เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในห้องเรียนนักศึกษาปริญญาตรี เราได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในวันนั้นสิ่งที่เรากล่าวถึงกันในตลอดสี่ชั่วโมงกว่าๆมีสองเรื่องหลักที่น่าสนใจคือ
ประเด็นแรก เรื่องของอำนาจขุนนางที่ส่งผลทำให้มีผู้ปกครองสองคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งขอสงวนไว้ ณ ที่นี้
ประเด็นที่สอง การเลิกไพร่/ทาส
ในส่วนประเด็นที่สอง เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเลิกไพร/ทาส โดยนักศึกษาได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนถึง บริบทสังคมตอนนั้นมีผลต่อการปฏิรูปอย่างไร กล่าวคือ ต้องเข้าใจว่าสังคมในตอนนั้นมิได้มีการสื่อสารที่ทันสมัยอย่างปัจจุบัน ราษฎรแทบไม่มีความรู้ในเรื่องข่าวสารบ้านเมือง ชีวิตก็เป็นได้แค่ไพร่/ทาส ที่ทำงานตามสิ่งที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสังคมในสมัยนั้นก็กระทำได้ง่ายโดยเหล่าชนชั้นนำ การขับเคลื่อนจึงตกไปอยู่ที่ชนชั้นนำเป็นหลักซึ่งสิ่งนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างทางการเมืองของสังคมสยามที่เป็นลักษณะการเปลี่ยนผ่านจากเบื้องบนเป็นสำคัญ ซึ่งก็สามารถเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับระบอบการปกครองสมัยนั้นได้อีกทางหนึ่ง
อีกประการที่น่าสนใจคือ แม้ว่าการปฏิรูปเรื่องทาส/ไพร่สมัยนั้นจะอยู่ในอำนาจของชนชั้นนำ แต่ก็หาได้ง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ ระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงถือว่ามากพอสมควร (ผมถามนักศึกษาว่า เขาใช้เวลากี่ปีในการปฏิรูป นักศึกษาคนหนึ่งตอบ 5 ปี อีกคนหนึ่งตอบทีเล่นทีจริงว่า 20 ปี) สามทศวรรษตั้งแต่ 2417-2448 สามสิบปีเศษที่ใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง ที่ต้องต่อสู้กับโครงสร้างอำนาจเก่าของเหล่าขุนนางที่มิพึงอยากเสียประโยชน์ของตน ไม่อยากเสียอำนาจ บารมี ที่ขึ้นอยู่กับการมีไพร่/ทาส ในครอบครอง
จากประเด็นคร่าวๆที่สรุปได้ในชั้นเรียนก็นำมาสู่การวิเคราะห์เชื่อมโยงกังสังคมไทยในปัจจุบัน
1.ในสัมคมสยามประเทศสมัยนั้นขนาดราษฎรไม่มีข้อมูลข่าวสาร อยู่ภายใต้ระบอบ absolute monarchy ยังต้องใช้เวลาเปลี่ยนแปลงนานหลายทศวรรษ แล้วกับสังคมปัจจุบันเล่า สังคมที่ทุกหัวระแหงต่างมีข้อมูลข่าวสารที่มากมาย เลือกเสพได้ตามสบาย เป็นไปได้หรือไม่ที่ชนชั้นนำจะกระทำแบบเดิมเปลี่ยนสังคม
2.ระบอบปัจจุบันของสังคมไทยคือ ประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับปวงชน เป็นไปได้หรือที่จะมีกลุ่มชนชั้นนำกลุ่มเดียวจะทำการเปลี่ยนแปลงอย่างเช่นอดีต ปวงชนหาได้เป็นไพร่/ทาส ที่มีเจ้านายไม่
3.เหตุการในอดีตใช้เวลา 3 ทศวรรษในการเปลี่ยนแปลง มีการต่อสู้กันระหว่าง เจ้า กับ เจ้านาย ขุนนาง ซึ่งหากกล่าวดดยสรุปได้ว่า มีตัวละครหลักอยู่สองตัวใหญ่ๆ ยังใช้เวลานานมากขนาดนี้ แล้วปัจจุบันเล่า ตัวละครมีเพิ่มไม่รู้ต่อกี่เท่าทั้ง เจ้า ขุนนาง นักธุรกิจ ต่างประเทศ และอื่นๆอีกมากมาย การปฏิรูปโดยมัดมือชกยังสามารถทำได้อยู่หรือไม่ หากทำได้จะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน
4.คำถามที่ผมถามนักศึกษาต่อมาคือ หากเราจะเปลี่ยนแปลงสังคมควรเริ่มจากอะไร?
ถกเถียงกันอยู่นาน จนได้คำตอบที่น่าสนใจคือ
"การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มที่วิธีคิด"
"การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มจากการตั้งคำถามต่อสังคม"
"การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มที่ตนเอง" สรุปคร่าวๆได้ประมาณนี้
5.สุดท้ายผมถามนักศึกษาว่า แล้วเราเปลี่ยนตนเองตามข้อเสนอของตนเองหรือยัง คำตอบคือ "ยังครับ"
เผ่า นวกุล
24 ธันวาคม 2556
ในวันนั้นสิ่งที่เรากล่าวถึงกันในตลอดสี่ชั่วโมงกว่าๆมีสองเรื่องหลักที่น่าสนใจคือ
ประเด็นแรก เรื่องของอำนาจขุนนางที่ส่งผลทำให้มีผู้ปกครองสองคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งขอสงวนไว้ ณ ที่นี้
ประเด็นที่สอง การเลิกไพร่/ทาส
ในส่วนประเด็นที่สอง เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเลิกไพร/ทาส โดยนักศึกษาได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนถึง บริบทสังคมตอนนั้นมีผลต่อการปฏิรูปอย่างไร กล่าวคือ ต้องเข้าใจว่าสังคมในตอนนั้นมิได้มีการสื่อสารที่ทันสมัยอย่างปัจจุบัน ราษฎรแทบไม่มีความรู้ในเรื่องข่าวสารบ้านเมือง ชีวิตก็เป็นได้แค่ไพร่/ทาส ที่ทำงานตามสิ่งที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสังคมในสมัยนั้นก็กระทำได้ง่ายโดยเหล่าชนชั้นนำ การขับเคลื่อนจึงตกไปอยู่ที่ชนชั้นนำเป็นหลักซึ่งสิ่งนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างทางการเมืองของสังคมสยามที่เป็นลักษณะการเปลี่ยนผ่านจากเบื้องบนเป็นสำคัญ ซึ่งก็สามารถเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับระบอบการปกครองสมัยนั้นได้อีกทางหนึ่ง
อีกประการที่น่าสนใจคือ แม้ว่าการปฏิรูปเรื่องทาส/ไพร่สมัยนั้นจะอยู่ในอำนาจของชนชั้นนำ แต่ก็หาได้ง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ ระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงถือว่ามากพอสมควร (ผมถามนักศึกษาว่า เขาใช้เวลากี่ปีในการปฏิรูป นักศึกษาคนหนึ่งตอบ 5 ปี อีกคนหนึ่งตอบทีเล่นทีจริงว่า 20 ปี) สามทศวรรษตั้งแต่ 2417-2448 สามสิบปีเศษที่ใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง ที่ต้องต่อสู้กับโครงสร้างอำนาจเก่าของเหล่าขุนนางที่มิพึงอยากเสียประโยชน์ของตน ไม่อยากเสียอำนาจ บารมี ที่ขึ้นอยู่กับการมีไพร่/ทาส ในครอบครอง
จากประเด็นคร่าวๆที่สรุปได้ในชั้นเรียนก็นำมาสู่การวิเคราะห์เชื่อมโยงกังสังคมไทยในปัจจุบัน
1.ในสัมคมสยามประเทศสมัยนั้นขนาดราษฎรไม่มีข้อมูลข่าวสาร อยู่ภายใต้ระบอบ absolute monarchy ยังต้องใช้เวลาเปลี่ยนแปลงนานหลายทศวรรษ แล้วกับสังคมปัจจุบันเล่า สังคมที่ทุกหัวระแหงต่างมีข้อมูลข่าวสารที่มากมาย เลือกเสพได้ตามสบาย เป็นไปได้หรือไม่ที่ชนชั้นนำจะกระทำแบบเดิมเปลี่ยนสังคม
2.ระบอบปัจจุบันของสังคมไทยคือ ประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับปวงชน เป็นไปได้หรือที่จะมีกลุ่มชนชั้นนำกลุ่มเดียวจะทำการเปลี่ยนแปลงอย่างเช่นอดีต ปวงชนหาได้เป็นไพร่/ทาส ที่มีเจ้านายไม่
3.เหตุการในอดีตใช้เวลา 3 ทศวรรษในการเปลี่ยนแปลง มีการต่อสู้กันระหว่าง เจ้า กับ เจ้านาย ขุนนาง ซึ่งหากกล่าวดดยสรุปได้ว่า มีตัวละครหลักอยู่สองตัวใหญ่ๆ ยังใช้เวลานานมากขนาดนี้ แล้วปัจจุบันเล่า ตัวละครมีเพิ่มไม่รู้ต่อกี่เท่าทั้ง เจ้า ขุนนาง นักธุรกิจ ต่างประเทศ และอื่นๆอีกมากมาย การปฏิรูปโดยมัดมือชกยังสามารถทำได้อยู่หรือไม่ หากทำได้จะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน
4.คำถามที่ผมถามนักศึกษาต่อมาคือ หากเราจะเปลี่ยนแปลงสังคมควรเริ่มจากอะไร?
ถกเถียงกันอยู่นาน จนได้คำตอบที่น่าสนใจคือ
"การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มที่วิธีคิด"
"การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มจากการตั้งคำถามต่อสังคม"
"การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มที่ตนเอง" สรุปคร่าวๆได้ประมาณนี้
5.สุดท้ายผมถามนักศึกษาว่า แล้วเราเปลี่ยนตนเองตามข้อเสนอของตนเองหรือยัง คำตอบคือ "ยังครับ"
เผ่า นวกุล
24 ธันวาคม 2556
บล็อกของ เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุล
"โดยโครงสร้างทางความคิดของสังคมไทยมันบล็อคให้ชาวนาต้องจนตลอดไป นักธุรกิจต้องรวย ผมไม่รู้หรอกครับว่าโครงการฯรัฐต่างๆมันเลวทรามต่ำช้ามากน้อยเพียงใด แต่ที่ผมชอบมันก็เป็นสิ่งที่เข้าไปกระทบโครงสร้างทางความคิดของสังคมเสมือนการเขย่าขวดที่มีตะกอนอนก้น อย่างน้อยก็ทำให้ตำแหน่งในสังคมของชาวนามันขยับเขยื้อนบ
เผ่า นวกุล
มีคนกล่าวทำนองว่า "พรรคเพื่อไทยเก่งที่สามารถทำให้คนจน คนมีการศึกษาน้อย สนับสนุนตนเองได้" แต่ผมว่าที่เก่งกว่าคือ "พรรคประชาธิปัตย์ที่สามารถทำให้ ชนชั้นกลาง คนผู้มีการศึกษา สนับสนุนและเชื่อว่าตนเป็นคนดี"
เผ่า นวกุล
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5
เผ่า นวกุล
บทความชิ้นนี้เป็นบทความที่ผู้เขียนนำเสนอต่อ คุณเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ครั้งเมื่อสมัยศึกษาอยู่ในระดับบัณฑิตศึกษา ได้รับคำแนะนำจากท่านเป็นอย่างดี ถือว่าเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนเป็นอย่างมาก อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มของการเริ่มเขียนบทความเชิงวิชาการก็ว่าได้ แต่ความสำคัญของเรื่องไม่ได้อยู่ที่เรื