Skip to main content

โหนกระแสเทศกาลวันพ่อ รวบรวมบันทึกความทรงจำที่มีเกี่ยวกับพ่อ และความพยายามในการต่อสู้รักษาความทรงจำของปัจเจกบุคคลที่มีต่อ 'พ่อ'

๐๐๐๐

 

 

5 ธันวาคม 2557  คำถามถึงความทรงจำกับเทศกาลวันพ่อ

 

ผมสงสัยว่าทำไมคนจำนวนมากถึงบ่นว่าคิดถึงพ่อในวันนี้นะครับ

พ่อผมตายไปเมื่อปีที่แล้ว ก็คิดถึงเรื่อยๆนะครับ เห็นห้องที่แกนอน เห็นเก้าอี้ที่แกนั่ง มองเห็นกระโถนที่แกเคยใช้ เห็นภาพเก่าๆของแก หรือที่แกถ่ายกับผมก็คิดถึง

ผมคิดว่าความผูกพันธ์ ความคิดถึง มันไม่มีเวลา ไม่มีฤดูกาลน่ะ มันคิดถึง มันโหยหาถึงกันได้ตลอด เวลาทำงานก็ไม่คิดถึง เวลาว่างๆก็คิดถึงกัน เวลาผ่านไปนานๆ มันก็คิดถึงกันห่างทิ้งระยะออกไป ผมว่าเป็นเรื่องธรรมดา

แต่การบ่นออกมาดังๆเรื่องคิดถึงพ่อนี่ก็เป็นเรื่องแปลก ปกติเรื่องที่เป็นส่วนตัวมากๆนะครับ โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยชอบที่จะเอาความเป็นส่วนตัวออกมาแสดงในที่สาธารณะ ยกเว้นแต่ว่า มันเจ็บปวด มันสิ้นไร้ไม้ตอกจริงๆ

แล้วปรากฎการณ์การแสดงออกเรื่องการคิดถึงพ่อในช่วงสองวันนี้อธิบายปรากฎการณ์อะไรในสังคม

แล้วถ้าถ้าคนที่ไม่มีภาพความทรงจำเกี่ยวกับพ่อ หรือภาพความทรงจำที่เลวร้ายกับผู้เป็นพ่อจะเป็นอย่างไร เอ่ยคำว่าคิดถึงพ่อออกมาดังๆเพื่อให้ดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับคนในสังคมโดยซ่อนเก็บ ความแปลกแยก โดดเดี่ยว ไว้กับตัวหรือ?

และหากว่าไม่มีวันพ่อแห่งชาติขึ้นมานี่ หลายๆคนนี่อาจจะลืมที่จะคิดถึงพ่อไปแล้วหรือ? และหากเป็นเช่นนั้นแล้วแล้วจำนวนวันที่เหลืออีกสามร้อยหกสิบกว่าวันล่ะ เราจะทำอย่างไรกับความทรงจำ กับความรู้สึก?

หรือจะระลึกถึงผู้ให้กำเนิดตามวันเวลาทีรัฐตั้งนาฬิกาปลุกไว้ให้ก็คงจะเพียงพอแล้วหรือไร?

ผมยอมรับได้กับการมีเทศกาลไว้เพื่อรักษาความทรงจำบางอย่างไว้เพื่อไม่ให้ถูกลบลืม แต่ถ้าเป็นเทศกาลที่พยายามยัดเยียดความทรงจำบางอย่างเข้ามาครอบครองกลืนกินความทรงจำของปัจเจกบุคคลนี่ผมว่ามันสามานย์มาก

มนุษย์เราอ่อนแอได้ถึงระดับนี้แล้วล่ะหรือ?

อ่อนแอได้ในระดับที่ปล่อยให้มีการนำเข้าความทรงจำและระบบคุณค่าของรัฐโดยแทบที่จะไม่เฉลียวใจหรือไม่ปริปากเลย???
 

 

ดัดแปลงเล็กน้อยจาก เฟซบุ๊ก Sarayut Tangprasert

 

๐๐๐๐

 

4 ธันวาคม 2557 จารีตที่กดทับผู้เป็นลูก จารีตที่กดทับเหตุผลและการสื่อสารของมนุษย์และครอบครัว

 

เห็นภาพนี้แล้วเกิดอาการปรี๊ด! คิดถึงผู้ถูกกดทับอยู่ภายใต้จารีตทั้งหลาย ไม่เพียงแต่ผู้ที่เป็นลูกที่จะอ้าปากเถียงไม่ออก แต่มันทำให้ง่ายสำหรับผู้เป็นพ่อแม่ในการที่ไม่ต้องใช้เหตุผลความจำเป็น ความรู้สึก อะไรมาอธิบายถึงสภาพปัญหาหรือทัศนะต่างๆของพ่อแม่กับลูกได้เลย  การอธิบายระบบจารีตเป็นวาทกรรมสำเร็จรูปทำแทนให้หมด

