Skip to main content

ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และมุ่งเสาะแสวงหาผู้ที่คิดต่างกับรัฐเพื่อปราบปรามโดยใช้มาตรการทางกฎหมายที่รุนแรง  แสดงให้เห็นถึงความขาดแคลนองค์ความรู้อย่างรอบด้านในการธำรงความมั่นคงและสงบเรียบร้อยในโลกไซเบอร์ โดยส่งเสริมความก้าวหน้าของตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลไปในคราวเดียวกัน  

จึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริม "ความรู้" ที่มุ่งสู่การส่งเสริมความเบ่งบานของโครงการไทยแลนด์ 4.0 บนพื้นฐานของการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากผู้คนหลากหลายในสังคม   การรักษาความปลอดภัยและมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่พึงระลึกเสมอว่า เป้าหมายของมันคือ การรักษาสิทธิของพลเมืองเน็ตทั้งหลายให้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความเจริญงอกงามทางความคิดจินตนาการ  มิใช่ควบคุมให้อยู่ในกระถางบอนไซเล็กๆที่ล้อมกรอบไว้   เพราะการแข่งขันในตลาดโลกสูง ความคิดที่สดใหม่ ไร้กรอบเท่านั้นที่จะทะลุปล้องไปแข่งขันได้

กฎหมายอาชญากรรม สงคราม และความมั่นคงไซเบอร์ 
Law on Cybercrime, Cyber warfare and Cybersecurity

วิชานี้จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาระบบปฏิบัติการและโครงสร้างการสื่อสารด้านโทรคมนาคมที่มีลักษณะเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายคลื่นและสร้างพื้นที่ชนิดใหม่ที่เรียกว่า “พื้นที่ไซเบอร์” (Cyberspace)

โดยในปัจจุบันมีกรณีศึกษาทั้งระดับรัฐและระดับโลกที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างระบอบการกำกับดูแลโลกไซเบอร์ รวมทั้งการกำหนดความผิดและโทษต่อการโจมตีหรือก่ออาชญากรรมต่อระบบ อันได้แก่
1) การก่ออาชญากรรมต่อเครือข่ายการสื่อสารทางอินเตอร์ หรือการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
2) การทำสงครามระหว่างประเทศ หรือการโจมตีระบบโดยองค์กรอาชญากรรม หรืออาชญากรข้ามชาติ
3) การแทรกซึม บ่อนทำลายหรือแพร่ข้อมูลที่ทำอันตรายระบบปฏิบัติและเครือข่ายการสื่อสารและความมั่นคง


เวทีประชาคมโลกที่เจรจาหาระบอบในการควบคุมการกระทำความผิดและปกป้องสิทธิของพลเมืองผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผลักดันให้รัฐสมาชิกตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงกันสถาปนากฎหมายและกลไกมาบังคับใช้มาตรการร่วมกันใน 3 ประเด็น คือ
1) กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ ทั้งในระดับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และรัฐบัญญัติของแต่ละประเทศ
2) สนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการโจมตีระบบปฏิบัติการระหว่างประเทศ และกลไกระหว่างรัฐ
3) การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ร่วม และการผลักดันกลไกภายในรัฐ


กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ องค์กร หน่วยงาน และผู้ปฏิบัติการทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจทั้ง 3 ด้านดังกล่าวไปแล้ว อาทิ กระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพ สภาความมั่นคงแห่งชาติ บริษัทที่ปรึกษาด้านความมั่นคงไซเบอร์ และผู้ควบคุมระบบปฏิบัติการในหน่วยงานรัฐ และเอกชน ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมไทยตามแผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

*หวังว่าจะไม่มีอาจารย์ผู้สอนวิชาเหล่านี้ให้ความเห็นว่า Like สเตตัสเป็นความผิดอาญาอีกนะครั่บ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องแรกที่ต้องนำมาพูดกันก่อนเลยเห็นจะไม่พ้นว่า กฎหมายคืออะไร เพราะไม่งั้นคงไปต่อไม่ได้ และที่จริงเรื่องนี้ก็เป็นปัญหามากในความเป็นจริง  เนื่องจากหลายครั้งเรามีปัญหากับคนอื่น หรือสังคมมีความขัดแย้งเถียงกันไม่จบไม่สิ้นก็ไม่รู้ว่า เรื่องนี้ควรจะจบลงอย่างไร ชีวิตจะเดินต่อไปแบบไหน   ซ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องแรกนี่เกิดขึ้นกับผู้คนมากมายครับ เนื่องจากมันเป็นชีวิตของเพื่อนผมเองที่บ้านเกิดอยู่ต่างจังหวัดแต่เค้าเข้ามาทำงานกรุงเทพฯ แล้วเช่าหอพักอยู่รอบนอกกรุงเทพฯเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากที่ทำงานอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ถ้าไปเช่าหออยู่ใกล้ๆ สงสัยจะไม่เหลืออะไรให้เก็บให้ใช้เลย จนเธอต้องมาบ่นให้ฟังเรื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อกฎหมายเข้ามาใกล้ชีวิตคนธรรมดาอย่างเรามากขึ้น จึงเป็นการยากที่จะไม่สนใจอีกต่อไป   พอเกิดปัญหาขึ้นมากับตัวเอง ทางหนึ่งที่คนส่วนใหญ่พอจะทำได้ คือ ปรึกษากับคนใกล้ตัวที่ร่ำเรียนมาทางกฎหมาย เพราะจะให้ไปปรึกษากับทนาย หรือนักกฎหมายที่ไหนก็ยังไม่กล้า เพราะกลัวว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ไหนควา