Skip to main content
กวีประชาไท
 ที่มาภาพ : webboard/www.prachatai.com ¹ แผ่นดินแม่ร้าวไห้ เหลือบแฝง พ่อเอย ด้วยลื่นริ้นจำแปลง ระบาดให้ แผ่นดินแม่โรยแรง เหลือฝ่า เอยแม่ ด้วยค่ำคืนวันไว้ คลื่นเช้าหวั่นตรม ฯ     (๑) แผ่นดิน แม่ร้าวไห้ ด้วยเหลือบไร โลมไล้แฝง สื่อริ้น โลมจำแปลง ระบาดให้ ชาติระบาย ฯ (๒) เวลาจะพิสูจน์ สูตรสำเร็จ ค่าความหมาย คลื่นซาบ กราบวางลาย เหลือใจแผ่ แม่แผ่นดิน ฯ (๓) เช้า – ดึก ที่นึกฝัน วันและคืน อกถวิล ภาพพจน์ อันดื่มกิน ไหวเหนื่อยหนัก ศักดิ์ศรีมัว ฯ (๔) ผืนดิน ที่อยู่ย่ำ การกอบกรรม ล้ำเกลือกกลั้ว นึกรู้ เหลือบพันพัว เพื่อกวาดล้าง วางดวงใจ ฯ (๕) นี้ผืน แผ่นดินแม่ มีแต่ให้ อภัยให้ ผิดถูกถึงอย่างไร... เพียงหยัดอยู่ รู้ละอาย ฯ (๖) คืนสาย หยุดเช้าย้อน คลื่นลวงป้อน อันร้อนร้าย จากเหลือบ จำแฝงปราย รู้หยุดเยื้อง เปลื้องปลดบัง ฯ (๗) คลื่นค่ำ คืนหวาดไหว ดวงใจฟื้น ตื่นย่ำยั้ง โศลกแท้ จักก้องดัง ไม่ร้างแผ่น ดินแดนไท. ณรงค์ยุทธ โคตรคำ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับผู้แทนราษฎร์ผู้ที่มีอิทธิพลต่อปากท้องและความรู้สึกนึกฝันของชาวบ้านและประชาชนเสียงส่วนใหญ่ของประเทศไทยยุคสมองกลครองเมืองอย่างเทียมแท้ !?
กานต์ ณ กานท์
  
นาโก๊ะลี
ในตอนหนึ่งของ “จดหมายถึงกวีหนุ่ม” รินเค บอกว่า “หากเธอสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องเขียนบทกวี เธอก็ไม่ต้องเขียนมันหรอก แต่หากว่าเมื่อไหร่ที่เธอรู้สึกว่าอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้เขียน เมื่อนั้นก็จงเขียนมันซะ” ......... หลายวันก่อน กวี คนหนึ่งบอกว่า “อย่าขวนขวายที่จะพิมพ์บทกวีรวมเล่มเลย เพราะมันจะไปอยู่ในซอกที่มองไม่ค่อยเห็นในร้านหนังสือ”ดูเหมือน บทกวี จะเป็นงานศิลปะที่เคลื่อนไหวอยู่ในยุคโลกตลาดเสรี น้อยที่สุด แต่กระนั้นกวีก็ยังไม่เคยหายไป ตราบที่ยังมีมนุษย์อยู่บนโลก หลายคนว่าไว้อย่างนั้น
นาโก๊ะลี
เรื่องราวของเด็กคนที่หนึ่งครูสั่งให้เด็กทำงานฝีมือ เป็นงานพวกเย็บปักถักร้อย  เด็กหญิงคนนี้ก็เย็บตุ๊กตา ด้วยฝีมือที่ปรานีต ด้วยความตั้งใจอย่างที่สุด  และเธอก็ได้ตุ๊กตาที่สวยสมใจ  และเป็นความภาคภูมิใจที่เธอทำมันขึ้นมาด้วยตัวเอง   และเมื่อถึงเวลาส่งงาน ครูก็กล่าวหาว่าเธอให้แม่ทำให้  และคาดคั้นให้เธอยอมรับว่า งานนี้แม่เธอทำให้ เธอไม่ได้ทำด้วยตัวเอง  