เปลี่ยนคำนำหน้านามในโลกของความเป็นจริง

6 October, 2007 - 01:42 -- lhin

ขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติคำนำหน้านามบุคคล ได้รับการยกร่างเสร็จเรียบร้อยเตรียมจะเข้าสภาแล้ว นอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงที่แต่งงานหรือหย่าแล้วใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” ต่อไปได้ ร่างกฎหมายนี้ยังมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ เพราะในมาตราที่ 7 นั้น ระบุว่า ชายที่ผ่าตัดแปลงเพศเป็นหญิง โดยผ่านการรับรองจากแพทย์ และมีอายุ 15 ปีขึ้นไป จะใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” ก็ได้ และมาตรา 8 ระบุว่า หญิงที่ผ่าตัดแปลงเพศเป็นชาย โดยผ่านการรับรองจากแพทย์ และมีอายุ 15 ปีขึ้นไปจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาย” ก็ได้

เท่าที่ฉันติดตามข่าวดู ยังไม่เห็นมีใครลุกขึ้นมาโต้เถียงในประเด็น “นาง” กับ “นางสาว” คิดว่าเป็นเพราะข้อดีของกฎหมายนี้เปิดโอกาสให้คนได้เลือกใช้คำนำหน้านามตามที่ตัวเองต้องการ ใครใคร่ใช้ “นาง” ต่อไปก็ใช้ ใครไม่ต้องการเปลี่ยนก็ไม่ต้อง ส่วนมาตรา 8 นั้น มีคนพูดถึงน้อยมาก และยังไม่ได้ยินเสียงจากผู้ที่แปลงเพศจากหญิงเป็นชาย เลยทำให้ประเด็นนี้ยังเงียบ ๆ อยู่

ประเด็นที่ดูจะร้อนแรงและมีข้อถกเถียงกันมากนั้นอยู่ที่ มาตรา 7

ข้อถกเถียงมีตั้งแต่ ถ้าเปิดโอกาสเช่นนี้บรรดากะเทยจะไปหลอกลวงผู้ชายมาแต่งงานด้วย (เสียงนี้มาจากคุณเกย์นที จากกลุ่มเกย์การเมือง) แล้วจะเปิดโอกาสให้กับคนที่แปลงเพศแล้วเท่านั้นหรือ คนที่ยังไม่แปลง ไม่มีเงินพอที่จะแปลง หรือไม่ได้ต้องการแปลงเพศแต่มีรูปลักษณ์ภายนอกเป็นผู้หญิงนั้นเล่า ก็ต้องถูกเลือกปฏิบัติต่อไปหรือไร หรือถ้ากฎหมายออกมาเช่นนี้ ก็จะกดดันให้คนต้องไปแปลงเพศมากขึ้นเพื่อให้ได้รับสิทธิที่มาพร้อมกับกฎหมายนี้ อีกประเด็นก็คือว่า การใช้คำว่า “นางสาว” นั้น ก็ยังต้องเข้าไปผูกติดกับระบบสองเพศอยู่ดี และสาวประเภทสองบางคนก็บอกว่าตนไม่ได้อยากเป็นผู้หญิง แต่อยากได้รับการยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น

ฉันฟังดูแล้วก็ตัดประเด็นแรกทิ้งออกไปทันที เพราะความคิดที่ว่ากะเทยจะไปหลอกลวงผู้ชายนั้น เป็นความคิดที่เป็นมายาคติ ในความเป็นจริงไม่ใช่ว่ากะเทยทุกคนจะเป็นคนที่หลอกลวงคนอื่น ผู้ชายมีเมียแล้วก็หลอกลวงผู้หญิงมาแต่งงานได้ ส่วนผู้หญิงเองก็หลอกผู้ชายได้เช่นกัน

ฉันเองอยากบอกคุณเกย์นทีว่า ความคิดที่เป็นมายาคติเช่นนี้เป็นสิ่งเดียวกับที่เกย์ต้องเผชิญอยู่ เช่น คนทั่วไปมองว่า เกย์สำส่อน เกย์ชอบหลอกผู้หญิงมาแต่งงานบังหน้าความเป็นเกย์ เกย์เป็นผู้แพร่เชื้อเอดส์ ถ้าผู้ชายมีเพื่อนเป็นเกย์ล่ะก็ต้องระวังให้ดี เพราะเกย์อาจตุ๋ยคุณได้ทุกเมื่อ ฯลฯ

ในความเป็นจริงก็คือ ไม่ใช่เกย์ทุกคนจะเป็นเช่นนั้น และผู้ชายและผู้หญิงก็ทำสิ่งต่าง ๆ ที่ว่ามาได้เหมือนกันฉันไม่อยากให้คุณเกย์นที ซึ่งลุกขึ้นมาพูดทีไรก็เป็นข่าว ตกอยู่ในกับดักของมายาคติเช่นนี้ ไม่เช่นนั้นคนในสังคมก็จะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อไป และในขบวนการความหลากหลายทางเพศเองก็จะมีความแตกแยกระหว่างฝ่ายเกย์กับฝ่ายสาวประเภทสองมากขึ้นไปอีก

สิ่งที่เราต้องต่อสู้ด้วยคือตัวมายาคติ ไม่ว่าจะเป็นมายาคติกับเกย์หรือกับสาวประเภทสอง พวกเราในฐานะคนที่เผชิญกับการเลือกปฏิบัติจากมายาคติที่คนอื่นมีต่อเรา ต้องทำความเข้าใจการทำงานของมายาคติให้ทะลุปรุโปร่ง เพื่อให้เราสามารถก้าวหลุดพ้นออกมาจากมัน และช่วยให้คนอื่นสามารถเห็นความจริงอย่างที่มันเป็นได้อย่างตรงไปตรงมา

ส่วนประเด็นถกเถียงข้อต่อมาที่ว่า ถ้ากฎหมายให้สิทธิเฉพาะกลุ่มผู้ที่แปลงเพศแล้ว นั่นจะทำให้คนที่ยังไม่แปลงถูกเลือกปฏิบัติต่อไป หรือไม่ก็จะทำให้คนพยายามแปลงเพศมากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่พร้อมด้านจิตใจ หรือด้านการเงินก็ตามเพื่อให้ได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนั้นข้อเสนอของฝ่ายนี้คือให้กฎหมายขยายไปครอบคลุมผู้ที่ไม่ได้แปลงเพศด้วย

ส่วนฝ่ายร่างกฎหมาย ยืนยันให้เปลี่ยนคำนำหน้านามเฉพาะผู้ที่แปลงเพศ โดยได้รับการรับรองจากแพทย์แล้วเท่านั้น หลายท่านให้ความเห็นว่า ถ้าทำเช่นนี้ ฝ่ายกฎหมายและฝ่ายมหาดไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับงานทะเบียนจะยอมรับได้มากกว่า และตอนนี้เรามีเวลาไม่มากนักสำหรับการออกกฎหมายฉบับนี้ ถ้ารอรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว เท่าที่ผ่านมา กฎหมายเรื่องเพศจะไม่ได้รับความสนใจแต่อย่างใด

ประเด็นนี้เป็นเรื่องถกเถียงกันระหว่างการให้เปลี่ยนคำนำหน้านามบนพื้นฐานของเพศ (sex) หรือบนพื้นฐานของเพศภาวะ (gender) คือฝ่ายที่ต้องการให้เฉพาะผู้ที่แปลงเพศแล้วนั้น ยืนอยู่บนพื้นฐานของการระบุเพศด้วยสรีระ ซึ่งเป็นอะไรที่ชัดเจน จับต้องได้ มีความแน่นอน สถาบันทางการแพทย์ให้การรับรองได้ และแม้จะเปลี่ยนแปลงเพศสรีระได้ แต่ก็เปลี่ยนได้ยาก เพราะต้องผ่านการผ่าตัด

ส่วนอีกฝ่ายนั้นเรียกร้องให้คำนำหน้านามมีพื้นฐานอยู่บนเพศภาวะ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเพศสรีระ ฉันคิดว่ากรณีนี้รัฐคงยอมรับได้ยากกว่า เพราะการระบุเพศเช่นนี้เป็นอะไรที่เบลอ จับต้องไม่ได้ ยากแก่การคาดการณ์ มีความไม่แน่นอนมากกว่ากรณีผู้แปลงเพศแล้วที่สามารถบ่งชี้ความเป็นเพศหญิงได้ชัดจากหน้าอกและอวัยวะเพศยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางเป็นไปได้เลยนะคะ อาจารย์ดักลาส แซนเดอร์ส อาจารย์ด้านกฎหมายมหาวิทยาลัยมหิดลและจุฬาลงกรณ์ เสนอตัวอย่างว่าในประเทศอังกฤษนั้นรัฐให้สิทธิคนเปลี่ยนคำนำหน้านามได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ต้องผ่านการรับรองจากแพทย์ คือหากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าบุคคลนี้เป็น Gender Identity Disorder (ผู้ที่มีความผิดปกติทางอัตลักษณ์ของเพศภาวะ) และใช้ชีวิตอยู่ในเพศที่ตนเองต้องการ สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามรวมถึงเอกสารทางการต่าง ๆ ตามเพศภาวะของตนได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดแปลงเพศ

วิธีนี้ยังอยู่บนพื้นฐานของระบบสองเพศ และต้องขึ้นอยู่กับอำนาจของสถาบันการแพทย์ โดยยอมรับให้แพทย์ระบุว่าบุคคลนี้เป็นผู้ที่มีความปกติ แต่ก็ทำให้คนสามารถระบุเพศของตัวเองได้โดยใช้เพศภาวะเป็นตัวกำหนด ไม่ต้องถูกกดดันให้แปลงเพศเพื่อที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิด้านต่าง ๆ และรัฐอาจจะยอมรับได้เพราะมีสถาบันทางการแพทย์เป็นผู้การันตี

ข้อดีอีกด้านหนึ่งของการให้แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Gender Identity Disorder ก็คือ อาจทำให้รัฐกำหนดให้การแปลงเพศต้องได้รับการคุ้มครองจากประกันสุขภาพได้ด้วย อาจารย์ดักลาสเป็นผู้ยกกรณีตัวอย่างจริงให้เห็นอีกเช่นกัน เรื่องนี้เกิดขึ้นในสหภาพยุโรปค่ะ ศาลด้านสิทธิมนุษยชนตัดสินให้การผ่าตัดแปลงเพศต้องได้รับการคุ้มครองจากประกันสุขภาพเมื่อปี พ.ศ. 2546 ดังนั้นคนที่พร้อมด้านจิตใจแต่ไม่พร้อมด้านการเงิน ก็สามารถให้ประกันสุขภาพจ่ายเงินค่าผ่าตัดแปลงเพศได้

ส่วนอีกประเด็นที่ว่า การใช้คำว่า “นางสาว”ไม่ว่าจะตัดสินที่เพศหรือเพศภาวะ ก็ยังเป็นการติดอยู่กับระบบสองเพศอยู่ดี เพราะก็ยังไปไม่พ้นคำว่า “นาย” และ “นางสาว” ยังไม่พ้นที่จะเป็นผู้ชายและผู้หญิงเท่านั้น สาวประเภทสองบางคนก็บอกว่าตนไม่ได้อยากเป็นผู้หญิง แต่อยากได้รับการยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น แต่ที่ต้องเรียกร้องคำว่า “นางสาว” เพราะนี่เป็นทางเลือกเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้

บางคนเสนอให้เราก้าวไปให้พ้นกรอบนี้ เช่นโดยการใช้คำนำหน้านามอย่างอื่นเพิ่มขึ้น มีคนเสนอชื่อ “นางสาวประเภทสอง” (ซึ่งฟังดูแล้วก็คิดว่าคงไม่มีใครอยากจะเขียนคำนี้นำหน้าชื่อตัวเอง) นั่งคิดไปคิดมา ก็ต้องกุมขมับเพราะนี่เป็นเรื่องใหญ่ ใหญ่กว่าการให้สิทธิใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” กับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ผู้หญิงที่หย่าแล้ว และสาวประเภทสองทั้งที่ผ่าตัดและยังไม่ผ่าตัด เพราะเรื่องนี้สั่นคลอนฐานความคิดความเชื่อเรื่องระบบสองเพศที่เป็นรากฐานของสำคัญของรัฐ

ลองคิดดูนะคะว่า ระบบสองเพศนี้มีอิทธิพลต่อเราตั้งแต่ก่อนที่เราจะเกิดมาเสียอีก เวลาที่ผู้หญิงคนหนึ่งตั้งท้อง สิ่งที่คนเดี๋ยวนี้ทำกันก็คือ ต้องไปอุลตร้าซาวนด์ดูว่าเป็นเด็กผู้หญิงหรือเป็นเด็กผู้ชาย หรือถ้าไม่ทำอุลตร้าซาวนด์ เวลาเด็กเกิดมา คนก็จะถามด้วยคำถามแรกว่า “ผู้หญิงหรือผู้ชาย” สูติบัตรของเราก็ต้องระบุชัดว่า เราเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

