Skip to main content

 

คืองี้นะครับ ที่คุณ "มีหนึ่งใจให้เธอผู้เดียว" เสนอนั้น http://pantip.com/topic/33707045


ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า:

1) อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไปเรียนต่อออสเตรเลียไม่ใช่ด้วยทุนของรัฐบาลหรือทางราชการไทย หากด้วยทุนของทางมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียเอง ซึ่งเราคงไปสั่งออสเตรเลียไม่ได้นะครับ เว้นแต่เรายกทัพไปยึดและควบคุมอำนาจการปกครองออสเตรเลียและนานาประเทศตะวันตกมาเป็นเมืองขึ้นของสยามก่อน

2) ส่วนอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์นั้น ได้รับพระราชทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์ ให้ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ เน้นหนักทางด้านกฎหมายมหาชน ณ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ที่คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย Goettingen ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต (Magister Iuris) ด้วยคะแนนดีมาก (sehr gut) ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดตามหลักสูตร Magister Iuris ของมหาวิทยาลัย โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “หลักกฎหมาย clausula rebus sic stantibus ในสัญญาทางปกครอง” และสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกทางกฎหมายเป็น “Doktor der Rechte” ได้รับคะแนนระดับ “summa cum laude” ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “วิวัฒนาการทางทฤษฎีของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน” วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ Dunker & Humblot (Berlin)

การพิจารณาพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดลมีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกตามวัตถุประสงค์ที่ทรงพระราชทานทุนนั้น ในทำเนียบผู้ได้รับทุนมูลนิธิมหิดล แผนกธรรมศาสตร์เหมือนกันก็มีเช่น ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ (กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน), ดร. วิรไท สันติประภพ (ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และเป็นคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ ซุปเปอร์บอร์ด, ผู้สมัครผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยคนถัดไป) เป็นต้น

3) คนไทยที่ได้ทุนรัฐบาลไปเรียนต่อนอกด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์มีหลายประเภทหลายแบบ ไม่ได้ออกมาพิมพ์เดียว อย่าง บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ก็ได้รับทุนรัฐบาลเช่นกัน ถ้าไปยกเลิกกันเสียหมด จะได้ใครเรียนจบมาเป็นประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหารล่ะ วัทธ่อ!

ยังไงก็ควรปันใจไว้ให้เนติบริกร-รัฐศาสตร์บริการบ้างนะจ๊ะ จุ๊บ ๆ

........

หมายเหตุ : สำหรับการชี้แจงนี้ ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก ‘Kasian Tejapira’ วันที่ 28 พ.ค.58 เวลา 15.00 น. เพื่อโต้กระทู้ ของผู้ใช้ชื่อ ‘มีหนึ่งใจให้เธอผู้เดียว’ ในเว็บพันทิปหัวข้อ ‘อยากให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ครับ’  ซึ่งโพสต์นั้นของ ‘มีหนึ่งใจให้เธอผู้เดียว’  เป็นการกล่าวหาว่านักวิชาการที่ได้รับทุนการศึกษาไปเรียนต่อต่างประเทศในสาขาวิชาดังกล่าวหลายคน เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ไม่ได้ใช้ความรู้ไปในทางสร้างสรรค์ กลับสร้างความขัดแย้งวุ่นวายให้บ้านเมือง และปลุกปั่นนักศึกษา โดยไม่สนใจบริบทเฉพาะของสังคมไทย พร้อมเสนอให้ยกเลิกการมอบทุนการศึกษาต่อต่างประเทศในทั้งสองสาขาวิชา แต่ควรมอบทุนให้นักศึกษาในสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ได้ศึกษาต่อในประเทศแทน เพื่อจะได้เรียนรู้ถึงบริบทของสังคมไทย 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