เด็กหญิงยืนยันว่าเธอทำมันเองด้วยความตั้งใจ  แต่ครูก็ไม่เชื่อ  แล้วก็ยังคาดคั้นให้เธอยอมรับให้ได้อยู่นั่นเอง ทั้งขู่ว่า ถ้าไม่ยอมรับ จะเรียกผู้ปกครองมาพบ  ไม่ว่าเด็กหญิงจะพูดอย่างไร ครูก็ไม่มีทางเชื่อ  ในที่สุดครูก็เชิญผู้ปกครองมาพบ  แต่กระนั้น  ไม่ว่าอย่างไร ครูก็ยังเชื่ออยู่นั่นเองว่า งานชิ้นนี้หาใช่ฝีมือเด็กผู้หญิงอายุสิบขวบไม่  แต่หลายวันต่อมา เมื่อมีงานแสดงผลงานของเด็ก ครูก็ยังมาขอตุ๊กตาตัวที่แกไม่เชื่อว่านี่เป็นผลงานของเด็กอายุสิบขวบ ไปแสดงร่วมกับงานชิ้นอื่นๆ  โดยมิได้ละอายใจ
กวีประชาไท
              (๑)  กลางคืนดึกดื่นนี้         หนอยัง    เช้าแต่รื้อความหลัง               สั่งย้ำ    อยากเยือนหยุดความหวัง      หลายขณะ    แต่ทุกครั้งกลืนกล้ำ               ร่ำไห้เสน่หา  ฯ        (๒)  โอ้วาจาห่วงให้         ลับหาย    จึ่งจ่อจารร้อยสาย                กลั่นแก้ว    กระทั่งเพื่อแผ่พราย               จากส่วน    ที่เยี่ยมเยือนยลแล้ว              ย่อยน้ำกายใจ  ฯ        (๓)  ให้โลกฉันท์กลั่นค้าง  ครวญเสียง    ร้อยลักษณ์ใคร่เผดียง            เริ่มต้น    จากสัมผัสบางเพียง              ไหวหวั่น    สิ่งที่เหลือดื้อรั้น                   ยิ่งย้ำถ่ายถอน  ฯ        (๔)  โคลงย้อนกลอนกล่าวเกลี้ยง ผ่านเลย    อกค่ำเช้าดื่มเปรย                 หม่นร้าง    เหลือแต่สื่อใบ้เฉย                เบี้ยบอด  ต่อมา    สิ่งที่เหลืออยู่สร้าง               ย่ำล้ำฝึกตน  ฯ        (๕)  ฝึกตนค้นร่ำร้อย        รอยไหว    ก่อนคืนดับวันวัย                  ล่วงแล้ง    ฝึกฝนต่อดวงใจ                  เผยผุด    ก่อนลุ่มใหลลับแจ้ง             ต่างชั้นผันการ  ฯ        (๖)  งานกลางคืนดึกเช้า กลางวัน    ไม่ตอบถามตื้นต้น              ตื่นไต้    งานที่ก่อเกื้อฝัน                ที่ใฝ่    ไม่ง่ายยาก ลิ่วไล้             รื่นน้ำพักพร  ฯ        (๗)  อุทาหรณ์ล่วงแล้ว แก้วใจ    ไม่ตื่นสุขทุกข์ไหน            กระซิบล้ำ    ที่เหลืออยู่สายใย             เชื่อมบท  บาทนา    ด้วยแห่งหนทางค้ำ          คติพร้อมหยุดสาย  ฯ        (๘)  ผุดหมายสายหยุดเช้า  ตื่นฝัน    หอมดอกดึกจำนรรจ์        ล่วงแม้น    ผุดไล้ผ่านคืนวัน              ตราติด    หอมเรื่อโรยลอยแร้น        ฝากฟื้นมิ่งศรี  ฯ                                                                                       ณรงค์ยุทธ  โคตรคำ
