Skip to main content

หลังรัฐประหาร 49 ช่วงกลางปี 2550 ผมจำได้ว่ามีวิวาทะเรื่อง Vote No. กับ No Vote ช่วงนั้นมีการโต้เถียงกันสนุกสนานมาก. ผมสนับสนุน Vote No แต่ไม่ได้เข้าไปมีส่วนในการดีเบตแต่อย่างไร ก็หาโอกาสลงไปในพื้นที่กับเพื่อน พูดคุยกับชาวบ้านตามกำลังที่มี ก็สนุกดี คุยทั้งในวงที่เป็นทางการและวงเหล้า (วงประเภทหลังนี่ชอบมาก หุหุ) ข้อดีก็คือได้รู้จักคนมากขึ้น ได้เข้าใจปัญหาและมุมมองของผู้คนมากขึ้น

ใกล้ลงประชามติ ในวงคุยวงใหญ่เรื่องการโหวตโนวงหนึ่งใน ม.ขอนแก่น มีการประเมินกันว่าเสียง Vote No จะได้เท่าไหร่ภายใต้การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล คมช. ที่มีอย่างเต็มที่ทั้งในทางตรงและทางอ้อม 

ปริมาณเม็ดเงินจากเดิมที่ลงจาก สส. พรรคการเมือง ในช่วงฤดูการหาเสียง เปลี่ยนมาเป็นเม็ดเงินจากหน่วยงานราชการและกลุ่มอุปถัมป์ภายใต้หน่วยงานราชการต่างๆ ปูพรมลงไปให้คนมาลงมติรับร่าง รธน. 50 แทบไม่ต่างกัน 

วาทกรรม ประมาณว่า รับๆไปจะได้รีบเลือกตั้ง ,รับๆ ไปเดี๋ยวแก้ทีหลัง ถูกผลิตออกมา มันช่างดูมีแรงจูงใจที่จะทำให้ผู้คนในสังคมไทยในยุคนั้นโหวตรับร่างฯเพื่อที่จะเป็นการหนีออกมาจากรัฐบาลทหาร 

ในวงดีเบตของเหล่าปัญญาชน นักวิชาการ นักกิจกรรมเองก็มีข้อติติงประมาณว่า การโหวตในการลงประชามติ รับ-ไม่รับ รัฐธรรมนูญ ปี 50 เป็นการให้ความชอบธรรมกับรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐบาลทหาร

สรุปสั้นๆก็คือการโหวตไม่รับ รัฐธรรมนูญ คมช. เป็นการให้ความชอบธรรมกับรัฐบาลเผด็จการ 

ในการรณรงค์เมื่อเปรียบเทียบกำลังความครอบคลุมในการทำงานของระหว่างรัฐบาลทหารกับ เสรีชนกลุ่มเล็กๆ เทียบกันไม่ติดในทุกๆ ด้าน ยังดีที่รัฐบาล คมช. ยังให้โอกาสในการรณงค์อยู่บ้าง ไม่คุกคามอะไรมากนัก

หลายๆคนพูดคุยกันว่าคงจะได้เสียงไม่เยอะ ไม่มีใครคิดว่าจะชนะโหวต สำหรับตัวผมเองประเมินว่าได้ 1 ล้านเสียงที่โหวตโนก็เก่งแล้ว 

แต่เราไม่มีทางรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในช่องกาบัตรลงคะแนน ในช่วงยามนั้นประชาชนเป็นอิสระที่จะแสดงความคิดเห็น (แค่ 4 วินาที นักวิชาการว่าไว้) 

แต่ผลโหวตโนในการลงประชามติ 19 สิงหาคม 2550 ออกมา 'สิบล้านเสียง' แม้จะไม่ได้รับชัยชนะแต่ผลที่เกิดขึ้นทำให้ผมมีความมั่นใจว่ามันได้ทำลายความมั่นใจและความชอบธรรมของรัฐบาลทหารในสมัยนั้นลงมากพอสมควร 

และผมก็ได้เห็นปัญหาของตัวผมเองที่ผมประเมินมวลชนผิดพลาดอย่างมาก และ คมช. เองก็ประเมินพลังแห่งความไม่พอใจของประชาชนผิดพลาดเช่นกัน!

