Skip to main content

ทำตามอุ๊ยบอก

เดินลงบันได สวมรองเท้าแตะที่เย็นเล็กน้อยมานั่งก้อม (ม้านั่งเตี้ย) ข้างกองไฟ เจ้านากคงนอนต่อไป ปีกจมูกสีดำชื้นๆขยับขึ้นลง แสงแดดอ่อน ค่อยสาดส่องลอดใบไม้กิ่งไม้สู่ลานบ้าน ความหนาวเยือกถูกเทพแห่งความร้อนรุกไล่ เสียงอุ๊ยตะโกนจากบนบ้าน ให้ผมปัดกวาดสาดแหย่ง (เสื่อที่ทอจากผิวคล้า คือกกชนิดหนึ่ง) ที่ปูบนตั่ง (ที่สำหรับนั่ง ไม่มีพนัก อาจมีขาหรือไม่มีขาก็ได้) ให้สะอาด ตั่งนี้อยู่ข้างรั้ว ห่างจากกองไฟเล็กน้อย สักครู่อุ้ยถือถ้วยมายืนที่ตีนบันได เรียกผมให้ไปรับ ผมสาวเท้าไปหา อุ๊ยบอกว่า “แกงผักขี้หูด” ใส่ปลาแห้งมันร้อน ให้ถือย่างระมัดระวัง อีกถ้วยใส่แคบหมูกรอบๆขนาดชิ้นละคำน่ากิน ผมเดินกลับมาช้าๆ ตามองแกงในถ้วย ระวังเต็มที่ไม่ให้น้ำแกงกระเพื่อมหก ยื่นไปวางบนกลางสาด ถอดรองเท้าฟองน้ำ นั่งขัดสมาธิเฝ้าอาหารเช้า ไอร้อนจากแกงลอยเป็นทางขึ้นรับแดดอ่อน เสียงพ่อแม่สลับกันตะโกนบอกจากบ้านอีกหลังว่า ให้รอสักพัก กำลังทอดปลาบ้วงหน้อย (ปลาช่อนหมักเกลือตากแดด ตัวเล็กเท่าฝ่ามือ) เกือบเสร็จแล้ว อุ๊ยหิ้วก่องข้าวเหนียวและช้อนสังกะสี 3-4 ใบมาด้วย

 

 

พอดีพ่อกับแม่ลงมาสมทบ

แม่มีปลาบ้วงหน้อยทอดกรอบสีน้ำตาลเข้มน่ากิน จำนวน 4 ตัว พ่อวางน้ำพริกแดงตำเองสีแดงปนน้ำตาลเนื้อฉ่ำ ใส่ถ้วยเล็กๆสีขาวท้าทายให้ปั้นข้าวเหนียวจ้ำลงไปลองลิ้ม แม่วางแกงแคใส่เนื้อไก่ลงไป พ่อวางก่องข้าวอุ่น ทุกคนนั่งล้อมวงอาหารบนตั่ง พ่อเปิดก่องข้าวเหนียว ไอร้อนของข้าวเหนียวสีขาวนุ่มลอยเป็นทางขึ้นมาทันที พ่อคดใส่จานเพียงกินหมดขณะยังอุ่น ไม่คดใส่มากจนกินไม่หมดจานข้าวเย็นเสียก่อน จานข้าววางไว้ระหว่างพ่อกับแม่ 1 จาน อุ๊ยคดข้าวเหนียวใส่จานสำหรับอุ๊ยกับผมอีก 1 จาน แม่ใช้มือปัดหมวกไหมพรมไปข้างหลังเล็กน้อย หมวกไหมพรมของผมเปิดเฉพาะตากับจมูกปาก ถูกดึงขึ้นไปม้วนเหนือหน้าผาก อากาศยังคงเย็น แดดสาดแสงอบอุ่นมายังวงกินข้าว อาหารเช้ายามหนาว ข้าวอุ่นแกงร้อน แดดอุ่น พ่อแม่อุ๊ยพร้อมหน้ากัน น้ำพริกแดงรสเด็ด อร่อยจริงๆ กินไปคุยกันไป มีอะไรก็พูดกันกลางวงอาหาร อุ๊ยสอนพวกเราทุกคน พ่อแม่สอนผม สอนอุ๊ยไม่ได้ถือว่า เด็กสอนผู้ใหญ่ไม่ได้ ถ้าจำเป็นจริงอาจพูดว่า “สูมาเต้อะ อี่แม่ อย่าว่าเจ้าสอนเลย คือว่า...” ถ้าผู้เฒ่าผู้แก่ใจเย็นพอก็ไม่มีอะไร ถ้าท่านยอมรับไม่ได้ จะพบการสั่งสอนอบรมสวนกลับอย่างหนักทีเดียว ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ จึงไม่มีลูกหลานกล้าเสี่ยง ถ้าลูกหลานต่อปากต่อคำ ที่ท่านมักบอกว่า “เถียง” ก็จะย้อนว่า “กูเกิดก่อนมึง อาบน้ำฮ้อนมาก่อน...บ่ะต้องมาสอนมาสั่ง...ตอนกูเกิด มึงยังเป็นลมเป็นฝนอยู่...เฮอะเหอ !”

 


(3)


วงอาหารไม่ว่ามื้อใด

จึงเป็นสถานที่กินข้าวและอบรมลูกหลาน แม่เคยเป็นครูมาก่อน จะไม่ว่ากล่าวพ่อรุนแรงจนเสียอารมณ์ พาลกินอาหารไม่อร่อย และแม่จะระวังไม่สอนผม จนทำให้ผมกลืนข้าวฝืดคอ ผมจำได้ว่า เมื่อผมโตขึ้น เรียนชั้น ป.4 แล้ว เคยถามอุ๊ยและแม่ว่า

ทำไมต้องมาสอนมาด่าหรือต่อว่า เวลากินอาหารทุกครั้งไป สอนหรือด่าตอนอื่น บ่ะได้กา ?”
อุ๊ยและแม่ตอบคล้ายกันว่า

เวลากิ๋นข้าว ทุกคนมาอยู่พร้อมหน้ากั๋น มีอะหยังจะได้อู้กั๋นเสียทีเดียว”

ครูที่โรงเรียนสอนว่า เวลากินข้าว ทุกคนในครอบครัวควรพูดแต่เรื่องดีๆ กินข้าวจะได้อร่อย ครูไม่ให้พูดเรื่องเศร้า เรื่องเคร่งเครียด จะกินข้าวไม่ลง เรื่องตลกก็ห้ามพูด มัวหัวเราะ ข้าวยังเต็มปากอาจสำลักได้”


อุ๊ยกับแม่ได้ฟังผมพูดตามครูสอน ทั้งสองมองหน้ากัน พ่อหัวเราะหึๆ แม่หันขวับมาทำตาเขียวปัดให้พ่อ พ่อรีบปิดปาก ลุกขึ้นหันหลังเดินไปหัวเราะและยิ้มไกลๆแม่ แม่เป็นคนที่มีไหวพริบ ปฏิภาณไว ไม่เคยจนมุมใครในเรื่องฝีปาก สวนวาจาผมอย่างไม่เสียเชิง ทั้งที่ครั้งแรกอึ้งไปนิดหนึ่ง

บ่ะสอนต๋อนกิ๋นข้าว แล้วจะไปสอนต๋อนไหนหือ! ลูกเต้ากินข้าวแล้วก็โดดปึ้ก ไปเล่นไปแอ่วหายแซบ วันค่ำ...อุ๊ย พ่อแม่ว่าแล้วยังมาเถียง"

ปลาบ้วงหน้อย น้ำพริกแดง แกงฮ้อนๆ ตอนหน้าหนาว ข้าวนึ่งอุ่น อาบแดดเจ้า................... ”


กินข้าวเสร็จ
ต่างแยกย้ายขึ้นบนบ้าน แม่กำชับให้ผมแปรงฟังหลังอาหาร ผมช่วยอุ๊ยเก็บจานขึ้นบ้าน อุ๊ยล้างจาน ผมแปรงฟันแล้วลงมาผิงไฟ พ่อกินข้าวเสร็จ ได้เดินไปให้อาหารหมู
2 ตัวหลังบ้านอุ๊ย มันเป็นหมูพันธุ์สีขาว กำลังจะโตเป็นหนุ่มสาว ผมนั่งผิงไฟได้ยินเสียงหมูร้องอู๊ดๆ เมื่อพ่อหิ้วถังใส่อาหารไปให้มัน ได้ยินแม่สาดน้ำล้างจานลงจากห้องครัวหลังบ้าน กระทบพื้นดินดังโครม อุ๊ยเดินลงบันไดมา ส่งเสียงเรียกเจ้านาก ยามรักษาการประจำบ้าน มันลุกขึ้นจากกองขี้เถ้าข้างกองไฟช้าๆ เหยียดเท้าหน้าทั้งคู่ไปจนสุดตัว กดหลังลงครู่หนึ่งเหมือนคนยืดเส้นยืดเอ็น ไปหาจานข้างตีนบันไดบ้าน ผมนั่งผิงไฟครู่หนึ่ง สมองคิดไม่ออกว่า วันนี้จะไปไหนดีหันหน้ามองลอดรั้วบ้าน ข้ามถนนไปยังหน้าบ้านของ “อู๊ด” เพื่อนผม อู๊ดอายุมากกว่าผม 1 ปี จึงเรียนชั้นสูงกว่าผมชั้นหนึ่ง

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…