Skip to main content

- 1 -


3G
เป็นตัวย่อของคำว่า 3rd Generation หมายถึง ยุคที่ 3 ของเทคโนโลยีไร้สายของโทรศัพท์เคลื่อน ที่ โดยระบบ 3G นั้นพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน International Mobile Telecommunications 2000 (IMT-2000) ซึ่งถ้าจะให้อธิบายคำจัดกัดความแบบเข้าใจง่ายมากขึ้นอาจกล่าว ได้ว่า 3G นั้นจะต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้, ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง, บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดย ไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) และ อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที รวมทั้งทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที


ปัจจุบันการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่เรียกว่า GPRS จัดอยู่ในช่วง 2.5G และ EDGE เป็นช่วง 2.75G

- 2 -

มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G

องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 ได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เอาไว้เป็นมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ

มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำ ไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตรา เร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA นี้เองที่กิจการร่วมค้า ไทย - โมบาย กำลังจะดำเนินการพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.. 2548 นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการ เชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น

มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G/2.5G/2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้อย่างเด็ดขาด

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลกดังแสดงในรูปที่ 5 ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย - โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิด ให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป

- 3 -


ในประเทศไทยกำลังจะมีการให้บริการเครื่องข่าย 3G บนคลื่นความถี่ 2100MHz กันบ้านแล้ว โดยเจ้าแรกเริ่มโดย TOT และในเร็วๆนี้ จะมีการเปิดประมูลช่วงสัญญาณในคลื่นความถี่ 2100MHz ส่วนที่เหลือจากนี้เช่นกัน (ในระหว่างนี้อยู่ในการพิจารณาทบทวนการออกกฤหมาย, การออกใบอนุญาต รวมทั้งจะต้องมีการประมูลในอนาคต)

เทคโนโลยีในการใช้งาน 3G สามารถทำงานได้หลายคลื่นความถี่ เช่น 850, 900, 1800 และ 1900 MHz แต่สำหรับเคลื่อน 2100 MHz เป็นคลื่นความถี่ที่ใช้งานกันทั่วโลก (การใช้งาน 3G จะต้องตรวจสอบว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้รองรับคลื่นความถี่ใดบ้าง)

- 4 -


ประโยชน์ที่จะได้รับจาการใช้งานเครือข่ายยุค 3G คือ การรับ-ส่งข้อมูลในความเร็วสูง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้มากถึง 2 Mbps ถ้าอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมที่สุด บริการใหม่ที่จะมาพร้อมกับระบบ 3G ก็คือ Video call และระบบ Streaming

  • Video call หรือ การสนทนาแบบเห็นหน้าคู่สนทนาผ่านกล้องด้านหน้า

  • Streaming เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คุณชมคลิปวีดีโอ รายการโทรทัศน์ วิทยุ และ ฟังเพลงออนไลน์ ได้ในแบบเรียลไทม์

  • Mobile Internet การใช้งานอินเตอร์เนตในโทรศัพท์มือถือเต็มรูปแบบ


อ้างอิง:

============================================================================================

หรือก๊อปได้จากที่นี่

http://docs.google.com/View?id=dfjm336b_43dqjr99gg

 

 

 หนังสือพิมพ์ประชาไทดอทคอมร่วมกับหนังสือพิมพ์ประชาธรรม มูลนิธิเพื่อการศึกษาของชุมชนและสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ นักข่าวพลเมือง(ด้านพลังงาน)ณอุทยานการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัทยา๒๓-๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
วันนี้เยาวชน กวนตีน จังเลยครับ
อีกไม่นานจะมีการขุดลิกไนท์เวียงแหง น่ากลัวจังเลยหายนะจะเกิดขึ้นเเล้วโว้ย
            คำถามที่ท้าทายคือ ความจริงกับความเห็นเมื่อไหร่เราจะเเสวงหาความจริง เมื่อไหร่จะแสวงหาความเห็น ในบางสำนักคิดความเห็นก็คือความจริงชนิดหนึ่ง ความจริงและความเห็นเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้เราอยู่กับความจริง (ความจริงในฐานะความหมาย) ทำให้เราอยู่ร่วมกันได้            ประเด็นไม่ได้อยู่กับความจริงเสมอไป เพราะความจริงอาจไม่เข้าถึง แต่การเผื่อใจและเผชิญกับความจริงและความไม่แน่นอนและเข้าถึงจุดยืนที่ทำให้เราอยู่กับความจริงที่อาจเข้าไม่ถึง…
ทราบหรือไม่ว่าเมืองไทยไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานนิวเคลียร์ ยังมีพลังงานทางเลือกที่สะอาด ปลอดภัย ราคาถูกที่เราสามารถผลิตได้เองในประเทศของเรา แต่เป็นเรื่องน่าเศร้า ที่รัฐบาลกลับไม่เห็นค่า มุ่งหน้าพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์อย่างเต็มที่ สงสารชาวบ้านที่ต้องได้รับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากแผนพัฒนาพลังงานของรัฐ