นาโก๊ะลี
นานมาแล้วกระมังที่เราทั้งหลายได้ยินได้ฟังคำกล่าวที่ว่า ความหลากหลายคือความงดงาม  หมายถึงความหลากหลายในแง่ไหนบ้างเล่าที่ผู้คนกล่าวถึง  ว่าก็คือ ความคิด อุดมคติ อุปนิสัย พื้นเพ ที่มา  วิธีคิด สติปัญญา  ว่าก็คือทุกอย่างมันก็ต่างกันทั้งนั้น  และนั่นก็อาจหมายถึงความหลากหลายด้วย  นั่นก็ใช่ ใช่หรือไม่  ตามคำกล่าวที่ว่า ความหลากหลายนั้นงดงาม  ว่ากันไป เปรียบเปรยถึงป่าเขาลำเนาไพร  หากมีต้นไม้เพียงอย่างเดียว มันก็ไม่งาม เท่านั้นยังไม่พอ มันยังทำให้ผืนดินตรงนั้นสูญเสียความสมดุลไปด้วย  ก็ด้วยป่าที่งามนั้นมันมีต้นไม้นานาพันธ์  ใหญ่น้อย สูง ต่ำว่ากันไป อยู่ตามที่ๆ ตนควรอยู่ ที่ๆ เหมาะสมกับการเจริญเติบโต  ทั้งหมดนั้นก็ถูกแล้วหรือไม่  ท่านทั้งหลาย
กวีประชาไท
๑อาจขณะหนึ่งคล้ายสุนทรีย์อันวิสุทธิ์ ร่องทางกระแสธารอันวกวนประกาศความนัยนั้นไม่พลาดผิดทุ่มเทไปเท่าไรมาช้านาน ดื่มด่ำเรื่องราวและโลกพร้อมเคลื่อนทางวางวิถีแท้สัจจะ   เข้าใจในปรากฏการณ์สดใหม่  ครุ่นคิด จากนี้ทางที่ทอดยาว๒หรือทั้งหมดง่ายดายเพียงนั้น หากเพียงเท่านั้นภาพภายในวาวแวว    เพราะเพื่อวางตัวตนบนวิถีโลก มนุษย์อาจเพียงเพิ่มสีสันในภาพเลือนราง ยิ่งไม่อาจหลงใหลในผลสำเร็จ รับรู้เผชิญหน้าความมั่นใจ ความท้อทน  ๓สุนทรียภาพคือความงามและโทรมทรุด                เห็นความจริงในคลื่นแห่งมายา๔แม้ไม่มีอะไรง่ายดายเกินไปนักขอให้ก้าวทุกก้าวที่ดุ่มเดิน กลางคลื่นมวลมนุษย์อันสับสนคล้ายการสืบค้นประสบสำเร็จการณ์กรุ่นกำจายชีวิตอันหอมหวานทั้งหมดแล้วก้าวผ่านสู่อารยะคุกเข่านอบน้อมต่อสถานะมั่นใจในวาระเรียนรู้ทุกเรื่องราวเห็นความยิ่งใหญ่แผ่นดินสุดห้วงหาวก้าวเดินแต่ละก้าวงดงามแล้วใช่ลุ่มหลงเพ้อฝันบรรเจิดเพริดแพร้วอาจเพียงลมหอบแผ่วพัดผ่านทางท่ามกลางสุข โศก รื่นรมย์ อ้างว้างไว้เสริมส่วนที่เปราะบางของตัวตนเมื่อในจริงมีเท็จจากเหตุและผลเข้าใจแท้เล่ห์กลของอัตตาในวิถีอันวิสุทธิ์แสวงหาเฝ้ามองมันซึ่งหน้าเพื่อกล้าเผชิญจึงทำความรู้จักอย่างมิใช่ผิวเผินพร้อมรับการเชื้อเชิญชีวิต โลก จักรวาลนาโก๊ะลี
นาโก๊ะลี
