Skip to main content

 

สวัสดีท่านผู้อ่านที่รักและเคารพ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ยูงทองได้มีโอกาสมาพบกับท่าน ณ จุลสารฉบับนี้ (เป็นทางการไปหรือเปล่านี่ ) เอาละงั้นเริ่มคุยเรื่องของเรา เอ๊ย เรื่องที่ได้รับมอบหมายให้มาพูดคุยกับท่านผู้อ่านเลยแล้วกันนะครับ อ้อ ลืมไป ก่อนจะไปต่อก็ต้องแนะนำตัวให้รู้จักกันเสียก่อนตามมารยาทแห่งอารยะชน อันตัวกระผมนี้มีนามที่อยากจะให้ท่านทั้งหลายได้รู้จักไว้ว่า “ นายยูงทอง รักธรรม “ ส่วนที่ว่าตัวของยูงทองเป็นใคร มาจากไหน ประวัติความเป็นมามีอะไรบ้างถ้าจะบรรยายละก็คงต้องใช้พื้นที่หน้ากระดาษมากพอควรละครับ เพราะฉะนั้นก็ขอแจ้งให้ทราบเฉพาะแค่ชื่อนามสกุลก็พอนะครับ
         คราวนี้ก็มาถึงเรื่องที่อยากบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังตามประสานักกฎหมายที่ไม่ค่อยมีสาระ (หมายถึงว่า ไม่มีสาระจนเครียด ) เสียที ในช่วงที่ผ่านมาคงไม่มีเหตุการณ์ใดที่อยู่ในความสนใจของทุกท่านเท่ากับเหตุการณ์ที่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวชุมนุมกันในนามของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย “ โดยอ้างเอาสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักดิราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๓ ส่วนรายละเอียดของมราตรา ๖๓ บัญญัติไว้ว่าอย่างไรนั้นยูงทองจะไม่ขอกล่าวไว้ ณที่นี้ก็แล้วกัน จะกล่าวเฉพาะสาระสำคัญที่ควรจะทราบไว้ดังนี้คือ มาตรา ๖๓ ได้บัญญัติให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ในการชุมนุมกันโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งกลุ่มคณะบุคคลดังกล่าวก็ได้อ้างเอาประโยคนี้ละครับชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลออกไป คำถามต่อมาก็คือว่า การกระทำดังกล่าวสามารถกระทำได้ตามกฎหมายหรือไม่ ยูงทองขอฟันธง เอ๊ย ขอตอบว่าย่อมกระทำได้ครับ เพราะกฎหมายได้ให้อำนาจไว้ให้มีสิทธิ์กระทำได้ ข้ออ้างของกลุ่มคณะบุคคลนี้ถ้าพูดตามภาษาของศาลก็ต้องบอกว่า “ฟังขึ้น “ ส่วนที่ว่า กลุ่มคณะบุคคลคณะนี้ได้กระทำการที่พวกเขาบอกใครต่อใครว่าเป็น การกระทำที่เรียกว่า “อาริยะขัดขืน “ นั้น อันนี้ตอบแบบฟันธง เหมือนคำถามแรกไม่ได้นะ เพราะต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า อาริยะขัดขืนคืออะไร ซึ่งความหมายของคำคำนี้ดูจะเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนไทยก็ว่าได้ และถ้าจะให้อธิบายความหมรายแบบแจกแจงสี่เบี้ย ห้าเบี้ย ยูงทองว่าคงใช้เวลาเป็นหลายวัน และที่สำคัญท่านบรรณาธิการคงไม่ชอบใจเนื่องจากใช้พื้นที่เกินกว่าที่มอบให้เพียงหนึ่งหน้ากระดาษเท่านั้น ก็เลยจะขอสรุปให้เข้าใจเลยแล้วกันนะว่า อาริยะขัดขืนต้องเป็นการกระทำที่ต่อต้านความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล และที่สำคัญต้องไม่กระทบถึงสิทธิหรือไปละเมิดสิทธิ์คนอื่นเขา เช่น เมื่อไม่พอใจการให้บริการของหน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่ง สมมุติว่าเป็นกรมรถไวก็แล้วกันนะ เราก็ไปขวางทางที่รถไว ถ้ามีการจับกุมก็ยอมให้จับไป พอปล่อยมาก็ไปขวางใหม่ อย่างนี้จึงจะเรียกว่าเป็นอาริยะขัดขืน ไม่ใช่การขู่ตัดน้ำตัดไฟของบ้านคนที่เราไม่พอใจการกระทำของเขา แบบนี้ยูงทองรู้สึกว่าจะเป็นการตีความคำว่าอาริยะขัดขืนผิดไป แต่อย่างไรก็ตามอดันนี้ก็เป็นความเห็นของยูงทองนะ ใครจะเห็นต่างเห็นด้วยก็ไม่ว่ากัน
          เอาละ พอหอมปากหอมคอนะคราวนี้ เอาไว้มีโอกาสคงได้มาพบท่านผู้อ่านอีก ด้วยจิตคารวะ
          ยูงทอง รักธรรม
 

บล็อกของ beerlaw

beerlaw
  สวัสดีท่านผู้อ่านที่รักและเคารพ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ยูงทองได้มีโอกาสมาพบกับท่าน ณ จุลสารฉบับนี้ (เป็นทางการไปหรือเปล่านี่ ) เอาละงั้นเริ่มคุยเรื่องของเรา เอ๊ย เรื่องที่ได้รับมอบหมายให้มาพูดคุยกับท่านผู้อ่านเลยแล้วกันนะครับ อ้อ ลืมไป ก่อนจะไปต่อก็ต้องแนะนำตัวให้รู้จักกันเสียก่อนตามมารยาทแห่งอารยะชน อันตัวกระผมนี้มีนามที่อยากจะให้ท่านทั้งหลายได้รู้จักไว้ว่า “ นายยูงทอง รักธรรม “ ส่วนที่ว่าตัวของยูงทองเป็นใคร มาจากไหน ประวัติความเป็นมามีอะไรบ้างถ้าจะบรรยายละก็คงต้องใช้พื้นที่หน้ากระดาษมากพอควรละครับ เพราะฉะนั้นก็ขอแจ้งให้ทราบเฉพาะแค่ชื่อนามสกุลก็พอนะครับ    …
beerlaw
อยากลองเขียนเพียรทำย้ำความรู้ หวังว่าครูทั้งหลายจะไม่ว่า จะติบ้างชมบ้างบางเวลา แต่อย่าด่าให้ช้ำระกำใจ