วิถีชีวิตของเราถูกกำหนดด้วยระบบสองเพศอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเข้าโรงเรียน จะพูดกับใคร จะทำบัตรประชาชน ทำงาน ไปหาหมอที่โรงพยาบาล จะแต่งงาน มีลูก ทำหมัน หย่า จะเดินทาง ทำพาสปอร์ต แข่งกีฬา เข้าห้องน้ำสาธารณะ หรือแม้แต่เวลาถูกจับเข้าคุก รัฐก็ต้องการรู้อัตตลักษณ์ทางเพศ (ที่มีอยู่เพียงสองทางเลือก) ของเราให้แน่ชัด เจ้าหน้าที่รัฐจะได้คาดการณ์การมีปฏิสัมพันธ์กับเราได้ถูก หรือรัฐจะได้วางแผนนโยบายต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประชากร นโยบายสาธารณสุข นโยบายความมั่นคง ฯลฯ และคนธรรมดาอย่างเราก็ต้องการความชัดเจนด้วยว่า ลูกของเรา แฟนของเรา เพื่อน หรือคนที่เราเห็นอยู่นั้นเป็นเพศอะไร เพื่อเราจะได้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเขาได้ถูก - ตามกรอบของระบบสองเพศ

ดังนั้นแล้ว การเปลี่ยนคำนำหน้านามที่ให้ผู้หญิงคงคำว่า “นางสาว” ไว้ได้ ก็ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ แม้จะให้สิทธิแก่ผู้หญิงมากขึ้น แต่ยังอยู่ในกรอบของระบบสองเพศเช่นกัน การให้โอกาสผู้ที่แปลงเพศหรือยังไม่แปลงใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” แม้จะให้สิทธิแก่สาวประเภทสองมากขึ้น แต่ก็ยังคงอยู่ในกรอบของระบบสองเพศ เรื่องอย่างนี้รัฐคงยอมรับได้มากกว่าจะยอมรับเพศที่นอกเหนือจากเพศชายและเพศหญิง

หากแต่ในโลกของความเป็นจริง มันไม่ได้มีแค่สองเพศและสองเพศภาวะ ยิ่งอยู่ในแวดวงความหลากหลายทางเพศนี้มากเท่าไร ฉันก็ยิ่งเห็นความหลากหลายของเพศมากขึ้นเท่านั้น ยอมรับค่ะว่า บางทีทำเอาฉันงง และทำตัวไม่ถูก บางทีก็เห็นใจทางฝ่ายมหาดไทยเหมือนกัน ขนาดฉันที่อยู่ในแวดวงมาหลายปี ยังงง แล้วมหาดไทยที่อยู่ในกรอบอย่างนั้นจะไม่งวยงงมากกว่าฉันอีกหลายเท่าหรืองงงวยและซับซ้อน แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มีทางออกเลย ยังพอมีหวังค่ะ เพราะเห็นได้จากการที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เกือบจะระบุให้ความคุ้มครองอัตตลักษณ์ทางเพศ (ซึ่งมีมากกว่าสองเพศ) ลงไปแล้ว

ฉันขอเสนอวิธีที่ไปพ้นคำนำหน้านาม คือ ไม่ต้องระบุคำนำหน้านาม และสามารถระบุเพศเองได้ นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นจากมหาวิทยาลัยที่ฉันเรียนในอเมริกา เวลากรอกเอกสาร เราไม่ต้องกรอกคำนำหน้านาม คือ ไม่ต้องใช้คำว่า Mr. หรือ Ms. แต่ในช่องที่ระบุเพศ จะมีช่องให้ติ๊กว่าเราเป็น ชาย หญิง หรือ อื่น ๆ ในช่องอื่น ๆ นั้น เราสามารถใส่ลงไปตามที่เราต้องการได้เอง หลายปีก่อนเคยเห็นโพลล์ของมหาวิทยาลัยรังสิตทำอย่างนี้เหมือนกัน

วิธีนี้อาจจะทำให้รัฐงงหน่อย และมีการเปลี่ยนแปลงมากหน่อยในกรณีที่คนเกิดเปลี่ยนเพศหรือเพศภาวะของตน แล้วต้องการไปแก้เอกสาร แต่ฉันคิดว่านี่จะช่วยให้ประชาชนมีอิสระในการเลือกเพศ มีโอกาสได้เป็นในสิ่งที่ตัวเองเป็นจริง ๆโดยไม่ต้องขึ้นกับสถาบันใด ๆ หรือขึ้นกับระบบสองเพศ และรัฐจะได้ข้อมูลประชากรที่เป็นความจริงมากกว่าด้วยซ้ำไป ซึ่งสามารถนำไปสู่การวางนโยบายต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเพศอันหลากหลายของประชากร

ที่ทำได้มากกว่านั้นก็คือ เราต้องมีกฎหมายป้องกันการเลือกปฏิบัติออกมาควบคู่กันไปด้วย เช่น ขณะนี้สาวประเภทสองถูกเลือกปฏิบัติจากการรับสมัครงานมาก วิธีหนึ่งที่จะป้องกันได้คือมีกฎหมายที่ระบุว่าการรับสมัครงานต้องไม่ขึ้นอยู่กับเพศ ที่อเมริกามีกฎหมายเช่นนี้ ฉันรู้มาจากเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นนายจ้างกำลังจะรับสมัครงาน เพื่อนบอกกับฉันว่า ที่นี่เราไม่สามารถประกาศได้ว่าเราต้องการผู้หญิงหรือผู้ชาย เวลาคนส่งใบสมัครก็ไม่ต้องส่งรูปมา เพราะนายจ้างจะได้ไม่ตัดสินใจโดยมีอคติต่อรูปร่าง หน้าตา หรือเชื้อชาติ น่าจะเป็นทางออกที่ดี ทุกวันนี้เราจะเห็นแต่ประกาศรับสมัครงานที่บอกว่า ต้องการชาย อายุ..... หรือต้องการหญิง อายุ... ไม่เคยเห็นประกาศที่ต้องการสาวประเภทสองเลย ถ้ามีกฎหมายคุ้มครองเช่นนี้ สาวประเภทสองก็สามารถสมัครงานได้ตามความสามารถของตัวเอง

แน่นอนนะคะว่าเวลาเจอกันจริง ๆ ทำงานด้วยกันจริง ๆ แล้ว คนที่มีอคติอยู่ก็อาจจะเลือกปฏิบัติต่อสาวประเภทสอง ซึ่งกฎหมายนี้ต้องคุ้มครองไปถึงขณะที่ทำงานแล้วด้วย คือผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติก็สามารถมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลได้ นี่เป็นตัวอย่างบางส่วนในระดับกฎหมายที่เป็นทางเลือกได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีเพศที่แตกต่างอย่างมาก แต่จริง ๆ แล้ว เราไม่ต้องรอให้กฎหมายออกนะคะ เราสามารถช่วยกันแหวกกรอบของระบบสองเพศได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการ หรือพนักงาน คุณสามารถผลักดันให้บริษัท องค์กร ของคุณออกนโยบายที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับคนโดยไม่ต้องระบุเพศ การส่งเสริมให้ทุกคนได้เรียนรู้เรื่องความแตกต่างหลากหลาย หรือออกข้อห้ามมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติกันในองค์กรของคุณ

