เนื่องในโอกาสเปิดบล็อกกาซีนและครบรอบ 1 ปี การเลือกตั้งทั่วไป 2 ก.พ.57 ขออนุญาตนำบทความที่เคยเขียนไว้ช่วงรณรงค์เลือกตั้งดังกล่าวในเพจ 'Jittra Cotchadet - จิตรา คชเดช' ถึงความสำคัญของการเลือกตั้งที่ทำให้ คน = คน มาเผยแพร่อีกรอบ คิดว่าเนื้อหายังคงตอบสนองต่อสถานการณ์ในปัจจุบันอยู่
โปสเตอร์พี่เล็ก โครงการรณรงค์เเพื่อแรงงานไทย โปสต์เตอร์นี้เป็นโปสเตอร์รณรงค์สิทธิความเสมอภาพของคนงานกับคนอื่นๆในสังคมนี้
นักการเมือง = คน, ข้าราชการ = คน, นายจ้าง = คน, คนงาน = คน
อาจารย์เกษียร เตชะพีระ เคยกล่าวในงานเสวนา "ปรีดี พนมยงค์ กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2 ปีก่อน ว่า
"..เมื่อคนเราเท่ากัน อำนาจย่อมเกิดจากตัวเลข.."
และตลอดชีวิตการทำงานสหภาพแรงงานของจิตรา เชื่อมั่นในดุลพินิจในการเลือกของคนงานตลอด สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ เป็นสหภาพแรงงานที่มีการเลือกตั้งกรรมการและประธานสหภาพโดยตรงจากสมาชิกทั้งหมด
เราเชื่อมั่นในการเลือกและการตรวจสอบการทำงานของสมาชิกสหภาพ และถ้าหากเราดูภาพใหญ่ของสังคม คนงานทั้งในและนอกระบบ ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ คนงานมีกว่า 30 ล้านคน เท่ากับเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ในเมื่อเขามีความสามารถในการเลือกสิ่งที่ดีกว่าเพื่อชีวิตพวกเขา
ดังนั้นหากเรานับว่าคนเท่ากัน 1 คน 1 เสียง อย่างไรเสียกลไกการเลือกตั้งย่อมส่งผลดีต่อคนงานและประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมอย่างแน่นอน เพียงแต่ในที่ผ่านมาเรามักถูกอภิสิทธิชนและฝ่ายที่ไม่สามารถเสนอตัวให้ประชาชนเลือกแล้วชนะได้ พยายามทำลายไม่เพียงคนที่ประชาชนเลือก หากแต่รวมถึงเสียงของประชาชนชนด้วยว่า ไม่มีคุณภาพ เห็นแก่เงิน ขายเสียง เหล่านี้เป็นการมองคนไม่เท่ากัน อำนาจจึงไม่สามารถตกอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ ที่จิตราเชื่อมั่นว่าเขามีดุลยพินิจได้
และการต่อสู่เรื่องการเลือกตั้งใหคนเท่ากับคนนี่นอกจากไทยที่เราผ่านประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อให้ได้ตัวแทนให้ได้นายกมาจากการเลือกตั้งหลายต่อหลายครั้งแล้ว เช่น พ.ค.35 เป็นต้น ประวัติศาสตร์โลกระยะใกล้อย่างอเมริกาที่ก่อนหน้าที่จะมีประธานาธิบดีที่ไม่ใช่คนขาว คนสีผิวก็ไม่มีสิทธิในการเลือกตั้ง เพราะถูกหาว่าโง่เขลาเป็นทาส เป็นคนต่ำ แม้แต่ผู้หญิงเองก่อนหน้านี้ก็ไม่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง เพราะคิดว่าผู้หญิงเป็นคนก็ไม่เท่ากับผู้ชาย โดยผู้หญิง USA ก็พึ่งมีสิทธิเลือกตั้งเสมอผู้ชายได้ทั่วประเทศไม่ถึง 100 ปีนี้เอง
ดังนั้นการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.จึงมีความหมายอย่างยิ่ง ความหมายหนึ่งคือเป็นการแสดงให้เห็นว่า "คน=คน" ความหมายที่ 2 คือเราสามารถหาทางออกที่สันติเห็นหัวทุกคนได้ เพราะทุกคนเป็นเจ้าของสังคมเป็นเจ้าของประเทศนี้อย่างเท่าเทียมกัน
บล็อกของ จิตรา คชเดช
จิตรา คชเดช
เนื่องในโอกาสเปิดบล็อกกาซีนและครบรอบ 1 ปี การเลือกตั้งทั่วไป 2 ก.พ.57 ขออนุญาตนำบทความที่เคยเขียนไว้ช่วงรณรงค์เลือกตั้งดังกล่าวในเพจ 'Jittra Cotchadet - จิตรา คชเดช' ถึงความสำคัญของการเลือกตั้งที่ทำให้ คน = คน มาเผยแพร่อีกรอบ คิดว่าเนื้อหายังคงตอบสนองต่อสถานการณ์ในปัจจุบันอยู่