ผมไม่ได้สังเกตเห็นว่ามีใครที่ออกมาประณามประชาชนสิบล้านเสียงว่าเป็นผู้ให้ความชอบธรรมกับคณะรัฐประหาร คมช. 2549 บ้าง และผมก็เชื่อว่าการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ คมช. 2550 และอีกหลายๆครั้ง ผู้ที่โนโหวต หลายๆคนก็เข้าคูหาเลือกตั้งพร้อมๆกับพวกที่โหวตโนนั่นแหละ

ที่เขียนถึงก็เพราะ (ร่าง) รธน. คสช. กำลังจะเข้าให้ สปช.โหวตผ่าน-ไม่ผ่าน ถ้าร่าง
 รัฐธรรมนูญ คสช. ฉบับนี้ไม่ถูก สปช.ตีตกไป เราก็จะได้เห็นกระบวนการทำประชามติอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นคนละบริบทกันกับกระบวนการทำประชามติ 19 สิงหาคม 2550 บางปัจจัยเปลี่ยนไปแน่ แต่บางปัจจัยยังคงเดิม (ซึ่งประเด็นนี้ผมยังไม่กล้าพูดถึงเพราะยอมรับว่ายังสับสนอยู่)

แต่สิ่งที่ยังเป็นประเด็นผมสนใจอยู่ก็คือ ในขณะที่เราวิพากษ์ว่าการโหวตโนเป็นการให้ความชอบธรรมกับ รัฐธรรมนูญที่ได้มาจากการรัฐประหารแล้ว เราจะวิพากษ์คนที่เข้าคูหากาโหวตโนว่ายังไง? เราจะวิพากษ์มวลชนหลักล้านหรือกว่านั้นด้วยหรือไม่ ? จะวิจารณ์ว่าอย่างไร ? เป็นพวกที่ไม่รู้เท่า ไม่มีความเป็นปัญญาชนเช่นนั้นหรือ ?

ในทางกลับกัน สำหรับผู้ที่โนโหวต หากรัฐธรรมนูญที่ท่านคัดค้านผ่าน ท่านจะใช้สิทธิต่างๆตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูกตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้หรือไม่? และท่านจะมีปฏิบัติการตอบโต้หากถูกวิพากษ์วิจารณ์เหมารวมเอาว่าเป็นพวกนอนหลับทับสิทธิ์อย่างไร ? จะแสดงพลังการต่อต้านที่พวกท่านมีออกมาให้ชัดเจนได้อย่างไร ?

คำถามต่อมาอยู่ที่ว่า มีทางอื่นอีกหรือไม่ ที่จะสามารถอธิบายเหตุผล แรงจูงใจของคนที่เข้าคูหาโหวตโน ไปพร้อมๆกันกับสร้างกิจกรรมตัวชี้วัดหรืออะไรก็ตามแต่ที่ทำให้เห็นได้ว่าพลังของผู้ที่ยืนยันว่าโนโหวตมีอยู่จริง จับต้องได้ แยกชัดออกมาจากประชาชนที่ไม่ต้องการไปใช้สิทธิ์ออกเสียงลงประชามติด้วยเหตุผลส่วนตัว

ถ้าไม่มี และถ้าไม่ยึดมั่นในหลักการ จุดยืน หรือตัวตนอะไรมากนัก  ก็ขอให้เข้าคูหา ใช้เสรีภาพเพียงน้อยนิดเท่าที่มีต่อต้านการรัฐประหารร่วมกับประชาชนเถิด


 