ในฐานะปัจเจก เราสามารถเปิดใจเรียนรู้ความหลากหลายทางเพศที่มีมากกว่าสองเพศได้เสมอ เหมือนกับ คนบางคนรักการเดินทาง เพราะทำให้ได้พบปะผู้คนที่หลากหลายวัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษา แม้บางทีเราจะเจอ Culture Shock แต่มันก็เป็นการเปิดให้เราเข้าใจโลก เข้าใจคนอื่นได้มากขึ้น เช่นกัน เราสามารถเดินทางข้ามผ่านพรมแดนทางเพศ ด้วยการเข้าไปพบปะผู้คนที่มีความหลากหลายทางเพศ คบเพื่อนที่เป็นเพศที่สามเพิ่มขึ้น หรือไปร่วมกับองค์กรที่ทำงานด้านนี้ แม้บางทีเราจะเจอ Gender Shock บ้าง แต่ว่าแต่ละคนที่เราได้พบจะช่วยให้เรามีความเข้าใจต่อความเป็นคนได้อย่างเป็นจริงมากขึ้น

ขอปิดท้ายด้วยตัวอย่างจากเรื่องจริงค่ะ

ขณะที่หมอคนหนึ่งกำลังทำคลอดเด็ก หมอสังเกตเห็นว่าเด็กที่เพิ่งเกิดคนนี้มีอวัยวะเพศของทั้งสองเพศ พยาบาลที่ยังไม่เห็นเด็กถามว่า “เด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชายคะ” หมอไม่ตอบว่าเพศอะไร แต่ตอบว่า “นี่เป็นเด็กที่งดงามคนหนึ่ง”

หมอคนนี้มองทะลุผ่านความเป็นเพศ และมองเห็นความจริงอันงดงามที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าได้อย่างชัดเจน

------------------------------------------------------

* หมายเหตุ ข้อมูลเพิ่มเติมจากอาจารย์ดักลาส แซนเดอร์ส เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเพศในประเทศต่าง ๆ

- ในยุโรป

ปี พ.ศ. 2539 ศาลยุติธรรมของยุโรป ตัดสินว่าการเลือกปฏิบัติที่มีพื้นฐานอยู่บนการแปลงเพศ เท่ากับเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศ ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายของสหภาพยุโรป

ปี พ.ศ. 2545 ศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปตัดสินว่า ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศแล้วสามารถเปลี่ยนเพศในเอกสารประจำตัวต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสูติบัตร ใบขับขี่ และหนังสือเดินทาง

ปี พ.ศ. 2546 ศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปตัดสินว่า การผ่าตัดแปลงเพศเป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่กฎหมายรับรอง และควรได้รับการคุ้มครองโดยประกันสุขภาพ

ดังนั้น ทุกประเทศในยุโรปต้องมีการออกกฎหมายที่สอดคล้องกับคำตัดสินของศาลเหล่านี้

- ในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกาและบางประเทศในอเมริกาใต้ อนุญาตให้บุคคลที่แปลงเพศแล้วเปลี่ยนเพศในเอกสารส่วนบุคคลได้

ปีนี้ ประเทศบราซิลกำหนดว่าการผ่าตัดแปลงเพศต้องเป็นสวัสดิการที่ผู้ผ่าตัดไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

- ในเอเชีย ประเทศที่อนุญาตให้ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศแล้วเปลี่ยนเพศในเอกสารส่วนบุคคลได้มี จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้

- ในประเทศมุสลิม การแปลงเพศได้รับการยอมรับตามกฎหมายใน อียิปต์ อิหร่าน อินโดนีเซีย ตุรกี

ความเห็น

Submitted by แพ็ท โรเจ้อร์ on

1. เป็นการอัพเดทข้อมูลเรื่องนี้สำหรับบุคคลทั่วไปได้ดี
2. ชอบใจที่กล้าฟันธงในบางกรณีที่มีคนที่เป็นเกย์เองมีมายาคติต่อเกย์ด้วยกัน
3. จริงๆแล้วในสหรัฐฯนั้นมีอะไรที่ล้าหลังพอๆกับก้าวหน้าในเรื่องนี้ ลองเขียนมาเรื่อยๆจะคอยอ่านเพราะคุณเขียนได้สนุกดี ขอบคุณล่วงหน้า

Submitted by iwalktheline on

ติดตามอยู่เสมอ สังคมไทยยังต้องการความเข้าใจในเรื่องนี้อีกมาก

Submitted by จงรักษ์ on

เรื่องคำนำหน้าชื่อ อยากตั้งคำถามกลับไปยังรัฐว่า รัฐต้องการอะไรจาการบังคับใช้คำนำหน้าชื่อ
ทั้งที่รัฐธรรมนูญได้ระบุห้ามการกีดกันทางเพศ ไม่ว่าเพศอะไรกฎหมายก็ให้ความเท่าเทียมกัน

สถานะทางกฎหมายที่แตกต่างของบุคคลเกิดจากอายุมากกว่า คือ เด็ก ผู้เยาว์ และบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หากสถานะเหล่านี้เป็นสิ่งที่รัฐให้ความสำคัญ เนื่องจากมีกฎหมายบังคับใช้ต่างกัน คำนำหน้าชื่อควรไปพ้นจากสภาวะของเพศ (อาจให้ชายหญิงใช้เหมือนกัน) แต่แบ่งว่าเป็นเด็ก ผู้เยาว์ หรือว่าผู้ใหญ่แทน

Submitted by jenko on

หนูอยากทราบเรื่องของคนที่แปลงเพศคนแรกในประเทศมุสลิมอ่ะค่ะ
หนูเคยอ่านเจอที่เวปไทยเลดี้บอยซ์แต่กระทู้นั้นหายไปแร้ว
ไม่ทราบว่าพี่ๆมีข้อมูลเรื่องนี้รึป่าวอ่ะค่ะ
เรื่องประมาณว่ามีสาวประเภท2คนนึง เขียนจม.ไปถึงทางการ
ว่าให้ช่วยรักษาเพราะตัวเองเป็นผู้หญิงในร่างผู้ชาย
แล้วทางการก็ช่วยออกเงินและเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ด้วยค่ะ
ทั้งๆที่ประเทศนั้นเป็นประเทศมุสลิมซึ่งจริงๆแล้วประเทศเหล่านี้แอนตี้เรื่องนี้มาก
แต่เค้ายังเข้าใจ ซึ่งต่างกับประเทศไทย...

