Skip to main content

  

เมื่อตอน

ที่ผมเรียนชั้นมัธยมต้น ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สนามฟุตบอลของโรงเรียนได้ใช้เป็นสถานที่จัดงานสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่เสมอๆ เช่น การแข่งขันกีฬากรีฑานักเรียน การจัดงานวันปิยมหาราช จัดงานฤดูหนาวในอดีต ก่อนย้ายไปจัดที่สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ จัดการแข่งขันฟุตบอลประชาชนของเชียงใหม่ และที่กรุงเทพฯ ก็มีการจัดแข่งขันฟุตบอลประชาชน แบ่งทีมเป็นถ้วย ก, ข, ค และ ฯลฯ ถ้วย ก. นั้นผู้เล่นมีฝีเท้าจัดระดับทีมชาติ ที่กระจายไปเล่นในทีมต่างๆ จำได้ว่ายุคนั้น ทีมทหารอากาศดังมาก เป็นแชมป์ถ้วย ก.หลายปีติดต่อกัน ที่เชียงใหม่ ก็จัดการแข่งขันฟุตบอลประชาชนที่สนามโรงเรียนยุพราชฯ เช่นกัน การแข่งขันมาถึงรอบชิงชนะเลิศ ทีม "ธนาคารออมสินภาค 5" ได้ชิงชนะเลิศกับทีม "เอราวัณ"

 

ทีมธนาคารออมสินภาค 5 มีผู้เล่นที่เป็นชาวเชียงใหม่หลายคน อีกหลายคนเป็นผู้เล่นจากต่างจังหวัด ที่มีฝีเท้าจัดจ้าน ที่สำคัญมีผู้เล่นจากทีมทหารอากาศแชมป์ถ้วย ก.ของประเทศไทยหลายคน มีคนหนึ่งเล่นกองหลัง ตำแหน่งเซนเตอร์ รูปร่างกลมแน่น ขาล่ำบึกกล้ามขาเป็นมัดๆ สวมแว่นตาแต่ไม่มีกระจกมีแต่โครงเปล่าๆ ขณะเล่น จนกรรมการสั่งให้ถอดออก เวลาแกถูกกระแทกล้ม แกจะกลิ้งไปกับพื้นหลายทอดโดยแขนแนบกับลำตัว เป็นการผ่อนแรงกระแทกพื้นสนาม เทคนิคสูง เล่นฟุตบอลยียวนและรุนแรงมาก ชอบเตะแบบคาบลูกคาบดอก คือเตะลูกบอลกึ่งเตะคน แกฉลาดพอตัว ใครกะเตะรวบแกไม่มีทางสมใจ ถ้าจำไม่ผิดแกชื่อ "ดาบ สร้อยสิงห์" จำได้ว่าผู้จัดการทีม "ธนาคารออมสินภาค 5" ชื่อคุณ "สกล ศาสตราภัย" ทีมธนาคารออมสินภาค 5 เล่นกันเป็นทีม เล่นทั้งลูกเลียดลูกโด่ง ชั้นเชิงสูง เป็นทีมตัวเก็งจะได้แชมป์ ส่วนทีม "เอราวัณ" ผู้เล่นเป็นลูกหลานคนเมืองเชียงใหม่ทั้งทีม มีนักเรียนยุพราชฯ เล่นในทีม 2 คน ขออนุญาตเอ่ยชื่อคือ "คุณสุทัน" และ "คุณนิเวศน์" ทั้งสองคนได้เสื้อสามารถของโรงเรียนยุพราชฯ แต่ได้คนละปี ผู้ฝึกสอนขอเอ่ยนามด้วยความเคารพยิ่งชื่อ "ครูเกษม อุดมเศรษฐ์" (เสียชีวิตแล้ว)

 

ก่อนแข่งขัน

ผู้เล่นทีม "เอราวัณ" ได้ไปบนบานที่ "เจดีย์กิ่ว" ขอให้ทีมชนะ ถ้าชนะแล้วจะถวายของมากมาย ในเย็นวันแข่งขันครั้งสำคัญ "ทีมเอราวัณ" ใช้การเล่นแบบวิ่งจี้ติดตัวแบบตัวต่อตัว ไม่ให้ผู้เล่นตรงข้ามเล่นได้สบายๆ วิ่งแย่งฟุตบอลแบบสุดชีวิต ผู้เล่นทีม "ธนาคารออมสิน" เล่นไม่ได้ตามเกมของตน ยิงลูกอย่างไรก็ไม่เข้าประตูทีม "เอราวัณ" ยิงถูกคานประตูบ้าง ถูกเสาประตูบ้าง ยิงออกบ้าง เมื่อหมดเวลาแข่งขัน 90 นาที ทีม "เอราวัณ" ชนะทีม "ธนาคารอออมสินภาค 5" ชนะกี่ประตูผมจำไม่ได้ ใครอยู่ในเหตุการณ์วันนั้นอาจจำได้ ช่วยบอกที ผมจำแบบเลือนรางๆ เหมือนชนะ 1 ต่อ 0 ทำนองนี้

 

ทราบต่อมาว่า

ทางผู้บนบาน "เจดีย์กิ่ว" ได้นำของไปถวายแก้บนมากมาย ทีมชนะฉลองกันเต็มที่ ในปัจจุบันรอบๆ ฐานเจดีย์กิ่ว สังเกตให้ดีจะมีกรวยดอกไม้วางให้เห็น บางสิ่งบางอย่างในโลกนี้ ยังมีอีกมากที่เราไม่รู้ บอกไม่ได้ว่าอะไรจริงอะไรเท็จ แล้วแต่ศรัทธาและความเชื่อก็แล้วกันครับผม.

 

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…