เคยได้ฟังมาว่า  ครั้งหนึ่งเออเนส เฮมมิงเวย์ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ภาวะที่ดีที่สุดสำหรับนักเขียน คือภาวะที่เปลี่ยวเหงาโดดเดี่ยว  เมื่อไรก็ตามที่นักเขียนเป็นที่รู้จักของมหาชนมากขึ้น ยื่งมากขึ้นเท่าใด พลังแห่งการสร้างสรรค์ของนักเขียนก็จะยิ่งเหือดหายไป.....................  เมื่อคราวแรกที่ดูหนังเรื่อง Finding Forester  ก็สงสัยว่า ตัวละครหลักของเรื่องคือ William Forester  ซึ่งเป็นนักเขียนมีชื่อเสียง เขียนหนังสือเล่มเดียวแล้วก็ไปเก็บตัวอยู่โดดเดี่ยวในห้องเช่าเล็กๆ ในเขตคนผิวดำ  แล้วก็ไม่มีผลงานตีพิมพ์อีกเลย  เมื่อดูหนังเรื่องนี้หลายรอบเข้า  ว่าก็ปาเข้าไป ห้าถึงหกรอบเข้าไปแล้ว ถึงได้รู้ว่า  สาเหตุที่เขาไม่เขียนหนังสืออีก คือ (ในเรื่องเขาเล่าเรื่องนี้ให้ เด็กหนุ่มชื่อ จามอล วอลเลส ฟัง) พี่ชายเขาป่วย เขาพาพี่ชายไปโรงพยาบาล ยามนั้นเขาเป็นนักเขียนชื่อดัง  พยาบาลซึ่งแทนที่จะใช้เวลาดูแลคนป่วย กลับมาถามแต่เรื่องงานเขียน หนังสือ หรือเรื่องราวอื่นๆ กับเขา  หลังจากพี่ชายตาย เขาก็เลิกเขียน หรือเขียนแต่ไม่ได้พิมพ์งาน  แล้วก็มาอาศัยในห้องเช่าเล็ก ๆ  ในเขตบล็อง   ว่ากันต่อมาว่า  ชีวิตนักเขียนต้องเดินทาง ไปใกล้ไปไกลอย่างไรก็ขอให้ได้ไป  การได้ไปสัมผัสชีวิตในมิติต่างๆ  พบเจอเรื่องราวต่างๆ  ทำให้ได้แรงบันดาลใจ  ทำให้ได้รับฟังและเก็บเรื่องราว  และสิ่งสำคัญก็คือการฟัง  ว่าในแง่การฟังก็เป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของชีวิต กับการเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผู้คนและธรรมชาติ  ครั้งหนึ่งผู้เฒ่าในเมือง ตั้งคำถามกับผู้เฒ่าบนดอยว่า มีที่ดินสามสิบไร่ในเมืองเป็นที่ยังรกร้างว่างเปล่า  จะทำอะไรในที่ดินผืนนั้น  ผู้เฒ่าบนดอยบอกผู้เฒ่าในเมืองว่า ท่านต้องไปที่นั่นบ่อยๆ อาจจะพักค้างคืนที่นั่นบ้าง แล้วรอฟังเสียง  ฟังว่าผืนดินนั้นจะบอกให้ท่านทำอะไร  ถ้าท่านฟัง  ท่านจะได้ยิน    เวลาต่อมาผู้เฒ่าในเมือง ก็ไปที่ผืนดินนั้น บ่อยเข้า  ในที่สุดที่ดินผืนนั้นก็กลายเป็นทุ่งนา  แม้ว่าชาวบ้านละแวกนั้นจะวิพากษ์วิจารณ์กันว่า เอาที่ดินราคาหลายร้อยล้านมาทำนาก็ตาม  เช่นนั้นเอง.....   การเดินทางของนักเขียนจะมีความหมายอะไร  หากว่าเขาไม่ได้ ฟัง  นั่นเพราะว่า นักเขียนก็คือนักเล่าเรื่อง ด้วยอักษร ถ้อยคำอักษร  ความจริงก็อาจจะไม่ต่างจากถ้อยคำที่กล่าวออกไป  ความหมายของมันจึงงดงามในความที่ว่า  เรื่องราวเหล่านั้นถูกร้อยเรียงออกมาด้วยความงดงาม  สิ่งที่ถูกบอกเล่าคือ ภูมิปัญญาบรรพชน  หลอมรวมกับความรู้สึกนึกคิดของผู้เล่า