Submitted by abc on

พวกเห็นแก่ตัว ไหนว่าจะไม่ทำให้สังคมหรือใครต้องเดือดร้อนไง

Submitted by dsfa on

เห็นด้วยครับ ถึงผมจะเป็นผู้ชายแท้ แต่ถ้าไม่ยุติธรรมกับคนกลุ่มน้อย ปัญหาก็จะเกิด และควรให้เปลี่ยนแต่ผู้ชายที่ผ่าตัดแปลงเพศครับ ผู้หญิงที่ผ่าตัดแปลงเพศไม่สมควร เพราะนาย เค้าเหมาะสำหรับ พวกที่มี "น้องชาย" ครับ

Submitted by miki on

ได้อ่านบทความของพี่แล้วรู้สึกมีความรู้ขึ้นมากเลยคะ.หนูมีปัญหาอยากจะปรึกษาด้วย.คือว่า แฟนหนูรอ หนูมา 3 ปี แล้ว เรื่องแต่งงาน.แต่ทว่ายังแต่งกันไม่ได้เพราะติดที่คำนำหน้า...หนูอยากจะทราบว่า พอมีหนทางอื่นอีกใหมคะ?ถ้ารอให้เมืองไทยออกกฏหมายตัวนี้ หนูว่าหนูคงจะตายไปก่อนแน่ๆเลย....กรุณาตอบกลับด้วยนะคะ.

Submitted by yai on

เอามาอัพเดทบ่อยๆนะคะ
ติดตามเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
เพราะตอนนี้กำลังทำรีเสิร์ชเรื่องนี้อยู่ค่ะ

Submitted by Sara on

ขอสนับสนุนให้มีการเปลี่ยน พรบ.ในการใช้คำนำหน้าว่า"นางสาว"ของสาวประเภทสองค่ะ เพราะดิฉันก็เป็นสาวประเภทสองคนหนึ่งเหมือนกัน แต่ขณะนี้ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยแล้วก็ตาม
ดิฉันขอยืนยันบทความ"ผู้หญิงสีรุ้ง" ดิฉันเป็นคนหนึ่งซึ่งยังไม่ได้แปลงเพศ แต่ได้รับสถานะภาพเป็น Miss อย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้รับสิทธิ์คุ้มครองเฉกเช่นผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งในประเทศอักฤษ
มีสิ่งดีดีเกิดขึ้นมากมายหลังจากที่ได้เปลี่ยนเป็น Miss กับชีวิตสาวประเภทสองธรรมดา ๆ คนหนึ่งอย่างดิฉันที่ไม่คิดหลอกลวงหรือทำให้ใครเสียหาย
อยากเห็นประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะสิทธิส่วนบุคคลซึ่งประชาชนคนไทยมีการปฏิบัติที่แตกต่างจากประชาชนในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสิ้นเชิง

เปลี่ยนคำนำหน้านามในโลกของความเป็นจริง

6 October, 2007 - 01:42 -- lhin

ขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติคำนำหน้านามบุคคล ได้รับการยกร่างเสร็จเรียบร้อยเตรียมจะเข้าสภาแล้ว นอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงที่แต่งงานหรือหย่าแล้วใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” ต่อไปได้ ร่างกฎหมายนี้ยังมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ เพราะในมาตราที่ 7 นั้น ระบุว่า ชายที่ผ่าตัดแปลงเพศเป็นหญิง โดยผ่านการรับรองจากแพทย์ และมีอายุ 15 ปีขึ้นไป จะใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” ก็ได้ และมาตรา 8 ระบุว่า หญิงที่ผ่าตัดแปลงเพศเป็นชาย โดยผ่านการรับรองจากแพทย์ และมีอายุ 15 ปีขึ้นไปจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาย” ก็ได้

เท่าที่ฉันติดตามข่าวดู ยังไม่เห็นมีใครลุกขึ้นมาโต้เถียงในประเด็น “นาง” กับ “นางสาว” คิดว่าเป็นเพราะข้อดีของกฎหมายนี้เปิดโอกาสให้คนได้เลือกใช้คำนำหน้านามตามที่ตัวเองต้องการ ใครใคร่ใช้ “นาง” ต่อไปก็ใช้ ใครไม่ต้องการเปลี่ยนก็ไม่ต้อง ส่วนมาตรา 8 นั้น มีคนพูดถึงน้อยมาก และยังไม่ได้ยินเสียงจากผู้ที่แปลงเพศจากหญิงเป็นชาย เลยทำให้ประเด็นนี้ยังเงียบ ๆ อยู่

ประเด็นที่ดูจะร้อนแรงและมีข้อถกเถียงกันมากนั้นอยู่ที่ มาตรา 7

ข้อถกเถียงมีตั้งแต่ ถ้าเปิดโอกาสเช่นนี้บรรดากะเทยจะไปหลอกลวงผู้ชายมาแต่งงานด้วย (เสียงนี้มาจากคุณเกย์นที จากกลุ่มเกย์การเมือง) แล้วจะเปิดโอกาสให้กับคนที่แปลงเพศแล้วเท่านั้นหรือ คนที่ยังไม่แปลง ไม่มีเงินพอที่จะแปลง หรือไม่ได้ต้องการแปลงเพศแต่มีรูปลักษณ์ภายนอกเป็นผู้หญิงนั้นเล่า ก็ต้องถูกเลือกปฏิบัติต่อไปหรือไร หรือถ้ากฎหมายออกมาเช่นนี้ ก็จะกดดันให้คนต้องไปแปลงเพศมากขึ้นเพื่อให้ได้รับสิทธิที่มาพร้อมกับกฎหมายนี้ อีกประเด็นก็คือว่า การใช้คำว่า “นางสาว” นั้น ก็ยังต้องเข้าไปผูกติดกับระบบสองเพศอยู่ดี และสาวประเภทสองบางคนก็บอกว่าตนไม่ได้อยากเป็นผู้หญิง แต่อยากได้รับการยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น

ฉันฟังดูแล้วก็ตัดประเด็นแรกทิ้งออกไปทันที เพราะความคิดที่ว่ากะเทยจะไปหลอกลวงผู้ชายนั้น เป็นความคิดที่เป็นมายาคติ ในความเป็นจริงไม่ใช่ว่ากะเทยทุกคนจะเป็นคนที่หลอกลวงคนอื่น ผู้ชายมีเมียแล้วก็หลอกลวงผู้หญิงมาแต่งงานได้ ส่วนผู้หญิงเองก็หลอกผู้ชายได้เช่นกัน

