Skip to main content
ผมยืนขึ้น
ก้าวไปข้างหน้า
 น้ำถึงราวนม เท้าจับทรายไม่อยู่ รู้สึกทรายเคลื่อนตัวลง ตัวผมจมลงไป รู้ทันทีว่าทรายดูดหรือ "ทรายมาน" ใจหายวาบ รีบใช้มือตีน้ำ ผ่อนน้ำหนักที่เท้า บิดตัวถอยหลังอย่างฉับพลัน ใช้เท้ายันพื้นทราย เท้าจับทรายได้แล้ว ถอยเท้าอย่างรวดเร็ว รีบขึ้นหาดทราย ประมาทไม่ได้เลยกับภัยในน้ำ เหลียวดูเพื่อน เขากลับลงเล่นน้ำกันอีก 

ได้ยินเสียงบุญส่งผู้ไม่นุ่งกางเกงในโวยวายว่า  "อะไรกัดไม่รู้  สงสัยปลาปักเป้า..."  บุญส่งรีบวิ่งขึ้นบนหาดทราย ใช้มือทั้งสองปิดตรงส่วนสำคัญ หน้าตาเขาไม่ดีนัก เพื่อนๆ บอกว่าเปิดมือตรวจดู ปรากฏว่าอะไรๆ ยังอยู่ครบ นึกถึงตอนนี้ทีไรอดยิ้มไม่ได้ ผมหัดว่ายน้ำจากสระธรรมชาติอยู่นาน บอกไม่ได้ว่าว่ายเป็นหรือยัง รู้แต่ว่าผมยืนในน้ำ  ช้แขนเหยียดไปข้างหน้า เหยียดเท้าไปข้างหลัง ทำลำตัวขนานกับผิวน้ำ  ทำมือคล้ายใบพาย แล้วจ้วงน้ำเข้าหาตัว เท้าทั้งสองทั้งถีบทั้งดีด มือจ้วงไปหนึ่งทีก็จม พอนานไปมือจ้วงสองสามทีจึงค่อยจม คือลอยตัวเคลื่อนไปข้างหน้าได้นานขึ้น ผมเห็นเพื่อนอีกคนกำลังนั่งยองๆ ริมหาดทราย  ใช้มือขวาวักน้ำหยอดหูขวา แล้วเดินเอียงหัวไปข้างซ้าย เดินขึ้นไปบนหาดทราย กระโดดตัวลอยขึ้นโดยเอียงหัวมาข้างขวา กระแทกฝ่าเท้ากับพื้นทรายแรงๆ สักพักก็หยุด เป็นวิธีเอาน้ำที่เข้าขังในหูข้างขวาออก นักเล่นน้ำจะรู้วิธีช่วยตนเองแบบนี้กันทุกคน


ภาพวัยเด็กหายไป
ผมกวาดตามองไปทางขวา ผ่านสะพานนครพิงค์ (ขัวใหม่) อยากเห็นภาพอดีตแถวสะพานจันทร์สมอนุสรณ์ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ถัดออกไป ผมเดินข้ามถนนผ่านสะพานนครพิงค์ เดินตามทางเท้าริมฝั่งแม่ปิง  มาหยุดที่ริมฝั่ง  ห่างจากสะพานนครพิงค์ราว 15 เมตร  มองเห็นสะพานจันทร์สมอนุสรณ์ชัดเจน จินตนาการสู่วัยรุ่นอีกครั้ง 

เข้าสู่ฤดูแล้ง
น้ำปิงเริ่มแห้ง
  มีหาดทรายปรากฏกระจายไปทั่ว ส่วนริมฝั่งใกล้เทศบาลนครเชียงใหม่ยังมีน้ำไหลอยู่  ช่วงเวลานั้นยังไม่มีการสร้างสะพานจันทร์สมอนุสรณ์  ตำแหน่งตรงนี้ จะมีการสร้าง  "ขัวแตะ" (สะพานที่สร้างขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่ที่ใช้ทำรั้ว มาสานขัดกันไปมาจนเป็นแผง วางต่อกันบนเสาไม้ไผ่) ระหว่างท่าน้ำหน้าวัดเกตการามกับตลิ่งด้านเหนือตลาดต้นลำไย ผมเดินบนขัวแตะ ไม้ไผ่ที่สานเป็นตัวสะพาน อ่อนยวบยาบตามเท้าที่เราเหยียบลงไป ถ้าเดินเดี่ยวตรงกลางสะพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเดินสวนกัน ต้องแบ่งพื้นที่กันให้ดี ใครชิดซ้ายมากเป็นขอบของขัวแตะ อาจหล่นลงได้ ตาผมมองหาดทรายทั้งซ้ายขวา ตรงนี้เองที่แม่บอกว่า  

"ในสมัยที่แม่ยังเป็นเด็กนักเรียน ครูพลศึกษาพาแม่มาซ้อมวิ่งบนหาดทรายบ่อยๆ กล้ามขาจะได้แข็งแรง เพราะวิ่งบนทรายมันใช้แรงมาก เนื่องจากทรายมันยุบตัว เท้ายันไม่ถนัด พอไปวิ่งบนทางเรียบ วิ่งตัวเบาแล่นฉิวเลย"  


แม่หยิบรูปภาพรับถ้วยมาให้ผมดู...ผมมาถึงท่าน้ำตรงตรงข้าม เดินไปอีกเล็กน้อย   ข้ามหน้าวัดเกตการาม ผ่านประตูวัด ทางซ้ายมือมีห้องเล็ก เป็นห้องสมุดของวัด ปัจจุบันเป็นโรงเก็บรถ ผมกับเพื่อนมาอ่านหนังสือประเภทนิยายที่นี่บ่อยๆ ยามปิดภาคเรียน เช่นเรื่อง  "สี่คิงของ "เศก  ดุสิต"

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…