ซึ่งประกอบไปด้วยการเกื้อหนุนมากมาย ทั้งพ่อแม่พี่น้อง ทุ่งนาป่าเขา แม่น้ำลำคลอง  ทั้งหมดนั้นส่งผ่านวิญญาณนักเล่าเรื่อง  ให้เขาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว  เช่นนั้นเอง เรื่องราวที่เล่าก็หาใช่เรื่องราวที่เขาสร้าง  หากแต่องค์ประกอบทั้งหลายนั้นล้วนมีส่วนต่อถ้อยความทั้งหลาย ในภาวะอันโดดเดี่ยวของนักเขียน  ความจริงจึงมิอาจโดดเดี่ยว  ตราบใดที่เขายังบอกเล่าเรื่องราวทั้งของตัวเอง และของผู้อื่น  เขาจะโดดเดี่ยวไปได้อย่างไร  แต่ความหมายก็คือ  โอกาสในการที่จะได้ฟังเรื่องราวต่างๆ  นั้นจะได้มาอย่างไร  การเดินทางที่สามารถเกื้อหนุนการรับฟังนั้นจะเกื้อกูลอย่างไร  แล้วสภาวะใดเล่าที่ดีที่สุด  คำตอบก็คือ ขณะนี้.........
กวีประชาไท
‘ไกล’ กลืนกิน, เกาะเกี่ยว,เชี่ยว               เหม่อริมคลองน้ำครำคลาย จมจ่อมแต่เน่าหนอน้ำ‘คลองใส’ผักบุ้งไหววาม ไม้ดอกริมน้ำนั้นเฉามือคนว่างงานผ่านกราย   วาสนาเจ้าดอกไม้   ขณะเมืองรุ่งเรืองนิรันดร์  ให้ปลาตัวผอมดอมกลิ่น      ให้กับโศกนาฏกรรม    เฮือกสุดท้ายแล้วหนอ ‘ปลา’      ปลอบเศร้า เจ้ารอต่อไป         ธารลับลดเลี้ยว เปลี่ยวสายวิโยคหาย สูญใจนามปลาผุดดำ หวังว่ายข้ามยามสาวเจ้าเล่นน้ำ – อายเน่าน้ำวิดเบาก็หายดอกไม้,น้ำเน่า เท่านั้นผลิใบมาเฉาเก่าฝันพลันเจ้าล้มจมน้ำครำร่ำรินน้ำตา อกร่ำผุดช้ำดำผุด สุดใจปรารถนาน้ำคำไหน‘น้ำครำไม่มี’ ไม่มี‘รัก’วันนี้จมน้ำคำ! กังวาลไพร นามฯกลุ่มโดยสารวรรณกรรม
นาโก๊ะลี
โลกกำลังนำพาข้าฯไปข้างหน้า....บอกข้าฯว่า“จงก้าวหน้า” ไม่รู้หรือ…?ที่สุดแล้ว...ผองชนล้วนค้นหาวันวานแห่งตน………………………………………………………………………………………
กวีประชาไท
ที่มาภาพ : http://www.artquotes.net/masters/vangogh/vangogh_starrynight1888c.jpg โพ้นระยิบ แสงระยับ – เขานับดาวกลางราตรี ดึกนี้ไม่มีจันทร์    นกกลางคืนโผผ่าน แหวกม่านมืดหมอกทะเลโบราณ หว่านระบายนั่นใช่ไหม? – ว่ายวาดปรารถนา ลบริ้วรอย ชีวิตอันนิดน้อย วูบเปลี่ยนผ่าน การรู้โลกกู่ก้องเหมือนจะลับเลือนห่าง เริดร้างเลยโลกลับลา คว้างคอย รูปรอยนั่นเพียงลำพัง โล้เรือดึก ผนึกคะเนปรารถนาเขียนทราย เพื่อถ่ายทอด กระไรเลย! วิบดาวไกล ไหวบางเบาคลื่นเคลื่อนผ่าน กระจิริดชีวิตหนึ่งเรือ ทะเล เผาชลา ฝ่าลำ, เรียงอย่างไรเถอะ! ชีพหนึ่ง ถึงเปลี่ยวเปล่า                  ชักสมอ ลงเรือ! เผื่อทางทิศโพ้นระยิบ หมื่นดาว พราวระยับ ดาววิบนั้น ฝันพริบนี้ พลีดวงใจทบทวนภาพเก็บเก่า ผ่าวผ่านผันดวงดาวนั้นระยิบพริบ กะพริบพรายมะพร้าวไหว เอื่อยอืดยืดยาดส่ายลมเคลื่อนคลื่น รูปทราย – สลายรอยห้วงเวลาแผ่วผ่าน พานถดถอย ซึ่งคว้างคอย ระเหิดลม – ลมรำเพยตั้งโจทย์ฟ้อง ภาคหน้า ถ้อยเฉลยเคลื่อนเข้าเกยหาดทราย ชายทะเลลมลอยฝัน ชีวา ทรายว้าเหว่ลมหักเห ชเลลึก คึก, เร่งเร้าได้โอบกอดห่มโลก พ้นโศกเศร้าเรือชีพคว้าง ว่างเปล่า – เงาตะเกียง ฝันรำพึงถึงรำพัน สวรรค์เบี่ยงดั่งภาพเพียงรูปดาว – เขลาชีวิตโลกมิโดดเดี่ยวเขา เฝ้าจับผิดกระจิริด วารหนึ่งถึงดาวไกลเขานอนนับ วิบฝัน วาบสั่นไหวชีพหนึ่งใช้เสียให้คุ้ม เถอะลุ่มลึก!                                         สานิตย์ สีนาค                                       กลุ่มโดยสารวรรณกรรม
นาโก๊ะลี
เรื่องเล่าจีนแต่โบราณเรื่องหนึ่ง  เล่ากันมาว่า  ผู้เฒ่าเซียนหมากล้อมขณะกำลังนั่งเดินหมาก เด็กหนุ่มที่เดินหมากอยู่ด้วยถามขึ้นว่า ผู้เฒ่าท่านรอบรู้ทุกเรื่องหรือเปล่า  ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  ท่านรู้เรื่องการปกครองหรือเปล่า ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  รู้เรื่องกฎหมายหรือเปล่า  ผู้เฒ่าบอกไม่รู้ รู้เรื่องดาราศาสตร์หรือเปล่า ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  รู้เรื่องศิลปะศาสตร์หรือเปล่า ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  แล้วท่านรู้เรื่องอะไรบ้าง ผู้เฒ่าบอก รู้เรื่องเดินหมาก  เราไม่รู้อะไรนอกจากเรื่องเดินหมาก  มนุษย์ควรมีสิ่งที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง จนแตกฉาน  หากรู้ทุกเรื่อง อย่างละนิดอย่างละหน่อยแล้วก็จะไม่แตกฉานสักเรื่อง  ในที่สุดก็กลายเป็นคนตื้นเขิน.....นั่นอาจเป็นอุปมาอุปมัยเรื่องเล่าปรัมปรา ประวัติศาสตร์ เล่าชวนหัว นิทาน อะไรทั้งหลายเหล่านี้ที่ส่งผ่านมาจากอดีต  ทำให้เราพบว่า  ปวงปราชญ์บัณฑิตทั้งปวงในกาลสมัยนั้นๆ ล้วนดำรงชีวิตอยู่อย่างมีเวลา  พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้นล้วนมีการงานที่มีไว้หล่อเลี้ยงชีวิตเพียงน้อยนิด  และพวกท่านก็ลึกซึ้งในความรู้ที่มี  อย่างนั้นเอง ด้วยภาระที่น้อย ก็ทำให้ท่านทั้งหลายนั้น มีสิ่งที่สำคัญที่สุด  นั่นก็คือเวลา  และอีกส่วนที่สำคัญก็คือท่านเหล่านั้น หรือยุคสมัยนั้นเอื้อให้ชีวิตสัมผัสอยู่กับธรรมชาติ ดิน น้ำ  ต้นไม้ใบหญ้า ป่าเขา ลำธาร  และนั่นคือวิถีแห่งปราชญ์  นอกจากเรื่องของคน  สิ่งประดิษฐ์  บ้านช่องเรือนชาน ถ้วยโถโอชาม ของใช้ไม้สอย สร้างขึ้นอย่างวิจิตรบรรจง ธรรมชาติที่งาม  ข้าวของเครื่องใช้ที่งาม  นั่นไยจะไม่ใช่หนทางที่นำพาชีวิตไปสู่ความงาม  และด้วยกิจภาระที่น้อยนั้นเอง เวลาจึงมีเหลือเฟือ  นอกจากการสร้างข้าวของเครื่องใช้วิจิตรอลังการแล้ว  ผู้คนยังสามารถสร้างงานศิลปะล้ำค่า ที่ความงามของงานเหล่านั้นบางส่วนยังคงอยู่เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ โน้มนำความดีความงามของผู้คนแม้ปัจจุบัน งานที่บริสุทธิ์ หัวใจผู้สร้างบริสุทธิ์  งานยิ่งใหญ่ราวถูกสร้างจากเทพเทวดา  และบางส่วนเราจะพบว่า งานเหล่านั้นปราศจากลายเซ็นเวลาที่ไม่เร่งรีบบีบคั้น  ทำให้คนได้มีเวลามองฟ้ามองดิน และรวมถึงมองเห็นผู้คนตามที่เป็นจริง  และแน่นอนว่าการสัมผัสกับธรรมชาติที่งดงามนั่นเองที่ทำให้หัวใจคนอ่อนโยน  หัวใจที่อ่อนโยนทำให้เรามองเห็นการดำรงอยู่อย่างเชื่อมโยง เกื้อกูลของสรรพสิ่ง  มองเห็นความเชื่อมโยง ทำให้เกิดความเข้าใจ  และเมื่อเข้าใจแล้ว หัวใจก็ก่อเกิดความรัก  ความรักจึงก่อให้เกิดการงานเพื่อรับใช้  อย่างนั้นเองที่มนุษย์จึงได้สร้างความงามที่ยิ่งใหญ่ไว้ประดับโลก  คลื่นพลังของยุคสมัย  เป็นคลื่นของการไม่มีเวลา  ผู้คนพูดคำนี้วันละหลายๆ รอบ  การจะพบกันของผู้คนกลายเป็นเรื่องที่ต้องประกอบด้วยเงื่อนไขมากมาย  การสนทนาของผู้คนกลายเป็นเรื่องที่ต้องจัดการวางแผนล่วงหน้า  ผู้คนให้ความสำคัญกับบางอย่าง  ที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร (เป็นงานหรือเปล่า ไม่แน่ใจ เพราะบางครั้งผู้คนยังไม่มีเวลาให้กับงาน)  และเป้าหมายในชีวิตของผู้คนก็สลับซับซ้อน และมากมายเกินไป   ความจริง.....ความจริง...ลึกลงไปในหัวใจมนุษย์  ต่างก็โหยหาความงาม  ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามมีผู้คนมากมายบอกเล่าเรื่อง เวลา ว่าง และความงาม  คล้ายใช่ว่าผู้คนจะไม่เห็น ผู้คนจะไม่รู้สึก  และใช่ว่าผู้คนจะไม่ใส่ใจ  เพราะเพียงแต่มองดู  เราจะพบว่ามนุษย์ ต่างกำลังแสวงหาเวลา  เพื่อที่ว่า เวลานั้นจะเปิดพื้นที่ให้มนุษย์เข้าไปสัมผัสความงามอย่างแท้จริง   และแน่นอนว่า มีผู้คนอยู่มากมายในวิถีแห่งการแสวงหาเวลา ที่ได้พบเวลา  และพวกเขาก็พบชีวิตที่งดงาม