ฉันเองอยากบอกคุณเกย์นทีว่า ความคิดที่เป็นมายาคติเช่นนี้เป็นสิ่งเดียวกับที่เกย์ต้องเผชิญอยู่ เช่น คนทั่วไปมองว่า เกย์สำส่อน เกย์ชอบหลอกผู้หญิงมาแต่งงานบังหน้าความเป็นเกย์ เกย์เป็นผู้แพร่เชื้อเอดส์ ถ้าผู้ชายมีเพื่อนเป็นเกย์ล่ะก็ต้องระวังให้ดี เพราะเกย์อาจตุ๋ยคุณได้ทุกเมื่อ ฯลฯ

ในความเป็นจริงก็คือ ไม่ใช่เกย์ทุกคนจะเป็นเช่นนั้น และผู้ชายและผู้หญิงก็ทำสิ่งต่าง ๆ ที่ว่ามาได้เหมือนกันฉันไม่อยากให้คุณเกย์นที ซึ่งลุกขึ้นมาพูดทีไรก็เป็นข่าว ตกอยู่ในกับดักของมายาคติเช่นนี้ ไม่เช่นนั้นคนในสังคมก็จะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อไป และในขบวนการความหลากหลายทางเพศเองก็จะมีความแตกแยกระหว่างฝ่ายเกย์กับฝ่ายสาวประเภทสองมากขึ้นไปอีก

สิ่งที่เราต้องต่อสู้ด้วยคือตัวมายาคติ ไม่ว่าจะเป็นมายาคติกับเกย์หรือกับสาวประเภทสอง พวกเราในฐานะคนที่เผชิญกับการเลือกปฏิบัติจากมายาคติที่คนอื่นมีต่อเรา ต้องทำความเข้าใจการทำงานของมายาคติให้ทะลุปรุโปร่ง เพื่อให้เราสามารถก้าวหลุดพ้นออกมาจากมัน และช่วยให้คนอื่นสามารถเห็นความจริงอย่างที่มันเป็นได้อย่างตรงไปตรงมา

ส่วนประเด็นถกเถียงข้อต่อมาที่ว่า ถ้ากฎหมายให้สิทธิเฉพาะกลุ่มผู้ที่แปลงเพศแล้ว นั่นจะทำให้คนที่ยังไม่แปลงถูกเลือกปฏิบัติต่อไป หรือไม่ก็จะทำให้คนพยายามแปลงเพศมากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่พร้อมด้านจิตใจ หรือด้านการเงินก็ตามเพื่อให้ได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนั้นข้อเสนอของฝ่ายนี้คือให้กฎหมายขยายไปครอบคลุมผู้ที่ไม่ได้แปลงเพศด้วย

ส่วนฝ่ายร่างกฎหมาย ยืนยันให้เปลี่ยนคำนำหน้านามเฉพาะผู้ที่แปลงเพศ โดยได้รับการรับรองจากแพทย์แล้วเท่านั้น หลายท่านให้ความเห็นว่า ถ้าทำเช่นนี้ ฝ่ายกฎหมายและฝ่ายมหาดไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับงานทะเบียนจะยอมรับได้มากกว่า และตอนนี้เรามีเวลาไม่มากนักสำหรับการออกกฎหมายฉบับนี้ ถ้ารอรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว เท่าที่ผ่านมา กฎหมายเรื่องเพศจะไม่ได้รับความสนใจแต่อย่างใด

ประเด็นนี้เป็นเรื่องถกเถียงกันระหว่างการให้เปลี่ยนคำนำหน้านามบนพื้นฐานของเพศ (sex) หรือบนพื้นฐานของเพศภาวะ (gender) คือฝ่ายที่ต้องการให้เฉพาะผู้ที่แปลงเพศแล้วนั้น ยืนอยู่บนพื้นฐานของการระบุเพศด้วยสรีระ ซึ่งเป็นอะไรที่ชัดเจน จับต้องได้ มีความแน่นอน สถาบันทางการแพทย์ให้การรับรองได้ และแม้จะเปลี่ยนแปลงเพศสรีระได้ แต่ก็เปลี่ยนได้ยาก เพราะต้องผ่านการผ่าตัด

ส่วนอีกฝ่ายนั้นเรียกร้องให้คำนำหน้านามมีพื้นฐานอยู่บนเพศภาวะ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเพศสรีระ ฉันคิดว่ากรณีนี้รัฐคงยอมรับได้ยากกว่า เพราะการระบุเพศเช่นนี้เป็นอะไรที่เบลอ จับต้องไม่ได้ ยากแก่การคาดการณ์ มีความไม่แน่นอนมากกว่ากรณีผู้แปลงเพศแล้วที่สามารถบ่งชี้ความเป็นเพศหญิงได้ชัดจากหน้าอกและอวัยวะเพศยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางเป็นไปได้เลยนะคะ อาจารย์ดักลาส แซนเดอร์ส อาจารย์ด้านกฎหมายมหาวิทยาลัยมหิดลและจุฬาลงกรณ์ เสนอตัวอย่างว่าในประเทศอังกฤษนั้นรัฐให้สิทธิคนเปลี่ยนคำนำหน้านามได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ต้องผ่านการรับรองจากแพทย์ คือหากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าบุคคลนี้เป็น Gender Identity Disorder (ผู้ที่มีความผิดปกติทางอัตลักษณ์ของเพศภาวะ) และใช้ชีวิตอยู่ในเพศที่ตนเองต้องการ สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามรวมถึงเอกสารทางการต่าง ๆ ตามเพศภาวะของตนได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดแปลงเพศ

วิธีนี้ยังอยู่บนพื้นฐานของระบบสองเพศ และต้องขึ้นอยู่กับอำนาจของสถาบันการแพทย์ โดยยอมรับให้แพทย์ระบุว่าบุคคลนี้เป็นผู้ที่มีความปกติ แต่ก็ทำให้คนสามารถระบุเพศของตัวเองได้โดยใช้เพศภาวะเป็นตัวกำหนด ไม่ต้องถูกกดดันให้แปลงเพศเพื่อที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิด้านต่าง ๆ และรัฐอาจจะยอมรับได้เพราะมีสถาบันทางการแพทย์เป็นผู้การันตี

ข้อดีอีกด้านหนึ่งของการให้แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Gender Identity Disorder ก็คือ อาจทำให้รัฐกำหนดให้การแปลงเพศต้องได้รับการคุ้มครองจากประกันสุขภาพได้ด้วย อาจารย์ดักลาสเป็นผู้ยกกรณีตัวอย่างจริงให้เห็นอีกเช่นกัน เรื่องนี้เกิดขึ้นในสหภาพยุโรปค่ะ ศาลด้านสิทธิมนุษยชนตัดสินให้การผ่าตัดแปลงเพศต้องได้รับการคุ้มครองจากประกันสุขภาพเมื่อปี พ.ศ. 2546 ดังนั้นคนที่พร้อมด้านจิตใจแต่ไม่พร้อมด้านการเงิน ก็สามารถให้ประกันสุขภาพจ่ายเงินค่าผ่าตัดแปลงเพศได้

