ลงโทษเพื่ออะไร
กรณีเด็กและโค้ชรวม 13 ชีวิต ที่เข้าไปทำกิจกรรมและติดอยู่ภายในถ้ำหลวงนางนอน ถามว่าควรลงโทษหรือไม่ คงต้องดูว่าเราใช้การลงโทษเพื่ออะไร เพื่อให้หลาบจำและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือจะให้เป็นเยี่ยงอย่างและเพื่อให้สาสมกับความผิด
ส่วนตัวผมสนับสนุนการลงโทษเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเมื่อมองจากผลลัพธ์จากการทำกิจกรรมของพวกเขาแล้ว ผมเชื่อว่าพวกเด็กๆ คงไม่มีใครกล้าที่จะทำกิจกรรมแบบนี้อีกแล้ว
กลับบ้านกล้าปิดไฟนอนรึเปล่าก็ยังไม่รู้ จะไปลงโทษอะไรอีก
ไม่ลงโทษไม่ได้หมายถึงว่าจะไม่ตำหนิ เด็กที่รอดออกมาได้ ควรที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงปัญหาความเดือดร้อน ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ หลังจากที่พวกเขาได้ฟื้นฟูสภาพร่างกายและสภาพจิตใจเป็นที่เรียบร้อย
สต๊าฟโค๊ชทั้งทีมควรได้รับการตักเตือนและ”คาดโทษ”ถึงการทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
แต่ไม่ใช่การถล่มด่าสาดเสียเทเสีย
สิ่งที่สต๊าฟดค้ช และคนในสังคมควรพิจารณาทบทวนคื อข้ออ้างที่บอกว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีหลอมละลายพฤติกรรม มันฟังไม่ขึ้น มันไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับว่าหากมีความสูญเสีย แม้เพียงชีวิต
ข้ออ้างประเภทนี้ไม่ใช่พึ่งมีมา แต่มีมาตลอด กิจกรรมรับน้อง หรือโซตัสในสถาบันการศึกษาก็ใช้กัน แต่เมื่อมีคนตาย ไม่มีหมาซักตัวมารับผิดชอบ
ไม่ให้รางวัล แต่ต้องเยียวยา
สำหรับคำถามว่าควรให้รางวัลไหม ผมเห็นว่าไม่จำเป็น ไม่มีเหตุผลในการให้รางวัล ให้ทุนการศึกษา หรือสิทธิประโยชน์อะไรให้เกินหน้าเด็กๆ ทั่วไป แต่ควรที่จะเยียวยา
ผมคิดว่าควรเยียวยาแม่ๆ ของเด็กๆ ที่ต้องทนฟังประยุทธ์พร่ำเรื่องนโยบายเกษตร ฯลฯ ขณะที่ใจของเจ้าตัวผูกพันทุกข์ทนตอชะตาชีวิตของลูกๆ เรื่องนี้รัฐควรต้องรับผิดชอบ
แล้วก็ชาวนาที่ที่นาโดนน้ำที่สูบออกจากถ้ำหลวงนางนอนลงมาท่วมที่นาด้วย
นาในพื้นที่เขตภูเขา ส่วนใหญ่ทำไว้กินปีต่อปี ไม่น่าจะได้ขายเท่าไหร่ น่าล่มปีนี้ปีหน้าลำบากแน่ ต้องซื้อข้าวกิน
สำหรับในส่วนของบริจาคที่ระดมกันเข้าไป ควรที่จะจัดการให้โปร่งใส ข้าวสารอาหารแห้งควรให้ชาวนาชาวบ้านแถบนั้น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ เชือกที่ใช้โรยตัวก็มอบให้พวกพี่ๆ ทีมเก็บรังนกที่อุตส่าห์เดินทางจากแดนใต้ขึ้นมาช่วยเหลือ
และถ้าจะใช้เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ที่มีไว้คอยส่ง พะนะหัวเจ้าทั่นกับลูกเมียพี่น้อง ไปส่งพวกเขาคนใจจากแดนใต้ก็จะเป็นการดี