ปล. ก็แค่คิดเล่นๆ เสื้อใช้หมดแล้วยังไม่ได้ซัก เลยหยิบเสื้อเก่าๆออกมาใส่เลยทำให้ระลึกความหลัง แต่จริงๆแล้วก็แอบลุ้นระทึกในใจว่า อยากให้มีการลงประชามติรับ-ไม่รับ ร่าง รธน. ฉบับนี้เหมือนกัน บางที่สิ่งที่เราไม่คิดว่าเห็นเราก็อาจจะได้เห็นอีกครั้งก็เป็นได้

 

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
ฟันธง กกต.แค่ปราม หรือให้ลึกกว่านั้นคือรักษาหน้าแสดงอำนาจเหนือชัชชาติแล้วก็จบ 
gadfly
ผมอ่านวรรณกรรมไทยแนวสะท้อนสังคมไม่เยอะนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันมันไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผม  ในช่วงวัยแห่งการแสวงหา (ใช้คำว่าแสวงหาแล้วอยากจะอ้วก ถ้าไม่มีเงินค่าอยู่กิน เล่าเรียนจากพ่อและแม่ ก็คงไม่มีโอกาสได้แสวงหาหรอก) มีนักเขียนสองคนที่ผมตามอ่า
gadfly
 ประยุทธ์บอกให้ประชาชนเลี้ยงไก่สองตัวเพื่อกินไข่ แต่สงสัยว่าประยุทธ์เคยเลี้ยงไก่รึเปล่า ไก่ใช่ไก่ทุกตัวที่จะออกไข่ได้ ต้องเป็นไก่แม่สาวที่อายุสี่เดือนขึ้นไปเท่านั้นที่จะสามารถออกไข่ และจะออกไปได้จนอายุประมาณสองปีหรือกว่านั้นเล็กน้อย 
gadfly
 โจน จันได ปราชญ์ชาวบ้าน ต้นแบบการรณรงค์ใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงสุดฮิป ขวัญใจไอดอลของคนชั้นกลาง คนเมืองกลุ่มใหญ่ ถูกพูดถึงอีกครั้งเมื่ออพยพย้ายรกรากลี้ภัยโควิดไปอยู่ศูนย์กลางประเทศทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา พูดถึงโจน จันได ก็ต้องพูดถึงบ้านดิน ที่โจนใช้ในการสร้างชื่อใ
gadfly
 พฤษภา 53 เขตอภัยทาน ได้ถูกนักศาสนา นักสันติวิธีผลักดันให้มีขึ้น 4 จุด คือ วัดปทุมฯ บ้านเซเวียร์ สำนักงานกลาง นร.คริสเตียน แล้วก็ รร.
gadfly
เสาร์อาทิตย์ ตั้งใจจะต่อเติมบ้านส่วนที่ทำค้างไว้ให้แล้วเสร็จ ต้องจ้างช่างชาวบ้านและลูกมือเป็น นร ม ปลายมาทำ เพราะงานปูนทำเองไม่ไหวแล้วช่างไม่มา ส่วนลูกมือไปเฝ้าเบ็ดตกปลาที่อ่างเก็บน้ำ เสียเวลารอ เสียหัวสองวันเต็มๆ วันหยุดด้วย
gadfly
กรณีหมุดคณะราษฎรที่ผ่านมาผมโพสต์เฟซบุ๊กเล่นๆ แบบฮาๆ แต่ก็เริ่มรู้สึกว่ามันอาจเป็นปัญหาได้เหมือนกันในเฟซบุ๊ก หลายคนเปรยว่า ที่ผ่านมาหลักฐานวัตถุทางประวัติศาสตร์ในยุคของคณะราษฎรได้ถูกเคลื่อนย้าย ทุบทำลาย หรือลดทอนความหมายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลงไปหลายสิ่งอย่างแล้ว จะฟูมฟายอะไรนักหนา
gadfly
============================ ปากหมาหาเรื่อง บ่นบ้า (อย่าถือสาหาสาระ) ============================