ส่วนอีกประเด็นที่ว่า การใช้คำว่า “นางสาว”ไม่ว่าจะตัดสินที่เพศหรือเพศภาวะ ก็ยังเป็นการติดอยู่กับระบบสองเพศอยู่ดี เพราะก็ยังไปไม่พ้นคำว่า “นาย” และ “นางสาว” ยังไม่พ้นที่จะเป็นผู้ชายและผู้หญิงเท่านั้น สาวประเภทสองบางคนก็บอกว่าตนไม่ได้อยากเป็นผู้หญิง แต่อยากได้รับการยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น แต่ที่ต้องเรียกร้องคำว่า “นางสาว” เพราะนี่เป็นทางเลือกเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้

บางคนเสนอให้เราก้าวไปให้พ้นกรอบนี้ เช่นโดยการใช้คำนำหน้านามอย่างอื่นเพิ่มขึ้น มีคนเสนอชื่อ “นางสาวประเภทสอง” (ซึ่งฟังดูแล้วก็คิดว่าคงไม่มีใครอยากจะเขียนคำนี้นำหน้าชื่อตัวเอง) นั่งคิดไปคิดมา ก็ต้องกุมขมับเพราะนี่เป็นเรื่องใหญ่ ใหญ่กว่าการให้สิทธิใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” กับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ผู้หญิงที่หย่าแล้ว และสาวประเภทสองทั้งที่ผ่าตัดและยังไม่ผ่าตัด เพราะเรื่องนี้สั่นคลอนฐานความคิดความเชื่อเรื่องระบบสองเพศที่เป็นรากฐานของสำคัญของรัฐ

ลองคิดดูนะคะว่า ระบบสองเพศนี้มีอิทธิพลต่อเราตั้งแต่ก่อนที่เราจะเกิดมาเสียอีก เวลาที่ผู้หญิงคนหนึ่งตั้งท้อง สิ่งที่คนเดี๋ยวนี้ทำกันก็คือ ต้องไปอุลตร้าซาวนด์ดูว่าเป็นเด็กผู้หญิงหรือเป็นเด็กผู้ชาย หรือถ้าไม่ทำอุลตร้าซาวนด์ เวลาเด็กเกิดมา คนก็จะถามด้วยคำถามแรกว่า “ผู้หญิงหรือผู้ชาย” สูติบัตรของเราก็ต้องระบุชัดว่า เราเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

วิถีชีวิตของเราถูกกำหนดด้วยระบบสองเพศอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเข้าโรงเรียน จะพูดกับใคร จะทำบัตรประชาชน ทำงาน ไปหาหมอที่โรงพยาบาล จะแต่งงาน มีลูก ทำหมัน หย่า จะเดินทาง ทำพาสปอร์ต แข่งกีฬา เข้าห้องน้ำสาธารณะ หรือแม้แต่เวลาถูกจับเข้าคุก รัฐก็ต้องการรู้อัตตลักษณ์ทางเพศ (ที่มีอยู่เพียงสองทางเลือก) ของเราให้แน่ชัด เจ้าหน้าที่รัฐจะได้คาดการณ์การมีปฏิสัมพันธ์กับเราได้ถูก หรือรัฐจะได้วางแผนนโยบายต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประชากร นโยบายสาธารณสุข นโยบายความมั่นคง ฯลฯ และคนธรรมดาอย่างเราก็ต้องการความชัดเจนด้วยว่า ลูกของเรา แฟนของเรา เพื่อน หรือคนที่เราเห็นอยู่นั้นเป็นเพศอะไร เพื่อเราจะได้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเขาได้ถูก - ตามกรอบของระบบสองเพศ

ดังนั้นแล้ว การเปลี่ยนคำนำหน้านามที่ให้ผู้หญิงคงคำว่า “นางสาว” ไว้ได้ ก็ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ แม้จะให้สิทธิแก่ผู้หญิงมากขึ้น แต่ยังอยู่ในกรอบของระบบสองเพศเช่นกัน การให้โอกาสผู้ที่แปลงเพศหรือยังไม่แปลงใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” แม้จะให้สิทธิแก่สาวประเภทสองมากขึ้น แต่ก็ยังคงอยู่ในกรอบของระบบสองเพศ เรื่องอย่างนี้รัฐคงยอมรับได้มากกว่าจะยอมรับเพศที่นอกเหนือจากเพศชายและเพศหญิง

หากแต่ในโลกของความเป็นจริง มันไม่ได้มีแค่สองเพศและสองเพศภาวะ ยิ่งอยู่ในแวดวงความหลากหลายทางเพศนี้มากเท่าไร ฉันก็ยิ่งเห็นความหลากหลายของเพศมากขึ้นเท่านั้น ยอมรับค่ะว่า บางทีทำเอาฉันงง และทำตัวไม่ถูก บางทีก็เห็นใจทางฝ่ายมหาดไทยเหมือนกัน ขนาดฉันที่อยู่ในแวดวงมาหลายปี ยังงง แล้วมหาดไทยที่อยู่ในกรอบอย่างนั้นจะไม่งวยงงมากกว่าฉันอีกหลายเท่าหรืองงงวยและซับซ้อน แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มีทางออกเลย ยังพอมีหวังค่ะ เพราะเห็นได้จากการที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เกือบจะระบุให้ความคุ้มครองอัตตลักษณ์ทางเพศ (ซึ่งมีมากกว่าสองเพศ) ลงไปแล้ว

ฉันขอเสนอวิธีที่ไปพ้นคำนำหน้านาม คือ ไม่ต้องระบุคำนำหน้านาม และสามารถระบุเพศเองได้ นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นจากมหาวิทยาลัยที่ฉันเรียนในอเมริกา เวลากรอกเอกสาร เราไม่ต้องกรอกคำนำหน้านาม คือ ไม่ต้องใช้คำว่า Mr. หรือ Ms. แต่ในช่องที่ระบุเพศ จะมีช่องให้ติ๊กว่าเราเป็น ชาย หญิง หรือ อื่น ๆ ในช่องอื่น ๆ นั้น เราสามารถใส่ลงไปตามที่เราต้องการได้เอง หลายปีก่อนเคยเห็นโพลล์ของมหาวิทยาลัยรังสิตทำอย่างนี้เหมือนกัน

