Skip to main content
 
วันนี้ขับรถยนต์
จากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตอง เวลา 7.32 น หมอนัดตรวจตา ที่โรงพยาบาลสวนดอก(มหาราช) เชียงใหม่ เป็นช่วงเวลาเร่งรีบของทุกคน บ้างรีบไปทำงาน บ้างรีบไปเรียนหนังสือ ถนนจึงมากมายด้วยรถรา พอวิ่งเข้าเขตตัวอำเภอสันป่าตอง รถเริ่มติด และติดหนาแน่นขึ้นเมื่อวิ่งเข้าเขตอำเภอหางดง เริ่มเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ รถจักรยานยนต์วิ่งกันหวาดเสียว วิ่งเร็ว แซงซิกแซกซ้ายขวา รถวิ่งเลียบตามคูเมืองด้านนอก ไปช้าๆ ผ่านหน้าโรงพยาบาลสวนดอกแล้ว เคลื่อนตัวช้ามาก ถนนมีเท่าเดิม รถมากขึ้นทุกๆวัน อนาคตพอมองเห็น คงเหมือนกรุงเทพฯแน่นอน

นำรถไปที่จอดรถของโรงพยาบาล ซึ่งอยู่หลังปั้มน้ำมัน รถจอดแน่นเอี๊ยดบนเนื้อที่ราว 7-8ไร่
วิ่งวนหาที่จอด จอดมันกลางแดดเสียเลย วันนี้นับว่าจังหวะดี มีที่ให้จอด ทุกครั้งต้องไปฝากจอดที่โรงแรมม่านรูด ที่อยู่ใกล้ๆ ค่าจอดคันละ 50 บาท ใครๆก็ไปฝากกัน ครั้งนั้น พอผมขับรถแวบเข้าไปจอด โดยมีภรรยานั่งข้างๆ พนักงานวิ่งเข้ามาหารวดเร็ว มือถือขวดน้ำดื่ม
“ ต้องการน้ำดื่มไหมครับ ?”
ผมนิ่งคิดแวบหนึ่ง ตอบไปโดยเร็ว
 “ ผมมาหาหมอที่โรงพยาบาล ไม่ได้มาใช้บริการห้องหรอก.”
 
ผมต่อรถบริการ
ของโรงพยาบาลอีกทอดหนึ่ง เป็นบริการฟรีแก่คนไข้ รถส่งที่ตึกศรีพัฒน์ เราทั้งคู่ขึ้นลิฟต์ไปที่ชั้น 7 แผนกตา ยื่นบัตรหมอนัดให้นางพยาบาลจุดที่ 1 กวาดตาดูรอบๆห้อง คนนั่งเต็มพรึบ หาที่ว่างแสนยาก สักครู่นางพยาบาลเรียกพบ วันนี้เร็วกว่าทุกครั้ง เธอถามว่า แพ้ยาอะไร ? เป็นโรคประจำตัวไหม ? โรคอะไร ? และใช้สิทธิอะไรเบิก เช่น บัตรทอง หรือเบิกตรง แล้วกรอกข้อมูลในแผ่นเอกสาร ยื่นให้ผมนำไปรอตรวจสายตาในจุดที่ 2 ที่จุดนี้มีแผ่นกระดาษใหญ่  2 แผ่นติดกับผนังตรงหน้า ห่างออกไปราว 5 เมตร แผ่นซ้ายมือมีตัวเลขเรียงลงมาเป็นบรรทัด จากใหญ่ลงมาเล็ก ทางขวามือเป็นตัวอักษร แบบเดียวกัน คล้ายกับการวัดสายตาก่อนที่ร้านจะตัดแว่นสายตาให้เรา บุรุษพยาบาลกรอกผลการตรวจลงในแผ่นเอกสาร ยื่นคืนให้ ราว 1 นาที่ก็เสร็จ ผมนำแผ่นเอกสารมายื่นให้นางพยาบาลจุดที่ 3 เธอรับไว้ บอกให้ไปนั่งรอที่ม้ายาว  ณ บริเวณจุดที่ 4 เพื่อรอเรียกตรวจต่อไป ที่มาตรวจตาเพราะผมมีอาการผิดปรกติ มีแสงแวบๆข้างตาซ้ายในเวลากลางคืน คล้ายประกายฟ้าแลบ มันจะแวบ 2 ครั้ง หากมองดูภาพข้างหน้า เหมือนมีเยื่อบางลอยในกระจกตา ตาสำคัญมากจึงต้องรีบมาตรวจ เหมือนพ่อแม่มักพูดว่า “รักลูกๆหลานๆดังแก้วตาดวงใจ”

นั่งรอหมอเรียกตรวจ
โดยไม่รู้กำหนดว่า จะได้ตรวจช้าหรือเร็ว ภาคเช้าหรือบ่าย ถ้าช่วงบ่าย เป็นบ่ายกี่โมง เป็นการรอคอยที่ยาวนาน รอและรอไปเรื่อยๆ มีคนนั่งรอม้ายาวตรงกลางแน่น หาที่ว่างยากมาก ม้ายาวติดผนังนั่งขาเรียงติดกัน ผมมาตรวจหลายครั้ง พอจะรู้ข้อมูลว่า ผู้ที่นั่งรอหมอตรวจเหล่านี้ จะเป็นคนไข้จริงราว 1 ใน 3 ของทั้งหมด อีก 2 ใน 3 ส่วนเป็นผู้มาส่งคนไข้ มักเป็นลูกหลานมาส่งพ่อแม่ บางทีเป็นพ่อแม่ที่ยังหนุ่มสาวมาส่งลูกเล็กๆ ส่วนใหญ่คนป่วยทางตา มักเป็นคนสูงวัยทั้งหญิงชาย วัยหนุ่มสาวและเด็กมีเหมือนกัน คนแก่บางคนนั่งล้อเข็ญ บ้างมีวงกลมสีขาวมีรูเล็กๆปิดตา ยึดวงกลมนี้ไว้ด้วยพลาสเตอร์.

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…