Skip to main content

ป้าขจี (สงวนนามสกุล) เป็นคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายวัฒนธรรม คลุกคลีกับผู้คนตั้งแต่เหนือสุดจนเกือบใต้สุดแดนสยาม อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลายชาติพันธุ์ในตัวของป้า กับวัยที่ผ่านสุขทุกข์มาแล้วกว่า ๗๖ ปี จิตใจที่โน้มเอียงเลือกจะอยู่ข้างวัฒนธรรมแบบใดหรือยอมรับการผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากน้อยเพียงใดนั้น คงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่หล่อหลอมป้าขจีมาตั้งแต่วัยเด็ก

เชื้อสายทางบิดาของป้าขจีสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถกล่าวย้อนไปได้หลายร้อยปี กล่าวคือ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เดิมมีชื่อว่า “สิงห์” เกิดในสมัยธนบุรี เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) กับท่านผู้หญิงฟัก ซึ่งเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) นั้นสืบเชื้อสายมาจากพราหมณ์ศิริวัฒนะ รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่ง ราชปุโรหิต ส่วนเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นที่สมเด็จพระยาวังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และได้เป็นแม่ทัพใหญ่ทำศึกสงครามกับลาว เขมร และญวน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จากความดีความชอบที่ปรากฏ รวมทั้งอำนาจวาสนาที่ล้นฟ้าในขณะนั้นจึงน่าจะได้รับพระราชทานธิดาเจ้าเมืองต่างๆ ที่ตีได้ และยังมีผู้ยกธิดาให้เป็นภรรยาจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เองท่านจึงมีบุตรธิดาที่เกิดจาก ท่านผู้หญิงเพ็งและท่านผู้หญิงหนู รวมกับภรรยาอื่นที่ทั้งปรากฏชื่อและไม่ปรากฏชื่อที่มีทั้งไทย มอญ ลาว เขมร และญวน (เวียดนาม) จำนวนราว ๑๒ ท่าน บุตรธิดาของเจ้าพระยาบดินทรเดชามีทั้งสิ้น ๒๓ คน

ส่วนตระกูลทางแม่ของป้าขจีว่ากันว่าอยู่ที่บ้านเกาะ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ในช่วงปลายสมัยอยุธยา คหบดีครอบครัวหนึ่งมีข้าทาสบริวารมาก ลูกสาวคนเล็กได้เกิดรักใคร่ชอบพอกับทาสหนุ่มในบ้าน กระทั่งได้เสียและมีลูกด้วยกัน ๒ คน เมื่อถูกกีดกันและดูถูกเหยียดหยามหนักเข้าจึงพากันหลบหนีโดยทางเรือ ตั้งใจจะไปตั้งครัวเรือนอยู่ถิ่นอื่น เมื่อพายเรือไปได้ระยะหนึ่ง พบเรือลำหนึ่งพายสวนมามีพระสงฆ์นั่งอยู่เต็มลำ พระได้ถามว่าจะไปไหนกัน สองคนผัวเมียได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พระในเรือนั้นได้ชี้ให้ดูต้นอินทผาลัม ๒ ต้น ที่ขึ้นอยู่ริมแม่น้ำ สองผัวเมียหันไปดูตามที่พระชี้ และเมื่อหันกลับมาก็ไม่พบเรือพระลำนั้นแล้ว สองผัวเมียคิดใคร่ครวญไปมาจึงเข้าใจว่าพระอาจจะบอกนัยอะไรบางอย่าง จึงพากันไปขุดดูใต้ต้นอินทผาลัมนั้น กระทั่งฟ้ามืด ได้พบตุ่ม ๒ ใบ เป็นตุ่มเงิน ๑ ใบ ตุ่มทอง ๑ ใบ และมีงูเห่าแผ่แม่เบี้ยอยู่เหนือตุ่มสองใบนั้น สองผัวเมียจึงคว้าหญ้าริมตลิ่งนั้นมาหนึ่งกำยกขึ้นไหว้จบเหนือหัว อธิษฐานว่า ถ้าเจ้าของทรัพย์สมบัตินี้ตั้งใจจะยกให้แล้วก็ขอให้งูจงเปิดทางและเอาสมบัตินี้ไปให้ตลอดรอดฝั่งด้วยเถิด จากนั้นสองผัวเมียจึงตัดสินใจพายเรือกลับบ้าน เมื่อถึงบ้านพี่ๆ ต่างพากันออกมาสมน้ำหน้าหาว่าไปไม่รอด สองผัวเมียจึงเล่าให้ฟังเรื่องราวทั้งหมด และอัญเชิญ “ทรัพย์แผ่นดิน” ที่ได้มาขึ้นบ้าน สองคนผัวนี้จึงมีฐานะดีเทียมพี่ๆ คนอื่น ต่อมาได้แบ่งสมบัตินั้นไปสร้างโบสถ์ ๒ หลัง ที่วัดเกาะ ตำบลบ้านเกาะ และวัดป้อมวิเชียรโชติการาม ตำบลมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร

เรื่องที่เล่ามาข้างต้นเป็นสายทางแม่ของป้าขจี โดยปู่ย่าที่เป็นทวดของป้าขจีเป็นคนไทยแท้ย่านนั้น ส่วนทางสายตระกูลตายายที่เป็นทวดของป้าเป็นคนมอญบ้านเกาะ ตาชื่อนายพุก ... ส่วนยายชื่อ นางพลับ ... มีพี่น้อง ๑๖ คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับหม่อมแช่ม หม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ยายของป้าขจีเรียกหม่อมแช่มว่า หม่อมอา หม่อมแช่ม จึงเป็นหม่อมยายของแม่ป้าขจี ดังนั้นลูกหลานตระกูลนี้จึงได้รับการชักชวนให้เข้ามาทำงานอยู่ในวังกรมพระนเรศวรฤทธิ์ แถวเชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร (องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ FAO ในปัจจุบัน) สอดคล้องกับประวัติของเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่นิยมเลี้ยงข้าทาสบริวารที่เป็นมอญเอาไว้มากมาย พี่น้องของยายพลับส่วนใหญ่จึงได้สามีเป็นชาติฝรั่งตะวันตก ลูกหลานจึงถือเชื้อสายข้างพ่อเป็นฝรั่งกันไปหมด

นามสกุลเดิมของป้าขจีคือ ... (นามสกุลพระราชทาน) เคยใช้นามสกุล ... ตามน้าสาวอยู่ระยะหนึ่งเมื่อตอนเด็กเนื่องจากเป็นลูกกำพร้า ต้องไปอยู่กับครอบครัวน้าสาวที่จังหวัดสงขลา ต่อมาได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น ...เชื้อสายทางปู่ของป้าขจีสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โดยเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นพ่อของทวดผู้หญิง แต่งงานกับทวดผู้ชายซึ่งเป็นคนกรุงเทพฯ รับราชการอยู่วังหลัง ตำแหน่งพระคลังข้างที่ ส่วนปู่รับราชการในตำแหน่ง ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ไปทำงานอยู่ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบเข้ากับย่าของป้าขจี เป็นเจ้านางไทใหญ่ ขณะนั้นเป็นม่ายสามีเสียชีวิต พ่อของป้าขจีจึงเกิดที่แม่ฮ่องสอน ป้าขจีจึงมีชื่อเป็นภาษาไทใหญ่ที่ย่าตั้งให้ว่า จิ่งเมี๊ยะ (แปลว่า เพชรมรกต)

เลือดเนื้อและสำนึกของป้าขจีจึงประกอบขึ้นมาจากความหลากลาย ทั้ง พราหมณ์ มอญ ลาว จีน ไทใหญ่ ไทยภาคกลาง และไทยปักษ์ใต้

ป้าขจีเป็นสมาชิกของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ เป็นสมาชิกสมาคมไทยรามัญ และเป็นสมาชิกวารสารเสียงรามัญ เข้าอกเข้าใจคนมอญที่ต้องอพยพเข้ามาอยู่เมืองไทย แต่กลับติดใจสงสัยชาวโรฮิงยาที่ลี้ภัยเข้าเมืองไทยล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ ที่สำคัญพยายามซ่อนความเป็นลาวและจีนภายในสายเลือดของตนเอง ลูกหลานของป้าขจีหลายคนได้ดิบได้ดีในหลายศาสตร์หลากแขนง แต่ป้าขจีเลือกที่จะภาคภูมิใจในตัวหลานสาวคนที่ได้เป็นนางสงกรานต์มอญพระประแดง ไม่มีใครเข้าใจว่าทำไมป้าขจีเลือกที่จะนำเสนอความเป็นมอญมากกว่าสิ่งอื่น เพราะหากเทียบกันแล้ว ยังมีเรื่องราวในสายเลือดตามแง่มุมต่างๆ ให้ป้าขจีได้ภาคภูมิใจ

ป้าขจีก็คงเป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่งทั่วไป เป็นคนไทยแท้... คนไทยแท้เป็นอย่างนี้เอง

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…