วิธีนี้อาจจะทำให้รัฐงงหน่อย และมีการเปลี่ยนแปลงมากหน่อยในกรณีที่คนเกิดเปลี่ยนเพศหรือเพศภาวะของตน แล้วต้องการไปแก้เอกสาร แต่ฉันคิดว่านี่จะช่วยให้ประชาชนมีอิสระในการเลือกเพศ มีโอกาสได้เป็นในสิ่งที่ตัวเองเป็นจริง ๆโดยไม่ต้องขึ้นกับสถาบันใด ๆ หรือขึ้นกับระบบสองเพศ และรัฐจะได้ข้อมูลประชากรที่เป็นความจริงมากกว่าด้วยซ้ำไป ซึ่งสามารถนำไปสู่การวางนโยบายต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเพศอันหลากหลายของประชากร

ที่ทำได้มากกว่านั้นก็คือ เราต้องมีกฎหมายป้องกันการเลือกปฏิบัติออกมาควบคู่กันไปด้วย เช่น ขณะนี้สาวประเภทสองถูกเลือกปฏิบัติจากการรับสมัครงานมาก วิธีหนึ่งที่จะป้องกันได้คือมีกฎหมายที่ระบุว่าการรับสมัครงานต้องไม่ขึ้นอยู่กับเพศ ที่อเมริกามีกฎหมายเช่นนี้ ฉันรู้มาจากเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นนายจ้างกำลังจะรับสมัครงาน เพื่อนบอกกับฉันว่า ที่นี่เราไม่สามารถประกาศได้ว่าเราต้องการผู้หญิงหรือผู้ชาย เวลาคนส่งใบสมัครก็ไม่ต้องส่งรูปมา เพราะนายจ้างจะได้ไม่ตัดสินใจโดยมีอคติต่อรูปร่าง หน้าตา หรือเชื้อชาติ น่าจะเป็นทางออกที่ดี ทุกวันนี้เราจะเห็นแต่ประกาศรับสมัครงานที่บอกว่า ต้องการชาย อายุ..... หรือต้องการหญิง อายุ... ไม่เคยเห็นประกาศที่ต้องการสาวประเภทสองเลย ถ้ามีกฎหมายคุ้มครองเช่นนี้ สาวประเภทสองก็สามารถสมัครงานได้ตามความสามารถของตัวเอง

แน่นอนนะคะว่าเวลาเจอกันจริง ๆ ทำงานด้วยกันจริง ๆ แล้ว คนที่มีอคติอยู่ก็อาจจะเลือกปฏิบัติต่อสาวประเภทสอง ซึ่งกฎหมายนี้ต้องคุ้มครองไปถึงขณะที่ทำงานแล้วด้วย คือผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติก็สามารถมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลได้ นี่เป็นตัวอย่างบางส่วนในระดับกฎหมายที่เป็นทางเลือกได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีเพศที่แตกต่างอย่างมาก แต่จริง ๆ แล้ว เราไม่ต้องรอให้กฎหมายออกนะคะ เราสามารถช่วยกันแหวกกรอบของระบบสองเพศได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการ หรือพนักงาน คุณสามารถผลักดันให้บริษัท องค์กร ของคุณออกนโยบายที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับคนโดยไม่ต้องระบุเพศ การส่งเสริมให้ทุกคนได้เรียนรู้เรื่องความแตกต่างหลากหลาย หรือออกข้อห้ามมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติกันในองค์กรของคุณ

ในฐานะปัจเจก เราสามารถเปิดใจเรียนรู้ความหลากหลายทางเพศที่มีมากกว่าสองเพศได้เสมอ เหมือนกับ คนบางคนรักการเดินทาง เพราะทำให้ได้พบปะผู้คนที่หลากหลายวัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษา แม้บางทีเราจะเจอ Culture Shock แต่มันก็เป็นการเปิดให้เราเข้าใจโลก เข้าใจคนอื่นได้มากขึ้น เช่นกัน เราสามารถเดินทางข้ามผ่านพรมแดนทางเพศ ด้วยการเข้าไปพบปะผู้คนที่มีความหลากหลายทางเพศ คบเพื่อนที่เป็นเพศที่สามเพิ่มขึ้น หรือไปร่วมกับองค์กรที่ทำงานด้านนี้ แม้บางทีเราจะเจอ Gender Shock บ้าง แต่ว่าแต่ละคนที่เราได้พบจะช่วยให้เรามีความเข้าใจต่อความเป็นคนได้อย่างเป็นจริงมากขึ้น

ขอปิดท้ายด้วยตัวอย่างจากเรื่องจริงค่ะ

ขณะที่หมอคนหนึ่งกำลังทำคลอดเด็ก หมอสังเกตเห็นว่าเด็กที่เพิ่งเกิดคนนี้มีอวัยวะเพศของทั้งสองเพศ พยาบาลที่ยังไม่เห็นเด็กถามว่า “เด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชายคะ” หมอไม่ตอบว่าเพศอะไร แต่ตอบว่า “นี่เป็นเด็กที่งดงามคนหนึ่ง”

หมอคนนี้มองทะลุผ่านความเป็นเพศ และมองเห็นความจริงอันงดงามที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าได้อย่างชัดเจน

------------------------------------------------------

* หมายเหตุ ข้อมูลเพิ่มเติมจากอาจารย์ดักลาส แซนเดอร์ส เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเพศในประเทศต่าง ๆ

- ในยุโรป

ปี พ.ศ. 2539 ศาลยุติธรรมของยุโรป ตัดสินว่าการเลือกปฏิบัติที่มีพื้นฐานอยู่บนการแปลงเพศ เท่ากับเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศ ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายของสหภาพยุโรป

ปี พ.ศ. 2545 ศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปตัดสินว่า ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศแล้วสามารถเปลี่ยนเพศในเอกสารประจำตัวต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสูติบัตร ใบขับขี่ และหนังสือเดินทาง

ปี พ.ศ. 2546 ศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปตัดสินว่า การผ่าตัดแปลงเพศเป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่กฎหมายรับรอง และควรได้รับการคุ้มครองโดยประกันสุขภาพ

ดังนั้น ทุกประเทศในยุโรปต้องมีการออกกฎหมายที่สอดคล้องกับคำตัดสินของศาลเหล่านี้

- ในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกาและบางประเทศในอเมริกาใต้ อนุญาตให้บุคคลที่แปลงเพศแล้วเปลี่ยนเพศในเอกสารส่วนบุคคลได้

ปีนี้ ประเทศบราซิลกำหนดว่าการผ่าตัดแปลงเพศต้องเป็นสวัสดิการที่ผู้ผ่าตัดไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

- ในเอเชีย ประเทศที่อนุญาตให้ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศแล้วเปลี่ยนเพศในเอกสารส่วนบุคคลได้มี จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้

- ในประเทศมุสลิม การแปลงเพศได้รับการยอมรับตามกฎหมายใน อียิปต์ อิหร่าน อินโดนีเซีย ตุรกี