Skip to main content

ผมขับรถออกจากบ้าน
คุณแม่จันทร์สม สายธารา เลี้ยวซ้ายปากซอย มุ่งตรงกลับบ้าน อดนึกถึงคำพูดของ พ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ ประเภทเพลงพื้นบ้าน-ขับซอ ปี พ.ศ. 2538 ที่ปรากฏในอินเตอร์เน็ต หัวข้อ “ ซอพื้นบ้านล้านนา คุณค่าแห่งดนตรีที่ถูกเมิน”

“ ยุคนี้ไม่ใช่ยุคของซออีกต่อไป ในอดีตซอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในหมู่บ้านล้านนาไปที่ไหนๆก็มีซอ ซอสมัยก่อนได้เงินหลักร้อย ซึ่งถือว่าสูงมากในเวลานั้น แตกต่างจากตอนนี้ที่มีเด็กรุ่นใหม่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่สนใจจะเรียนซอกันอย่างจริงจัง กลุ่มคนฟังในปัจจุบัน โดยมากแล้วจะเป็นคนที่อยู่ในวัยกลางคนจนถึงวัยทอง หนุ่มสาวหาได้ยากเต็มที.”

พ่อครูคำผาย ได้พูดต่ออีกว่า
 “ เดี๋ยวนี้เรามียุทธวิธีในการนำซอมาดัดแปลงเป็นเพลงลูกทุ่ง คงคล้ายๆหมอลำซิ่ง ต้องดัดแปลงอย่างนี้ จึงจะเรียกเด็กหนุ่มสาวมาฟังได้ ในจังหวัดเชียงใหม่เอง คนขับซอที่เรียกว่า “จ่างซอ”(จั้งซอ) มีเหลืออยู่ประมาณ 50 คณะ หลายคนต้องเลิกอาชีพเพราะขาดคนสืบทอด เราต้องนำซอมาประยุกต์เข้ากับดนตรีฝรั่ง เพื่อเรียกความสนใจจากกลุ่มคนรุ่นใหม่...ในปัจจุบันมีคนมาจ้างไปแสดงงานหนึ่งรายได้วันละ 20,000-30,000 บาท แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายและต้องเลี้ยงลูกน้องในวงหลายสิบชีวิต ก็แทบจะไม่เหลืออะไร”
 
ผมตื่นจากภวังค์  
ข้างหน้าเป็นภาพของคุณสิงห์คำ   คนขับซอฝ่ายชาย   คุณสิงห์คำกำลังนั่งคุกเข่า   ส่งเสียงขับซออย่างเพลินอารมณ์   มีทั้งเสียงต่ำเสียงสูง   บางตอนเสียงแหลมลึกเข้าไปในคอ แต่เสียงไม่ขาดหาย   ชวนน่าฟังไม่น้อย   มือไม้เคลื่อนไหวสอดรับอารมณ์คนร้อง   ฝ่ายหญิงนั่งพับเพียบเรียบร้อย   เอียงตัวไปมาพร้อมกับปรบมือให้จังหวะ   คอยโอกาสโต้ตอบอย่างรู้เชิงกัน   วันนี้มาซอในงานบวช เริ่มต้นซอจึงต้องกล่าวถึง   ความดีงามการได้บวช
                                                           
สิงห์คำ
                            
                            “...ลำดับทังสาดลำดับทังหมอน       ทังสะลีที่นอนบาตรวีพัดจ้อง
                             แม่ออกสัทธาแต่งดาพร่ำพร้อม       ตราบต่อเท้าของกินครัวทาน
                             มีทังหมอนหกมีทังหมอนผา           สบงลังกาบาตรวีพัดจ้อง
                             แม่ออกสัทธาแต่งดาไว้พร้อม         ทั้งบาตรทังจ้องของกินครัวทาน
                            ว่าขันเข้าแล้งชิ้นแห้งปลาตาย          จักทานไปหานาคานาคหน้อย
                            ที่เอาชื่อเสียงเรียงนามเรียบร้อย       ใส่หื้อนาคหน้อยยังพระนาคนาคา
                            มัดขนคิ้วริ้วติดขนตา                    เหมือนตอกไพคากับไม้ดูกก้าน
                            จะต้องการถามเยิงนานนองชั้น...
 
แจ่มจันทร์
                           “...ว่าเทียนสังฆะตอบคุณขันตั้ง       สมัยก่อนนั้นพ่อไปหาหมอ
                             มายกมายอท้องแม่ของเจ้า           จะเกิดบุตตาในวันนั้นเล่า
                             สมัยหม่าเก่าไปหาหมอตำแย         สมัยโบราณแท้ทักนักหนา
                             บ่มีโรงพยาบาลอย่างอั้น               บ่เหมือนปัจจุบันทุกวันนี้แล้ว
                             สะลีกับหมอนน้องว่าตอบแทนคุณแม่   ว่าตอบแท้ๆยามเมื่อแม่อยู่กำ 
                             เอาสะลีมาพันเธิ้งหลังแม่เจ้า          จนเกิดบุตตาธิดาลูกเต้า
                             อี่พ่อเป็นเจ้าหาสะลีมาพัน             เอาหมอขึ้นหลิ้มเธ้งไว้กลางหลัง
                             แม่เจ้าก็ยันละจะเกิดลูกหล้า          เหมือนกรรมนอนมาลานอลาพี่น้อย...

( คำร้องตั้งแต่ “...ลำดับทังสาดลำดับทังหมอน จนถึง เหมือนกรรมนอนมาลานอลาพี่น้อย...” นำมาจาก อินเตอร์เน็ต ขอขอบคุณด้วยความเคารพยิ่ง)

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…