Skip to main content

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

 

กลับบ้านเฮา
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน เมื่อน้ำท่วมครั้งใหญ่ค่อยเข้าสู่ภาวะปรกติทุกพื้นที่ จึงได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด การมาครั้งนี้ของท่าน ท่านได้ไปแอ่วกาดหลวง(ตลาดวโรรส)ในวันที่ 17 ธันวาคม 2554 ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดสำคัญของเมืองเชียงใหม่ เป็นตลาดที่ผูกพันกับผู้คนเชียงใหม่มายาวนาน เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง ที่แทนความเป็นเชียงใหม่ เช่นเดียวกับ กาดต้นลำไย(ตลาดต้นลำไย) ขัวเหล็ก(สะพานนวรัฐ) คือเวียง(คูเมือง) เจดีย์กิ๋ว(เจดีย์งาม เจดีย์ขาว) ถนนท่าแพ วัดดอยสุเทพ ฯลฯ

เช้าวันที่
17 ธันวาคม 2554 นั้น นอกจากท่านนายกรัฐมนตรีหญิงจะมาแอ่วกาดหลวงแล้ว ยังได้มีรายการ
ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ช่อง 11 “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” กลางตลาดนี้ โดยจัดโต๊ะเก้าอี้ตรงช่องทางเดินระหว่างแถวขายของในตลาด พิธีกรเป็นคุณสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ทำหน้าที่สัมภาษณ์ท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ ข้างหลังท่านนายกมีบุคลากรสำคัญนั่งเรียงจากขวาไปซ้าย อันดับแรกเป็นท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ คุณทัศนัย บูรณปกรณ์ ถัดไปคนที่สาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คุณสุรพงษ์ โตจักษณ์วิชัยกุล อีกท่านเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง คุณบุญทรง เตริยาภิรมย์ มีการถามตอบระหว่างพิธีกรและนายกฯในหลายเรื่องหลายประเด็น ได้แก่น้ำท่วม น้ำเน่า ขยะ การฟื้นฟู การวางแผนป้องกันน้ำท่วมระยะสั้น-ระยะยาว โครงการรับจำนำข้าว โครงการบ้านหลังแรก รถยนต์คันแรก โครงการพักหนี้เกษตรกร งบประมาณจัดการน้ำ 120,000 ล้านบาท ใช้ไปแล้ว 40,000 กว่าล้านบาท พิธีกรได้ถามถึงความแตกต่างการบริหารราชการกับบริหารบริษัท ท่านนายกตอบว่า ผิดกันมาก แต่น่าจะใช้หลักการเดียวกันได้ คือให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการทำงาน เราเรียกว่าทำงานเป็นทีม นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเศรษฐกิจโลก-ไทย ยาเสพติด ความร่วมมือทางด้านลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ การเดินทางไปพม่า ถือโอกาสพบนางออง ซาน ซูจี ผู้นำขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศพม่าในวันที่ 20 ธันวาคม 2554

การถ่ายทอดสดใช้เวลาประมาณ 30 นาที กล้องโทรทัศน์จับภาพประชาชนบนชั้นสองของตลาด ยืนดูอย่างสงบ เต็มไปหมด บ้างถือกล้องดิจิตอล กดถ่ายเป็นระยะ เมื่อรายการนายกฯพบประชาชนจบลง เสียงปรบมือให้นายกฯก้องตลาดวโรรส นายกฯไหว้ตอบและโบกมือทักทาย ท่านพาคณะเยี่ยมชมตลาด ดูไส้อั่ว จิ้นทอด น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู และอื่นๆ ประชาชนคนเมืองเข้ามาห้อมล้อม มอบดอกกุหลายสีแดงสดให้นายกฯหญิง ดูสีหน้าท่าทางท่านนายกฯมีความสุข ยิ้มแย้มสดใส ผ่อนคลาย ผู้หญิงบางคนเดินเข้ามาจับมือ บ้างเข้ามากอด มาขอถ่ายรูปบ้าง มีเสียงผู้หญิงพูดได้ยินชัดเจน

“ นายกฯจาดงาม (สวยมาก).” เสียงผู้ชายดังขึ้นบ้าง

“ นายกฯจะไปปึ้ง จะไปฟังเสียงเขา (นายกฯอย่าหมดกำลังใจ อย่ามัวฟังเสียงฝ่ายที่โจมตี).”

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…