Skip to main content


มีการเปรียบเทียบกรณีความรุนแรงที่ภูเก็ตกับกรณีเผาศาลากลาง 4 จังหวัด ภาคอีสาน เมื่อ 19 พฤษภาคม 2553 (ความจริงน่าจะหมายรวมถึงเหตุการณ์หลายๆจุดในกรุงเทพด้วย)

หลายคนบอกว่าไม่ต่างกัน (ซึ่งผมเห็นด้วย) แต่ท่าทีของ รัฐ ต่อเหตุการณ์ทั้งสองกรณีไม่เหมือนกัน ซึ่งผมคิดว่ายังไม่สามารถสรุปให้เป็นที่ชัดเจนได้ มันพึ่งผ่านไปแค่วันเดียวเท่านั้น

หลายคนเรียกร้องให้รัฐใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมในกรณีเผาโรงพักในระดับเดียวกันกับที่ใช้กับคนเสื้อแดงในปี 53 อาทิเช่น ลาก สไนเปอร์ อาวุธสงคราม ออกมาถล่มใส่ผู้ชุมนุม หรืองัดเอากฎหมายรุนแรงมาบังคับใช้กับผู้ชุมนุม

ในกรณีนี้ผมไม่เห็นด้วย !

โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าความรุนแรงทุกกรณีมีเหตุที่มาของมัน กรณีการเผาสถานที่ราชการและเอกชนในเหตุการณ์ปี 53 ผมเชื่อว่ามีแรงผลักดันจากรูปแบบการต่อสู้โดยสันติวิธีของคนเสื้อแดงไม่เป็นผล มีการใช้ความรุนแรง อาวุธสงครามจากเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ชุมนุม ประกอบกับมีการเผยแพร่ข้อมูลการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงแบบเกินกว่าความเป็นจริง

เหตุการณ์ที่ภูเก็ตเกิดจากการเข้าทำการจับกุมอันเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่จนเป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตสอง มันจึงเป็นที่มาของความรุนแรงที่เห็นอยู่หน้าจอ  กระจายกระแสความโกรธแค้นในท้องถิ่น ผมถือว่าเป็นพฤติกรรมความรุนแรงทางการเมืองที่มีที่มาใกล้เคียงกัน

ถ้าคุณเห็นอกเห็นใจผู้ต้องขังเสื้อแดง ปี 53 ด้วยเชื่อว่าเขามีมูลเหตุจูงใจและสิ่งที่พวกเขา(บางคน)ทำขึ้นเป็นการตอบโต้การใช้ความรุนแรงที่รัฐได้กระทำต่อพวกเขาก่อน ถ้าเราคิดว่าโทษทัณฑ์หรือการตอบโต้ปฏิบัติของรัฐที่มีต่อพวกเขา อาทิการใช้อาวุธสงครายยิงใส่ การแจ้งข้อหาดำเนินคดีร้ายแรง เป็นความรุนแรงที่มากเกินกว่าสิ่งที่พวกเขาควรได้รับ เราก็ควรปฏิบัติหรือมีท่าทีต่อกลุ่มผู้ชุมนุมชาวภูเก็ตในระนาบเดียวกัน

มากไปกว่านั้น ต่อกรณีที่เราสนับสนุนให้รัฐใช้ความรุนแรงทั้งในด้านกำลังคนและอาวุธและกฎหมายลงไปกระทำต่อพวกเขา และหากรัฐเลือกที่จะกระทำตามแม้อาจจะไม่รุนแรงนัก มันก็เท่ากับปิดข้อโต้แย้งในเรื่องของ "มูลเหตุจูงใจทางการเมือง" และ "การเลือกปฏิบัติของรัฐที่มีต่อกลุ่มการเมือง" ในกรณีของผู้เสียชีวิตและผู้ถูกจับกุมดำเนินคดีในฝ่ายประชาธิปไตยลงไปด้วย

และถึงที่สุดแล้ว เราก็จะทำหน้าที่เป็นเสมือนกับรัฐในการกีดกันให้คนเห็นต่างทางการเมือง แตกต่างในด้านสภาพปัญหา วัฒนธรรม หรือต่างภูมิภาคได้กลายเป็นคนนอกกฎหมาย หรือให้ไปเป็นคนที่อยู่ในคุกเสียเอง

 

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
ฟันธง กกต.แค่ปราม หรือให้ลึกกว่านั้นคือรักษาหน้าแสดงอำนาจเหนือชัชชาติแล้วก็จบ 
gadfly
ผมอ่านวรรณกรรมไทยแนวสะท้อนสังคมไม่เยอะนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันมันไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผม  ในช่วงวัยแห่งการแสวงหา (ใช้คำว่าแสวงหาแล้วอยากจะอ้วก ถ้าไม่มีเงินค่าอยู่กิน เล่าเรียนจากพ่อและแม่ ก็คงไม่มีโอกาสได้แสวงหาหรอก) มีนักเขียนสองคนที่ผมตามอ่า
gadfly
 ประยุทธ์บอกให้ประชาชนเลี้ยงไก่สองตัวเพื่อกินไข่ แต่สงสัยว่าประยุทธ์เคยเลี้ยงไก่รึเปล่า ไก่ใช่ไก่ทุกตัวที่จะออกไข่ได้ ต้องเป็นไก่แม่สาวที่อายุสี่เดือนขึ้นไปเท่านั้นที่จะสามารถออกไข่ และจะออกไปได้จนอายุประมาณสองปีหรือกว่านั้นเล็กน้อย 
gadfly
 โจน จันได ปราชญ์ชาวบ้าน ต้นแบบการรณรงค์ใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงสุดฮิป ขวัญใจไอดอลของคนชั้นกลาง คนเมืองกลุ่มใหญ่ ถูกพูดถึงอีกครั้งเมื่ออพยพย้ายรกรากลี้ภัยโควิดไปอยู่ศูนย์กลางประเทศทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา พูดถึงโจน จันได ก็ต้องพูดถึงบ้านดิน ที่โจนใช้ในการสร้างชื่อใ
gadfly
 พฤษภา 53 เขตอภัยทาน ได้ถูกนักศาสนา นักสันติวิธีผลักดันให้มีขึ้น 4 จุด คือ วัดปทุมฯ บ้านเซเวียร์ สำนักงานกลาง นร.คริสเตียน แล้วก็ รร.
gadfly
เสาร์อาทิตย์ ตั้งใจจะต่อเติมบ้านส่วนที่ทำค้างไว้ให้แล้วเสร็จ ต้องจ้างช่างชาวบ้านและลูกมือเป็น นร ม ปลายมาทำ เพราะงานปูนทำเองไม่ไหวแล้วช่างไม่มา ส่วนลูกมือไปเฝ้าเบ็ดตกปลาที่อ่างเก็บน้ำ เสียเวลารอ เสียหัวสองวันเต็มๆ วันหยุดด้วย
gadfly
กรณีหมุดคณะราษฎรที่ผ่านมาผมโพสต์เฟซบุ๊กเล่นๆ แบบฮาๆ แต่ก็เริ่มรู้สึกว่ามันอาจเป็นปัญหาได้เหมือนกันในเฟซบุ๊ก หลายคนเปรยว่า ที่ผ่านมาหลักฐานวัตถุทางประวัติศาสตร์ในยุคของคณะราษฎรได้ถูกเคลื่อนย้าย ทุบทำลาย หรือลดทอนความหมายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลงไปหลายสิ่งอย่างแล้ว จะฟูมฟายอะไรนักหนา
gadfly
============================ ปากหมาหาเรื่อง บ่นบ้า (อย่าถือสาหาสาระ) ============================