Skip to main content

 

เมื่ออินเทอร์เน็ตเป็นโลกไร้พรมแดนดังที่เคยมีการคาดการณ์อนาคตกันไว้ในทศวรรษก่อน

Google ผู้ให้บริการสืบค้นข้อมูลอินเทอร์เน็ต ก็เป็นยักษ์ตัวใหญ่ ที่ตอนนี้อาจจะยังเรียกว่า ย...(ยักษ์ใจดี) ได้อยู่บ้าง วัฒนธรรมอยากรู้อะไรก็พิมพ์ถามพี่กูเกิ้ล จนคำนี้กลายเป็นศัพท์ทั่วไปของกริยาใหม่ที่เรียกว่า google กันเลยทีเดียว


อยากรู้ไม่ต้องถามอับดุลกันแล้ว เปลี่ยนมาถามจากพี่กูเกิ้ลแทน ซึ่งหลายท่านถ้าไม่มัวแต่ปลื้มและหลงใหลกับพี่กูฯเขาเกินไป ก็อาจจะลืมฉุกคิดว่าความแสนรู้ของพี่กูฯนี้มันเกิดขึ้นได้ยังไง บางท่านอาจจะตกใจเมื่อพบว่าเรื่องของเราเองหลายครั้งลืมไปแล้ว แต่พี่กูฯ ยังรู้และเก็บไว้


การที่กูเกิ้ลสามารถให้บริการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางด้วยข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ก็เพราะว่า กูเกิ้ลได้พัฒนาโปรแกรมที่จะส่งตัวกวาด(Bot)ออกไปกวาดเก็บข้อมูลที่มีผู้เขียน บันทึกและสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตไว้ ด้วยพัฒนาการและประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆ พร้อมไปกับการที่ผู้คนในแทบจะทุกมุมโลกใช้ชีวิตติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ อยากอ่านหนังสืออะไร อยากสั่งซื้อหนังสือเล่มไหน ก็ไม่ต้องเดินทางไปถึงห้องสมุดหรือร้านหนังสือกันต่อไป เพราะมี E-book ให้ดาวน์โหลดมาอ่านกันได้ หรืออยากอ่านแบบเป็นเล่ม ๆ ก็มีร้านหนังสือออนไลน์ใหญ่ให้สั่งซื้อมาอ่าน


ตอนนี้กูเกิ้ลกำลังพัฒนาและขยายบริการ Google Book Search โดยรวบรวมหนังสือต่าง ๆ ไว้ เป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ ขณะที่การพัฒนานี้อาจจะมีกลุ่มคนที่เป็นผู้เขียนหนังสือ หรือสำนักพิมพ์ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ กำลังดำเนินการต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิ องค์กรแนวหน้าที่ทำงานในเรื่องสิทธิของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่าง EFF หรือ Electronic Frontier Foundation ก็กำลังรณรงค์และผลักดันให้กูเกิ้ลต้องให้ความสำคัญในการที่จะปกป้องคุ้มครองผู้อ่านที่เข้าไปใช้บริการ จากการที่จะไม่ถูกเก็บรวบรวมข้อมูลเกินจำเป็น รวมทั้งได้รับการคุ้มครองที่ข้อมูลในการสืบค้น ดาวน์โหลด เปิดอ่านจะไม่ถูกกูเกิ้ลนำไปเปิดเผยต่อ ไม่ว่าจะต่อรัฐ หรือธุรกิจเอกชน


สิ่งที่เป็นข้อเรียกร้องขั้นพื้นฐานที่ EFF กำลังชวนผู้คนให้ร่วมกันผลักดันให้กูเกิ้ลมีนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy)ที่แข็งแกร่งเพียงพอต่อการที่พลเมืองผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายพึงได้รับ อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะไม่แตกต่างกับการเข้าไปสืบค้นหรือนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุด หรือซื้อหนังสือจากร้านหนังสือโดยทั่วไป


ใครสนใจอยากติดตามและร่วมลงชื่อผลักดันในเรื่องนี้กับทาง EFF สามารถเข้าไปติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Don't Let Google Close the Book on Reader Privacy

 

 

บล็อกของ nokpukbung

nokpukbung
  เมื่ออินเทอร์เน็ตเป็นโลกไร้พรมแดนดังที่เคยมีการคาดการณ์อนาคตกันไว้ในทศวรรษก่อน Google ผู้ให้บริการสืบค้นข้อมูลอินเทอร์เน็ต ก็เป็นยักษ์ตัวใหญ่ ที่ตอนนี้อาจจะยังเรียกว่า ย.จ.ด.(ยักษ์ใจดี) ได้อยู่บ้าง วัฒนธรรมอยากรู้อะไรก็พิมพ์ถามพี่กูเกิ้ล จนคำนี้กลายเป็นศัพท์ทั่วไปของกริยาใหม่ที่เรียกว่า google กันเลยทีเดียว อยากรู้ไม่ต้องถามอับดุลกันแล้ว เปลี่ยนมาถามจากพี่กูเกิ้ลแทน ซึ่งหลายท่านถ้าไม่มัวแต่ปลื้มและหลงใหลกับพี่กูฯเขาเกินไป ก็อาจจะลืมฉุกคิดว่าความแสนรู้ของพี่กูฯนี้มันเกิดขึ้นได้ยังไง บางท่านอาจจะตกใจเมื่อพบว่าเรื่องของเราเองหลายครั้งลืมไปแล้ว แต่พี่กูฯ ยังรู้และเก็บไว้…
nokpukbung
  เนื่องด้วยศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จ.กาญจนบุรี ได้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของบริษัท ทีที แอนด์ ที ความเร็ว 3 Mb จ่ายเดือนละ 1070 บาท ในช่วงแรกใช้ และทางบริษัทได้เปลี่ยนแพ็คเก็จให้ใหม่ เป็น 5 Mb ตามโปรโมชั่นใหม่ แต่ที่ผ่านมาจากการตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในแต่ล่ะวันความเร็วอินเตอร์เน็ตไม่ถึง 2.5 Mb ซึ่งต่ำกว่าที่จ่ายเงินมาก   -----> ข้อความข้างต้นเป็นหนังสือร้องเรียนที่ทางศูนย์ฯ ได้ส่งให้กับบริษัท ทีที แอน ที เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขและปรับปรุง ทุกคนลองตรวจสอบกันดูนะคะ…
nokpukbung
ชื่อ:  กนกวรรณ  จันทรเกษม  Kanokwan chankasem ชื่อเล่น:  นก  Nok จากศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัด "กาญนะจ๊ะบุรี" คร้า... อิอิ