั้นกัน สังคมไทยก็จะไม่ได้เรียนรู้ว่า รสนิยมทางเพศแบบนั้นเป็นเรื่องปกติ สังคมไหนๆ ก็มีได้เหมือนกัน ไม่ได้แปลกอะไร
 
2) ซีเอ็ดกำลังจะกีดกันความรู้เกี่ยวกับความรักในเชิงความรู้สึก ความรู้และความเข้าใจเรื่องเพศไม่ได้มาจากความรู้ทางการแพทย์ที่ตายด้าน หรือความรู้ทางวิชาการสังคมศาสตร์ที่อ่านยากเย็นเท่านั้น แต่ความรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นมิติของการแสวงหาความรู้ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน วรรณกรรมที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเพศ ให้ความเข้าใจเรื่องเพศได้ดีและสำคัญไม่น้อยไปกว่าข้อเขียนทางการแพทย์และข้อเขียนทางวิชาการ หรือใครจะปฏิเสธว่าตนไม่ได้ปฏิสนธิมาจากความใคร่ของบุพการี ที่มีจินตนาการทางเพศปะปนอยู่ในความรักและแรงปรารถนาจะสืบวงค์วาน 
 
หากสังคมไหนกำหนดว่า ห้ามคนร่วมเพศในวรรณกรรม ห้ามตัวละครแสดงอาการร่วมเพศ ก็นับได้ว่าสังคมนั้นกำลังปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก
 
3) ซีเอ็ดกำลังสร้างความรังเกียจต่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้เพศวิถีบางลักษณะถูกรังเกียจ บ่มเพาะเชื้อความเกลียดชังระหว่างมนุษย์ สร้างอคติทางเพศ อาจจะเข้าข่ายดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยซ้ำ ไม่ต่างอะไรกับการกีดกันไม่ให้ "คนดำ" เข้าร้านอาหารในอเมริกาสมัยก่อน แน่นอนว่าแผงหนังสือในร้านซีเอ็ดเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลของซีเอ็ด แต่หากร้านหนังสือทำอย่างนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือกลูกค้า กีดกันลูกค้า ด้วยอคติทางเพศ
 
4) ซีเอ็ดกำลังจะทำลายภาษา การคัดเลือกเซ็นเซอร์จากเกณฑ์ของภาษาเป็นเกณฑ์ที่กำกวม ใครจะเป็นคนตัดสินว่าเล่มไหนหยาบหรือไม่ และถึงที่สุดแล้ว การปิดกั้นนี้จะเป็นการทำลายภาษา "คำหยาบโลน ลามก ฯลฯ" มีพัฒนาการทางสังคมของมันเอง มีท้องถิ่นมีชาติพันธ์ุของมัน เช่นคำว่า "เหี้ย" นอกจากเป็นคำแล้ว ปัจจุบันยังกลายเป็นคำที่มีความหมายเชิงบวก หมายถึง "มากๆ" "อย่างยิ่ง" หรือคำว่า "หำ" ในหนังสือที่ใช้สำนวนภาษาอีสาน หรือคำที่คนลาวใช้เรียก "ควาย" คนคัดเลือกของซีเอ็ดจะเข้าใจสถานะความหยาบหรือไม่หยาบในภาษาถิ่นแค่ไหน เป็นต้น
 
การทำลาย กีดกันการใช้ถ้อยคำ เป็นการทำลายสังคมของการสื่อสาร คำหยาบ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หากเราจะกีดกันกันอย่างนั้นจริงๆ สังคมภาษานี้ก็จะแบนราบ ไร้อารมณ์ หมดรสนิยมของความหลาบโลน กีดกันการใช้ภาษาของคนในบางชนชั้น บางสังคม บางท้องถิ่น
 
5) ซีเอ็ดกำลังดูถูกคนอ่าน ว่าไม่สามารถตัดสิน คัดเลือก กลั่นกรองสิ่งต่างๆ ได้เอง จึงเซ็นเซอร์สิ่งที่ตนเองเห็นว่าชั่วร้าย ทั้งที่คนอ่านเองก็มีวิจารณญาณตัดสินอะไรดีอะไรชั่วเองได้ หากจะเพิ่มความระมัดระวัง ก็อาจเลือกใช้วิธีติดเรทหนังสือตามวัยก็เพียงพอแล้ว เพียงแต่ขอให้คนขายของซีเอ็ดปฏิบัติตามจริงอย่างเคร่งครัดก็แล้วกัน นี่เป็นสิ่งที่ประเทศที่เจริญทางปัญญาแล้วเขาทำกัน หรือซีเอ็ดยังเห็นว่ามีแต่ตนเองเท่านั้นที่เจริญ ส่วนคนอ่านยังโง่อยู่
 
ร้านหนังสือก็เหมือนห้องสมุด มันบอกสถานะทางปัญญาของสังคม เป็นมันสมอง บ่งบอกรสนิยมของสังคม หากร้านหนังสือกำหนดจัดวางคัดกรองเนื้อหาอย่างหนึ่ง นั่นก็กำลังสะท้อนให้เห็นส่วนหนึ่งว่า สังคมนั้นจะได้เห็นและไม่ได้เห็นอะไร สังคมนั้นมีฐานความรู้ความคิดกว้างหรือแคบแค่ไหน มีทัศนคติเช่นไร ยิ่งร้านหนังสือที่มีฐานลูกค้ากว้างอย่างซีเอ็ดด้วยแล้ว ยิ่งสามารถใช้บ่งบอกภูมิปัญญาของสังคมได้เป็นอย่างดี
 
หากซีเอ็ดยังไม่มีท่าทีเปลี่ยนแปลง ผมเห็นว่าสังคมไทยควรงดสนับสนุนสินค้าซีเอ็ด ควรต่อต้านร้านหนังสือซีเอ็ด เพื่อไม่ให้ทัศนคติคับแคบแบบนี้สืบทอดในสังคมไทยต่อไป
 
* หมายเหตุ ร่วมลงชื่อคัดค้านซีเอ็ดได้ที่ https://docs.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dHJuMWUxWEF0NTF0ZVNGNnNTZUFfV0E6MQ&ifq

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว