Skip to main content



ครับ
หัวชื่อเรื่องข้างบนนี่ มิใช่เรื่องที่ผมจะเขียน แต่เป็นชื่องานแสดงภาพถ่ายขาวดำและประวัติผลงาน ’รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นแรงบันดาลใจ ทำให้คนหนุ่มสาวมากมายหลายคน และหลายรุ่น เดินเข้ามาสู่ถนนสายวรรณกรรม ซึ่งล่วงลับไปเมื่อต้นปีที่แล้ว และผมเลือกให้ฉายาแก่เขาว่า “พ่อมดแห่งภาษากวีมาดวิไลจากบ้านสวนทูนอิน”

\\/--break--\>
 

โดยงานนี้
มีคุณสุมาลี วงษ์สวรรค์ ภรรยาที่น่ารักของคุณ ’รงค์ เป็นประธานในการจัดงานร่วมกับครอบครัวและญาติมิตรน้ำหมึกที่สมัครรักใคร่ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ อีกมากมายหลายท่าน เข้ามาร่วมช่วยกันจัดงานนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 - 31 มกราคม 2553 โดยมีคุณประภัสสร เสวิกุล นักเขียนนวนิยายยอดนิยมแห่งยุคสมัย ได้ให้เกียรติบินตรงจากกรุงเทพฯ มาเป็นองค์ปาฐกในวันเปิดงาน ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 

ครับ
นอกจากงานแสดงนิทรรศการภาพถ่าย ที่เปิดให้ชมทุกวันตามหมายกำหนดเวลาแล้ว ยังมีพิธีการและกิจกรรมต่างๆที่น่าตื่นตาใจ ในห้วงเวลาระหว่างวันแรกจนถึงวันสุดท้ายของงาน เป็นองค์ประกอบและสีสันของงานตามปฏิทิน ดังต่อไปนี้

 

9 มกราคม 2553

พิธีเปิดงาน

15.00 . ประธานเปิดงาน และวางดอกไม้สีขาวหน้าภาพถ่ายของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์
15.10
. ปาฐกถา โดย ประภัสสร เสวิกุล
15.40
. เชิญชมนิทรรศการภาพถ่าย
16.50
. เสวนา “ยุคสมัยในเงาของเวลาที่ ‘’รงค์ วงษ์สวรรค์ บันทึกไว้” โดย มานิต ศรีวานิชภูมิ
18.00
. ดนตรีจากวงสุดสะแนน




16 มกราคม 2533

13.00
. เสวนา "พินิจวรรณกรรม สำนวนเพรียวลม โดย  สุมิตรา จันทร์เงา และ พิบูลย์ศักดิ์ ละครพล
15.30
. เสวนา "กว่าจะเป็นภาพประกอบและปกหนังสือ"ช่วง มูลพินิจ ทองธัช เทพารักษ์
17.00
. คอนเสิร์ต " Rong Wong - Savun...Fly To Heaven" จากวงดนตรี 20 กว่าวง พร้อมกับการประมูลภาพเขียนและภาพถ่าย 'รงค์ วงษ์สวรรค์

 


17 มกราคม 2553

13.00
. เสวนา “จากฮิปปี้ถึงฮิปฮอป...หนังและเพลงในช่วงชีวิตของ’รงค์ วงษ์สวรรค์” โดย ทิวา สาระจูฑะ อารี แท่นคำ ขุนทอง อสุนี ณ อยุธยา นรเศรษฐ์ หมัดคง ตุ๊ก บราส เซอรี่ ฯลฯ
16.00
. เสวนา “อะไรอีกมากมาย...เบื้องหลังการทำหนังสืองานศพ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ” โดย บินหลา สันกาลาคีรีวรพจน์ พันธุ์พงศ์ ภิญโญ ไตรสุริยะธรรมา ฯลฯ



18
มกราคม 2553

พระราชทานเพลิงศพ



23
มกราคม 2553

17.00
. เสวนา “การเดินทางคือสายตาของนักเขียน” โดย เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย หญ้าน้ำ ทุ่งขุนหลวง นิ้วกลม ฯลฯ
18.00
. ฉายภาพยนตร์และคลิปวิดีโอ เกี่ยวกับ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ รวมทั้ง เทปบันทึกภาพจากรายการ ‘คนค้นคน’ ซึ่งเคยถ่ายทำไว้แต่ไม่ได้ออกอากาศ




