Skip to main content

 

หากใคร
ได้ไปเที่ยวเชียงใหม่ ได้มีโอกาสไปสักการะอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันออก ของหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ เมื่อกราบเสร็จยืนขึ้น มองเฉียงไปทางซ้ายมือผ่านถนนไป จะเห็นวัดร้าง ที่เหลือให้เห็นเพียงเจดีย์และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ วัดร้างนี้เดิมชื่อ “วัดสะดือเมือง” หรือ “วัดอินทขีล” สถานที่นี้ในปัจจุบันคือ หอประชุมติโลกราช ติดๆกันจะเป็นร้านข้าวมันไก่ลือชื่อของเชียงใหม่ วัดร้างนี้เดิมเป็นที่ตั้งของ “เสาอินทขีล” หรือ “สะดือเมือง”

 

สะดือเมือง
หมายถึงอะไร ผมถามตนเอง เหมือนสะดือทะเลไหมหนอ เป็นเรื่องน่าค้นหาคำตอบยิ่งนัก ก่อนนี้ผมไม่เคยสนใจสิ่งใกล้ตัว ไม่สนใจรากเหง้า ไม่มองดูบ้านเกิดของตน บรรพบุรุษของเราเป็นชนชาติใด ใครเป็นผู้สร้างบ้านแปงเมือง บ้านเมืองเรามีอะไรน่าภูมิใจน่ารักษา พม่าปกครองเมืองเชียงใหม่นานถึง 216 ปี นานถึงสามชั่วอายุคนทีเดียว ผมก็ไม่รู้สึกรู้สาอะไรมากมาย ระยะนี้ขลุกแต่เรื่องทางเหนือ ไปค้นที่หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต้องค้นหนังสือโดยคอมฯ ก็ไม่คล่อง กุกๆกักๆ ต้องถามบรรณารักษ์ ค้นอินเตอร์เน็ต หาหนังสืออ่าน ซื้อมาอ่านก็หลายเล่ม ยังไม่ได้อะไรมากจนพอใจ แต่ก็พอทราบพอสมควรว่า กำแพงเมืองเชียงใหม่กว้าง 800 วา ยาว 1000 วา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หากลากเส้นจากทิศเหนือของกึ่งกำแพง ไปทิศใต้ตรงกึ่งกลางกำแพง แล้วลากเส้นจากกึ่งกลางกำแพงตะวันออกไปตะวันตก จะเกิดจุดตัดของสองเส้นนี้ ตรงจุดตัดคือกลางเมืองเชียงใหม่เรียกว่า “สะดือเมือง” เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมือง ซึ่งชาวเชียงใหม่เรียกเสานี้ว่า “เสาอินทขีล” บริเวณที่เสานี้ตั้งอยู่ ถือว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์

 

พระยาเม็งรายมหาราช ทรงสร้างเสาอินทขีล เมื่อครั้งสถาปนา “นพบุรีศรีนครเชียงใหม่” ขึ้นเมื่อปี พ .. 1839 เดิมเสานี้อยู่ที่วัด “สะดือเมือง” หรือ “วัดอินทขีล” ครั้นพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ จึงได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง โดยสร้างขึ้นใหม่เป็นเสาปูน และมีพิธีบวงสรวงสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้ เสาหลักเมืองหรือที่ชาวเชียงใหม่เรียกว่าเสาอินทขีลนั้น จะมีการบูชาที่เรียกว่า “การขึ้นขันดอกอินทขีล” หรือ “การใส่ขันดอกอินทขีล” ราวเดือนพฤษภาคมต่อมิถุนายน ถือเป็นเสาศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เชื่อกันว่า หากใครมาบูชา ถ้าอธิษฐานจิตด้วยใจแน่วแน่ศรัทธา ก็จะได้ตามอธิษฐาน “การใส่ขันดอกอินทขีล หมายถึงการใส่บาตรด้วยดอกไม้ แทนที่จะใส่บาตรด้วยอาหาร ที่เขาทำเช่นนี้ก็เพราะเชื่อว่า ดอกไม้เป็นของที่ควรแก่การนำสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่น เสาอินทขีลเป็นอย่างยิ่ง” (จาก เล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย อสิธารา)


สมัยก่อน
ผู้มาใส่ขันดอก จะเก็บดอกไม้ที่เป็นมงคล เช่น ดอกเก็ดถะวา(ดอกพุดซ้อน) ดอกสบันงา ดอกมะลิ ดอกตะล้อม(ดอกบานไม่รู้โรย) ดอกแก้ว แต่ปัจจุบันตามแต่จะหาได้ คงเพื่อความสะดวก


ขอเพียงมีใจที่สะอาดและศรัทธา และตรงหน้าวิหารวัดเจดีย์หลวงนั้น เสาอินทขีลหรือเสาหลักเมือง ตั้งอยู่กึ่งกลางวิหารจัตุรมุขซึ่งเป็นหลังเล็ก ศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อปูนติดกระจก รอบเสาโต
5.67 เมตร สูง 1.30 เมตร แท่นพระบนเสาอินทขีลสูง 97 เซนติเมตร บนเสามีพระพุทธรูปทองสำริด ปางรำพึง และยังมีการอัญเชิญ “พระเจ้าฝนแสนห่า” มาประดิษฐานไว้ตรงวงเวียนหน้าวิหารวัดเจดีย์หลวงหลังใหญ่ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ ชาวเชียงใหม่เชื่อกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีพุทธานุภาพ บันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล ผู้ศรัทธาแก่กล้า ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกล ย่อมหาโอกาสไปร่วมงาน ที่มีเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ผมได้ไปร่วมงานและถ่ายรูปมาฝากด้วยครับ.

 

 

 

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…