 

ที่มาภาพ:  แฟนเพจ ทีวีพูล TV Pool Buffet

เห็นคำขวัญวันพ่อเยอะแยะ ตกลงว่าวันพ่อนี่จริงๆแล้วก็คือการรุมสหบาทาให้ผู้เป็นลูกก้มหัวลงใต้วาทกรรมกตัญญูรู้คุณ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องตั้งคำถามหรือเรียกร้องอะไรต่อผู้ให้กำเนิดภายใต้ระบบเหตุผลเลยใช่ไหมครับ?

ที่มา: เฟซบุ๊ก Sarayut Tangpraser

 

๐๐๐๐

28 พฤษภาคม 2556 ความทรงจำของผมที่มีต่อพ่อโดยที่ไม่มีอุดมการณ์ของรัฐเข้ามาเบียดแทรก

 

 

วันนี้ผมขับมอเตอร์ไซค์ไปอำเภอเพื่อแจ้งเรื่องการเสียชีวิตของพ่อ ช่วงนี้บนเส้นทางไปกลับระหว่างหมู่บ้านที่ผมลงหลักกับที่ทำการอำเภอซึ่งห่างกัน 80กม. เต็มไปด้วยผีเสื้อหลากสี มันบินว่อน ไม่สิ น่าจะเรียกว่าพวกมันดูเหมือนว่าจะลอยล่องไปตามกระแสอากาศมากกว่า

ผมรู้สึกถึงการมีอยู่ของพวกมันก็ต่อเมื่อๆผมออกรถจากบ้านในช่วงสาย ผมต้องเร่งไปให้ถึงอำเภอก่อนที่จะพักเที่ยง ร่างของพวกมันบางตัวมาปะทะกับใบหน้าหรือตัวรถ มองไปข้างหน้าตามพื้นถนน ผมพบซากสิ่งมีชีวิตที่ดูเหมือนใบหรือกลีบดอกไม้ล่วงอยู่กราดเกลื่อนบนเส้นทางสีดำ บางร่างก็จากไปอย่างโดดเดี่ยว บางร่างก็มีเพื่อนหรือคู่รักบินวนเวียนอยู่ใกล้ๆ

ย้อนกลับมาคิดถึงชีวิต คิดถึงเพื่อนคนหนึ่งในจำนวนที่มีอยู่อย่างน้อยนิดที่ได้เสียชีวิตไปบนท้องถนน ถ้าเพื่อนยังอยู่ เพื่อนก็คงจะแบ่งรับแรงปะทะที่ผมเผชิญอยู่ไปไม่น้อย และการเมืองบนท้องถนนของคนเล็กคนน้อยที่เพื่อนถือเป็นสรณะ ก็อาจไม่ถูกลากเข้ารกเข้าพงไปถึงขนาดนี้

คิดถึงพ่อผู้พึ่งจะจากไป ก่อนที่พ่อจะเสียชีวิต ผมไม่เคยคิดเลยว่าชีวิตของชายวัย 91 จะเปราะบางขนาดนี้ อดทบทวนไม่ได้ว่าบางที่คำพูดที่ออกจากปากของผมไปโดยไม่ยั้งคิด หรือการปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ถูกต้องก็อาจทำให้ชีวิตที่เปราะบางต้องร่วงหล่นบนเส้นทางได้

ก็คงจะไม่เก็บมาเป็นปมฝังใจ เพียงแต่ตั้งใจว่าเส้นทางข้างหน้า ผมจะต้องพุ่งผ่านไปด้วยความระมัดระวังมากกว่านี้

จนกว่าผมจะกลายเป็นซากสิ่งมีชีวิตหนึ่งบนเส้นทางแห่งกาลเวลา


เพิ่มเติม:

1.เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงลูก มันเหมือนกับเวลามันไหลทวนกลับ เด็กเติบโตขึ้น มีพัฒนาการ แต่ผู้สูงวัยถดถอยและต้องพึ่งพิงเรามากขึ้นเรื่อยๆ

2.ปรีดี พนมยงค์ และ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เป็นไอด้อลของพ่อผม ระยะหลังผมพยายามไม่ให้แกรับรู้เรื่องการเมือง เพราะกลัวว่าแกจะติดคุกตอนแก่ แกเลยไม่มีโอกาสได้อ่านงานของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

3.หนังสือสองเล่มแรกที่แกซื้อให้ผมอ่าน(พร้อมกับเซ็นต์ปกให้ด้วย)คือ หนังสือรวมบทกวีชักม้า ชมเมือง ของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ ความอบอุ่นอันอ่อนหวาน ของ จิตร ภูมิศักดิ์ (บางชิ้นในเล่มนี้ได้ยินภายหลังว่าเป็นงานของ ทวีป วรดิลก

4.แกไม่ยึดถือรูปเคารพทุกศาสนา แต่ใจอ่อนชอบช่วยเหลือให้สตางค์คน แม้ว่าเขาจะไม่ใช่ญาติพี่น้อง

5.แกเรียนภาษาอังกฤษจากใบปิดหนัง และหนังในโรง จนสามารถที่จะสื่อสารและทำงานกับฝรั่งได้ เรื่องที่แกติดปากพูดถึงตลอดก็คือเรื่อง Bicycle Thieves จนในที่สุดผมต้องไปหามาดู

6.แกเคยหลุดปากด่าผมว่า ถ้ากูไม่ติดพวกมึงกูก็เข้าป่าไปแล้ว

 

ที่มา: เฟซบุ๊ก Sarayut Tangpraser

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
ฟันธง กกต.แค่ปราม หรือให้ลึกกว่านั้นคือรักษาหน้าแสดงอำนาจเหนือชัชชาติแล้วก็จบ 
gadfly
ผมอ่านวรรณกรรมไทยแนวสะท้อนสังคมไม่เยอะนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันมันไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผม  ในช่วงวัยแห่งการแสวงหา (ใช้คำว่าแสวงหาแล้วอยากจะอ้วก ถ้าไม่มีเงินค่าอยู่กิน เล่าเรียนจากพ่อและแม่ ก็คงไม่มีโอกาสได้แสวงหาหรอก) มีนักเขียนสองคนที่ผมตามอ่า
gadfly
 ประยุทธ์บอกให้ประชาชนเลี้ยงไก่สองตัวเพื่อกินไข่ แต่สงสัยว่าประยุทธ์เคยเลี้ยงไก่รึเปล่า ไก่ใช่ไก่ทุกตัวที่จะออกไข่ได้ ต้องเป็นไก่แม่สาวที่อายุสี่เดือนขึ้นไปเท่านั้นที่จะสามารถออกไข่ และจะออกไปได้จนอายุประมาณสองปีหรือกว่านั้นเล็กน้อย 
gadfly
 โจน จันได ปราชญ์ชาวบ้าน ต้นแบบการรณรงค์ใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงสุดฮิป ขวัญใจไอดอลของคนชั้นกลาง คนเมืองกลุ่มใหญ่ ถูกพูดถึงอีกครั้งเมื่ออพยพย้ายรกรากลี้ภัยโควิดไปอยู่ศูนย์กลางประเทศทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา พูดถึงโจน จันได ก็ต้องพูดถึงบ้านดิน ที่โจนใช้ในการสร้างชื่อใ
gadfly
 พฤษภา 53 เขตอภัยทาน ได้ถูกนักศาสนา นักสันติวิธีผลักดันให้มีขึ้น 4 จุด คือ วัดปทุมฯ บ้านเซเวียร์ สำนักงานกลาง นร.คริสเตียน แล้วก็ รร.
gadfly
เสาร์อาทิตย์ ตั้งใจจะต่อเติมบ้านส่วนที่ทำค้างไว้ให้แล้วเสร็จ ต้องจ้างช่างชาวบ้านและลูกมือเป็น นร ม ปลายมาทำ เพราะงานปูนทำเองไม่ไหวแล้วช่างไม่มา ส่วนลูกมือไปเฝ้าเบ็ดตกปลาที่อ่างเก็บน้ำ เสียเวลารอ เสียหัวสองวันเต็มๆ วันหยุดด้วย
gadfly
กรณีหมุดคณะราษฎรที่ผ่านมาผมโพสต์เฟซบุ๊กเล่นๆ แบบฮาๆ แต่ก็เริ่มรู้สึกว่ามันอาจเป็นปัญหาได้เหมือนกันในเฟซบุ๊ก หลายคนเปรยว่า ที่ผ่านมาหลักฐานวัตถุทางประวัติศาสตร์ในยุคของคณะราษฎรได้ถูกเคลื่อนย้าย ทุบทำลาย หรือลดทอนความหมายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลงไปหลายสิ่งอย่างแล้ว จะฟูมฟายอะไรนักหนา
gadfly
============================ ปากหมาหาเรื่อง บ่นบ้า (อย่าถือสาหาสาระ) ============================