30 มกราคม 2553

16.00
. เสวนา “ อาหารการกิน ศิลปะการใช้ชีวิตและความรักของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ” โดย สุมาลี วงษ์สวรรค์ ประมวล เพ็งจันทร์ สุนทรี เวชานนท์ คำผกา ปราย พันแสง ฯลฯ
18.00
. ปาร์ตี้เคล้าเสียงเพลงเลี้ยงส่ง ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ณ ลานลั่นทม ดนตรีโดย ตุ๊ก บราสเซอรี่ แอนด์ เฟรนด์ส


ครับ
นอกจากนี้ในงานนี้ จะมีร้านขายหนังสือ ของที่ระลึก อาหารและเครื่องดื่ม ท่านที่เดินทางมาเที่ยวเชียงใหม่ในช่วงเวลานี้ ถ้าสนใจงานนี้ อย่าลืมแวะมาเที่ยวชมนะครับ โดยเฉพาะท่านที่เป็นแฟนคลับของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ พ่อมดแห่งภาษากวีมาดวิไลจากบ้านสวนทูนอิน พลาดไม่ได้อย่างเด็ดขาด !


 

ส่วนตัวผม ในวันเปิดงานซึ่งตรงกับวันเด็ก หลังจากไปช่วย ดร.เพ็ญสุภา ภัคตะ ใจอินทร์ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ลำพูน (หรือ เพ็ญ ภัคตะ ในภาคของนักเขียนบทกวี) เล่นกีตาร์ร้องเพลงให้เด็กฟังในงานที่พิพิธภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว ก็จะโลดแล่นไปงานนี้โดยเร็วพลัน.


 

ปล. งานนี้มีหนังสือออกใหม่ ชื่อ “สวนนักเขียน ’รงค์ วงษ์สวรรค์” ราคาเล่มละ 130 บาท เขียนโดย แพร จารุ และ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว วางขาย (เฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์) ด้วยจ้า ภาพประกอบเรื่องที่คุณเห็น คือภาพหน้าปกหนังสือเล่มนี้ ครับผม.


 

6 มกราคม 2533
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่


 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ชีวิตของผมเป็นชีวิตที่ประสบกับภาวะขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนเส้นกราฟมานับครั้งไม่ถ้วน หรือถ้าจะพูดให้ชัดเจนและเข้าใจกันได้ง่าย ๆ แบบภาษาชาวบ้านก็คือ เป็นชีวิตที่ประสบกับความรุ่งเรืองและตกต่ำตามวิถีทางและอัตภาพของตัวเองสลับกันไปมา...นับครั้งไม่ถ้วน นั่นเองแต่ก็แปลก...จนป่านนี้ ผมก็ยังไม่อาจทำใจยอมรับและรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่ต้องมีขึ้นมีลง นั่นคือเวลาที่ชีวิตผมขึ้นหรือรุ่งเรือง ผมก็จะรู้สึกว่าตัวเองฟูฟ่องพองโต และมองดูโลกนี้สวยงามสดชื่นรื่นรมย์ น่าอยู่น่าอาศัย...ราวกับสวรรค์บนพื้นพิภพแต่พอถึงเวลาที่ชีวิตเริ่มลงหรือตกต่ำ ผมก็จะรู้สึกว่าตัวเองเริ่มห่อเหี่ยวฟุบแฟบ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเคยรู้จักคนบางจำพวกที่มีลักษณะต่างจากคนธรรมดาทั่วไปอย่างเรา ๆ ท่าน อยู่ประการหนึ่ง นั่นคือคน-คนพวกนี้ไม่ว่าจะประสบกับปัญหาชีวิตมากน้อยหรือหนักหนาสาหัสเพียงใด เมื่อถึงเวลานอนหลับ…เขาสามารถที่จะปล่อยวางปัญหานั้น ๆ ออกไปจากความคิดจิตใจ และนอนหลับได้สนิท ราวกับว่าไม่มีปัญหาใด ๆ มาแผ้วพาน ครั้นเมื่อตื่นขึ้นมาในยามเช้าวันใหม่ เขาก็จะหยิบยกปัญหาต่าง ๆ มาครุ่นคิดพิจารณาหาทางแก้ไข ปัญหาใดที่แก้ไขได้…ก็จัดการแก้ไขให้เรียบร้อย ส่วนปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้เขาก็สามารถจะปล่อยวางปัญหานั้นเอาไว้ก่อน และหันไปทำธุระอื่น ๆ แทนที่จะเก็บมาหมกมุ่นครุ่นคิด เป็นทุกข์กังวลอยู่กับปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้…