Skip to main content
เช้าตื่นขึ้นมา

ราว 5 นาฬิกาเศษ เดินบริหารร่างกายลงบันได 10 ครั้ง ขึ้นบันไดโดยหลับตาอีก 10 ครั้ง ร่างกายรายงานว่า แสบจมูก แสบตา มองไปที่โค้งฟ้าทิศตะวันออก เป็นทุ่งนา สูงขึ้นไปอีกนิดเป็นถนนโค้งสายเชียงใหม่-สันป่าตอง ท้องฟ้าขมุกขมัว (ฟ้าหลัว)ไปทั่ว มันเป็นหมอกควันผสมฝุ่น สาเหตุมาจาก การเผาป่าเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเกษตรในฤดูฝน เผาเศษใบไม้กิ่งไม้ เผาขยะมูลฝอย ส่วนการเผาป่านั้น ต้องมีคนเผา คงไม่เกิดไฟลุกเองได้ อีกสาเหตุหนึ่ง คนเผาป่าเพราะเข้าใจว่า ถ้าไม่เผาผักหวานก็จะไม่แตกยอด เห็ดถอบ (เห็ดเผาะ) ก็จะไม่ได้กิน การเผาทุกชนิด ทำให้เกิดอากาศเสีย เรียกให้เป็นทางการว่า " มลพิษทางอากาศ " ทำให้เราเกิดอาการต่างๆ เช่น หายใจติดขัด เหนื่อยหอบ ไอเจ็บคอ มีน้ำมูกไหล เป็นไข้หวัด โรคภูมิแพ้ ไซนัส ปอดอักเสบ


ในอากาศ

มีควัน มีฝุ่นละออง มีแบคทีเรียถึง 15 ชนิด ก๊าซพิษต่างๆ อากาศเป็นสิ่งจำเป็น ที่เราต้องหายใจเข้าไป จึงมีการวัดค่าในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า มีตัวเลขจากการวัดเท่าไร จึงยอมรับได้ องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดเกณฑ์ระดับความปลอดภัย คุณภาพอากาศที่ใช้กันทั่วโลกคือ ค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 10 จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI (Air Quality Index) จะต้องไม่เกิน 50 แต่ในปี 2549 กรมควบคุมมลพิษของไทย กลับประกาศว่า กำหนดใช้ค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 10 ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าดัชนีคุณภาพอากาศไม่ให้เกิน 100

หมายความว่า เราทนหายใจเอาอากาศ ที่มีผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าชาติอื่นๆ กล่าวง่ายๆ คือเรามีร่างกายทรหดทนทานกว่าเขา ที่เชียงใหม่มีจุดตรวจอากาศที่ขอกล่าวถึง 2 แห่งคือ ที่ศูนย์ราชการจังหวัด และที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ปรากฏผลที่น่าสนใจ ในวันที่ 11 มีนาคม 2552 ที่ศูนย์ราชการจังหวัด มาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 10 วัดได้ 220.6 ไมโครกรับต่อลูกบาศก์เมตร ที่โรงเรียนยุพราชฯวัดได้ 273.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนดัชนีคุณภาพอากาศ ศูนย์ราชการจังหวัดวัดได้ 144 ที่โรงเรียนยุพราชฯวัดได้ 167 ก็สูงกว่าดัชนีคุณภาพอากาศกำหนดไว้ที่ 100

 

ในความเป็นจริง

เราทุกคนไม่มีเครื่องวัดฝุ่นละออง ไม่มีเครื่องวัดดัชนีคุณภาพอากาศ เราบอกได้ว่าอากาศเป็นพิษ อากาศเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อมีอาการแสบตา แสบจมูก ไอ เหนื่อยหอบ เหล่านี้น่าจะเป็นอาการบอกถึงสุขภาพที่ย่ำแย่ได้...มีการแก้ปัญหา มลพิษทางอากาศหลายทาง เป็นต้นว่า ประชาสัมพันธ์ ห้ามเผาป่า สอดส่องดูแล ใช้รถฉีดน้ำเพิ่มความชื้นในอากาศ ทำฝนหลวง และมีการกำหนดให้ใช้ มาตรา 9 ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ที่สามารถมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนได้...การแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผมไม่ค่อยมั่นใจจะได้ผล ในหมู่บ้านใกล้ตัวผม ยังมีการเผาเศษใบไม้ มีการแอบเผาถ่าน ผู้ใหญ่บ้านก็ไม่ว่าอะไร


คนในหมู่บ้านก็แบ่งกันสูดหายใจ ทั้งคนเผาและไม่เผา บางคืนนอนหลับไม่ได้ แสบจมูกไปหมด ไอผสมผสาน คงต้องช่วยตนเอง อาทิ ใช้ผ้าปิดจมูก มันก็อึดอัดนะ หายใจไม่สะดวก เปิดแอร์นอน


เป็นคนในยุคนี้ต้องเป็นจอมทรหด ต้องอึด...อนาคตอันใกล้ ในปีหน้า 2553 อากาศของเชียงใหม่และที่อื่นจะเป็นเช่นไร เราจะแสบตา แสบจมูก ไอ น้ำมูกไหล ท้องฟ้าหม่นมัวซัว เหมือนๆ ปีที่ผ่านมาอีกหรือไม่หนอ ?...ขอใครก็ได้ช่วยฟันธงให้หายอึดอัดทีเถอะครับ.

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ย่างเข้ากลางเดือนตุลาคม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
แสงจ้าขาว
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ที่สี่แยก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พื้นที่ป่าเมืองไทยล่าสุดเหลือเท่าไร ระหว่างปี พ.ศ. 2504-2552 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่ามากกว่า 72 ล้านไร่ เฉลี่ยป่าถูกทำลายปีละ 1.6 ล้านไร่ และในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าร้อยละ 53.3 หรือประมาณ 171 ล้านไร่ พอมาถึงปี พ.ศ.
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
20 กรกฎาคม 2555
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
การเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันนี้
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พรรคประชาธิปัตย์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
Normal 0 false false false
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง